Skip to content

การบันทึกรายได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม การส่งออก

การบันทึกรายได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม การส่งออก

การบันทึกรายได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม การส่งออก - เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก มีดังนี้

รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขายการส่งออก (อังกฤษ: export) หมายถึง การจัดส่งสินค้าและบริการจากต้นทางสู่ปลายทางในทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ โดยผู้ส่งสินค้าหรือบริการออกเรียกว่า “ผู้ส่งออก” ส่วนในทางการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกหมายถึง การขายสินค้าและบริการในประเทศไปสู่ตลาดอื่น (ตลาดสากล)

ในการส่งออกและนำเข้าซึ่งสินค้าจะต้องมีหน่วยงานที่ต้องเกี่ยวข้องด้วยคือ กรมศุลกากร แม้ว่าจะเป็นการนำเข้าหรือส่งออกผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตเองก็จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับกรมศุลการกรด้วย และที่สำคัญต้องอยู่ภายใต้กฎหมายการนำเข้าและส่งออกของประเทศนั้น ๆ[1]

ใบขนสินค้าขาออก (แบบ กศก.101/1 ) ใช้สำหรับการส่งออกในกรณี

1. ใบขนสินค้าขาออก  (แบบ กศก.101/1 ) ใช้สำหรับการส่งออกในกรณี ดังต่อไปนี้

การส่งออกสินค้าทั่วไป, การส่งออกของส่วนบุคคลและเอกสิทธิ์, การส่งออกสินค้าประเภท ส่งเสริมการลงทุน (BOI), การส่งออกสินค้าจากคลังสินค้าทัณฑ์บน, การส่งออกสินค้าที่ขอชดเชยค่าภาษีอากร, การส่งออกสินค้าที่ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ, การส่งออกสินค้าที่ต้องการใบสุทธินำกลับ, การส่งสินค้ากลับออกไป (RE-Export)

Proforma Invoice (PI)

Proforma Invoice (PI) คือ เอกสารที่ใช้ในการเสนอราคา และเงื่อนไขในการจ่ายเงิน ผู้ส่งสินค้ามักจะทำเป็น Proforma Invoice ส่งไปให้ผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อพอใจก็จะเปิด Credit สั่งซื้อสินค้าโดยอ้าง เลขที่และวันที่ ของ Proforma Invoice นั้นๆ ดังนั้น Proforma Invoice จึงใช้ได้ทั้งเป็นการเสนอขายและข้อตกลงแทนสัญญาซื้อขายไปในตัว

Commercial Invoice

ใบนี้เป็นเอกสารสำคัญ  ที่บริษัท Shipping  ใช้สำหรับแนบไปกับเอกสารอื่นเพื่อออกของกับกรมศุลกากร

ใบแสดงการบรรจุหีบห่อ (Packing List)

ใบแสดงการบรรจุหีบห่อ     (Packing List)

ใบแสดงการบรรจุหีบห่อ เอกสารที่ออกโดยผู้ส่งออกหรือผู้ขาย เพื่อมอบให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า

            -วัน เดือน ปี
           -เลขที่ใบกำกับสินค้า
           -กรอกชื่อที่อยู่ของผู้รับปลายทาง
           -กรอกชนิดของพาหนะที่ขนส่ง
           -กรอกกำหนดเวลาที่พาหนะออกเดินทางไปจากท่าที่ส่งออก
           -ประเทศต้นทางที่บรรทุกและรหัส

ตามมาตรฐานควรเป็น Packing list ที่มีการแจ้งถึงรายละเอียดของสินค้าแต่ละชนิดบรรจุไวใ้นหีบ ห่อว่าเป็นอะไร มีน้ำหนักสุทธิ (Net Weight) น้ำหนักรวม ( Gross Weight) ของสินค้าแต่ละชนิด เท่าไร

BILL OF LADING หรือ AIRWAYBILL (ใบตราส่งทางเรือทางอากาศ)

BILL OF LADING หรือ AIRWAYBILL (ใบตราส่งทางเรือทางอากาศ)

Bill of Lading เป็นเอกสารที่ทางสายเรือ (Agent) หรือ ตวัแทน (Freight Forwarder) ออก ให้กับผู้ส่งออก (Shipper) เพื่อเป็นหลักฐานในการรับดำเนินการขนส่งสินค้าที่ไดร้ับมอบหมาย ส่งออกไปยังเมืองท่าปลายทาง B/L จึงเป็นเอกสารส่งออกที่จำเป็นเพราะเป็นเอกสารสัญญาระหว่าง ผู้จัดส่งกับผู้ส่งออก อีกทั้งยังเป็นหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของสินค้าของการน าเข้า B/L (Bill of Lading) สามารถออกไดเ้มื่อหลงัจากสายการเดินเรือได้รับบรรทุกสินค้าและ เรือได้ออกจากท่าเรือต้นทางแล้ว 1 วัน

ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of origin)

ซึ่งวัตถุประสงค์ของใบ C/O นี้ ก็เพื่อรับรองสินค้าของผู้ส่งออกว่าส่งออกมาจากประเทศใด และผลิตได้ถูกต้องตามกฎที่ว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า สืบเนื่องจากหลายๆประเทศมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า ทำให้เวลานำเข้าสินค้าบางชนิดในบางประเทศนั้น จำเป็นที่จะต้องแสดงว่าสินค้านั้นส่งออกหรือผลิตมาจากประเทศใด หากตรงกับเงื่อนไขถึงจะสามารถนำเข้าได้

Purchasing Order หรือใบสั่งซื้อสินค้า

ใบนี้คือใบที่ผู้นำเข้า (ผู้ซื้อสินค้า) จะส่งให้ผู้ส่งออก (ผู้ขาย) เพื่อเปิดออเดอร์สำหรับการสั่งซื้อ

อัตราแลกเปลี่ยนที่ทางสรรพากรยอมรับ

คำสั่งกรมสรรพากร  ที่ ป.132/2548

เรื่อง      การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 มาตรา 65 ทวิ (5) มาตรา 65 ทวิ (8) และมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร

       กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับมาหรือจ่ายไปซึ่งเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สิน ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไปนั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคสอง แห่งประมวล  รัษฎากร

                               ราคาตลาดตามวรรคหนึ่ง กรณีการบันทึกบัญชี ณ วันที่เกิดรายการทรัพย์สิน หรือหนี้สิน หมายถึง

                              (1) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน (อัตราซื้อหรืออัตราขาย) หรือ

                              (2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยหรืออัตราขายถัวเฉลี่ย)

                                   ราคาตลาดตามวรรคหนึ่ง กรณีการได้รับเงินหรือจ่ายเงินเป็นเงินตราต่างประเทศ หมายถึง อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นจริงในทางปฏิบัติจากการนำเงินสกุลบาทไปแลกเป็นเงินสกุลต่างประเทศ หรือเกิดจากการนำเงินสกุลต่างประเทศไปแลกเป็นเงินสกุลบาท

 

การรับชำระราคา

  1. T/T (Telegraphic Transfer ) การชำระเงินค่าสินค้าด้วยการโอนเงิน T/T เป็นวิธีที่ผู้ซื้อ และผู้ขายตกลงกันเองว่าจะชำระเงินก่อน ทั้งจำนวน หรือบางทีอาจชำระบางส่วนก่อนเพื่อเป็นค่ามัดจำ (Deposit)  พอผู้ซื้อได้รับสินค้าก็จะมาชำระส่วนที่เหลือ ผู้ขายจะส่งเอกสาร (ตั๋ว) ให้กับผู้ซื้อ ซึ่งผู้ขายจะพอใจวิธีนี้เนื่องจากจะลดภาระเสี่ยงจากการเบี้ยวค่าสินค้า หรือการชำระล่าช้าได้ สามารถนำเงินส่วนนั้นไปลดต้นทุนดอกเบี้ย ชำระค่าวัตถุดิบ หรือค่าแรงระหว่างการผลิตได้เลย เป็นต้น แต่ทางกลับกันหากผู้ขายเองไม่มีคุณภาพด้านความรับผิดชอบ ความเสี่ยงก็จะไปอยู่ทางด้านผู้ซื้อ นั่นก็หมายความได้ว่าสินค้าที่ทำการซื้อขายนั้นเป็นที่ต้องการของตลาดมีศักยภาพในการทำกำไร และมีคู่แข่งน้อยในตลาด ผู้ซื้อถึงจะยอมรับในเงื่อนไขนี้


  2. L/C (Letter of Credit) ซึ่งจะเป็นแบบที่เพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable) เป็นการชำระค่าสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่มีหลักประกันสำหรับทั้ง 2 ฝ่ายทั้งผู้ซื้อ และผู้ขายว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้มอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินแล้วนั่นเองหากทั้งคู่ทำตามเงื่อนไขต่างๆ ครบถ้วนและถูกต้อง Letter Of Credit นั้นในทางข้อกำหนดเรื่องระยะเวลาจะมี 2 อย่างคือ

Incoterms (International Commercial Terms) คือ เป็นข้อกําหนดในการส่งมอบสินค้า หรือเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า

