Skip to content

ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน มีบัญชี ภาษีเกี่ยวข้อง?

รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขายประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี ทั้งเบี้ยประกัน และภาษีที่กิจการออกให้ กรรมการซึ่งเป็นบุคคลสำคัญขององค์กร ซึ่งการเกิดขึ้นได้จากการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ก็จะส่งผลต่อการดำเนินการของธุรกิจอย่างหลีกเลื่ยงไม่ได้

ดังนั้นการทำ ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน จึงเกิดจากเหตุผลหลักที่สำคัญ 2 ประการ

1. คุ้มครองธุรกิจ ป้องการกันการสูญเสียความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าทางธุรกิจ

2. นำใบเสร็จของการทำประกันชีวิต เป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท ในปริมาณที่เหมาะสมและสรรพากรยอมรับได้

หลักการปฏิบัติในการทำ ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน เพื่อให้สามารถบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของกิจการได้ดังนี้

1. กรรมการทุกๆคน เพื่อเป็นการทั่วไป และต้องมีเบี้ยประกันชีวิตที่เหมาะสมและสมควร กรรมการทุกคนต้องได้รับสิทธิโดยเท่าเทียมกัน (คือมีกี่คนต้องได้รับสิทธิเรื่องประกันชีวิตทุกคน)

2. ต้องมีการบันทึกวาระการประชุมต่างๆอย่างละเอียด มีมติที่ประชุมของบริษัทฯ และต้องมีการเขียนระเบียบการของบริษัทฯ อย่างชัดเจน

3. ต้องมีการบันทึกหลัการทางบัญชีอย่างถูกต้อง และการเก็บเอกสารอย่างครบถ้วน    

 
4. วงเงินประกันชีวิตของกรรมการแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากันได้ (ระดับเดียวกันควรกำหนดวงเงินประกันเท่าเทียมกัน) วงเงินประกันชีวิตที่จ่าย ไม่ได้มีการกำหนดเบี้ยขั้นสูงว่าห้ามเกินเท่าไหร่ แต่อย่างไรก็ตามควรพิจารณาจ่ายให้เหมาะสม สอดคล้องกับรายได้ของกิจการ เพื่อไม่ให้เกิดข้อโต้แย้งถึงความเหมาะสม
ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน
ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน บัญชี ภาษี

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant

รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียบ เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า  รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express  ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click

อัตรค่าบริการรับทำบัญชี

ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน หลักการทางภาษี

ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน :  ค่าใช้จ่ายในการจ่ายเบี้ยประกันภัย ภาษีที่ออกแทนให้ ผลกระทบต่อภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และผลประโยชน์จากกรมธรรม์

ค่าเบี้ยประกันภัย ในการ ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี


ในความหมายของกรมสรรพากร

       เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายให้กรรมการผู้จัดการเพื่อสำหรับการ ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน ตามมติที่ประชุมของบริษัทฯ หากเป็นกรณีที่บริษัทฯ ต้องจ่ายให้กับกรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบของบริษัทฯ แล้ว บริษัทฯ มีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้น มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร และเพื่อความสะดวกใน  การแสดงหลักฐาน ให้บริษัทประกันภัยหมายเหตุไว้ในใบเสร็จรับเงินให้มีข้อความว่าเบี้ยประกันชีวิตที่รับนี้ จ่ายโดยบริษัท…

ค่าเบี้ยประกัน และภาษีที่กิจการออกให้ – ภาษีเงินได้บุคคลธรมดา / ภาษีเงินได้นิติบุคคล

        เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ออกให้ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์ เพิ่มที่พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทฯ ได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งพนักงานจะต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

        เงินค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ออกให้ ถือเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ บริษัทฯ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร

ค่าสินไหมทดแทน / ผลประโยชน์ตามกรมกธรรม์ ที่ได้รับจาก ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน
 

   ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดหรือเงินได้จากการประกันภัย เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42 (13) แห่งประมวลรัษฎากร

