Skip to content

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ปัญหาภาษี ภงด 90 91 94

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด 90 91 94

รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ

             ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด
            โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป
            สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใครต้องเสีย

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

1) บุคคลธรรมดา

2) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

3) ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

4) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

5) วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายได้

ยื่นแบบแสดงรายการ ปกติปีละ 1 ครั้ง เงินได้ ของปีใด ก็ยื่นแบบฯ ภายใน วันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป

เว้นแต่ เงินได้ บางลักษณะ เช่น การให้เช่า ทรัพย์สิน เงินได้จาก วิชาชีพอิสระ เงินได้จาก การรับเหมา เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น

จะต้อง ยื่นแบบฯ ตอนกลางปี สำหรับเงินได้ ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก ภายใน เดือนกันยายน ของทุกปี

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้ที่เกี่ยวข้อง 40(1) - 40(8)

ตามกฎหมาย เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน” หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่
1. เงิน
2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริง(เกณฑ์เงินสด)
3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน
4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหน

การคำนวณ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ละประเภท

เนื่องจากผู้มีเงินได้ประกอบอาชีพแตกต่างกัน มีความยากง่ายหรือต้นทุนที่แตกต่างกัน เพื่อความ เป็นธรรม ในกฎหมายจึงได้แบ่งลักษณะเงินได้(พึงประเมิน) ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสมเพื่อกำหนด วิธีคำนวณภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด ดังนี้

1. เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น
– เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
– เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
– เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
– เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
– เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น มูลค่าของการได้รับประทานอาหาร เป็นต้น

2. เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้

3. เงินได้ประเภทที่ 3ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

4. เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร   เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น

5. เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก
– การให้เช่าทรัพย์สิน
– การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
– การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว  

6. เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้ 

7. เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ 

8. เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษี (บางข้อ)

1. ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือ ค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงาน ให้ได้จ่ายไปโดยสุจริต ตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมด ในการนั้น

– มีหลักฐานการเดินทาง หลักฐานค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องสมบูรณ์ –

     2. ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตรา ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง

     3. เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็น เพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างสิ้นสุดลงแล้ว

    7. เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้

      8. ดอกเบี้ย  ดอกเบี้ยที่ได้รับยกเว้นภาษี ได้แก่ ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้
          (1) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภท ฝากเผื่อเรียก
          (2) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์
          (3) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภท ออมทรัพย์เฉพาะ กรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดี ประกาศ(มาตรา 42(8))
          (4) ดอกเบี้ยเงินฝากที่เกิดจากการฝากเงินกับธนาคารในประเทศไทยและจากสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ในประเทศ เป็นรายเดือนติดต่อกันมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 24 เดือน นับแต่วันที่ฝาก โดยมียอดเงินฝากแต่ละคราวเท่ากันแต่ไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือนและรวมทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 600,000 บาท 
      9. การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แต่ไม่รวมถึงเรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป เรือกลไฟหรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไปหรือแพ 
     –  เช่นกรรมการขายรถยนต์นั่งให้กับกิจการ –
    10. เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา
    13. ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัยหรือการฌาปนกิจสงเคราะห์
   21. เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม
  22. เงินได้ของกองทุนรวม
  27. เงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล สำหรับ
      (1) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย
      (2) ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว
       ทั้งนี้ เงินจำนวนดังกล่าวได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น
– กิจการระบุเป็นสวัสดิการ / ระเบียบพนักงาน ทุกคนได้รับอย่างเท่าเทียมกันตามตำแหน่งหน้าที่งาน ไม่ถือเป็นรายได้พนักงาน กิจการนำเป็นค่าใช้จ่ายได้ –
       53. เงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าของเครื่องแบบซึ่งลูกจ้างได้รับจากนายจ้างในจำนวนคนละ ไม่เกินสองชุดต่อปีและเสื้อนอกในจำนวนคนละไม่เกินหนึ่งตัวต่อปี