Incoterms (International Commercial Terms) คือ เป็นข้อกําหนดในการส่งมอบสินค้า หรือเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า โดยกำหนดเป็นมาตรฐานความหมายการค้าที่ใช้ตกลงในการทำสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายที่เป็นสากล ได้รับการดูแลและคุ้มครองโดยสภาหอการค้านานาชาติ (ICC: International Chamber of Commerce) ซึ่งยึดติดกับการค้าสหประชาชาติหลัก เพื่อให้คู่ค้าทั้งผู้ซื้อ และผู้ขายทราบถึงขอบเขตความรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงต่าง ๆ โดยช่วยให้ทั้งสองฝ่ายที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมมีความเข้าใจตรงกัน

  • FOB – Free On Board

เงื่อนไข การส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้า เมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้ ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบการทําพิธีการส่งออกด้วย ส่วนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมทั้งความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าเป็นภาระของผู้ซื้อในทันทีที่ของผ่านกาบระวางเรือไปแล้ว

  • CIF – Cost, Insurance & Freight

เงื่อนไข การส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้า เมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการทําพิธีการส่งออก จ่ายค่าระวางเรือ และค่าประกันภัยขนส่งสินค้า เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าจนถึงมือผู้ซื้อให้แก่ผู้ซื้อด้วย

ที่มา http://www.wice.co.th

การบันทึกรายได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม การส่งออก - Status ใบขนบอกอะไรบ้าง ​

การบันทึกรายได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม การส่งออก – Status ใบขนบอกอะไรบ้าง   

ใบขนสินค้าที่แสดง status 01 หมายถึง อยู่ในระหว่างการร่าง พร้อมชำระอากร 

ใบขนสินค้าที่แสดง status 02 หมายถึง ส่งผ่านระบบอิเล็คโทนิคไปยังกรมศุลกากรแล้ว 
– พร้อมตรวจปล่อย  เราต้องขนของลงเรือ (ถ้าส่งออก)

ใบขนสินค้าที่แสดง status 03 หมายถึง ได้รับการตอบรับจากกรมศุลกากรแล้ว (สินค้าได้รับการรับรองคอนเทนเนอร์ผ่านเขตการอารักขาศุลกากร)     
–  ผ่านการตรวจปล่อย  ขนสินค้าเข้าข้างในไปเรียบร้อยแล้ว –

ใบขนสินค้าที่แสดง status 04 หมายถึง ส่งออกสมบูรณ์ ซึ่งในที่นี้หมายถึงยานพาหนะที่ใช้บรรทุกสินค้าได้ออกเดินทางออกจากราชอาณาจักรไทย  
 –  ส่งสินค้าไปนอกราชอาณาจักรแล้ว ส่งออกแล้ว หรือลงเรือแล้ว –

หลักฐานที่ต้องเตรียมให้สรรพากร​เพื่อยืนยันสิทธิ์ VAT 0%

การบันทึกรายได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม การส่งออก – หลักฐานที่ต้องเตรียมให้สรรพากร​

หลักฐานที่ต้องเตรียมให้สรรพากรตรวจสอบ เพื่อยืนยันความเป็นผู้ส่งออก ได้รับสิทธิ์ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 0

……..(1) หลักฐานที่แสดงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ผลิตสินค้าดังกล่าวหรือซื้อสินค้าจากโรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศ และโรงงานผู้ผลิตหรือผู้ขายในประเทศได้จัดทำใบกำกับภาษีเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 82/4 และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร

……..(2) หลักฐานใบกำกับสินค้า (Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน

……..(3) หลักฐานการบรรจุหีบห่อ (Packing List) เว้นแต่สินค้าทีไม่จำต้องบรรจุหีบห่อ เช่น ไม้ เสาเข็ม เป็นต้น ก็ไม่จำต้องมี Packing List เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมิน

……..(4) หลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชำระราคาค่าสินค้าตามใบกำกับสินค้า(Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หรือหลักฐานการจัดทำ T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) เป็นต้น กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่สามารถแสดงหลักฐานดังกล่าว แต่ได้บันทึกรายการส่งออกสินค้าในรายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ บัญชีเงินสดรับหรือบัญชีขาย ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหลักฐานที่แสดงว่ารับชำระราคาค่าสินค้าหรือมีหลักฐานที่แสดงว่าจะมีการชำระราคาค่าสินค้าตามใบกำกับสินค้า (Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน

……..(5) หลักฐานใบกำกับภาษีซื้อ และรายงานภาษีซื้อ

……..(6) หลักฐานสำเนาใบขนสินค้าขาออกในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ผ่านพิธีการศุลกากรฉบับที่มีการสลักหลังการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่ามีการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร

การบันทึกรายได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำเข้า
การบันทึกรายได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม การส่งออก

การบันทึกรายได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม การส่งออก - รายงานภาษีขาย บันทึกรายได้

1. ในการบันทึกบัญชี รับรู้รายได้ ต้องใช้ อัตราแลกเปลี่ยน ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ในใบขนตาม Status 04

2. ในการรายงานยอดขาย ใบแบบ ภพ 30 (ยอดขายที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 0)  ต้องใช้ยอดเงิน FOB และอัตราแลกเปลี่ยนตามวันที่ในใบขน Status 02

ตามวิธีการทั้งสองแบบนี้จะเป็นวิธีการแจ้งยอดภพ 30 และ รายได้ที่ถูกต้องตามหลักสรรพากร และ มาตราฐานบัญชี ซึ่งจะต้องมีการกระทบยอด ภพ 30 กับ ภงด 50 ตอนสิ้นปี

แต่ในการปฏิบัติกันมาของกิจการส่วนมาก จะเป็น 2 วิธีดังนี้

ก. บันทึกยอดตามภพ 30 และรายงานภาษีขาย รวมทั้งรับรู้รายได้ตามเรท กรมศุลกากร

(ถูกต้องการเกณฑ์สรรพากรที่ใช้ยอด FOB ในการจัดทำรายงานภาษีขาย แต่ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ทางบัญชี และทำให้บันทึกรายได้ต่ำกว่า เพราะเรทอัตราแลกเปลี่ยนกรมศุลกากรมักจะต่ำว่าอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารไทย)

หรือ

ข. บันทึกยอดตามภพ 30 และรายงานภาษีขาย รวมทั้งรับรู้รายได้ตามอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย ณ  วันที่ในใบขน status 04

(วิธีนี้จะถูกต้องตามมาตราฐานการบัญชี รวมทั้งยังใช้อัตราแลกเปลี่ยน BOT ซึ่งจะมากกว่าอัตราแลกเปลี่ยนของกรมศุลกากร (ตามวิธีที่ ก.) เพราะอัตราแลกเปลี่ยนของกรมศุลกากรจะใช้อัตราเดียวตลอดทั้งเดือน และส่วนมากจะมีเรทอัตราแลกเปลี่ยนที่ต่ำกว่าธนาคารไทย หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย)

การทำทั้งสองวิธีนี้จะทำให้ยอดตาม ภพ 30 เท่ากับภงด 50 กิจการจึงไม่ต้องกระทบยอด

การบันทึกรายได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม การส่งออก ขั้นตอนทางบัญชีและภาษี

ที่มา https://www.facebook.com/Suthep.Pongpitak

1. กรณีกิจการได้รับคำสั่งซื้อ (P/O: Purchase Order)

1. กรณีกิจการได้รับคำสั่งซื้อ (P/O: Purchase Order) จากผู้ซื้อในต่างประเทศ ยังไม่ถือว่ากิจการมีการขายสินค้าโดยการส่งออกแต่อย่างใด

2. กิจการได้ออกใบตราส่งสินค้า (Performa Invoice)

2. กิจการได้ออกใบตราส่งสินค้า (Performa Invoice) เพื่อนำไปใช้ประกอบการขออนุมัติส่งออกต่อเจ้าพนักงานกรมศุลกากร ณ จุดนี้ก็ยังไม่ถือว่ากิจการมีการขายสินค้าโดยการส่งออกเช่นเดียวกัน

3.กิจการขนย้ายสต๊อกสินค้าไปยังท่าเรีอเพื่อเตรียมการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า

3. กิจการขนย้ายสต๊อกสินค้าไปยังท่าเรีอเพื่อเตรียมการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า เนื่องจากยังไม่มีการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า

จึงยังไม่ถือเป็นการขาย แต่มีการเคลื่อนย้ายสต๊อกออกจากคลังสินค้า

กิจการจึงต้องบันทึกตัดสินค้าที่เตรียมการส่งออกจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

แต่เนื่องจากกิจการยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ จึงต้องบันทึกรายการสินค้าไว้ในบัญชีสินค้าระหว่างทาง (Goods in Transit)numquam, error, est. Ea, consequatur.

