Skip to content

สรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
รู้อะไรจากงบการเงินที่เรานำส่งบ้าง!

สรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า รู้อะไรจากงบการเงินที่เรานำส่งบ้าง! 2565 บัญชี​

 

     กรรมการบริษัทผู้ลงนามในงบการเงินควรทราบอะไรบ้าง งบการเงินคือข้อมูลชุดแรก ที่สรรพากรได้รับจากเราในทุกๆ ปี ซึ่งจะนำข้อมูลไปเปรียบเทียบกับข้อมูลในระบบที่ทางกรมสรรพากรเก็บจากแบบภาษีทุกประเภท ทั้งที่เรานำส่งและผู้อื่นนำส่งให้
     ดังนั้นก่อนลงนามกรรมการควรทราบว่าข้อมูลอะไรบ้างที่จะนำเสนอ  รู้เขารู้เรา ไม่พลาดภาษีแน่นอน

————————————————————————————————————————–

สรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า รู้อะไรจากงบการเงินที่เรานำส่งบ้าง!​

องค์ประกอบของ งบการเงินที่จัดส่งกรมสรรพากร
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีข้อมูลเบื้องต้น ดังนี้

รายงานความเห็นของผู้สอบบัญชี บอกเราว่า

ฃงบการเงินที่กำลังจะอ่านนี้ ฉบับที่ท่านถืออยู่นี้ทำขึ้นถูกต้องตามหลักบัญชีไหม น่าเชื่อถือหรือมีข้อสังเกตอะไรไหม จึงต้องอ่านก่อนที่จะเข้าไปอ่านงบการเงิน

สำหรับหน้ารายงานของผู้สอบบัญชี มี 4 แบบ ประกอบด้วย

แบบที่ 1 ไม่มีเงื่อนไข 

หน้ารายงานแบบนี้ ผู้อ่าน ผู้ใช้งบ กรรมการบริษัทสบายใจ

หมายถึงผู้สอบบัญชีตรวจแล้วไม่พบข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างมีสาระสำคัญ โดยจะสังเกตได้ที่วรรคความเห็น ย่อหน้าที่ 2 โดยจะมีคำว่า

“ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงินของบริษัท กขค จำกัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. …. และผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันโดยถูกต้องตามที่ควรใน สาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน”

 

แบบที่ 2 มีเงื่อนไข 

หน้ารายงานแบบนี้ จะหมายถึง ผู้สอบบัญชีพบรายการในงบการเงินมีการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างมีสาระสำคัญ ส่งผลต่อการพิจารณาตัวเลขในงบการเงิน (ผู้อ่านต้องระวัง กรรมการบริษัทต้องชี้แจงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแน่นอน)

โดยหน้ารายงานจะมีบรรทัดที่เขียนว่า “ความเห็นอย่างมีเงื่อนไข” และสามารถอ่านคำอธิบายว่า ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขด้วยเรื่องอะไร ได้ที่ ย่อหน้า “เกณฑ์ในการแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข”

 

แบบที่ 3 งบการเงินไม่ถูกต้อง 

หน้ารายงานแบบนี้ แสดงให้เห็นว่ามีอะไรบางอย่างหรือหลายอย่างที่ไม่ถูกต้องและไม่ได้รับการแก้ไข โดยผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบนี้ เมื่อผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่า แต่ละรายการหรือผลรวมหลายรายการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ และแผ่กระจายไปทั่วทุกงบการเงิน 

โดยที่หน้ารายงานจะมีบรรทัดที่เขียนว่า “ความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง” และสามารถอ่านคำอธิบายว่า ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้องด้วยเรื่องอะไร ได้ที่ ย่อหน้า “เกณฑ์ในการแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง”

 

แบบที่ 4 ไม่แสดงความเห็น 

ผู้สอบบัญชีจะไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน เมื่อผู้สอบบัญชีไม่สามารถหาหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอเพื่อสนับสนุนการแสดงความเห็น และผู้สอบบัญชีเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่การแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงตรวจไม่พบ (ถ้ามี) จะส่งผลกระทบอันเป็นสาระสำคัญ และแผ่กระจายไปทั่วทุกงบการเงิน

 

งบการเงิน ซึ่ง

งบดุล = งบที่แสดงฐานะทางการเงินบอกความมั่งคั่ง มั่นคง

งบกำไรขาดทุนจะแสดงผลการดำเนินงานจึงบอกได้ว่า กำไรขาดทุนเกิดจากอะไร บางกิจการกำไรเกิดจากการขายทรัพย์สิน อัตราแลกเปลี่ยน

และงบกระแสเงินสดนั้นจะแสดงการเข้าออกของเงินสดของกิจการ เงินสดเป็นการดูการอยู่รอดของกิจการ

