ค่าเช่ารถยนต์ : ภาษีมูลค่าเพิ่ม VS ภาษีเงินได้นิติบุคคล รับทำบัญชี หัก ณ ที่จ่าย
ค่าเช่ารถยนต์ : ภาษีมูลค่าเพิ่ม VS ภาษีเงินได้นิติบุคคล รับทำบัญชี หัก ณ ที่จ่าย
ค่าเช่ารถยนต์ : ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ VS ภาษีมูลค่าเพิ่ม VS ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ค่าเช่ารถยนต์
ค่าเช่ารถทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มี ที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
ค่าเช่ารถสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินคันละ 36,000 บาทต่อเดือน
ตามมาตรา 65 ตรี (20) แห่งประมวลรัษฎากร (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง/แก๊ส
ที่ใช้เพื่อกิจการสามารถนำมาลงเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณภาษีอากร ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65ตรี (13)
บริษัทฯ ไม่ต้องจัดทำหลักฐานการเดินทาง ตามแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรเช่น มีระเบียบอนุญาตในการเบิกจ่าย มีหนังสืออนุญาตพร้อมบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานเรื่องใด จากที่ใดถึงที่ใด ระยะเวลาเท่าใด ทะเบียนรถยนต์ และบิลค่าน้ำมันระบุชื่อ เจ้าของรถยนต์ ทะเบียนรถยนต์
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ
กรณีสัญญาเช่าระบุให้ผู้เช่ารถเป็นผู้รับภาระจ่าย เช่น ค่าบำรุงรักษา ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าใช้จ่ายในการต่อทะเบียน สามารถนำมาลงเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณภาษีอากรไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13)
ค่าเช่ารถยนต์ : ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้เช่ามีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
กรณีเช่ารถยนต์ที่มีการส่งมอบการครอบครองรถยนต์ (ใช้รถยนต์ได้ตลอดเวลา) ถือเป็นการเช่า ผู้เช่ารถ มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย 5% ผู้ให้เช่า
กรณีเช่ารถยนต์ที่ไม่มีการส่งมอบการครอบครองรถยนต์ (มีกำหนดระยะเวลาการใช้รถยนต์) ถือเป็นการใช้บริการ มีหน้าที่ หัก ภาษี ณ ที่จ่าย 3 %
ตัวอย่าง บริษัท ฯ ทำสัญญาเช่ารถยนต์ เดือนละ 10,000 บาท เมื่อจ่ายเงินค่าเช่า บริษัท ฯ ต้องคำนวณหัก ภาษี ณ ที่จ่าย 5 % (10,000 *5%) จำนวน 800 บาท พร้อมออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายมอบให้ผู้รับเงินทุกครั้งที่มีการจ่ายเงิน
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการเช่ารถยนต์
ภาษีซื้อที่เกิดการเช่ารถทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เช่น รถเก๋ง ไม่สามารถนำมาเครดิตภาษีได้ ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม แต่สามารถนำมาลงเป็นรายจ่ายของกิจการได้
ภาษีซื้อที่เกิดการเช่ารถทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งเกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เช่น รถตุ้ รถกระบะ รถมอเตอร์ไซต์ รถบรรทุก
ภาษีซื้อสำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ รถเช่า นำมาเครดิตภาษีได้หากสาระสำคัญถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
สำนักงานบัญชี BEE-Accountant
รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียบ เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click
อัตรค่าบริการรับทำบัญชี 2564 2565ค่าเช่ารถยนต์ : ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา
ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา
กรณีผู้ให้เช่ารถต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นรายได้พึงประเมินมาตรา40 (5) ค่าเช่า โดยต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.94 ยื่นครึ่งปีสำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภท 5,6,7, และ 8 กำหนดเวลาการยื่น กรกฏาคม – กันยายน ของปีภาษีนั้น
การหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินไดุ้บุคคลธรรมดาการเช่ารถยนต์ (Car rent, Car rental)
ยานพาหนะ ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่าให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 30 ในกรณี ให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี
ค่าเช่ารถยนต์ : ข้อหารือ
เลขที่หนังสือ | : กค 0811(กม.04)/02 |
วันที่ | : 4 มกราคม 2544 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากการได้ใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีภาษีซื้อค่าเช่ารถยนต์ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 40(1), มาตรา 82/5(6) |
ข้อหารือ | : 1. บริษัทฯ เช่ารถยนต์มาเพื่อให้พนักงานบริษัทฯ ใช้เป็นรถยนต์ประจำตำแหน่งขณะเดียวกันก็ ใช้เพื่อกิจการของบริษัทฯ ด้วย ประโยชน์จากการได้ใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งนี้ จะถือเป็นเงินได้ที่ พนักงานผู้ใช้รถยนต์ดังกล่าวจะต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ 2. ภาษีซื้อของค่าเช่ารถยนต์ไม่สามารถเครดิตกับภาษีขายได้แต่สามารถบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย ของบริษัทฯ และไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามใช่หรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีพนักงานได้ใช้รถยนต์ประจำตำแหน่ง หากเป็นการใช้ในการปฏิบัติงานเฉพาะเพื่อ กิจการของบริษัทฯ โดยพนักงานมิได้รับประโยชน์เป็นการส่วนตัวจากการได้ใช้รถยนต์ประจำตำแหน่ง การได้ใช้รถยนต์ดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจาก การจ้างแรงงานอันจะถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานจึง ไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด 2. ภาษีซื้อที่เกิดจากการเช่ารถยนต์ กรณีรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ไม่สามารถนำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 71)ฯ ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 แต่ภาษีซื้อดังกล่าวไม่ต้องห้ามนำมาถือเป็นรายจ่ายใน การคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ถือเป็นรายจ่ายใน การคำนวณกำไรสุทธิได้ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย ภาษีซื้อที่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (ฉบับที่ 243) พ.ศ. 2534 |
เลขตู้ | : 64/30248 |
Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ
บทความ
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)
Designed by pch.vector / Freepik
ทำบัญชี รับทำบัญชี pantip รับทำบัญชี กรุงเทพ ค่า จ้าง ทำ บัญชี pantip เจ้าหนี้กรรมการ ลูกหนี้กรรมการ สอบ Cpa ข้อสอบ กฎหมาย ใบลดหนี้ กรณีสินค้าชำรุด สำนักงานบัญชีกรุงเทพ