4. กิจการดำเนินพิธีการทางศุลกากร มีเอกสาร "ใบขนสินค้า

4. กิจการดำเนินพิธีการทางศุลกากร มีเอกสาร “ใบขนสินค้า” เกิดขึ้น ณ จุดนี้มีผลต่อระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือ 

(1) ถือว่าความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นผลให้กิจการได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 0%
 
(2) กิจการต้องบันทึกรายงานภาษีขาย ด้วยราคา เอฟ.โอ.บี. ตามมาตรา 79/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร 

– กรณีที่กิจการยังได้รับชำระราคาสินค้า ให้เลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ (Buying Rate) ของธนาคารพาณิชย์ที่กิจการใช้บริการอยู่นั้น หรือจะเลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ แต่เมื่อได้เลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนเพื่อการคำนวณเงินตราต่างประเทศให้เป็นเงินตราไทยของธนาคารประเภทใดแล้ว ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารนั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลง “ธนาคาร” ได้ 

– กรณีที่กิจการได้รับชำระค่าสินค้าไว้ก่อนแล้ว ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ ตามที่ได้บันทึกรายการรับชำระเงินค่าสินค้านั้น

5. เมื่อมีการนำสินค้าลงเรือเดินทะเลเพื่อส่งไปให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ

5. เมื่อมีการนำสินค้าลงเรือเดินทะเลเพื่อส่งไปให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ 

(1) กรณีการขายสินค้าด้วยเงื่อนไข CIF ยังไม่ถือว่า กิจการได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ จึงยังไม่มีการบันทึกบัญชีเพื่อรับรู้รายได้จากการส่งออกสินค้าแต่อย่างใด 

(2) กรณีการขายสินค้าด้วยเงื่อนไข FOB ถือได้ว่า กิจการได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อสินค้าแล้ว ให้บันทึกรับรู้รายได้จากการส่งออกสินค้า ตามมาตรา 65 ทวิ (5) แห่งประมวลรัษฎากร 

– กรณีที่กิจการยังได้รับชำระราคาสินค้า ให้เลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ (Buying Rate) ณ วันที่ส่งมอบสินค้านั้น ของธนาคารพาณิชย์ที่กิจการใช้บริการอยู่นั้น หรือจะเลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ แต่เมื่อได้เลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนเพื่อการคำนวณเงินตราต่างประเทศให้เป็นเงินตราไทยของธนาคารประเภทใดแล้ว ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารนั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลง “ธนาคาร” ได้ 

– กรณีที่กิจการได้รับชำระค่าสินค้าไว้ก่อนแล้ว ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ ตามที่ได้บันทึกรายการรับชำระเงินค่าสินค้านั้น

6. เมื่อสินค้าถึงท่าเรือในต่างประเทศ

6. เมื่อสินค้าถึงท่าเรือในต่างประเทศ 

(1) กรณีการขายสินค้าด้วยเงื่อนไข CIF ถือได้ว่า กิจการได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อสินค้าแล้ว ให้บันทึกรับรู้รายได้จากการส่งออกสินค้า ตามมาตรา 65 ทวิ (5) แห่งประมวลรัษฎากร 

– กรณีที่กิจการยังได้รับชำระราคาสินค้า ให้เลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ (Buying Rate) ณ วันที่ส่งมอบสินค้านั้น ของธนาคารพาณิชย์ที่กิจการใช้บริการอยู่นั้น หรืออัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามทีกิจการได้เลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนเพื่อการคำนวณเงินตราต่างประเทศให้เป็นเงินตราไทยของธนาคารประเภทใดประเภทหนึ่งแล้ว ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารนั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลง “ธนาคาร” ได้ 

– กรณีที่กิจการได้รับชำระค่าสินค้าไว้ก่อนแล้ว ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ ตามที่ได้บันทึกรายการรับชำระเงินค่าสินค้านั้น

(2) กรณีการขายสินค้าด้วยเงื่อนไข FOB เนื่องจากกิจการได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วตั้งแต่จุดที่ 5 แล้ว จึงยังไม่ต้องบันทึกบัญชีเพื่อรับรู้รายได้จากการส่งออกสินค้าอีกแต่อย่างใด 

7. เมื่อมีการรับชำระหนี้ค่าสินค้าไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

7. เมื่อมีการรับชำระหนี้ค่าสินค้าไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้กิจการบันทึกการรับชำระราคาค่าสินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ตามมาตรา 65 ทวิ (5) แห่งประมวลรัษฎากร โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ (Buying Rate) ณ วันที่ได้รับชำระราคานั้น ของธนาคารพาณิชย์ที่กิจการใช้บริการอยู่นั้น

8. เมือสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี หากยังได้รับชำระหนี้ไม่หมด ให้กิจการปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยน

8. เมือสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี หากยังได้รับชำระหนี้ไม่หมด ให้กิจการปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นไปตามแลกเปลี่ยนที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ (Buying Rate) ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

