Skip to content

การเฉลี่ยภาษีซื้อ กิจการซื้อมาขายไป บริการ ผลิต

“ การเฉลี่ยภาษีซื้อ ” อย่างไรให้ถูกต้อง

“ การเฉลี่ยภาษีซื้อ ” อย่างไรให้ถูกต้อง

 กิจการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หลายแห่ง เมื่อก่อร่างสร้างตัวจนธุรกิจเจริญเติบโตขึ้น มักมีธุรกิจที่สร้างรายได้แตกต่างกันหลายประเภท เนื่องจากผู้ประกอบการมักเสาะแสวงหาสินค้าหรือบริการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่องและตรงใจให้มากที่สุด เพื่อยอดขายและกำไร จึงมีโอกาสที่รายได้ประเภทหนึ่งจะเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และรายได้อีกประเภทหนึ่งไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (NON VAT) ดังนั้น กิจการจึงต้องบริหารจัดการภาษีซื้อ โดย การเฉลี่ยภาษีซื้อ ที่เกิดขึ้นให้กับธุรกิจที่สร้างรายได้แตกต่างกันให้ถูกต้อง


                ยกตัวอย่างธุรกิจที่ประกอบกิจการร่วมกันและมีประเภทรายได้แตกต่างกัน เช่น

1. ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง (
VAT) และธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NON VAT)
2.
ธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NON VAT) และธุรกิจบริการอำนวยความสะดวก (VAT)
3. ธุรกิจขายพืชผลการเกษตร (NON VAT) และธุรกิจส่งออกพืชผลทางการเกษตร หรือธุรกิจการแปรรูปสินค้าการเกษตร (VAT)
4. ธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ (
NON VAT) และธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ (VAT) เป็นต้น

ธุรกิจเหล่านี้จึงต้องตระหนักและทำความเข้าใจวิธีการและหลักเกณฑ์ใน การเฉลี่ยภาษีซื้อ อย่างถ่องแท้   

การเฉลี่ยภาษีซื้อ อย่างไรให้ถูกต้อง
การเฉลี่ยภาษีซื้อ อย่างไรให้ถูกต้อง

การเฉลี่ยภาษีซื้อ คืออะไร?

รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขายคือการปันส่วนภาษีซื้อของกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้จากธุรกิจ VAT และ NON VAT ซึ่งภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาจากการได้สินค้าหรือบริการ มาใช้ในกิจการที่ไม่สามารถจำแนกได้ว่าใช้ในธุรกิจ VAT หรือ NON VAT

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)

เรื่อง    กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร

 (2) นอกจากกรณีตามข้อ 5 ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำสินค้าหรือบริการที่ได้มาหรือได้รับมาในการประกอบกิจการของตนไปใช้หรือจะใช้ในกิจการทั้งสองประเภท ถ้าไม่สามารถแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าภาษีซื้อที่เกิดจากสินค้าหรือบริการดังกล่าวเป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทใด ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของแต่ละกิจการ ดังนี้

                           (1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเริ่มประกอบกิจการ หรือได้ประกอบกิจการมาแล้วแต่ยังไม่มีรายได้ ให้ประมาณการรายได้ของกิจการทั้งสองประเภทของปีที่เริ่มมีรายได้

                                 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของประมาณการรายได้ดังกล่าว และให้นำภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้ตามส่วนของประมาณการรายได้ของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมาหักออกจากภาษีขาย แต่ภาษีซื้อดังกล่าวจะต้องมีจำนวนไม่เกินกึ่งหนึ่งของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ย

                                 สำหรับในปีถัดจากปีที่เริ่มประกอบกิจการและยังไม่มีรายได้ถึงสิ้นปีของปีที่เริ่มมีรายได้ ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของประมาณการรายได้ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่งและวรรคสอง

                                 เมื่อสิ้นปีที่เริ่มมีรายได้ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนคำนวณภาษีซื้อที่หักได้จริงตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้ปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้วตามหลักเกณฑ์ตาม (2)

                                 ปีที่เริ่มมีรายได้ให้หมายถึง ปีแรกที่มีรายได้เกิดขึ้นจริงไม่น้อยกว่า 6 เดือนภาษี

                           (2) การปรับปรุงภาษีซื้อตาม (1) ให้กระทำในเดือนภาษีถัดจากเดือนภาษีสุดท้ายของปีที่เริ่มมีรายได้ โดยให้ปรับปรุงตั้งแต่เดือนภาษีแรกที่ได้มีการเฉลี่ยภาษีซื้อถึงเดือนภาษีสุดท้ายของปีที่เริ่มมีรายได้ ดังนี้

