Skip to content

ขั้นตอนการทำงาน รับทำบัญชี

ขั้นตอนการทำงาน รับทำบัญชี

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant

ขั้นตอนการทำงาน รับทำบัญชี  : ขั้นตอนการการจัดทำบัญชี หรือการ รับทำบัญชี ของ สำนักงานบัญชี BEE-Accountant  บริการรับทำบัญชีและภาษีอากร ดำเนินการโดยผู้ทำบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด ควบคุมการทำงานโดย CPA  มีประสบการณ์ในอาชีพ ทำให้การจัดทำบัญชี และภาษีอากร ถูกต้อง และทันเวลา เป็นผลให้ลูกค้าของเราสามารถมุ่งเน้นที่ธุรกิจหลักได้อย่างเต็มที่ โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานบัญชีลงได้มากกว่าครึ่ง

เพื่อให้งานบริการ รับทำบัญชี ของทางสำนักงาน เป็นไปอย่างมีระบบ ขั้นตอน ตรวจสอบได้ อย่างมีประสิทธิภาพมีประสิทธิผล ทำให้กิจการทราบว่า สำนักงานบัญชี ทำงานอย่างไร เอกสารส่งสำนักงานบัญชี มีอะไรบ้าง ระยะเวลาในการทำงานคร่าวๆ ของสำนักงานบัญชี 

นอกจากบทความเรื่อง เอกสารประกอบการรับทำบัญชี่  สำนักงานบัญชี BEE-Accountant  ได้จัดทำ ขั้นตอนการทำงาน ในงานบริการ รับทำบัญชี เพื่อให้ทีมงานทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ตรวจสอบได้ง่าย ถูกต้อง รายงานต่อผู้ควบคุมงานได้ทันเวลา

ขั้นตอนการทำงาน รับทำบัญชี สำนักงานบัญชี BEE-Accountant
ขั้นตอนการทำงาน รับทำบัญชี สำนักงานบัญชี BEE-Accountant

วิธีการและขั้นตอนการทำงาน

วงจรทางบัญชี เป็นการรวบรวมขั้นตอน 3 ขั้นตอน ได้แก่ การรวบรวมข้อมูล, การประมวลผลข้อมูล และการรายงาน ขั้นตอนในการ รับทำบัญชี จะเกิดขึ้นทุกเดือน และ ในส่วนของงานปิดบัญชีเพื่อจัดทำ งบการเงินให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต รับรองงบ งบการเงินประกอบการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี ภ.ง.ด. 50 การยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะเป็นรายการที่เกิดขึ้นปีละครั้ง

ขั้นตอนการทำงาน รับทำบัญชี / ขั้นตอนการทำงานของสำนักงานบัญชี เริ่มต้นเมื่อมีการตกลงรับงาน บริการ รับทำบัญชี และ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการเรียบร้อยแล้ว   มีขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ท่านเจ้าของกิจการทราบว่า สำนักงานบัญชี ของเรา ทำงานกันอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง และจะทำงานอะไรให้ท่านบ้าง ดังนี้

การรับส่งเอกสาร และการบันทึกข้อมูล

  1. แจ้งยืนยันวันนัดรับเอกสารทาง อีเมล / line / โทรนัดหมาย พร้อมแจ้งวันนัดรับทางอีเมล
  2. ยืนยันเอกสารที่ได้รับกลับทางอีเมล ข้อมูลทางสำนักงานบัญชี จะเก็บไว้ที่  Google Drive ที่เช่าพื้นที่เพิ่มเติม จึงสามารถเก็บอีเมลของทางกิจการได้เป็นจำนวนมา
  3. ทางสำนักงานจะคืนเอกสารให้ท่าน ภายใน 45 วันทำการหลังจากได้รับเอกสารจากท่าน เพื่อให้ทางกิจการมีเอกสารไว้ประกอบการอ้างอิง การตรวจค้น
  4. หากเอกสารฉบับที่ทางสำนักงานต้องการทาง สำนักงานจะแสกนเก็บไว้
  5. การ Back  Up ข้อมูลไว้ที่ Google Drive และ One Drive เพื่อป้องกันการสูญหาย การติดไวรัส และการเสียของข้อมูล
  6. ทางสำนักงานจะจัดส่งข้อมูลให้ทางกิจการทางอีเมล เพื่อให้ทางกิจการมีข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำงาน

การบันทึกบัญชี ซื้อ ขาย เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ภาษีซื้อ ภาษีขาย