(1) กรณีวันสินรอบระยะเวลาบัญชีตรงกันปีปฏิทิน กรมสรรพากรได้มีการประกาศอัตราแลกเปลี่ยน ให้กิจการใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามที่กรมสรรพากรได้ประกาศนั้นคำนวณเงินตราต่างประเทศให้เป็นเงินตราไทย

(2) กรณีวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีไม่ตรงกับปีปฏิทิน ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ (Buying Rate) ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ของธนาคารพาณิชย์ที่กิจการใช้บริการอยู่นั้น หรืออัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามทีกิจการได้เลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนเพื่อการคำนวณเงินตราต่างประเทศให้เป็นเงินตราไทยของธนาคารประเภทใดประเภทหนึ่งแล้ว ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารนั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลง “ธนาคาร” ได้

9. ในรอบระยะเวลาบัญชีปีถัดไปที่มีการรับชำระหนี้

9. ในรอบระยะเวลาบัญชีปีถัดไปที่มีการรับชำระหนี้ ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับรายการตามข้อ 7 ข้างต้น

การบันทึกรายได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม การส่งออก -
เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีในขั้นตอนต่างๆ แบบง่าย

  1.  ขายเชื่อ    บันทึกบัญชี รายได้ เอกสาร ใบขนสินค้าขาออก + BL + PL + Commercial invoice + อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ในใบขน ตาม  Status 0409 (ขายเชื่อ)
  2. บันทึกบัญชีรับชำระหนี้ – ใบรับโอนเงินจากต่างประเทศของจากธนาคาร + Commercial invoice + สมุดบัญชี (ตรวจว่าเงินเข้าตรงกับใบโอนจากธนาคาร)
  3. บันทึกค่าใช้จ่ายในการส่งออก -เอกสารของทาง Shipping เอกสารที่ใช้ใบแจ้งหนี้จาก Shipping + ใบกำกับภาษี +เอกสารทดลองจ่าย(ถ้ามี)+ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ชิปปิ้งกระทำการแทน ไม่ต้องบันทึกบัญชีแต่เป็นหลักฐานว่าได้กระทำการหัก ณ ที่จ่ายแทนเรียบร้อยแล้ว
  4. บันทึกการจ่ายชำระหนี้ ชิปปิ้ง ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี จาก Shipping + หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย + เช็ค หรือใบโอนเงิน + ควรแนบ INV หรือ ระบุว่าเป็นการส่งออก inv ฉบับใด

  5. ปรับอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันทำการสุดท้ายของปี ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทย
การปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันทำการสุดท้ายของปี - เงินมัดจำ

คุณ Pui Warunee (3 พฤษภาคม 2559 เวลา 19:24 น.)
ปุจฉา: 

สมมุตินะค่ะ เปิด PO ซื้อสินค้าต่างประเทศ. usd.100 แต่ยังไม่ได้รับสินค้าปี 2558 แต่มีการโอนเงินสินค้าล่วงหน้าตามนี่ค่ะ วันที่ 1/10/2558 โอนเงิน usd 50 rate 30 บาท 1,500 บาท วันที่ 10/11/2558โอนเงิน usd 20 rate 31 บาท 620 บาท วันที่15/12/58โอนเงิน usd 20 rate 32 บาท 640 บาท โอนทั้ง 3 ครั้งเป็นเงิน usd 90 เป็นเงินบาท 2,760 บาท ตอนบันทึกรายการ

เดบิต เงินมัดจำค่าสินค้า….. 2,760 บาท 
……เครดิต ธนาคาร……………………… 2,760 บาท 

และตอนสิ้นปีต้องปรับ rate สิ้นปีไหมคะ (กำลังคิดว่าไม่น่าจะปรับ เพราะตัวนี้ไม่ถือว่าเป็นหนี้สินหรือทรัพย์สินที่คงค้างเป็นเงินตราต่างประเทศใช่ไหมคะ.)

