Skip to content

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ค่าลดหย่อน เงินบริจาค​​

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ค่าลดหย่อน เงินบริจาค​​

รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขาย

 

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ค่าลดหย่อน เงินบริจาค​​ ความหมายของ “ค่าลดหย่อน” หรือ “ค่าลดหย่อนภาษี” มันคือ “รายการที่กฎหมายกำหนดไว้ให้นำไปหักออกจากเงินได้เพิ่มขึ้นหลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว”

คำสั่งกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้องกับ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ค่าลดหย่อน เงินบริจาค​​

17. เงินบริจาค

– เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น

– เงินบริจาคสาธารณประโยชน์ หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น

   ได้แก่ เงินบริจาคให้แก่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้น
             เงินบริจาคในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน
             เงินบริจาคในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวก
             เงินบริจาคให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
             เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการกีฬา และ
             เงินบริจาคเข้าโครงการฝึกอบรมอาชีพและการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดแก้ไข ฟื้นฟู และสงเคราะห์เด็กและเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนหรือศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม
              เงินบริจาคให้กองทุนพัฒนาสิ่งปลอดภัยและสร้างสรรค์ กองทุนเสริมงานวัฒนธรรม กองทุนเสริมศิลปะร่วมสมัย กองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุหรือกองทุนโบราณคดี และเงินบริจาคให้สถานศึกษาของรัฐ โรงเรียนเอกชน (แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนนอกระบบ)

– เงินบริจาคทั่วไป หักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ค่าลดหย่อน เงินบริจาค​​
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ค่าลดหย่อน เงินบริจาค​​

ถาม - ตอบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ค่าลดหย่อน เงินบริจาค​​

ข้อแตกต่างในการหักลดหย่อนระหว่างการบริจาคเงินสนับสนุนเพื่อการศึกษาและเงินบริจาค

คำถาม :   ใบอนุโมทนาบัตรเขียนว่า “มอบเงินเพื่อเป็นเจ้าภาพบรรพชาสามเณรและถวายทุนการศึกษา” ของโรงเรียนวัดรัฐบาล ถือเป็นเงินบริจาคหรือสนับสนุนเพื่อการศึกษา

คำตอบ :   ถือว่าเป็นเงินบริจาค ตามมาตรา 47(7) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากเงินสนับสนุนเพื่อการศึกษาต้องเป็นการจ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาตามโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบและเป็นค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 420) พ.ศ.2547

ภริยามีเงินได้ ในระหว่างปีภาษีบริจาคเงินไว้ และยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 รวมกับสามี

คำถาม :   สามีมีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารและเงินได้ประเภทอื่น ซึ่งสามารถเลือกนำ มาคำนวณภาษีได้ และภริยามีเงินได้หลายอย่าง รวมทั้งมีเงินได้จากเงินฝากธนาคารและเงินปันผลด้วย และสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินบริจาค ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ของสามีระบุว่า คู่สมรสมีเงินได้รวมคำนวณ จะหักลดหย่อนเงินบริจาคอย่างไร

คำตอบ :   การหักลดหย่อนเงินบริจาค กฎหมายกำหนดให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินำเงินบริจาคมาหักลดหย่อนได้ ตามมาตรา 47(7)(ก)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีสามีและภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย กฎหมายกำหนดให้ถือว่า เงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และสามีเป็นผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษี โดยถือว่าสามีและภริยาเป็นหน่วยภาษีเดียวกัน ดังนั้น ในส่วนของเงินบริจาคไม่ว่าจะเป็นการบริจาคในนามของสามีหรือภริยา สามีมีสิทธินำเงินบริจาคทั้งในส่วนของตนเองและในส่วนของภริยามาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้
                 อย่างไรก็ตาม  หากสามีใช้สิทธิเลือกไม่นำเงินได้ในส่วนของตนทั้งหมดมารวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามีไม่มีสิทธิ์นำเงินบริจาคในส่วนของตนเองมาหักลดหย่อน แต่มีสิทธิ์นำเงินบริจาคเฉพาะส่วนของภริยามาหักลดหย่อนได้เท่านั้น

 

 

การบริจาคเงินให้โบสถ์ทางคริสต์ศาสนา หรือมัสยิดตามศาสนาอิสลาม และวัดที่ก่อตั้งขึ้นในต่างประเทศ

คำถาม :   บริจาคเงินให้วัดวาอาราม รวมถึงวัดในต่างแดน และทุกศาสนา นำมาหักค่าลดหย่อนได้หรือไม่

 

คำตอบ :   การบริจาคให้วัดที่ก่อตั้งขึ้นในต่างประเทศ ผู้บริจาคไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนเงินบริจาคได้ ส่วนการบริจาคให้วัด (ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505) โบสถ์ทางคริสต์ศาสนา หรือมัสยิดตามศาสนาอิสลาม ที่ตั้งในไทย สามารถหักลดหย่อนได้ ได้ ตามมาตรา 47(7) แห่งประมวลรัษฎากร