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงของผู้ถือหุ้น คือ

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ ส่วนของเจ้าของ คือ งบที่แสดงการกระทบยอดว่าส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ต้นปี ไปจนถึงปลายปีนั้นเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากอะไรบ้างเช่น การเพิ่มทุน การลดทุน กำไรสะสมของบริษัทจะเพิ่มขึ้นด้วยกำไรสุทธิ หรืออาจลดลงด้วยการจ่ายปันผล ขาดทุนสุทธิ

หมายเหตุประกอบงบการเงิน บอกความโปร่งใส เพราะจะมีรายละเอียดที่ไม่ได้เขียนในงบการเงินแสดงอยู่ในหมายเหตุประกอบงบการเงินนี้

1. ภาพรวมของนโยบายทางการบัญชี

ส่วนแรกสุดของหมายเหตุประกอบงบการเงินก็คือนโยบายทางบัญชีในภาพรวมของบริษัท

2. วิธีคิดค่าเสื่อมราคา

3. รายละเอียดลูกหนี้

4. รายละเอียดเจ้าหนี้

 

[qsm_link id=1]Check ความรู้รอบงบเงินก่อนนำส่งกันเถอะ งบกำไรขาดทุน สะท้อนใบแบบ ภงด 50 อย่างไรให้สรรพากรรู้[/qsm_link]

เมื่อจดทะเบียนนิติบุคคลแล้วต้องทำอะไรบ้าง

ทุนจดทะเบียนต้องนำฝากธนาคารเต็มจำนวนหรือไม่

ทุน 1 ล้านบาท ต้องนำฝากเข้าบัญชีบริษัทเต็ม 100% หรือไม่

ทุนจดทะเบียนกับทุนชำระต่างกันอย่างไร

ทุนจดทะเบียน 1 ล้าน ทุนชำระแล้ว 25% ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

บุคคลธรรมดาโอนย้ายกิจการมาเป็นนิติบุคคล

ต้องทำอะไร จะโดนตรวจสอบหรือไม่

ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่นำมาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท

ค่าน้ำ ไฟ โทรศัพท์ แท็กวี่ พี่วิน grab ค่าอาหารเลี้ยงพนักงาน Lineman ค่าวัคซีน เป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้หรือไม่

บิลที่สรรพากร OK เป็นยังไง

บิลเงินสด ซื้อของผ่านไลน์ ซื้อของผ่าน Shopee lazada ทำอย่างไรเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท

เอกสารที่ต้องเก็บเพื่อถูกต้องนำมาใช้ทางภาษีได้

เอกสารที่ต้องเก็บมีอะไรบ้างเพื่อตรวจสอบจะได้มีนำยื่นให้ถูกต้อง

เอกสารที่ต้องส่ง สนง บัญชี รับทำบัญชี

ส่งเอกสารอย่างไรให้ สนง ได้รับครบถ้วนถูกต้อง แจ้งสนงอย่างไรเพื่อให้ตรงกับประเภทค่าใช้จ่ายที่ถูกต้อง

ซื้อทรัพย์สินจากกรรมการ บุคคลธรรมดา นำเข้าบริษัทอย่างไร ได้หรือไม่

ซื้อรถ เครื่องถ่ายเอกสาร คอมพิวเตอร์  ตู้เก็บสินค้าจากกรรมการ บุคคลธรรมดา ร้านขายมือ 2 นำมาเป็นของบริษัทอย่างไร

กู้เงินธนาคารเพื่อนำมาใช้ในกิจการทำอย่างไร

กู้เงินธนาคาร กรรมการเป็นผู้ค้ำ หรือกรรมการกู้ยืมเงินมาเพื่อกิจการทำอย่างไรให้สรรพากร Ok

ซื้อของไม่มีบิล ต้องทำใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน ทำอย่างไร

ใบรับรองใบเสร็จรับเงิน ทำอย่างไร เราสอนแนะนำให้ลูกค้าทำอย่างถูกต้อง

ข้อดีของการไม่จด VAT

สรรพากรรู้รายได้เราจากไหน และจดหมายสรรพากรที่ได้ต้องทำอย่างไร

รายได้ หัก ณ ที่จ่าย เงินเข้าบัญชี มีคนแจ้งสรรพากร รายได้อะไรของเราที่สรรพากรรู้บาง

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

ทำบัญชี รับทำบัญชี pantip รับทำบัญชี กรุงเทพ ค่า จ้าง ทำ บัญชี pantip เจ้าหนี้กรรมการ ลูกหนี้กรรมการ สอบ Cpa ข้อสอบ กฎหมาย ใบลดหนี้ กรณีสินค้าชำรุด  สำนักงานบัญชีกรุงเทพ

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 1,447

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า