วิธีการบันทึกบัญชี ประกันชีวิตกรรมการ สวัสดิการพนักงาน หลักการทางภาษี

ค่าจ้าง ฟรีแลนซ์

วันที่ รายงานการประชุมตามมติที่ประชุม

DR. ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า
         CR. ค่าเบี้ยประกันภัยค้างจ่าย

วันที่จ่ายเบี้ยประกัน

DR. ค่าเบี้ยประกันภัยค้างจ่าย
         CR. เงินสด

ณ วันสิ้นปี

DR. ค่าเบี้ยประกัน
       CR. ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า

คำสั่งกรมสรรพากร   ที่ ป. 96/2543

เรื่อง      การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวล            รัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

                       (7) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้างสำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้าง ที่ลูกจ้างได้รับในปีใด โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีด้วยตนเองเลย ให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีที่นายจ้างต้องออกแทนให้อีก

                        (8) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจำนวนที่แน่นอน เช่น เท่ากับจำนวนภาษีที่จะต้องชำระ ให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1)แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อหารือ บัญชีภาษี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการผู้จัดการ

เลขที่หนังสือ : กค 0811/408

วันที่ : 21 มกราคม 2543

เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการผู้จัดการ

ข้อกฎหมาย : มาตรา 42 (13), มาตรา 65 ตรี (3), (6), (13)

ข้อหารือ : บริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการผู้จัดการ ตามมติที่ประชุมของบริษัทฯ เพื่อเป็นสวัสดิการและการตอบแทนคุณความดีที่บริหารธุรกิจจนประสบความสำเร็จด้วยดีตลอดมา จึงหารือว่า

1. เบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้กรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมนี้ หักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ได้หรือไม่มีข้อจำกัดอย่างไร

 

2. เบี้ยประกันชีวิตนี้จะถือเป็นรายได้พึงประเมินนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรรมการผู้จัดการหรือไม่ มีข้อจำกัดอย่างไร

 

3. กรณีที่บริษัทฯ จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งหมดแทนกรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมและเจตนารมณ์ของบริษัทฯ จะต้องดำเนินการอย่างไร

 

4. เงินสินไหมทดแทนกรณีการสูญเสียชีวิตของกรรมการผู้จัดการ ที่บริษัทฯ ยกให้แก่ครอบครัวหรือทายาท มีภาระภาษีใดมาเกี่ยวข้องบ้าง

 

5. บริษัทฯ จะบันทึกบัญชีอย่างไร กรณีต่อไปนี้

 

(1) บริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการผู้จัดการให้บริษัทประกันฯ

(2) บริษัทฯ รับเงินค่าสินไหมทดแทนกรณีการสูญเสียชีวิตจากบริษัทประกัน

(3) บริษัทฯ ยกผลประโยชน์จากเงินสินไหมทดแทนให้แก่ครอบครัวหรือทายาทของกรรมการผู้จัดการ กรณีเสียชีวิต

 

แนววินิจฉัย

: 1. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายให้กรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมของบริษัทฯ หากเป็นกรณีที่บริษัทฯ ต้องจ่ายให้กับกรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบของบริษัทฯ แล้ว บริษัทฯ มีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้น มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร และเพื่อความสะดวกใน


การแสดงหลักฐาน ให้บริษัทประกันภัยหมายเหตุไว้ในใบเสร็จรับเงินให้มีข้อความว่าเบี้ยประกันชีวิตที่รับนี้ จ่ายโดยบริษัท…

 

2. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ออกให้ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์ เพิ่มที่พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทฯ ได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งพนักงานจะต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

 

3. เงินค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ออกให้ ถือเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ บริษัทฯ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร

 

4. ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดหรือเงินได้จากการประกันภัย เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42 (13) แห่งประมวลรัษฎากร

 

5. การบันทึกบัญชีของบริษัทฯ ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป

 

เลขตู้ : 63/28838

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ กค 0706/4227

เลขที่หนังสือ: กค 0706/4227

วันที่: 30 เมษายน 2547

เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ

ข้อกฎหมาย: มาตรา 42(13), มาตรา 65 ตรี (3), มาตรา 65 ตรี (13)