หลังจากรับเอกสาร และตรวจสอบจำนวนเอกสารเพื่อส่งข้อมูลยื่นยันจำนวนเอกสารกลับไปที่ลูกค้า

ขั้นตอนแรกของวงจรทางบัญชี คือ การรวบรวมข้อมูล โดยที่ข้อมูลรายการทางบันทึก ได้แก่ ใบเสร็จ, รายการสั่งซื้อ, รายการคืนของ, เงินเดือนและเงินฝากธนาคาร ตลอดทั้งเดือน

ซึ่งการรวบรวมข้อมูลจะทำการบันทึกในโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี เช่น Express I monye หรือ โปรแกรมบัญชี   Online เช่น TR Cloud Flow account

 

รายละเอียด ขั้นตอนการรับทำบัญชี

 

  1.  แยกเอกสารและนับ ใบกำกับภาษีซื้อ ใบกำกับภาษีขาย
  2. วิเคราะห์ รายการค้าต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนของกิจการ ทางสำนักงาน ให้
    ความสำคัญกับการวิเคราะห์เอกสารรายการค้าก่อนทำการลงบัญชี เพื่อให้งบการเงินตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินถูกต้อง

        เพราะยอดตัวเลขอัตราส่วนต่างๆ ที่ถูกต้องจะเป็น หลักเกณฑ์เบื้องต้นที่ทางสรรพากรใช้ ประเมินการเข้าตรวจกิจการ เช่น กิจการบางรายมีการนำค่าใช้จ่ายทางด้านบริหาร รวมเข้าไปในต้นทุนขาย ทำให้กำไรขั้นต้น ติดลบ ซึ่งในความเป็นจริงกิจการมีกำไรขั้นต้น  (กำไรขั้นต้นเป็นเกณฑ์หลักในการพิจารณาตรวจสอบของทางกรมสรรพากร) 

  3. ทำการบันทึกรายการในโปรแกรมบัญชี บันทึกรายการขาย รายการซื้อ พร้อมข้อมูลใบกำกับภาษีซื้อ ใบกำกับภาษีขาย
  4. จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย
  5. บันทึข้อมูลตั้งเจ้าหนี้/ลูกหนี้สรรพากร จาก ภพ 30 เพื่อสรุปยอด ภาษีมูลค่าเพิ่มนำส่ง หรือ ยอดภาษีมูลค่าเพิ่มขอคืน เป็นเงินสด หรือ เครดิตไปใช้ในเดือนถัดไป
  6. สรุปแบบฟอร์ ภพ 30 เพื่อแจ้งกิจการทาง Email เจ้าหน้าที่ประสานงาน

สำหรับกรณีที่ทางกิจการยื่นภาษีด้วยตนเอง ทางสำนักงานบัญชี จะทำการตรวจสอบ รายการภาษี ซื้อ ภาษี ขาย ภาษีหัก ณ ที่จ่ายทุกประเภท ตามรายการค้าที่เกิดขึ้น เปรียบเทียบกับ ภาษีที่ทางกิจการนำส่งไปแล้ว ถ้ามีความแตกต่างเกิดขึ้น ทางสำนักงานจะแจ้งให้ทางลูกค้าทราบถึง  จำนวน และวิธีการแก้ไข ให้ทางกิจการพิจารณาดำเนินการต่อไป

การบันทึกเงินเดือน ประกันสังคม ภงด 1

  1.  ตรวจสอบข้อมูลเงินเดือน และ รายงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ

  2. บันทึกรายการจ่ายเงินเดือน ในสมุดรายวันจ่าย / หรือ รายการจ่ายค่าใช้จ่ายอื่น

  3. สรุปรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายยอดตามรายบุคคล ทำทะเบียนการจ่ายเงินเดือนพนักงานรายบุคคล
  4. จัดทำ ภงด 1 ประจำเดือน โดยทำเป็น Text File เพื่อเตรียมยื่นผ่านระบบ online ของกรมสรรพากร
  5. จัดทำข้อมูล เตรียมยื่น ประกันสังคม ในรูป Excel File
  6. ตรวจสอบงานโดยผู้ควบคุม
  7. จัดส่งไฟล์รายการทั้งหมดให้กิจการทาง E-Mail