115.
เงินได้เท่าที่นายจ้างจ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกิน 1 ปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับ
         (ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะการรักษาพยาบาลในประเทศไทย
         (ข) ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2549 เป็นต้นไป (กฎกระทรวง 263 พ.ศ.2550)

รายละเอียดเพิ่มเติม
การยกเว้นตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 การยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกา

 

การคำนวณหักค่าใช้จ่าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ละประเภท

1. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากฎหมายให้หัก ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา

 2. เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดในประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 45) ให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร เป็น เงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เท่านั้น การคำนวณตามเกณฑ์ในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร มีหลักเกณฑ์ดังนี้

     3. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากฎหมายยอมให้หักค่า ใช้จ่ายได้เฉพาะเงินได้ที่เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ โดยให้หักเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์แต่ไม่เกิน 60,000 บาท

4. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายไม่ยอมให้หัก ค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

     5. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายได้ ดังนี้ คือ (1) การให้เช่าทรัพย์สิน ผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้

           ก. หักตามความจำเป็นและสมควรหรือ
           ข.
หักเป็นการเหมาในอัตราที่กำหนด

    6. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายยอมให้เลือกหัก ค่าใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้
  –
ให้หักตามความจำเป็นและสมควรหรือ

           – ให้หักเป็นการเหมาดังต่อไปนี้

           – เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลป ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 60

           – เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระนอกจาก 1) หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 30

7. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายยอมให้หักค่า ใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

           – หักตามความจำเป็นและสมควร หรือ

           – หักเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 70

      8. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายยอมให้เลือกหัก ค่าใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

           – หักตามความจำเป็นและสมควร หรือ

           – หักเป็นการเหมาในอัตราร้อยละตามที่กฎหมายกำหนด

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปัญหาภาษีที่เกี่ยวข้อง
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด 90 91 94​

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant

รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียบ เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า  รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express  ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click

ขอข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อหารือทางภาษี

แบบ ภ.ง.ด.94

แบบ ภ.ง.ด.94   :  แบบแสดงรายการเพื่อยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน  เมื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 นี้แล้วเมื่อถึงปลายปีจะต้องคำนวณภาษีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม  และยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 อีกครั้ง โดยนำยอดภาษีที่ได้ชำระแล้วตามแบบ ภ.ง.ด.94 มาหักออก

ผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 :  บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ตามมาตรา 40(5) – (8) ซึ่งได้แก่

 มาตรา 40(5)  เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินต่างๆ เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เป็นต้น

มาตรา 40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป์ วิศวกรรม  สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม

มาตรา 40(7)  เงินได้จากการรับเหมาที่ต้องจัดหาสัมภาระที่สำคัญนอกเหนือจากเครื่องมือ

มาตรา 40(8)  เงินได้ที่นอกเหนือจากเงินได้มาตรา 40(1) – (7) เช่น รายได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม ขนส่งและการอื่น

การหักค่าใช้จ่าย  :  สามารถเลือกหักได้  2 วิธี คือ

1.หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร

2. หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา อัตราจะแตกต่างไปตามเงินได้ตามมาตรา 40(5) – (8) เช่น

มาตรา 40(6)  เงินได้จากวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลป์หักค่าใช้จ่ายได้ ร้อยละ 60  

ส่วนวิชาชีพอิสระอื่น เช่น ผู้ทำบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี CPA TA  หักได้ ร้อยละ 30

 การหักค่าลดหย่อน :  สามารถหักได้ครึ่งหนึ่งตามสิทธิ์

เวลายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 : ภายในกันยายนของทุกปี

ความผิดหากไม่ยื่นแบบและชำระภาษี  :  โทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และคิดเงินส่วนเพิ่ม 1.5% ของภาษีที่ค้างจ่ายเป็นรายเดือน