                                 (ก) ในกรณีภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้และได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้ว มีจำนวนเกินกว่าภาษีซื้อที่หักได้จริง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนชำระภาษีซื้อส่วนที่เกินนั้นพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มอีกหนึ่งฉบับ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีที่มีการปรับปรุงภาษีซื้อและให้นำภาษีซื้อส่วนที่เกินนั้นซึ่งยังมิได้นำไปรวมคำนวณเป็นมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการ ไปรวมคำนวณเป็นมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกี่ยวข้อง

                                 (ข) ในกรณีภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้และได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้วมีจำนวนน้อยกว่าภาษีซื้อที่หักได้จริง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นคำร้องขอคืนภาษีซื้อส่วนที่ขาดนั้น ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด และให้นำภาษีซื้อส่วนที่ขาด ซึ่งได้นำไปรวมคำนวณเป็นมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการแล้วไปหักออกจากมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกี่ยวข้อง

                           (3) สำหรับปีถัดจากปีที่เริ่มมีรายได้เป็นต้นไป ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของปีที่ผ่านมาโดยไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้ออีก และในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงทั้งปีของกิจการทั้งสองประเภทก็ให้กระทำได้ ทั้งนี้ ให้นำหลักเกณฑ์ตาม (2) มาใช้บังคับโดยอนุโลมและเมื่อได้เลือกปฏิบัติเป็นอย่างใดแล้ว ก็ให้ถือปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกันตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงได้

                                 รายได้ของปีที่ผ่านมาตามวรรคหนึ่ง หมายถึง รายได้ของปีก่อนปีปัจจุบัน 1 ปี

                           (4) การปรับปรุงภาษีซื้อตามข้อนี้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 89 และมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร

เมื่อไรกิจการต้องมี การเฉลี่ยภาษีซื้อ ?

เมื่อกิจการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ประกอบธุรกิจ VAT และ NON VAT  ไม่สามารถที่จะแยกแยะได้ว่าภาษีซื้อที่เกิดขึ้นจากสินค้าหรือบริการนั้นเป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทใดจึงต้อง “เฉลี่ยภาษีซื้อ” ตามสัดส่วนของธุรกิจที่นำภาษีมูลค่าเพิ่มไปใช้

การเฉลี่ยภาษีซื้อ มีวิธีใดบ้าง?

1.     การเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามส่วนของรายได้ โดยการประมาณการสัดส่วนของรายได้ที่จะเกิดขึ้นทั้งปี แล้วทำการปันส่วนภาษีซื้อตามสัดส่วน เช่น ภาษีซื้อค่าซื้อทรัพย์สินส่วนกลาง เช่น เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่ง สำนักงาน หรือวัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น และภาษีซื้อค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าโฆษณา หรือค่าซ่อมแซม เป็นต้น

2.  การเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามพื้นที่การใช้อาคาร โดยการประมาณการสัดส่วนการใช้พื้นที่อาคารแล้วทำการปันส่วนภาษีซื้อตามสัดส่วน เช่น ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในกิจการ VAT และ NON VAT เป็นต้น

อย่างไรก็ตามทั้ง 2 วิธีข้างต้นเป็นการประมาณการสัดส่วนเพื่อ การเฉลี่ยภาษีซื้อ จึงมีโอกาสที่สัดส่วนที่เกิดขึ้นจริงจะแตกต่างจากที่ประมาณการ ซึ่งส่งผลให้กิจการต้องปรับปรุงภาษีซื้อและอาจทำให้กิจการต้องเสียภาษี เบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ด้วยเช่นกัน

ดังนั้น การเฉลี่ยภาษีซื้อ จึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกกิจการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และมักจะสร้างปัญหาในทางปฏิบัติต่อกิจการอยู่เสมอ เนื่องจากหลักเกณฑ์ใน การเฉลี่ยภาษีซื้อ ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน กิจการจึงต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด เพราะอาจจะต้องรับผิดชอบเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ อีกประการหนึ่ง หากกิจการเกิดปัญหาในทางปฏิบัติจนหาทางออกไม่ได้ เจ้าหน้าที่สรรพากรในพื้นที่ที่กิจการตั้งอยู่น่าจะให้คำแนะนำ และข้อเสนอแนะแก่กิจการได้เป็นอย่างดี

 

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant

รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียน เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า  รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express  ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click

อัตรค่าบริการรับทำบัญชี

รายได้ที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ไม่ต้องนำมารวมใน การเฉลี่ยภาษีซื้อ

                            (ก) รายได้ที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนนำเงินไปหาประโยชน์โดยการฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ หรือซื้อตั๋วเงินของสถาบันการเงินอื่น แต่ทั้งนี้ไม่ใช้บังคับสำหรับการประกอบกิจการตามมาตรา 91/2(1)(2) และ (3) แห่งประมวลรัษฎากร –– รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร

                            (ข) รายได้ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีการกู้ยืมเงินกันเองในระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน – รายได้เงินกู้ยืมบริษัทในเครือเดียวกัน

                            (ค) รายได้ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนสะสมพนักงานหรือทุนอื่นใดเพื่อพนักงาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้นำเงินกองทุนนี้ออกให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ยืมเป็นสวัสดิการ – รายได้กองทุนเงินกู้ยืมสวัสดิการ

                           (ง) รายได้ที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีการประกอบกิจการประเภทที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร”

ข้อหารือ ที่เกี่ยวข้อง

การเฉลี่ยภาษีซื้อ

เรียนอาจารย์สุเทพคะ

บริษัทเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีการขายสินค้าทั้งในประเทศ (มี VAT) และต่างประเทศ (ไม่มี VAT) โดยการขายต่างประเทศนั้น มีการส่งสินค้าจากประเทศผู้ผลิตไปยังประเทศลูกค้าโดยตรง ไม่ได้นำเข้ามาในประเทศแล้วส่งออกไป (รายได้จากการขายสินค้าไปต่างประเทศ ประมาณ 2 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมด)

คำถาม : ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าใช้จ่ายต่างๆ ของกิจการ เช่น ค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือค่าเช่าสำนักงาน ต้องถูกนำมาเฉลี่ยตามสัดส่วนของยอดขายก่อน แล้วนำมาใช้เพียงบางส่วนหรือไม่


(เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรอ้างถึง ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) และคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.89/2542 แต่ทางบริษัทเห็นว่า บริษัทจดทะเบียนประกอบกิจการขายสินค้าเพียงอย่างเดียว ไม่ได้จดทะเบียน 2 ประเภทดังที่กล่าวในประกาศ ฉ.29)

 

กรณีบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีการขายสินค้าทั้งในประเทศ ซึ่งเป็นรายได้จากกิจการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT: In to In) และการขายสินค้าในต่างประเทศ (ไม่มี VAT) โดยการขายต่างประเทศนั้น มีการส่งสินค้าจากประเทศผู้ผลิตไปยังประเทศลูกค้าโดยตรง ไม่ได้นำเข้ามาในประเทศแล้วส่งออกไป (รายได้จากการขายสินค้าไปต่างประเทศ ประมาณ 2 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมด) ซึ่งถือเป็นรายได้ที่ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Non VAT: Out to Out/ Out of Scope VAT)

เช่นนี้ สำหรับภาษีซื้อที่เกิดจากค่าใช้จ่ายต่างๆ ของกิจการ เช่น ค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือค่าเช่าสำนักงาน ซึ่งเป็นภาษีซื้อที่ใช้ร่วมกันทั้งกรณีกิจการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ขายในประเทศ) และกิจการที่ไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ขายในต่างประเทศ Out of VAT Scope)

ไม่ต้องนำมาเฉลี่ยตามสัดส่วนของยอดขายก่อน แล้วนำมาใช้เพียงบางส่วน แต่อย่างใด ทั้งนี้ ตามข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) ดังต่อไป

ขอบคุณค่ะ

http://www.taxguruthai.com

ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อ

ข้อหารือ

 

บริษัทฯ ประกอบกิจการให้เช่าอาคาร อพาร์ทเมนท์ เต้นท์รถ และให้บริการสาธารณูปโภคบริษัทฯ มีสำนักงานสาขา 1 สาขา ประกอบกิจการให้บริการอพาร์ทเมนท์และสาธารณูปโภค บริษัทฯ และสาขาได้แยกยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มต่างหากจากกัน โดยมีข้อเท็จจริงดังนี้

          1. การประกอบกิจการให้เช่าอาคาร อพาร์ทเม้นต์ และเต้นท์รถ บริษัทฯ ได้ดำเนินการในแต่ละกิจการมีลักษณะแยก พิจารณาโดยสรุปได้ดังนี้

               1.1 การให้เช่าอาคาร ณ สถานประกอบการของสำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ มีการทำสัญญาเช่าอาคารและสัญญา ให้บริการแยกต่างหาก มีการวางเงินประกันการเช่า และเรียกเก็บค่าเช่าอาคารและค่าบริการพร้อมออกใบแจ้งหนี้ให้ผู้เช่าเป็น รายเดือน และเมื่อสิ้นสุดสัญญาการเช่าบริษัทฯ จะคืนเงินประกันให้กับผู้เช่า แต่หากมีการผิดสัญญาเช่าบริษัทฯ จะริบเงินประกัน ดังกล่าวเป็นรายได้ของบริษัทฯ ซึ่งในการให้เช่าอาคารสำนักงานใหญ่ บริษัทฯ ได้ทำสัญญาให้บริการสาธารณูปโภคแก่ผู้เช่า ซึ่ง ประกอบไปด้วย การให้บริการทำความสะอาด ห้องสุขา น้ำประปา กระแสไฟฟ้า โทรศัพท์ เครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์ดับเพลิง ลิฟท์ ที่จอดรถ และยามรักษาความปลอดภัยภายในอาคาร