การบันทึก ใบสำคัญรับ ใบสำคัญจ่าย

  1. วิเคราห์รายการเอกสารเพื่อบันทึกข้อมูล ใบสำคัญรับ ใบสำคัญจ่าย
  2. สรุปรายการจ่ายชำระหนี้ รับชำระหนี้ รายละเอียดลูกหนี้ รายละเอียดเจ้าหนี้
  3. สรุปรายละเอียด เช็ครับ เช็คจ่าย เช็คผ่านรายการ เช็คคืน
  4. หากมีข้อเสนอแนะในการทำเอกสารเพื่อให้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี ทางสำนักงานจะทำการแจ้งกิจการเพื่อให้จัดทำรายการให้ถูกต้องการหลักเกณฑ์ของทางกรมสรรพากร
  5. หาเอกสารของกิจการรายการใด ไม่มีเอกสารประกอบเพื่อยืนยันรายการเป็น ค่าใช้จ่ายเพื่อกิจการ หรือ ค่าใชัจ่ายฉบับใดไม่ถูกต้องตามหลักเกณ์ฑค่าใช้จ่ายทางภาษีของกรมสรรพากร ทางสำนักงานจะแจ้งให้ทางกิจการพิจารณาบวกกลับ / ค่าใช้จ่ายต้องห้าม ให้ทราบทาง Email
  6. รายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย
  7. รายงานภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภงด 3 ภงด 53
  8. ตรวจสอบการบันทึกเอกสารโดยผู้ควบคุมงาน

การบันทึกใบสำคัญทั่วไป

  1. บันทึกรายการทางภาษีประจำเดือน เพื่อตั้งยอดเจ้าหนี้นำส่งในเดือนถัดไป
  2. บันทึกรายการธนาคาร โอน รับ จ่าย เช็คขึ้นเงิน เช็คผ่าน
  3. บันทึกปรับปรุงเงินสด
  4. รายงานธนาคาร กระทบยอดเงินฝากธนาคาร
  5. ตรวจสอบงานการบันทึกบัญชีโดยผู้ควบคุม

การบันทึก เงินสดย่อย

  1. ตรวจสอบเอกสารประกอบการเบิกจ่ายเงินสดย่อย

  2. บันทึกรายการเบิกจ่ายเงินสดย่อย เบิกชดเชยเงินสดย่อย

  3. รายการภาษี ซื้อ ภาษีขาย

  4. ภาษีหัก ณ ทีจ่าย ภงด 3 ภงด53

  5. ตรวจสอบบันทึกบัญชีโดยผู้ควบคุม

รายการเบิกจ่ายเงินสดย่อยสรุปรวมรายการ นับเป็น 1 รายการค้า ทางกิจการต้องจัดทำรายละเอียดเอกสารใบปะหน้า เพื่อให้ทางสำนักงานบัญชี ลงรายการด้วยค่ะ

การจัดทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประจำเดือน

  1. จัดทำไฟล์ภาษี ภพ 30 จากรายงานภาษีซื้อ – ภาษีขายที่ได้จากการบันทึกบัญชีในเบื้องต้น หรือ ตรวจสอบยอดภาษี ตาม ภพ 30 จากไฟล์ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย ที่ได้รับจากกิจการ เพื่อความถูกต้องในการนำส่งภาษี

  2. จัดทำไฟล์ ภงด 1  ภงด 3 ภงด 53 ตามเอกสารและข้อมูลที่ได้จาการบันทึกบัญชี เปรียบเทียบกับไฟล์ Excel ที่ได้รับจากกิจการเพื่อความถูกต้องในการนำส่งภาษี

  3. จัดทำ Text ไฟล์ เพื่อใช้ในการยื่นภาษี online ประจำเดือน ภายในวันที่ 15 /23 ของเดือนถัดไป

    ทางกิจการจะนำส่งไฟล์ให้ทาง  Upload เข้าระบบของทางกรมสรรพากร และให้ท่านทำการจ่ายชำระผ่านระบบทันที  เพื่อป้องการการผิดพลาดในการกำหนดวันจ่าย จำนวนเงิน Ref 1 / Ref 2 ตามข้อมูลที่ระบุไว้ในใบ Payin ภาษีแต่ละประเภท

รายงานที่จัดส่งให้กิจการ รายเดือน / รายปี

ข้อมูลตามรายละเอียดด้านล่าง สำนักงานบัญชี จะจัดส่งให้กิจการทาง E Mail เจ้าหน้าที่ประสานงาน หรือกรรมการ ตามที่กิจการแจ้งไว้ ดังนี้

  1. บัญชีแยกประเภท
  2. สมุดรายวันทั่วไป
  3. สมุดรายวันซื้อ
  4. สมุดรายวันจ่าย
  5. สมุดรายวันขาย
  6. สมุดรายวันรับ
  7. งบทดลอง (รายเดือน) / (รายปี)