 

สวัสดิการพนักงาน

Inbox: 18 ตุลาคม พ.ษ. 2561 เวลา 10:39 น.
Pat Tip

เรียนสอบถามอาจาร์ยค่ะ สอบถามเรื่องสวัสดิการพนักงานค่ะ


บริษัทฯ ทำระเบียบเรื่องสวัสดิการไว้ ดังนี้


1. ค่าโทรศัพท์ และค่าน้ำมัน พนักงานฝ่ายขายและฝ่ายวิศวกร เบิกค่าใช้จ่ายได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 1,500 โดยให้นำใบเสร็จมาเบิกจ่าย


2. บริษัท จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี 1 ครั้ง จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 2,000 บาท โดยบริษัทฯ ให้พนักงานทุกคนไปตรวจเอง แล้วนำใบเสร็จ มาเบิก โดยใบเสร็จดังกล่าวจะออกมาในนามพนักงาน
ในแง่บริษัท ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ไหม และเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีหรือเปล่า


ในแง่พนักงาน ทั้งข้อ 1 และ 2 ถือเป็นรายได้ ที่ได้รบการยกเว้นไหมค่ะ
ขอบคุณค่ะ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:


กรณีบริษัทฯ จัดทำระเบียบเรื่องสวัสดิการพนักงานไว้ ดังนี้


1. ค่าโทรศัพท์ และค่าน้ำมัน พนักงานฝ่ายขายและฝ่ายวิศวกร เบิกค่าใช้จ่ายได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 1,500 โดยให้นำใบเสร็จมาเบิกจ่าย


2. บริษัทฯ จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี 1 ครั้ง จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 2,000 บาท โดยบริษัทฯ ให้พนักงานทุกคนไปตรวจเอง แล้วนำใบเสร็จ มาเบิก ใบเสร็จดังกล่าวจะออกมาในนามพนักงาน

 

 ในแง่บริษัทฯ รายจ่ายทั้งสองรายการดังกล่าว ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประวลรัษฎากร


ในแง่พนักงาน ทั้งข้อ 1 และ 2 พนักงานได้รับยกเว้นเงินได้ ตามมาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 59/2538

การยื่นภาษีครึ่งปี ภ.ง.ด.94

คุณ Kananita TK (25 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 8:57 น.)
สวัสดีค่ะ อาจารย์
หนูมีเรื่องเรียนสอบถามเกี่ยวกับ การยื่นภาษีครึ่งปี ภ.ง.ด.94 เนื่องจากรายได้ทั้งปีของหนูจะอยู่ในช่วงครึ่งปีแรก แต่การจ่ายเงิน บริษัทฯ จ่ายเงินหนู หลังมิถุนายน แต่ออกหนังสือหัก ณ ที่จ่าย เราเดือน พ.ค. ตามหลักเราควรยึดอะไรดีคะ เพราะหากคำนวณเป็นรายปีแล้ว รายได้หนูอาจไม่ต้องเสียภาษีหรือ เสียภาษีน้อยก็ได้ค่ะ
ขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ 🙏🏻

สุเทพ พงษ์พิทักษ์

วิสัชนา:

โดยปกติทั่วไป ย่อมต้องเชื่อตามหลักฐานเอกสาร เมื่อถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งในเดือนพฤษภาคม ก็ย่อมต้องถือว่า ได้รับเงินได้ในเดือนพฤษภาคม เว้นแต่จะพิสูจน์ให้ได้ความชัดแจ้งว่า ได้รับเงินได้หลังจากเดือนมิถุนายน ซึ่งก็จะเป็นความผิดของผู้จ่ายเงินได้ที่นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ไว้ผิดเดือน จึงต้องตกลงกับผู้จ่ายให้ชัดเจนว่า จะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กันในวันที่จ่ายเงินได้จริง