ข้อหารือ

: บริษัท ม. หารือว่า กรณีที่สำนักงานสรรพากรภาคได้มีหนังสือตอบข้อหารือกรณีเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการตามมติที่ประชุมของบริษัทว่า หากผู้รับประโยชน์คือบริษัท เงินค่าเบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการผู้เอาประกันไม่ถือเป็นเงินได้ของกรรมการ แต่หากผู้รับประโยชน์จากกรมธรรม์เป็นครอบครัวหรือญาติพี่น้องของกรรมการ เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนถือเป็นเงินได้พึงประเมินของกรรมการ ต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ของกรรมการ ประเด็นดังกล่าวตัวแทนประกันชีวิตเห็นว่า


1. เบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการบริษัทตามมติที่ประชุมของบริษัทถือว่าเป็นระเบียบวางไว้ให้จ่ายได้ เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของบริษัทซึ่งถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ และหากผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์คือบริษัท เงินค่าเบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการผู้เอาประกันก็ไม่ถือเป็นเงินได้ของกรรมการ


2. ผลประโยชน์ที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายคืนระหว่างอายุกรมธรรม์ทุก 5 ปีหรือทุกปี ถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42(13)แห่งประมวลรัษฎากร เพราะผลประโยชน์มิใช่สินไหมเสียชีวิตหรือครบกำหนดอายุกรมธรรม์ บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันเท่านั้น ไม่จ่ายให้แก่บริษัทซึ่งเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันและเป็นผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ ย่อมถือเป็นประโยชน์เพิ่มของกรรมการที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา42(13) ที่กล่าวถึงข้างต้นบริษัทฯ หารือว่าความเห็นของตัวแทนประกันชีวิตในกรณีดังกล่าวถูกต้องหรือไม่

แนววินิจฉัย


: 1. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการบริษัทตามมติที่ประชุมของบริษัท หากเป็นกรณีที่บริษัทต้องจ่ายให้กรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบของบริษัทแล้ว บริษัทมีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร ถึงแม้ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์คือบริษัท เงินค่าเบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการก็ต้องถือเป็นประโยชน์เพิ่มของกรรมการเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร


2. ผลประโยชน์ที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายคืนระหว่างอายุกรมธรรม์ 5 ปี หรือทุกปีให้แก่ผู้เอาประกันภัยถือเป็นเงินที่ได้จากการประกันภัย ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(13) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้: 67/32909

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (13) แห่งประมวลรัษฎากร กค 0702/5238

เลขที่หนังสือ : กค 0702/5238

วันที่ : 25 มิถุนายน 2555

เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (13) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ

บริษัทฯ จ้างกรรมการผู้จัดการชาวมาเลเซีย ซึ่งสัญญาจ้างแรงงานมีข้อตกลงจ้างเบื้องต้น ๓ ปี นอกจากเงินเดือน เดือนละ ๒๓๔,๗๕๐ บาท ผู้รับจ้างยังได้รับประโยชน์หรือผลตอบแทนอื่น ได้แก่ รถประจำตำแหน่งและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง พร้อมคนขับรถ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเข้าศึกษาโรงเรียนของบุตร โดยบริษัทฯ จะชดเชย ค่าภาษีเงินได้ในส่วนนี้ ค่าตั๋ว เครื่องบินไป-กลับระหว่างกรุงเทพฯ – มาเลเซีย ชั้นประหยัดจำนวน ๕ ที่นั่ง ต่อไตรมาส ค่าประกันสุขภาพของกรรมการ ผู้จัดการและครอบครัว และเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ร้อยละ ๑๑.๕ ของเงินเดือน

และบริษัทฯ ขอหารือว่า ประโยชน์หรือผลตอบแทนอื่น รวมทั้งค่าภาษีออกแทนเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา ๖๕ ตรี (๓) และ (๑๓) แห่ง ประมวลรัษฎากร หรือไม่

แนววินิจฉัย

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับเงินเดือนหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับตามข้อตกลงในสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อผู้รับมีหน้าที่ หรือความผูกพันในทางธุรกิจกับบริษัทฯ ในฐานะกรรมการผู้จัดการ