สุเทพ พงษ์พิทักษ์

วิสัชนา: 

กรณีบริษัทฯ ต้องนำรายการเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สิน ที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีมาปรับปรุงค่าหรือราคาให้เป็นเงินตราไทย ตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อหรือขาย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคหนึ่ง (ก) แห่งประมวลรัษฎากร และหากเกิดผลกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน บริษัทฯ มีสิทธินำมารวมคำนวณเป็นรายได้หรือรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/3027 ลงวันที่ 11 เมษายน 2549) 

ดังนั้น หากทรัพย์สิน หรือหนี้สิน ได้ถูกแปลงค่าให้เป็นเงินตราไทยไปแล้ว ย่อมไม่ต้องด้วยเงื่อนไขตามมาตรา 65 ทวิ (5) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีที่บริษัทฯ ได้ชำระหนี้สินด้งกล่าวแล้ว US$ 90 ไปแล้ว จึงไม่ต้องปรับปรุงมูลค่าให้เป็นเงินตราไทยอีก

นอกจากนี้ กรณีบริษัทฯ ได้มีการลงทุนระยะยาวเพื่อหวังเงินปันผลในบริษัทที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ เป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา บริษัทฯ ได้บันทึกต้นทุนของเงินลงทุนดังกล่าวเป็นเงินตราไทย ตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่มีการจ่ายเงินชำระค่าหุ้น ตามมาตรา 65 ทวิ (3) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีดังกล่าวเนื่องจากบริษัทฯ ไม่มีภาระผูกพันเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทฯ จึงไม่ต้องปรับปรุงมูลค่าของเงินลงทุนหรือทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ : กค 0706/352 ลงวันที่ 14 มกราคม 2548)

ประกอบกิจการเป็นตัวแทนส่งออกสินค้าอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

คุณ Peachana Pitaktigul ได้โพสต์ไปเมื่อ 15 ก.ค. 2556 ว่า

“เรียนถามท่านสุเทพ เนื่องด้วยทางบริษัทประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนในการส่งออก มีการรับรู้รายได้จากการเป็นตัวแทนส่งออก (มี VAT ด้วย) แต่ถ้าจะต้องการเพิ่มรายได้ของธุรกิจ โดยการจัดหาสินค้าเพื่อส่งออกให้กับลูกค้าชาวต่างชาติเท่านั่น โดยรายได้จะเท่ากับราคาสินค้าบวกค่าบริการ (คิดเป็น % ตามมูลค่าของสินค้า) ซึ่งมูลค่านี้จะเท่ากับยอดส่งออกตามใบขนขาออกคำถามมีดังนี้

1) การรับรู้รายได้ดังกล่าวจะต้องมี VAT รึเปล่าค่ะ
2) หลักฐานในการรับรู้รายได้จะต้องมีเอกสารใดประกอบค่ะ
3) ส่วนค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนแยกออกเป็น2ประเภทคือ
– ซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการที่จดทะเบียน VAT ใบกำกับที่มีขอคืนได้ไหมค่ะ
– ซื้อสินค้าจากบุคคลหรือร้านค้าทั่วไปมีแต่นามบัตรกับบิลเงินสดจะสามารถลงค่าใช้จ่ายได้รึเปล่าค่ะ ควรจะใช้หลักฐานใดได้บ้างเพื่อลงต้นทุน

คำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจการด้านขนส่ง

การขนส่งภายในประเทศเป็นธุรกิจได้รับยกเว้นVAT ถูกต้องใช่มั๊ยค่ะแต่ถ้าเป็นการขนส่งทางรถเพื่อส่งออกตามชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านจะถือว่าเป็นธุรกิจในอัตรา0 หรือยกเว้น VAT ค่ะ

ขอขอบพระคุณอย่างสูงมาณ.ที่นี้ค่ะ”

เรียน คุณ Peachana Pitaktigul ต่อคำถาม เกี่ยวกับการส่งออก

1. การส่งออกถือเป็นการประกอบกิจการ “ขายสินค้า” ที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่า เพิ่ม ในอัตรา 0% ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่บริษัทฯ ผ่านพิธีการทางศุลกากร แต่ถ้าส่งออกโดยทางไปรษณีย์ หรือนำติดตัวออกไปต่างประเทศ หรือทางคูเรียร์ ที่ไม่ผ่านพิธีการทางศุลกากร บริษัทฯ ต้องมีภาระ VAT ในอัตรา 7% เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์การส่งออกที่จะได้สิทธิอัตรา 0%

2. หลักฐานในการรับรู้รายได้ แบ่งเป็น

(1) กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้ใช้หลักฐานอินวอยส์ทางกาค้าทั่วไป โดยต้องรับรู้รายได้เมือมีการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า ซึ่งต้องพิจารณาจากเงื่อนไขการขาย คือ FOB หรือ CIF แล้วแต่กรณี

(2) กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ศึกษาจากแนวทางปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 97/2543

3. เมื่อบริษัทฯ ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว บริษัทฯ ย่อมมีสิทธินำภาษีซื้อตามหลักฐานใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ออกให้ และไม่เข้าเงื่อนไขเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร มาถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรได้