บุคคลธรรมดามีเงินได้จากการประกอบกิจการรับจ้างถ่ายเอกสาร มีภาระภาษีอย่างไรบ้าง

วิสัชนา :



ประกอบกิจการรับจ้างถ่ายเอกสาร ในปัจจุบันที่วิทยาการและเทคโนโลยีก้าวหน้าไป นั้น เข้ามาแทนที่กิจการโรงพิมพ์ได้เป็นอย่างดี พิมพ์ซ้ำได้ผลงานเหมือนหรือเกือบเหมือนกับต้นฉบับ เข้าลักษณะเป็น “รับพิมพ์ หรือเย็บสมุด เอกสาร รวมทั้งการขายส่วนประกอบ” ตามมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกัมมาตรา 8 (16) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2509 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 629) พ.ศ. 2560 ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี พ.ศ. 2560 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป)


ไม่อาจมองได้ว่า เป็นกิจการถ่าย ล้าง อัด หรือขยายรูป ภาพยนตร์ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ตามตามมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกัมมาตรา 8 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2509 ได้เลย เพราะแตกต่างกันทั้งเครืื่่องมือ วัสดุอุปกรณ์ วิธีการปฏิบัติงาน และผลลัพธ์ที่ได้

กรณีบุคคลธรรมดาประกอบกิจการรับจ้างถ่ายเอกสารให้แก่บุคคลทั่วไป และบริษัท โดยมีการทำเป็นสัญญา มีภาระภาษี ดังนี้


1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
….เงินได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ในส่วนที่เป็น “รับพิมพ์ หรือเย็บสมุด เอกสาร รวมทั้งการขายส่วนประกอบ” ตามมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกัมมาตรา 8 (16) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2509 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 629) พ.ศ. 2560 ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี พ.ศ. 2560 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป)

หากมีเงินได้เกิน 60,000 บาท ต่อปี มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 สำหรับเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคม – ธันวาคม ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

และยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน ภายในเดือนกันยายนเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

และหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตรา 60% ของเงินได้ หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร โดยนำมาตรา 65 ทวิ และ มาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502

 

2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย


….(1) ผู้จ่ายเป็นนิติบุคคลจ่ายเงินตามสัญญาดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของที่มุ่งผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ ตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้าง ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ


….(2) ผู้จ่ายเป็นบุคคลธรรมดา จ่ายเงินตามสัญญาจ้างดังกล่าวไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพราะไม่อยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม


….การให้บริการรับจ้างถ่ายเอกสารถือเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร หากผู้ประกอบการมีเงินได้เกิน 1,800,000 บาท ต่อปี มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีรายไ้ดเกินกว่ามูลค่าฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม (ตั้งแต่รายได้ในส่วน 1,800,001 บาทขึ้นไป) ตามมาตรา 85/1 แห่งประมวลรัษฎากร

 

4. อากรแสตมป์


….สัญญารับจ้างถ่ายเอกสารเข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของ ต้องเสียอากรแสตมป์ ตามลักษณะตราสาร 4.แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ต้องเสียอากรแสตมป์ในอัตรา ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท ของค่าจ้างที่กำหนดไว้ เสียอากร 1 บาท โดยผู้รับจ้างเป็นผู้มีหน้าที่เสียอากรและขีดฆ่าอากรแสตมป์

 

เงินได้มาตรา 40(1) หรือ 40(6)

คุณ Apichart Mejit (8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561)
เรียน ท่านอาจารย์ สุเทพ


ทางบริษัทฯ ต้องการว่าจ้างวิศวกรเป็นพนักงานประจำ ซึ่งต้องหักตามมาตรา 40 (1) แต่ทางวิศวกรได้แจ้งว่าจะขอให้หักตาม ม 40 (6) เพราะทำงานหลายที่ มีรายได้สูง แต่ทางบัญชีแย้งว่า ต้องหักแบบ ม 40 (1) แต่ท้ายสุดทางบัญชีก็ต้องทำตามคำสั่งผู้บริหารให้หักตามแบบที่วิศวกรต้องการ (ไม่งั้นก็รับ พนง บัญชีใหม่)