จึงถือว่าบริษัทฯ จ่ายไปเพื่อประโยชน์ในการหารายได้ หรือใช้ในการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ โดยตรง และมีสิทธินำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล ไม่ต้องห้ามตามมาตรา ๖๕ ตรี (๓) และ (๑๓) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 75/38175

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต กค 0706/5334

เลขที่หนังสือ : กค 0706/5334

วันที่ : 22 มิถุนายน 2549

เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต

ข้อกฎหมาย : มาตรา 48(1) มาตรา 56 มาตรา 65 ตรี (3)(13) และ (19) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ
: บริษัท ฟ. จำกัด ได้จ่ายเบี้ยประกันชีวิต ดังนี้

1. กรณีบริษัทฯ ได้จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตให้กับกรรมการของบริษัทฯ ตามมติที่ประชุมของบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ มีสิทธินำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายแทนไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล บุคคลธรรมดาที่เป็นกรรมการมีสิทธินำค่าเบี้ยประกันชีวิตดังกล่าวไปหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้หรือไม่

2. กรณีข้อกำหนดหรือมติที่ประชุมของบริษัทฯ กำหนดให้มีการจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ตลอดจนพนักงาน บิดามารดา สามี ภริยา และบุตรของพนักงาน บริษัทฯ จะนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายแทนดังกล่าว ไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้หรือไม่

3. กรณีบริษัทฯ มีมติให้จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตให้แก่กรรมการทุกคน หรือพนักงานเป็นการทั่วไป และมีมติให้จ่ายกับกรรมการของบริษัทอื่นที่มาเข้ามาถือหุ้นในบริษัทฯ ในอัตราร้อยละ 25 อีกประมาณ 3-10 ท่าน บริษัทฯ จะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตให้ด้วย หรือไม่

4. กรณีบริษัทฯ มีผลกำไรจากการประกอบกิจการ หากบริษัทฯ จะทำประกันชีวิตให้กับพนักงานของบริษัทฯ โดยคำนวณจากกำไรสุทธิ 100 บาท ทำประกันชีวิต 50 บาท ค่าเบี้ยประกันชีวิตดังกล่าวจะลงรายจ่าย ได้หรือไม่

แนววินิจฉัย

: 1. กรณีตาม 1. บริษัทฯ ได้จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการและพนักงานของบริษัทฯ รวมทั้งผลประโยชน์ที่จะได้รับเป็นการทั่วไปตามระเบียบและสวัสดิการของบริษัทฯ โดยมติที่ประชุมของบริษัทฯ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร

ซึ่งกรรมการและพนักงานต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48(1) และมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร โดยกรรมการและพนักงานสามารถนำใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทรับประกันชีวิตออกให้นั้น มาใช้เป็นหลักฐานในการหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปีได้เฉพาะในปีที่มีการจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต และรายจ่ายดังกล่าว ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะและไม่ใช่รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา บริษัทฯ มีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ(13) แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีตาม 2. บริษัทฯ ได้จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแทนผู้ถือหุ้น บิดามารดา สามี หรือภริยา และบุตรของพนักงาน เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายที่เป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทฯ ไม่มีสิทธินำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร

3. กรณีตาม 3. บริษัทฯ จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการของบริษัทอื่นที่เข้ามาถือหุ้นในบริษัทฯ ในอัตราร้อยละ 25 ประมาณ 3-10 ท่าน เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายที่เป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทฯ ไม่มีสิทธินำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร

4. กรณีตาม 4. บริษัทฯ ทำประกันชีวิตให้กับพนักงานโดยนำกำไรสุทธิมาจ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันชีวิต ถือเป็นการจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว บริษัทไม่มีสิทธินำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (19) แห่งประมวลรัษฎากร

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ กค 0702/9358

เลขที่หนังสือ : กค 0702/9358
วันที่ : 12 พฤศจิกายน 2552
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ

ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(1)(2) มาตรา 42(13) มาตรา 48(1) และมาตรา 65 ตรี (3)(13) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ

บริษัทฯ มีโครงการประกันชีวิตให้แก่กรรมการ โดยบริษัทฯ จะเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ ซึ่งจะ กำหนดเงื่อนไขในการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กับกรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบมติที่ประชุมของบริษัทฯ มีกำหนด ระยะเวลาชำระเบี้ยประกัน 7 ปี ระยะเวลาความคุ้มครอง 14 ปี มีเงินจ่ายคืนตามสัญญาทุกปี และตามกรมธรรม์ผู้เอาประกัน คือ กรรมการ ส่วนผู้รับประโยชน์ คือ บริษัทฯ หรือครอบครัวหรือทายาทของกรรมการ จึงขอทราบว่า

1. เบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้กรรมการ หักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ได้หรือไม่

2. เงินค่าสินไหมทดแทนกรณีการสูญเสียชีวิตของกรรมการ ถ้าครอบครัวหรือทายาทเป็นผู้รับประโยชน์ จะมีภาระ ภาษีอย่างใด

แนววินิจฉัย

1. กรณีตาม 1. เบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายแทนกรรมการตามระเบียบและมติที่ประชุมของบริษัทฯ

หากเป็น กรณีที่บริษัทฯ ต้องจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบและมติที่ประชุมของบริษัทฯ เพื่อผล ประโยชน์ของบริษัทฯ แล้ว

การจ่ายเบี้ยประกันชีวิตดังกล่าว จึงเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ และ ไม่ใช่รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา

บริษัทฯ มีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้น มาถือเป็น รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร

ทั้งนี้ เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายแทนกรรมการ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์เพิ่มที่กรรมการได้รับ ถือเป็น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากรแล้วแต่กรณี ซึ่งกรรมการต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีตาม 2. เงินสินไหมทดแทนกรณีการสูญเสียชีวิตของกรรมการที่ครอบครัวหรือทายาทเป็นผู้รับประโยชน์ ถือเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดหรือเงินได้จากการประกันภัยเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(13) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้ : 72/36988

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีสวัสดิการพนักงาน

 เลขที่หนังสือ : ๐๗๐๒/๒๐๖๕
วันที่ : ๙ มีนาคม ๒๕๖๑


เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีสวัสดิการพนักงาน


ข้อกฎหมาย : มาตรา ๔๒ (๑๗),มาตรา ๖๕ ตรี (๓) มาตรา ๖๕ ตรี (๑๓),มาตรา ๗๐ (๑), และมาตรา ๕๖ แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อหารือ ๒.

บริษัทฯ ระบุสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงานไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทฯ โดยระบุไว้ในคู่มือพนักงาน ซึ่งการให้สวัสดิการดังกล่าวเป็นการให้สวัสดิการโดยทั่วไปแก่พนักงานทุกคน ดังนี้


๒.๑ การตรวจสุขภาพประจำปีของบริษัทฯ พนักงานประจำของบริษัทฯ สามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินยอดวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด


๒.๒ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดหรือโรคระบาดอื่น ๆ พนักงานประจำของบริษัทฯ และสมาชิกครอบครัวสามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินยอดวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด


๒.๓ เงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตร พนักงานประจำของบริษัทฯ ทั้งหญิงและชาย สามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินยอดวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด


๒.๔ เงินช่วยเหลือพนักงานกรณีรับบุตรบุญธรรม โดยพนักงานที่ไม่สามารถมีบุตรได้เอง ที่ได้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม สามารถได้รับเงินช่วยเหลือตามวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด


๒.๕ การจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตและทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรแบบกลุ่ม และการจ่ายเบี้ยประกันอุบัติเหตุแบบกลุ่ม ซึ่งระบุชื่อของบริษัทฯ ในกรมธรรม์ โดยพนักงานจะได้รับค่าชดเชยหรือค่าสินไหมทดแทนกรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุจนถึงแก่ชีวิต สูญเสียอวัยวะบางส่วน หรือทุพพลภาพถาวร ในช่วงที่เป็นพนักงานของบริษัทฯ เท่านั้น