กรณีบริษัทฯ ซื้อสินค้าจากบุคคลหรือร้านค้าทั่วไป มีแต่เพียงนามบัตรกับบิลเงินสด นั้น บริษัทฯ ต้องสามารถพิสูจน์ผู้รับได้ว่าเป็นใคร จึงจะสามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ โดยไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร
โดยทั่วไป หลักฐานที่อาจพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับ มีอาทิ
– Invoice (ใบส่งของ)
– Tax Invoice (ใบกำกับภาษี)
– ประกอบกับ สำเนาภาพถ่าย และต้นขั้วเช็คชีดคล่อมที่ระบุ “A/C payee only” เว้นแต่ไม่มีหลักฐานข้างต้นก็ใช้เฉพาะหลักฐานตามข้อนี้
– สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประกอบการที่เป็นผู้รับเงินค่าสินค้าอย่างแท้จริง (มิใช่ไมหยิบฉวยของผู้ใดมา)

เกี่ยวกับธุรกิจการด้านขนส่ง

– การให้บริการขนส่งภายในประเทศ และการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล เป็นกิจการที่ได้รับยกเว้น VAT ตามมาตรา 81 (1)(ณ) และ (ด) แห่งประมวลบรัษฎากร แล้วแต่กรณี ถูกต้องครับ

– การใน้บริการขนส่งระหว่างประเทศทาง โดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล เท่านั้น ที่ได้สิทธิเสีย VAT ในอัตรา 0% ตามมาตรา 80/1 (3) แห่งประมวลรัษฎากร

อย่างไรก็ตาม การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยอากาศยาน เป็นกิจการที่ผู้ประกอบการมีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามมาตรา 81/3 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 3 (3) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 241) พ.ศ. 2534

ที่มา..www.facebook.com/Suthep.Pongpitak

กค 0702/8591 การขออนุมัติจัดทำรายการในใบกำกับภาษีเป็นภาษาต่างประเทศ และเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ

ข้อหารือ
          บริษัทฯ ประกอบกิจการขายปลีกและส่งท่อโลหะทุกชนิด มีความประสงค์จัดทำรายการในใบส่งสินค้า ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน เป็นภาษาต่างประเทศและเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ เนื่องจากบริษัทฯ ได้รับคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อในต่างประเทศ แต่ ให้จัดส่งสินค้าแก่ลูกค้าของผู้ซื้อซึ่งอยู่ในราชอาณาจักร จึงเป็นการขายสินค้าในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร แต่บริษัทฯ ต้องจัดทำใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศตามมาตรา 82/4 และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงขอ อนุมัติจัดทำรายการในใบส่งสินค้าและใบกำกับภาษีเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ตามข้อ 5 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 92) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติจัดทำรายการในใบกำกับภาษีเป็นภาษาต่างประเทศ หรือเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
แนววินิจฉัย
          1. ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งมีความประสงค์จัดทำรายการในใบกำกับภาษีเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศจะต้องได้รับ อนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อน ทั้งนี้ ตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 4 ของประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 92)ฯ ลงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และผู้ประกอบการที่มีสิทธิขออนุมัติ จะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการตามข้อ 5 (1) และ (2) ของประกาศอธิบดีฉบับดังกล่าว 
          2. กรณีบริษัทฯ ได้รับคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อในต่างประเทศ แต่ให้ส่งสินค้าแก่ลูกค้าของผู้ซื้อซึ่งอยู่ในราชอาณาจักร โดยที่สินค้า ดังกล่าวไม่ได้ส่งออกนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศ การประกอบกิจการของบริษัทฯ จึงเป็นการขายสินค้าในราชอาณาจักร ไม่เข้าลักษณะตามข้อ 5 (1) และ (2) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 92)ฯ ลงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 บริษัทฯ จึงไม่มีสิทธิจัดทำใบกำกับภาษีเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร 
          อย่างไรก็ดี กรณีที่บริษัทฯ ได้ออกใบกำกับภาษีมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว หากบริษัทฯ ประสงค์จะเพิ่มเติมรายการหน่วยเงินตราต่างประเทศไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวก็สามารถกระทำได้

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ รับทำบัญชี ส่งออก ภาษีส่งออกสินค้า รับทําบัญชีอิสระ pantip วิธีคำนวณภาษีส่งออก รายงานภาษีขาย ส่งออก ภาษีนำเข้า ส่งออก vat 0 ปัญหาภาษี ผู้ส่งออก ต้องระวัง ภาษีส่งออกสินค้าเกษตร ภาษีส่งออกต่างประเทศ

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 27,127

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า