จึงอยากเรียนถามท่านอาจารย์ว่า หากโดนตรวจ ทางบริษัทฯ จะโดนปรับหรือไม่หากว่า คำนวณแล้ว ภาษีที่คำนวณตาม มาตรา 40 (6) น้อยกว่าตาม มาตรา 40 (1) หรือ วิศวกรเป็นผู้โดนประเมินเอง เพราะบัญชีคงหักตาม ค่าวิชาชีพ ไปครับ


ขอบพระคุณท่านอาจารย์ครับ
บัญชี

 

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
กรณีบริษัทฯ ต้องการว่าจ้างวิศวกรให้มาทำงานกับบริษัทฯ โดยวิศวกรได้แจ้งว่า ขอให้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในฐานะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะทำงานหลายที่ และมีรายได้สูง นั้น

เกณฑ์การพิจารณาว่า เงินได้พึงประเมินที่จ่ายให้วิศวกรท่านนั้นเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินนามมาตรา 40 (1) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากรนั้น

พิจารณาตามข้อเท็จจริงในการว่าจ้างที่ได้ตกลงกันระหว่าง บริษัทฯ กับวิศวกร

1. หากวิศวกรปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างพนักงานทั่วไป โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือน ไม่ว่าจะมีผลการปฏิบัติงานหรือไม่ก็ตาม ต้องปฏิบัติงานภายใต้กฎระเบียบการจ้างแรงงาน และมีสิทธิได้รับสวัสดิการเช่นเดียวกับพนักงานประจำทั่วไป ค่าจ้างที่จ่ายเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

2. หากวิศวกรปฏิบัติงานในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม โดยปฏิบัติงานเป็น job มีอิสระในการปฏิบัติงาน ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบการปฏิบัติงานของบริษัทฯ บริษัทฯ จ่ายค่าสินจ้างตามผลสำเร็จของงาน เช่นนี้ สินจ้างที่จ่ายเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร หากมีสัญญาจ้างระหว่างกัน วิศวกรมีหน้าที่ต้องปิดอากรแสตมป์ ตามลักษณะตราสาร 4 แห่งบัญชีอัตาอากรแสตมป์
จึงขอให้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นแต่ละกรณีไป

เงินรางวัลเป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทใด

คุณ Orapin Keawmukda (14 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 6:33 น.)
อาจารย์คะ ในกรณีเงินรางวัลเป็นเงินได้พึงประเมิน 40(8) หรือเปล่าคะเมื่อนำมารวมเพื่อคำนวณภาษีมีค่าใช้จ่ายตามกฎหมายไหมคะ ขอบคุณค่ะ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
เงินได้พึงประเมินที่เป็นรางวัลไม่ใช่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เสมอไป ต้องได้รายละเอียดข้อเท็จจริง ประกอบการมีรายได้ ดังเช่นกรณีตัวอย่างต่อไปนี้

– ในเบื้องต้น ก็จริงอยู่เมื่อกล่างถึงคำว่า “รางวัล” เราท่านทั้งหลายย่อมนึกถึง รางวัลจากการประกวด แข่งขัน และชิงโชค ที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร หรือ

– กรณีรางวัลจากการส่งเสริมการขาย ที่ดีลเลอร์หรือผู้จัดจำหน่ายได้รับจาก Supplier ก็ข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ดัวยเช่นกัน

– กรณีลูกจ้างพนักงาน ได้รับรางวัลจากนายจ้าง ไม่ว่าจะด้วยวิธีการจับสลาก หรือด้วยวิธีการอื่น ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะเป็นเงินได้เนื่องจากแรงงาน เหตุที่ลูกจ้างพนักงานได้รับรางวัลเกิดจากการเป็นลูกจ้างพนักงาน หรือ