๒.๖ การจ่ายค่าเบี้ยประกันโรคร้ายแรงแบบกลุ่ม ซึ่งระบุชื่อของบริษัทฯ ในกรมธรรม์ โดยพนักงานจะได้รับค่าชดเชยหรือค่าสินไหมทดแทนกรณีพนักงานประสบโรคร้ายแรงที่ระบุในกรมธรรม์ในช่วงที่เป็นพนักงานของบริษัทฯ เท่านั้น


บริษัทฯ จึงหารือว่า พนักงานบริษัทฯ ที่ได้รับสวัสดิการดังกล่าวข้างต้น จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำผลประโยชน์ที่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินดังกล่าว มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ และบริษัทฯ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายในการให้สวัสดิการแก่พนักงานดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่


แนววินิจฉัย

๑. กรณีการตรวจสุขภาพประจำปีตาม ๒.๑ และเงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตรตาม ๒.๓ หากบริษัทฯ ได้จ่ายเงินให้แก่พนักงานทุกคนเป็นการทั่วไปและเป็นไปตามระเบียบของบริษัทฯ ถือเป็น ค่ารักษาพยาบาลที่พนักงานได้รับจากบริษัทฯ

เข้าลักษณะเป็นเงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้าง จ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้าง สำหรับการรักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๒ (๑๗) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ ๒ (๔) (ก) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙


๒. กรณีค่าฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดหรือโรคระบาดอื่น ๆ ซึ่งมิใช่วัคซีนที่ใช้รักษาเมื่อมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น ตาม ๒.๒

ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงมิใช่เงินที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามข้อ ๒ (๔) (ก) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙ การให้เงินช่วยเหลือพนักงานดังกล่าว

ถือเป็นประโยชน์เพิ่มอันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๓๙ แห่งประมวลรัษฎากร และถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานของบริษัทฯ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๕๖ แห่งประมวลรัษฎากร


๓. กรณีเงินช่วยเหลือพนักงานกรณีรับบุตรบุญธรรมตาม ๒.๔ มิใช่เงินที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อ เสียภาษีเงินได้ ตามข้อ ๒ (๔) (ก) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙ การให้เงินช่วยเหลือพนักงานดังกล่าว

 

ถือเป็นประโยชน์เพิ่มอันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๓๙ แห่งประมวลรัษฎากร และถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๑) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานของบริษัทฯ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๕๖ แห่งประมวลรัษฎากร


๔. กรณีการจ่ายค่าเบี้ยประกันตาม ๒.๕ และ ๒.๖ หากบริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันภัยกลุ่มแทนพนักงานให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกิน ๑ ปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้างแล้ว เงินได้เท่าที่บริษัทฯ ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันดังกล่าว ได้รับยกเว้นตามข้อ ๒ (๗๗) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙)ฯ


๕. กรณีบริษัทฯ จ่ายสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่พนักงาน หากบริษัทฯ มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการให้สวัสดิการดังกล่าวที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป บริษัทฯ มีสิทธินำเงินที่จ่ายไปนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา ๖๕ ตรี (๓) และ (๑๓) แห่งประมวลรัษฎากร