การบริจาคเงินเพื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ให้แก่โครงการของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ

คำถาม :   บุคคลธรรมดาบริจาคเงินเพื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ให้แก่โครงการพัฒนาเด็กไทยด้วย ICT ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีสิทธิหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้หรือไม่

 

คำตอบ :   ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนบริจาคได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ทั้งนี้จะต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินที่เหลือจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว เพราะถือเป็นการบริจาคเงินให้แก่สถานศึกษาของทางราชการ หรือสถานศึกษาที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถานศึกษาที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

 

 

 

บุคคลธรรมดาบริจาคทรัพย์สินให้แก่สถานศึกษา

คำถาม :   บุคคลธรรมดาบริจาคทรัพย์สิน เช่น คอมพิวเตอร์ ให้แก่สถานศึกษา สามารถนำมูลค่าของทรัพย์สินที่บริจาคมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้หรือไม่

คำตอบ :   บุคคลธรรมดาบริจาคทรัพย์สินให้แก่สถานศึกษา ไม่สามารถนำมูลค่าของทรัพย์สินมาหักลดหย่อนได้ แต่หากบริจาคเงินเพื่อซื้อทรัพย์สิน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ให้แก่สถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาขององค์การรัฐบาล โรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ก็มีสิทธิหักลดหย่อนได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินที่เหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ ตามมาตรา 47(7) แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว และหากเป็นการบริจาคให้แก่โครงการที่กระทรวงศึกษาให้ความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการที่กำหนด ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 420) พ.ศ.2547 จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวน 2 เท่า แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนดังกล่าวแล้ว

 

 

บุคคลธรรมดาบริจาคเงินทำบุญทอดกฐิน

คำถาม :   บุคคลธรรมดาบริจาคเงินทำบุญทอดกฐินที่วัด สามารถนำหลักฐานการบริจาคที่วัดออกให้มาหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่

คำตอบ :   หากบุคคลธรรมดาบริจาคเงินทำบุญทอดกฐินที่วัดที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และได้รับการประกาศตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ก็มีสิทธินำเงินบริจาคดังกล่าวไปหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว

ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 แสดงความประสงค์บริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองแล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้

คำถาม :   นาย ก. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 มีเงินภาษีต้องชำระ จำนวน 500 บาท แสดงความประสงค์บริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ต่อมาต้องการเปลี่ยนพรรคการเมืองที่ได้แสดงความประสงค์ไว้ สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพิ่มเติม เพื่อแจ้งความประสงค์บริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองใหม่ได้หรือไม่

คำตอบ :   ไม่ได้  เมื่อผู้เสียภาษีแสดงเจตนาบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองใดแล้ว ห้ามเปลี่ยนแปลง ตามข้อ 1(2) ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 176)
                   อย่างไรก็ตาม  หากผู้เสียภาษียื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ฉบับปกติ ไม่ได้แสดงเจตนาบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองใด ต่อมาผู้เสียภาษีมีความประสงค์จะแสดงเจตนาบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมือง ผู้เสียภาษีสามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพิ่มเติม เพื่อแจ้งความประสงค์บริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองได้

บุคคลหลายคนบริจาคเงินร่วมกัน

คำถาม :   ผู้มีเงินได้ร่วมกันบริจาคเงิน โดยระบุชื่อบุคคลหลายคนในใบเสร็จรับเงินบริจาค แต่ไม่ได้แยกจำนวนเงินไว้ หากผู้บริจาคทุกคนมีเงินได้จะสามารถนำไปลดหย่อนเงินบริจาคได้คนละเท่าไร

คำตอบ :   ถือว่าบริจาคคนละเท่า ๆ กัน 

บริจาคร่วม 2 คน ไม่ใช้สิทธิหักลดหย่อนเงินบริจาค 1 คน

คำถาม :   นาย ก และ นาย ข บริจาคเงินให้วัดได้รับใบอนุโมทนาบัตรระบุชื่อผู้บริจาคร่วม แต่นาย ก ไม่ใช้สิทธิหักลดหย่อนเงินบริจาค สามารถให้นาย ข นำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนเงินบริจาคทั้งจำนวนได้หรือไม่

คำตอบ :     ไม่ได้ นาย ก และนาย ข มีสิทธิหักลดหย่อนเงินบริจาคคนละครึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 47(7) แห่งประมวลรัษฎากร

รูปแบบใบอนุโมทนาบัตรที่มีสิทธินำไปหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณเงินได้

คำถาม :   วัด ก. ได้รับประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2542 ขอทราบรูปแบบใบอนุโมทนาบัตรที่ถูกต้องตามประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2)

คำตอบ :   ประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวมิได้มีการกำหนดตัวอย่างรูปแบบของใบอนุโมทนาบัตรไว้  แต่ควรมีข้อความอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
                    1. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบรับ
                    2. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ออกใบรับ
                    3. เลขลำดับของเล่มและของใบรับ
                    4. วัน เดือน ปีที่ออกใบรับ
                    5. จำนวนเงินที่รับ
                    ทั้งนี้ ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