– กรณีพนักงานขายอิสระ ซึ่งรับเงินค่านายหน้าจากผู้ว่าจ้าง ได้รับรางวัลพิเศษจากผู้ว่าจ้าง หรือตัวแทนนายหน้าได้รับรางวัลจากตัวการ รางวัลที่ได้รับย่อมถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร หรือ

– กรณีผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้รับโบนัสจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร
ฯลฯ

รายได้ค่าส่งเสริมการขาย 40(8)/40(2)

คุณ Proserm Simcard (เสารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 10:19 น.)
สวัสดีครับอาจารย์
ผมได้ขายโปรโมชั่นอินเตอร์เน็ตซิมการ์ดมือถือ ผ่านออนไลน์ของค่ายซิม แห่งหนึ่ง ซึ่งผมได้รับเงินค่าตอบแทน ประมาณเดือนละไม่ต่ำกว่า 3 แสนบาท (มากน้อยอยู่ที่ผลงาน แต่ไม่ใช่เงินเดือนครับ) ซึ่งทางบริษัทซิม ออกเป็น มาตรา 40 (8) ส่งเสริมการขาย
ถามว่า ผมต้องจด มูลค่าเพิ่ม VAT เมื่อถึง 1.8 ล้านไหมครับ
ผมเป็นบุคคลธรรมดา
ขอบคุณครับ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:


กรณีผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดาได้ขายโปรโมชั่นอินเตอร์เน็ตซิมการ์ดมือถือ ผ่านออนไลน์ของค่ายซิม แห่งหนึ่ง โดยได้รับเงินค่าตอบแทน ประมาณเดือนละไม่ต่ำกว่า 3 แสนบาท (มากน้อยอยู่ที่ผลงาน แต่ไม่ใช่เงินเดือนครับ) ซึ่งทางบริษัทซิม ออกเป็น มาตรา 40 (8) ส่งเสริมการขาย จึงขอถามว่า เมื่อมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ นั้น


ขอเรียนว่า การประกอบกิจการเป็นนายหน้าตัวแทนขายขายโปรโมชั่นอินเตอร์เน็ตซิมการ์ดมือถือ ผ่านออนไลน์ของค่ายซิม แห่งหนึ่ง โดยได้รับเงินค่าตอบแทน ดังกล่าว ซึ่งไม่ต้องรับรู้เงินได้จากการขายโปรโมชั่นอินเตอร์เน็ตซิมการ์ดมือถือ ผ่านออนไลน์

เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินจากการเป็นนายหน้าตัวแทน ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีรายได้จากการให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปั โดยถือเป็นผู้ประกอบการจากการให้บริการ


การที่จะถือเป็นรางวัลส่งเสริมการขายที่ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 118/2545 ได้นั้น ผู้ประกอบการต้องเป็นตัวแทนจำหน่าย (Dealer) ขายโปรโมชั่นอินเตอร์เน็ตซิมการ์ดมือถือ ผ่านออนไลน์ โดยต้องรับรู้รายได้จากการขายโปรโมชั่นอินเตอร์เน็ตซิมการ์ดมือถือ ผ่านออนไลน์ เป็นรายได้ แล้วจึงได้รับรางวัลส่งเสริมการขาย ซึ่งหากรายได้จากการขายโปรโมชั่นอินเตอร์เน็ตซิมการ์ดมือถือ ผ่านออนไลน์ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยถือเป็นผู้ประกอบการขายสินค้า

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย กรณีโรงพยาบาลจ้างบุคลากรจากที่อื่นมาทำงานนอกเวลา

คุณ Waraporn Prungsingh (อังคารที่ 20 มีนาคม 2561 เวลา 1:58 น.)
รบกวนอาจารย์ค่ะ

พยาบาลวิชาชีพทำงานประจำโรงพยาบาลรัฐบาล เงินได้คือ 40 (1) ถูกต้องไหมคะ

แต่พยาบาลวิชาชีพคนเดิม ทำงานนอกเวลาราชการ โดยการไปอยู่เวรที่โรงพยาบาลเอกชน ได้รับค่าตอบแทนแต่ละเดือนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนเวรที่ไป รายได้คือ 40 (2)/ 40 (1) ถูกต้องไหมคะ