เลขตู้ : ๘๑/๔๐๕๙๕

ประโยชน์เพิ่มการหัก ณ ที่จ่าย และการนำส่งภาษีเงินได้

Inbox: อังคารที่ 7 พฤษภาคม 2562 เวลา 11:44 น.
อาจารย์ พละชัย ฟูเกียรติพงษ์ “Phalachai Fookaittiphong”
เรียน อาจารย์สุเทพที่เคารพ
เรื่อง ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และการลงบัญชีของการทำประกันชีวิตให้กรรมการบริษัท
บริษัท A ทำประกันชีวิตให้กับกรรมการทุกคนเป็นการทั่วไป ตามมติที่ประชุมของบริษัทฯ ดังนี้
(1) นาย กอไก่ เบี้ยประกันจำนวน 100,000 บาท และ นาย ขอไข่ เบี้ยประกันจำนวน 100,000 บาท
(2) ค่าเบี้ยประกันชีวิตตามข้อ (1) ถือเป็นผลประโยชน์เพิ่มของกรรมการ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกรรมการจะต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
คำถามคือ
1) กรณีตามข้อ (2) เมื่อค่าเบี้ยประกันชีวิตตามข้อ (1) ถือเป็นผลประโยชน์เพิ่มของกรรมการ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
…..ดังนั้น บริษัทฯ ต้องดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งให้กรมสรรพากร หรือไม่ อย่างไร ครับ
2) จากคำถามข้างต้น หากบริษัทฯ ต้องดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่าย นั้นจะต้องบันทึกบัญชีอย่างไรครับ เพราะเมื่อบริษัท A จ่ายเงินให้กับ บริษัทประกันชีวิต ก็ได้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายไปแล้วครั้งหนึ่ง หากจะต้องนำมาบันทึกเป็นผลประโยชน์เพิ่มของกรรมการอีกครั้งเพื่อคำนวณเงินได้ที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย จะเป็นการบันทึกค่าใช้จ่าย 2 ครั้ง หรือไม่?
…..(ขออภัยนะครับอาจารย์เพราะผมไม่ค่อยมีความรู้มากนักในเรื่องบัญชี แต่มีคำถามจากฝ่ายบัญชีซึ่งผมไม่สามารถตอบได้ครับ)
ขอขอบพระคุณครับ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
สำหรับเงินได้พึงประเมินที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่กรรมการนั้น

1. หากกรรมการต้องปฏิบัติงานประจำในบริษัทฯ เช่น กรรมการผู้จัดการ หรือ CEO ได้รับเงินเดือนประจำ เช่นนี้ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

2. หากกรรมการไม่ต้องทำงานประจำในบริษัทฯ เพียงแต่มาประชุมกำหนดนโยบายและติดตามงานเท่านั้น เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร

ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า

1) กรณีบริษัทฯ จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตให้แก่กรรมการทุกท่าน โดยจ่ายให้แก่กรรมการทุกท่านเป็นการทั่วไป ตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ซึ่งถือเป็นผลประโยชน์เพิ่มของกรรมการ โดยเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร นั้น

       ในการจ่ายประโยชน์เพิ่มดังกล่าวให้แก่กรรมการ บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องนำประโยชน์เพิ่มในรูปของเบี้ยประกันชีวิตไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินของกรรมการ เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร และนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป          
             และบริษัทฯ ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อทีกรรมการจะได้นำไปกรองแบบ ภ.ง.ด.91 เมิ่อสิ้นปีภาษีต่อไป

2) ในการบันทึกบัญชีประโยชน์เพิ่มในส่วนที่เป็นค่าเบี้ยประกันชีวิต นั้น บริษัทฯ พึงนำไปถือเป็นค่าใช้จ่ายในหมวดผลประโยชน์กรรมการ เช่นเดียวกับเงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส และประโยชน์เพิ่มอย่างอื่น ไม่อาจนำไปถือเป็นค่าใช้จ่ายในหมวดค่าใช้จ่ายในการขายและบริการทั่วไปได้ เพียงแต่กรรมการไม่ได้รับผลประโยชน์ที่เป็นเงินสด หากแต่ได้รับในรูปของประโยชน์เพิ่ม (Fringe Benefit) จึงไม่เป็นการบันทึกค่าใช้จ่ายซ้ำ 2 ครั้ง แต่อย่างใด

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

การค้นหาที่เกี่ยวข้อง รับทำบัญชี เบี้ยประกันชีวิตบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้พนักงาน ค่าเบี้ยประกันชีวิตกรรมการ การบันทึกบัญชีค่าเบี้ยประกันชีวิต เบี้ย ประกันชีวิต นิติบุคคล ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ลดหย่อนภาษีได้ไหม ประกัน keyman บริษัทจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพให้พนักงาน  เอกสาร ประกัน keyman

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่นกรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 15,080

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า