Skip to content

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ต่างกับผู้ทำบัญชีอย่างไร ของบริษัท

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี กับผู้ทำบัญชี คือใคร

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี  กับผู้ทำบัญชีคือใคร หน้าที่ความรับผิดชอบ กิจการต้องเริ่มทำบัญชีเมื่อไหร่

ตาม พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดไว้ว่า

    ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

 —   บริษัท ห้าง กระทำการโดยกรรมการผู้กระทำการแทน ดังนั้น กรรมการของห้างเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

ผู้ที่หน้าที่จัดทำบัญชี
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย - พรบการบัญชี 2543

พรบ.การบัญชี 2543 กำหนด หน้าที่ของ "ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี" ดังต่อไปนี้

มาตรา ๙ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดให้มีการทำบัญชีนับแต่วันเริ่มทำบัญชี ดังต่อไปนี้เป็นต้นไป

          (๑) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้น ได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย

        (๔) สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำตามมาตรา ๘ วรรคสอง ให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำนั้นเริ่มต้นประกอบกิจการ -- สาขาของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน เริ่มทำบัญชีเมื่อเริ่มประกอบการ

ปิดบัญชี มาตรา ๑๐ 

  1. ครั้งแรก ภายใน 12 เดือน นับจากวันเริ่มทำบัญชี หรือวันจดจัดตั้งบริษัท
     เช่น จดทะเบียนวันที่ 13/7/2564 ปิดบัญชีครั้งแรกวันที่ 31/12/2564 หรือ 30/6/2565 หรือ 12/7/2564 ก็ได้

  2. การปิดบัญชีครั้งต่อไป ให้ ปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับจากปิดบัญชีครั้งก่้อน

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ซึ่งแยกได้เป็น ๓ ประเภท

(๑) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก

(๒) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก

(๓) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง

(๑) ชื่อของผู้จัดทำเอกสารซึ่งอาจใช้ชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจของผู้จัดทำเอกสารก็ได้

(๒) ชื่อของเอกสาร

(๓) เลขที่ของเอกสาร และเล่มที่ (ถ้ามี)

(๔) วัน เดือน ปี ที่ออกเอกสาร

(๕) จำนวนเงินรวม

เอกสารเพื่อเป็นหลักฐานในการรับเงิน รับฝากเงิน รับชำระเงินหรือตั๋วเงินต้องมีรายการต่อไปนี้

(ก) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกิจการที่จัดทำเอกสาร

(ข) สถานที่ตั้งของกิจการที่จัดทำเอกสาร

(ค) รายละเอียดเกี่ยวกับการรับเงินหรือตั๋วเงิน

(ง) ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ ราคาต่อหน่วย และราคารวมของสินค้าหรือบริการแต่ละรายการ เว้นแต่ได้ระบุรายละเอียดดังกล่าวไว้ในเอกสารตาม (๒) (ค) แล้ว

(จ) ลายมือชื่อของผู้รับเงินหรือตั๋วเงิน เว้นแต่เป็นเอกสารที่จัดทำและส่งมอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมืออื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน

หลักฐานในการจำหน่าย จ่าย โอน ส่งมอบสินค้าหรือบริการโดยยังมิได้มีการชำระเงินหรือตั๋วเงิน ต้องมีรายการต่อไปนี้

(ก) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกิจการที่จัดทำเอกสาร

(ข) สถานที่ตั้งของกิจการที่จัดทำเอกสาร

(ค) ชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ ราคาต่อหน่วย และราคารวมของสินค้าหรือบริการแต่ละรายการ

(ง) ชื่อหรือชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ และที่อยู่ของผู้ซื้อหรือผู้รับสินค้าหรือผู้รับบริการ

(จ) ลายมือชื่อผู้จัดทำเอกสาร

(ฉ) ลายมือชื่อผู้รับสินค้าหรือผู้รับบริการ

 

.