และพยาบาลคนเดิม อยู่เวรห้องพยาบาลที่โรงงานด้วย ได้ค่าตอบแทนตามจำนวนเวรที่ไป แต่โรงงานนี้ออกใบภาษีมาเป็น 40 (6) อันนี้จะสอบถามค่ะ ว่าใช้ยื่นเป็น 40 (6) ได้หรือไม่คะ ค่าวิชาชีพอิสระ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติ ในการแยกพิจารณาเงินได้ของพยาบาลตามแนวคำตอบข้อหารือต่อไปนี้

เลขที่หนังสือ : กค 0811(กม)/1435
วันที่ : 7 สิงหาคม 2541
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย กรณีโรงพยาบาลจ้างบุคลากรจากที่อื่นมาทำงานนอกเวลา
ข้อกฎหมาย : มาตรา40 (1), มาตรา40 (2), มาตรา40 (6)

เลขที่หนังสือ : กค 0811/9967
วันที่ : 17 ตุลาคม 2544
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากการประกอบอาชีพพยาบาล
ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(2)

ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
1. กรณีพยาบาลวิชาชีพทำงานประจำโรงพยาบาลรัฐบาล เข้าลักษณะเป็นเงินได้จากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษากร ถูกต้องแล้วครับ

2. กรณีพยาบาลวิชาชีพคนเดิม ทำงานนอกเวลาราชการ โดยการไปอยู่เวรที่โรงพยาบาลเอกชน ได้รับค่าตอบแทนแต่ละเดือนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนเวรที่ไป หากข้อเท็จจริงของสัญญาจ้างสรุปได้ว่า ผู้รับจ้าง รับจ้างรักษาพยาบาลลูกค้า ลูกจ้างและพนักงานของ บริษัทฯ ผู้ว่าจ้าง และ ผู้ว่าจ้างตกลงที่จะจ่ายค่าตอบแทนเพื่อผลสำเร็จของงาน โดยคำนวณจากการปฏิบัติงานตามจำนวนชั่วโมงการปฏิบัติงานที่บริษัทฯ ผู้ว่าจ้างได้กำหนดไว้ ดังนั้น เงินได้ที่ผู้รับจ้างได้รับตามสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าว จึงเข้าลักษณะเป็นเงินได้จากการรับจ้างทำงานให้เป็นเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร

3. พยาบาลคนเดิม อยู่เวรห้องพยาบาลที่โรงงานด้วย ได้ค่าตอบแทนตามจำนวนเวรที่ไป หากของสัญญาจ้างสรุปได้ว่า ผู้รับจ้าง รับจ้างรักษาพยาบาลลูกค้า ลูกจ้างและพนักงานของ บริษัทฯ ผู้ว่าจ้าง และ ผู้ว่าจ้างตกลงที่จะจ่ายค่าตอบแทนเพื่อผลสำเร็จของงาน โดยคำนวณจากการปฏิบัติงานตามจำนวนชั่วโมงการปฏิบัติงานที่บริษัทฯ ผู้ว่าจ้างได้กำหนดไว้ ดังนั้น เงินได้ที่ผู้รับจ้างได้รับตามสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าว จึงเข้าลักษณะเป็นเงินได้จากการรับจ้างทำงานให้เป็นเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร การที่โรงงานออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแสดงว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร จึงยังไม่ถูกต้อง

ตัวแทนขายประกันชีวิต

คุณ Yindee Sudaratat (7 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 19:57 น.)
รบกวนสอบถามอาจารย์ ดังนี้