               1.2 การให้เช่าอพาร์ทเม้นท์ ณ สถานประกอบการสาขาของบริษัทฯ มีการทำสัญญาเช่าอาคารและสัญญาให้บริการ แยกต่างหาก มีการวางเงินประกันการเช่า และเรียกเก็บค่าเช่าอาคารและค่าบริการพร้อมออกใบแจ้งหนี้ให้ผู้เช่าเป็นรายเดือน และ เมื่อสิ้นสุดสัญญาการเช่าบริษัทฯ จะคืนเงินประกันให้กับผู้เช่าแต่หากมีการผิดสัญญาเช่าบริษัทฯ จะริบเงินประกันดังกล่าวเป็น รายได้ของบริษัทฯ ซึ่งในการให้เช่าอพาร์ทเม้นท์บริษัทฯ ได้ทำสัญญาให้บริการสาธารณูปโภคแก่ผู้เช่า ซึ่งประกอบไปด้วย การให้บริการใช้กระแสไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ภายในห้องพัก พนักงานรักษา ความปลอดภัย และบริษัทฯ ได้ให้บริการแก่ทรัพย์สินส่วนกลาง ได้แก่ ไฟฟ้า น้ำประปา เครื่องปรับอากาศ ฟิตเนส อินตอร์เน็ต เคเบิลทีวี ลิฟท์ พนักงานทำความสะอาด พนักงานรักษาความปลอดภัย และที่จอดรถเป็นต้น

          2. การให้เช่าเต้นท์รถ บริษัทฯ มีสถานที่ให้เช่าเต้นท์รถ ตั้งอยู่บนที่ดิน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร โดยไม่มีผู้ดำเนินงาน หรือเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ การติดต่อดำเนินการให้เช่าจะดำเนินการที่บริษัทฯ โดยบริษัทฯ ทำสัญญาให้เช่าพื้นที่ดังกล่าว กับ ผู้เช่าอัตราค่าเช่าคิดเป็นตารางเมตร และบริษัทฯ จัดให้บริการระบบไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ แก่ผู้เช่า โดยออกเอกสารเรียก เก็บค่าเช่าและค่าสาธารณูปโภคในนามบริษัทฯ แยกต่างหากจากกัน

          3. การประกอบกิจการตาม 1. ถึง 2. บริษัทฯ จึงมีรายได้ที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและรายได้ประเภทที่ไม่ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

          บริษัทฯ จึงขอทราบว่า การประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์และให้บริการตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เมื่อมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร และหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

 

แนววินิจฉัย

 

1. กรณีบริษัทฯ มีสถานประกอบการหลายแห่ง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ให้แยกยื่นและชำระ ภาษีเป็นรายสถานประกอบการ ตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร และหากบริษัทฯ มีการดำเนินงาน ณ สถานที่อื่น ซึ่งไม่เข้า ลักษณะเป็นสถานประกอบการตามมาตรา 77/1(20) แห่งประมวลรัษฎากร

บริษัทฯ ต้องจัดทำใบกำกับภาษีระบุที่อยู่ของสถาน ประกอบการซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่หรือสถานประกอบการแห่งอื่นที่ดำเนินงาน ไม่ใช่ที่อยู่ตามสถานที่ซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นสถาน ประกอบการ และต้องถือเป็นยอดขายของสถานประกอบการนั้นๆ ที่จะต้องนำไปรวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อยื่นแบบแสดง รายการภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการนั้น ทั้งนี้ ตามข้อ 15 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 86/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ การจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2542

2. กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการโดยมีทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และมี ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการเพื่อนำไปใช้ในกิจการทั้งสองประเภท โดยไม่สามารถแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าภาษีซื้อ ดังกล่าวเป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทใด

บริษัทฯ ต้องเฉลี่ยภาษีซื้อดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ ตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ย ภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

TAG รับทำบัญชี รับทำบัญชีอิสระ อยากรับทำบัญชี รับทำบัญชี pantip รับทำบัญชี กรุงเทพ รับ ทำ บัญชียื่นภาษี รับ ทำ บัญชี ที่ บ้าน รับทำบัญชี นนทบุรี รับทำบัญชี ราคาถูก

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 10,969

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า