(๑) คำอธิบายรายการ

(๒) วิธีการและการคำนวณต่างๆ (ถ้ามี)

(๓) ลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ****

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก ต้องมีสำเนาเก็บไว้อย่างน้อย 1 ฉบับ

การลงรายการในบัญชีรายวันและบัญชีสินค้า ต้อง

(๑) มีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีทุกรายการและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีนั้นต้องสามารถแสดงความถูกต้องครบถ้วนของรายการบัญชีตามความเป็นจริง และเป็นที่เชื่อถือได้

(๒) ใช้เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีตามข้อ 1. ที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอกหรือจัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอกแล้วแต่กรณีก่อน เว้นแต่ไม่มีเอกสารดังกล่าวจึงให้ใช้เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง

คำถาม - กิจการดึงบิลค่าใช้จ่ายออก เพราะไม่อยากขาดทุนมากไป ผิดหรือไม่

ตอบ  - ตามกฎหมายถือว่าไม่ครบถ้วน เสียภาษีเพิ่มนะคะ

(๑) บัญชีรายวัน
           (ก) บัญชีเงินสด
           (ข) บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร
           (ค) บัญชีรายวันซื้อ
           (ง) บัญชีรายวันขาย
           (จ) บัญชีรายวันทั่วไป
(๒) บัญชีแยกประเภท
         (ก) บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน
         (ข) บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย
         (ค) บัญชีแยกประเภทลูกหนี้
        (ง) บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้
(๓) บัญชีสินค้า
(๔) บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่น และบัญชีแยกประเภทย่อยตามความจำเป็นแก่การทำบัญชีของธุรกิจ

---  เยอะมาก  ใช้โปรแกรมบัญชีเถอะค่ะ ได้ทุกประเภทบัญชีที่กฎหมายกำหนด ---

(๑) บัญชีรายวัน  - 15 วัน นับแต่วันในเอกสาร
           ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รายการนั้นเกิดขึ้น

(๒) บัญชีแยกประเภท  15 ของเดือนถัดไป
          ต้องผ่านรายการจากบัญชีรายวันภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น

(๓) บัญชีสินค้า 15 ของเดือนถัดไป
        ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น


ในกรณีที่เป็นบัญชีตาม (๒) และ (๓) ซึ่งต้องมีการลงรายการยอดคงเหลือต้องลงรายการยอดคงเหลือให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันปิดบัญชี( 60 วันนับแต่ปิดบัญชี)

มาตรา ๑๑

สั่งใคร -       ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย 

ทำอะไร -ต้องจัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินดังกล่าวต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่

ระยะเวลาส่ง - ภายในห้าเดือนนับแต่วันปิดบัญชีตาม

กรณีเฉพาะ  - บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยให้
                       ยื่นภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่งบการเงินนั้นได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่

ห้างหุ้นส่วน ยื่นภายใน 5 เดือน
บริษัท ยื่นภายใน 1 เดือนนับแต่ประชุมผถห ทั้งนี้ต้องไม่เกิน  5 เดือน นับแต่ปิดบัญชี        

งบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

เว้นแต่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีทุน สินทรัพย์ หรือรายได้ รายการใดรายการหนึ่งหรือทุกรายการ ไม่เกินที่กำหนดโดยกฎกระทรวง

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้อง

          1. จัดให้มีผู้ทำบัญชี (สำนักงานบัญชี หรือผู้ทำบัญชีอิสระ) ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด
          2. ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริงและถูกต้องตามพระราชบัญญัติ

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาจะเป็นผู้ทำบัญชีสำหรับกิจการของตนเองก็ได้

ตอบ
       - ทำเองได้ค่ะ แนะนำให้ใช้โปรแกรมบัญชี

แล้วจะปิดงบอย่างไร
        - ครบรอบปี จ้างสนง หรือผู้ทำบัญชีปิดงบ

ผู้สอบบัญชีเราหาเองได้หรือเปล่า
       - ได้ค่ะ

ค่าบริการายปี จะถูกกว่ารายเดือนหรือไม่
       - โดยส่วนใหญ่จะถูกกว่าในส่วนของค่าบริการ เพราะ ทางกิจการนำส่งภาษีรายเดือนเอง ทาง สนงบัญชีจะไม่มีค่าบริการในส่วนนี้ค่ะ

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

ทำบัญชี รับทำบัญชี pantip รับทำบัญชี กรุงเทพ ค่า จ้าง ทำ บัญชี pantip เจ้าหนี้กรรมการ ลูกหนี้กรรมการ สอบ Cpa ข้อสอบ กฎหมาย ใบลดหนี้ กรณีสินค้าชำรุด  สำนักงานบัญชีกรุงเทพ

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 1,960

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า