ค้นหารายชื่อมูลนิธิสมาคมที่ได้รับการประกาศเป็นองค์การสาธารณกุศล

คำถาม :   จะค้นหารายชื่อมูลนิธิสมาคมที่ลดหย่อนภาษีได้จากเว็บไซต์ใด

คำตอบ :   ที่ www.rd.go.th => เมนูบริการข้อมูล => รายชื่อมูลนิธิ สถานสาธารณกุศล ที่สามารถหักลดหย่อนเงินบริจาคได้

กรณีบริจาคเงินให้สมาคมผู้ปกครองและครู หักลดหย่อนไม่ได้

คำถาม :   นาย ก.บริจาคเงินสมทบทุนโครงการพัฒนาโรงเรียน  เป็นเงิน 20,000 บาท จะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ใบเสร็จรับเงินเลขที่ 0449 ลงวันที่ 8 เมษายน 2560   สมาคมผู้ปกครองและครู  รายการพัฒนาอาคารสถานที่ การเรียนการสอน และสวัสดิการ หากสามารถนำมาหักภาษีได้ จะถือว่าเป็นเงินสนับสนุนการศึกษาหรือเงินบริจาค

คำตอบ :   บริจาคเงินให้สมาคมผู้ปกครองและครูไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ เนื่องจากไม่ได้มีการประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล และไม่ถือเป็นเงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา

เอกสารหลักฐานในการบริจาคเงินหรือสิ่งของให้กับโรงเรียนต้องเป็นใบอนุโมทนาบัตรหรือไม่

คำถาม :   ในการบริจาคสิ่งของหรือบริจาคเงินให้กับโรงเรียน โรงเรียนจะต้องออกเป็นหลักฐานอย่างไร

คำตอบ :   โรงเรียนจะออกเป็นบันทึกหรือหนังสือใดๆที่เป็นหลักฐานแสดงว่าได้บริจาคเงินจากผู้ใด จำนวนเท่าใดและเมื่อใด ถือเป็นหลักฐานการบริจาคได้

บริจาคเงินในนามผู้มีเงินได้และคู่สมรส แต่คู่สมรสไม่มีเงินได้

คำถาม :   เงินบริจาคในนามผู้มีเงินได้และคู่สมรส แต่คู่สมรสไม่มีเงินได้จะหักค่าลดหย่อนได้เต็มหรือไม่
คำตอบ :   หักได้เฉพาะส่วนเฉลี่ยที่เป็นของผู้มีเงินได้

บริจาคชุดนักเรียน และเครื่องเขียนให้โรงเรียน หักลดหย่อนไม่ได้

คำถาม :   นาย ก  บริจาคชุดนักเรียน และเครื่องเขียน รวมเป็นเงิน 20,000 บาทหักค่าลดหย่อนได้หรือไม่
คำตอบ :   การหักลดหย่อนเงินบริจาคมีหลักเกณฑ์ว่าต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น

บริจาคเงินให้กับวัดไทยในต่างประเทศ นำมาลดหย่อนไม่ได้

คำถาม :   นาย ข.  บริจาคเงินให้กับวัดไทยในประเทศอินเดีย จะนำมาลดหย่อนเงินบริจาคได้หรือไม
คำตอบ :   ไม่ได้ เนื่องจากวัดไทยในต่างประเทศไม่ได้จัตดั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505

ค่าบำรุงการศึกษา/ค่าเทอม/ค่าเล่าเรียน หักลดหย่อนไม่ได้

คำถาม :   นาย ฉ จ่ายค่าบำรุงการศึกษา/ค่าเทอม/ค่าเล่าเรียน  นำใบเสร็จรับเงินที่ได้รับจากสถานศึกษาไปหักค่าลดหย่อนการบริจาคให้ 1 ได้ 2  ได้หรือไม่
คำตอบ :   ไม่ได้ เนื่องจากการจ่ายเงินค่าบำรุงการศึกษา/ค่าเทอม/ค่าเล่าเรียน ไม่ใช่เป็นการบริจาค

บริจาคเงินให้กับโรงเรียนเอกชน สามารถหักลดหย่อนได้ 2 เท่า

คำถาม :   นาย ค.  บริจาคเงินให้กับโรงเรียนเอกชน เป็นเงินจำนวน 10,000 บาท หักลดหย่อนได้หรือไม
คำตอบ :   การบริจาคเงินให้กับสถานศึกษา สามารถหักลดหย่อนได้ 2 เท่า แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ ค่าลดหย่อน 2561 รายการลดหย่อนภาษี 2561 หักลดหย่อนภาษี 2561 ลดหย่อนภาษี 2561 มีอะไรบ้าง ลดหย่อนภาษี 2562 ลดหย่อนภาษี 2561 ท่องเที่ยว รายการลดหย่อนภาษี 2562 ลดหย่อนภาษี 2561 ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี 2561 pantip

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 4,074

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า