1. บุคคลธรรมดาเป็นตัวแทนขายประกันชีวิต จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถือเป็นรายได้ตามมาตรา 40 (8) ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง เช่น น้ำมัน ค่าประกันรถยนต์ ค่าซ่อมแซม ค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถนำมาเป็นภาษีซื้อได้ไหมค่ะ

2. ค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าให้ลูกค้าเนื่องในโอกาสต่างๆ เช่นเยี่ยมลูกค้าในกรณีเข้าโรงพยาบาล คลอดลูก ค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้านำมาเป็นภาษีซื้อได้ไหม

3. ค่าใช้จ่ายจากข้อ 1 และ 2 ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการหรือไม่

ขอบคุณค่ะ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:

1. กรณีบุคคลธรรมดาเป็นตัวแทนบริษัทประกันชีวิต จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่จะถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขตามข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 115/2545 ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง เช่น น้ำมัน ค่าประกันรถยนต์ ค่าซ่อมแซม ค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่สามารถนำมาเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เนื่องจากเป้นภาษีซื่อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร

2. ค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าให้ลูกค้าเนื่องในโอกาสต่างๆ เช่น เยี่ยมลูกค้าในกรณีเข้าโรงพยาบาล คลอดลูก ค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้า ไม่สามารถนำมาเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เนื่องจากเป็นภาษีซื่อสำหรับรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือค่ารับรอง

3. ค่าใช้จ่ายจากข้อ 1 ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการได้รวมทั้งค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนรายจ่ายตาม 2 ในส่วนของค่ารับรอง ก็ให้นำมาถือเป็นรายจ่ายได้ ตามจำนวนทีจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 0.3% ของเงินได้พึงประเมิน

คำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ป. 59/2538

เรื่อง      ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร

เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งแนะนำผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ สำหรับค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางในกรณีที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่นอกสำนักงานหรือนอกสถานที่เป็นครั้งคราว ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้

                ข้อ 1  ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่ลูกจ้างหรือผู้มีหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ ได้รับเนื่องจากการเดินทางไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ในประเทศหรือต่างประเทศเป็นครั้งคราว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเข้าลักษณะดังนี้

                        (1) ต้องเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลดังกล่าวได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่จะต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น

                        (2) ในกรณีบุคคลดังกล่าวได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราไม่เกินอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงสูงสุดที่ทางราชการกำหนดจ่ายให้แก่ข้าราชการ ตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ในประเทศหรือต่างประเทศ แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายในลักษณะเหมาจ่าย ให้ถือว่าค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าว เป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลดังกล่าวได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น โดยไม่ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินมาพิสูจน์

                        (3) ในกรณีบุคคลดังกล่าวได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราเกินกว่าอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงตาม (2) และบุคคลดังกล่าวไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ว่าได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้นให้ถือว่าค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลนั้นได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็น เพียงเฉพาะในส่วนที่ไม่เกินอัตราตาม (2)

                ข้อ 2  การเดินทางไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ ตามข้อ 1 ต้องมีหลักฐานการได้รับอนุมัติให้เดินทางไปปฏิบัติงานนอกสำนักงานหรือนอกสถานที่จากนายจ้างหรือผู้จ่ายเงินได้ โดยต้องระบุลักษณะงานที่ทำและระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามหน้าที่แล้วแต่กรณีด้วย

               

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ รับทำบัญชี บุคคลธรรมดา รับ ทำ บัญชียื่นภาษี รับจ้างยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รับยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริการรับทำบัญชี รับทำบัญชีอิสระ รับยื่นภาษีบุคคลธรรมดา รับ ยื่น ภ งด 90 รับทำบัญชี pantip รับทำบัญชี รับทำบัญชีอิสระ รับทำบัญชี pantip รับ ทำ บัญชี ที่ บ้าน รับทำบัญชี กรุงเทพ อยากรับทำบัญชี รับ ทำ บัญชียื่นภาษี รับทำบัญชี นนทบุรี รับทำบัญชี ราคาถูก

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 6,083

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า