    เพื่อให้การจัดทำงบการเงิน เสร็จเรียบร้อยทันเวลา สำนักงานบัญชี ขอความกรุณากิจการจัดส่งเอกสารทั้งหมดประจำปีภายในวันที่ 31 มกราคม ของปีถัดไป เพื่อทางสำนักงานดำเนินการจัดส่งตัวเลข ประกอบการจัดทำงบการเงิน ภงด 50 ให้ท่านพิจารณาได้ทันภายในกำหนดเวลา

ข้อมูลรายการจัดส่งให้กิจการ หลังปิดบัญชี

หลังจากสรุปรายการปิดงบการเงินเรียบร้อยแล้ว สำนักงานบัญชี จะจัดส่งข้อมูลเหล่านี้ให้กิจการทาง Email

  1. กรณีที่ทางท่านให้ โปรแกรมบัญชี Express  ทางสำนักงานจะ Backup ไฟล์จะจัดส่งให้ท่านทั้งหมดตามรายการค้าที่บันทึกบัญชีไว้ในรอบปี
  2. กรณีที่ทางท่าน ใช้โปรแกรมบัญชี online อื่น เช่น TR Cloud / Flow account / Sme Move และอื่นๆ  ทางกิจการจะมีข้อมูลการบันทึกบัญชีทั้งหมดเก็บไว้ และทางสำนักงาน จะสำรองข้อมูลเก็บไปใน Cloud Storage เพื่อให้ท่านมี Back up
  3. กรณีที่ทางท่านไม่ได้ใช้โปรแกรมบัญชีในการบันทึกการทำงาน ทางสำนักงานจะจัดส่งไฟล์เหล่านี้ให้ท่าน
    1.  งบทดลองก่อนปิดบัญชี / งบทดลองหลังปิดบัญชี
    2. สมุดรายวันทั้ง 5 เล่ม
    3. ทะเบียนทรัพย์สิน
    4. รายละเอียดเจ้าหน้า ลูกหนี้ สินค้า (กรณีจ้างทำสต๊อคสินค้า) เช็ครับ เช็คจ่าย
    5. รายการกระทบยอดบัญชีเงินฝากธนาคาร
    6. รายการกระทบยอดภพ 30 กับภงด 50
    7. รายการค้างจ่ายทุกรายการตามยอดในงบการเงิน

การจัดทำรายการ ปรับปรุงรายการ ตอนสิ้นงวด

 

 

  1. จัดทำงบทดลอง นํายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภททุกบัญชีมาจัดทํางบทดลอง

  2. บันทึกรายการปรับปรุงและผ่านนรายการไป ยังบัญชีแยกประเภท ปิดบัญชี สินค้าคงเหลือต้นงวด สินค้าคงเหลือปลายงวด ต้นทุนขาย วิเคราะห์กำไรขั้นต้น รายได้ ค่าใช้จ่าย ค้างรับ ค้างจ่าย รับล่วงหน้า จ่ายล่วงหน้า  ค่าเสื่อมราคา ปรับปรุงสินค้าคงเหลือปลายงวด ค่ารับรอง ค่าใช้จ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี ค่าใช้จ่ายที่เอกสารไม่ครบถ้วนและทางกิจการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว

  3. จัดทำงบทดลองก่อนปรับปรุง ส่งให้กิจการพิจารณาเบื้องต้น
  4. จัดทำงบทดลองหลังปรับปรุง งบการเงิน จัดส่งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบ เตรียมแบบ ภงด 50 เอกสารรายงานจัดส่ง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และหน่วยงานต่างๆ

การเรียกเก็บค่าบริการ และ การชำระราคา

ทางสำนักงานขอเก็บมัดจำจำนวน 1 งวดของค่าบริการจัดทำบัญชีที่ประเมินจากเอกสารเบื้องต้น

หลังจากนั้นในทุกเดือนทางสำนักงานจะวางบิลค่าบริการทุกวันที่ 15 ของเดือน และขอให้ทางกิจการชำระราคาภายในวันที่ 25 ของเดือน เพื่อทำให้การทำงานต่อเนื่อง

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ ขั้นตอนในการทำบัญชี ขั้นตอนของการบัญชี ตัวอย่างวงจรบัญชี งานบัญชีมีกี่ขั้นตอน วงจรบัญชีมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง จงอธิบาย วงจรบัญชี9ขั้น ขั้นตอนการทําบัญชีบริษัท กระบวนการจัดทําบัญชี หมายถึง วงจรบัญชี แบบละเอียด

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 26,364

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า