Skip to content

รับทำบัญชีร้านทอง ภาษี ให้ถูกต้องตามสรรพากร

บริการรับทำบัญชี รายเดือน รายปี
รับทำบัญชีร้านทอง ภาษี
รับทำบัญชีร้านทอง ภาษี ให้ถูกต้องตามสรรพากร

รับทำบัญชีร้านทอง ภาษี สรรพากร กรณีนิติบุคคล

รับทำบัญชีร้านทอง ภาษี บัญชี ให้ถูกต้อง จากข้อมูลการรับทำบัญชีร้านทองจากลูกค้าและในงานสัมมนา “โอกาสทอง ร้านทองเปลี่ยนผ่านสู่นิติบุคคล”  กรมสรรพากรมีนโยบายเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษีอากร และการจัดทำบัญชีเล่มเดียวให้ถูกต้อง รวมทั้งการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการร้านทองเปลี่ยนผ่านจากบุคคลธรรมดาสู่นิติบุคคล เพื่อประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ และปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง ทางกรมสรรพากรจึงขอเชิญชวนให้ผู้ประกอบการร้านทองคำทั้ง 7,000 กว่าแห่งทั่วประเทศ ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้เข้ามาจดทะเบียนเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งผู้ประกอบการร้านทองที่เป็นนิติบุคคลจะได้รับประโยชน์มากกว่าผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา

 สำนักงานบัญชี Bee-Accountant ยินดีให้บริการรับทำบัญชีร้านทอง บัญชี ภาษี และแนะนำกฎหมายบัญชี ภาษี ที่เกี่ยวข้องกับ กฎหมายใหม่ร้านทอง ทางเลือก ร้านทองจดทะเบียนนิติบุคคล หรือ ร้านทองบุคคลธรรมดา เปิดร้านทองต้องจดทะเบียนภาษีอะไรบ้าง เพื่อเป็นคู่มือทำบัญชีร้านทอง การจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 30) ใบกำกับภาษีร้านทองจัดทำอย่างไร ร้านทองยื่น ภ.พ. 30 เมื่อไหร่ เก็บรักษาอย่างไร  การออกใบกำกับภาษีอย่างย่อร้านทอง ทำได้หรือไม่ดังนี้ 

รับทำบัญชีร้านทอง ภาษี กฎหมาย จากกการโอนกิจการจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล
จะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทใด

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

 ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนที่มีหุ้นส่วน 2 ประเภท ได้แก่
หุ้นส่วนจำกัความรับผิด จะมีคนเดียวหรือหลาย คนก็ได้ รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด และ
หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดจะมีคนเดียว หรือหลายคนก็ได้โดยกำหนดให้หุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องเป็น หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด

บริษัทจำกัด


ได้แก่ การที่บุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปร่วมกันทำกิจการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรจากการดำเนิน
กิจการนั้นมาแบ่งปันกัน โดยบริษัทจำกัดจะแบ่งทุนออกเป็นหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน ผู้ลงทุนในบริษัท
เรียกว่า “ผู้ถือหุ้น” โดยผู้ถือหุ้นรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ

 

บริษัทมหาชนจำกัด


ได้แก่ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน

รับทำบัญชี ร้านทอง
ที่มา เพจ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ใส่ใจบัญชีและภาษี หัวข้อรับทำบัญชีร้านทอง

รับทำบัญชีร้านทอง ภาษี ข้อดีของการเปลี่ยนแปลงเป็นนิติบุคคล

Gold_TAX_Accounting1

นิติบุคคล – ฐานภาษีเกิดจากรายได้เนื่องจารการประกอบกิจการ หัก กับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องจากการประกอบกิจการ

นิติบุคคล – อัตราภาษี ยกเว้น 300,000.00 บาทแรก ส่วนเกินมีอัตรา 10-15%

นิติบุคคล – ข้อมูลทางบัญชีจัดทำอย่างเป็นระบบน่าเชื่อถือ สำหรับขอสินเชื่อ

นิติบุคคล – ข้อมูลทางบัญชีจัดทำอย่างเป็นระบบน่าเชื่อถือ สำหรับขอสินเชื่อ 

รับทำบัญชีร้านทอง

นิติบุคคล – จำกัดความรับผิดในความเสียหายทีเกิดจากการประกอบกิจการ

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant ค่าบริการ กิจการร้านทอง

อัตราค่าบริการรับทำบัญชี ปิดงบการเงิน สำหรับกิจการร้านทอง เริ่มต้น รายการค้าระหว่าง 1-40 รายการ อัตราค่าบริการ 6,500 บาทรวมบริการับส่งเอกสาร  (นับเพิ่มขั้นละ 40 รายการ ค่าบริการเพิ่มขั้นละ 3,000 บาท)

ค่าบริการยื่นแบบภาษีทุกประเทภ 2,000 บาทต่อเดือน ผ่านระบบ Internet ของกรมสรรพากรเท่านั้น

รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียบ เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า  รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express  ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click

ขอข้อมูลเพิ่มเติม

รายงานค้าทองคำ/รายงานการค้าทองคำ
ตามแบบกรมสรรพากร

กิจการร้านทองต้องจัดทำรายงานค้าทองคำ หรือรายงานการค้าทองคำ สำหรับทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปเป็นทองรูปพรรณ หรือ ของรูปพรรณ ตามแนบบดังนี้

รับทำบัญชี ร้านทอง
รับทำบัญชีร้านทอง - รายงานการค้าทองคำ

ประเด็นคำถามสำคัญๆ เกี่ยวกับ ซื้อขายทองคำ
ของกิจการร้านทอง
เพื่อจัดทำบัญชีร้านทอง ภาษี และสรรพากร

ทองรูปพรรณ ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายความว่า ทองคำที่ทำสำเร็จเป็นเครื่องประดับกาย เครื่องแต่งกาย ของชำร่วย หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่มีไว้เพื่อโชว์ ทั้งนี้ ต้องไม่มีอัญมณีประกอบอยู่ด้วย และหมายความรวมถึงนากที่สามารถค านวณราคารับซื้อคืนได้ตามส่วนของราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืน เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไล กรอบพระ เข็มกลัด

การขายสินค้าของกิจการร้านทอง และการขายสินค้าอื่น เช่น ทองรูปพรรณที่สมาคมไม่ประกาศ พระ อัญมณีต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไรลักษณะทางการค้าของกิจการร้านทองที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งได้เป็น
1. การขายสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ การน าเข้าหรือขายทองแท่ง เฉพาะกรณีกิจการ ร้านทองที่ได้ยื่นแบบแจ้งการประกอบกิจการค้าทองค า (ภ.พ.01.3) ต่ออธิบดีกรมสรรพากรแล้ว

2. การขายสินค้าที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่


    2.1 การขายสินค้าประเภททองรูปพรรณ ได้แก่ ทองรูปพรรณชนิดที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับ ซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ
   – เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อ ในวันที่ส่งมอบทองรูปพรรณให้ผู้ซื้อ หรือวันที่ได้รับชำระเงิน หรือวันที่ออกใบกำกับภาษี แล้วแต่ว่าจะเกิดกรณีใดก่อน โดยคำนวณจากผลต่างระหว่างราคาขายทองรูปพรรณซึ่ง รวมค่ากำเหน็จแต่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม กับราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศ VAT = (ราคาขายทองรูปพรรณ รวมค่ากำเหน็จ – ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณ) x 7%

   2.2 การขายสินค้าอื่นที่มิใช่ตาม 2.1 เช่น ทองรูปพรรณชนิดที่ไม่ได้กำหนดในประกาศสมาคมค้าทองคำพระเครื่อง อัญมณี
 – เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อ ในวันที่ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อ หรือวันที่ได้รับชำระเงิน หรือวันที่ออกใบกำกับภาษี แล้วแต่ว่าจะเกิดกรณีใดก่อน VAT = ราคาขายสินค้า x 7%

ให้ถือตามราคาที่สมาคมค้าทองค าประกาศ ณ ช่วงเวลาที่ขาย ซึ่งได้ประกาศไว้ตามรายละเอียดดังนี้

ราคาทองตามประกาศของสมาคมค้าทองคำ ประจำวันที่ …………. เวลา ………. น. (ครั้งที่ ……….)

กิจการร้านทองมีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้เนื่องจาก
1. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกหรือการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ซึ่งเป็นกิจการค้าปลีกต้องมีลักษณะหรือเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(2.1) เป็นการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงและได้ขาย    ในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนำสินค้าไปบริโภคหรือใช้สอยโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อไป

(2.2)การให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจ านวนมาก

(2.3) สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้งที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเรียกร้องให้ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป กิจการร้านทองต้องจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษี(แบบเต็มรูป) พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามที่ร้องขอ

 หลักการทางบัญชีกรณีผู้ขายเป็นนิติบุคคล
กิจการจะรับรู้รายได้จากการขายสินค้า เมื่อเข้าเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้

(1) ได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าให้กับผู้ซื้อแล้ว  —   เช่นส่งมอบทองให้ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อลงนามรับทองคำ
(2) ไม่เกี่ยวข้องในการบริหารสินค้าอย่างต่อเนื่องในระดับที่เจ้าของพึงกระทำ หรือไม่ได้ควบคุมสินค้าที่ขายไปแล้วทั้งทางตรงและทางอ้อม
(3) วัดมูลค่าของจำนวนรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือ — แจ้งราคาสินค้าที่ส่งมอบได้อย่างชัดเจน
(4) มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของรายการนั้น — ได้รับเงิน หรือตั้งลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินได้ 
(5) วัดมูลค่าของต้นทุนที่เกิดขึ้นหรือที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ — สามารถบอกต้นทุนของทองคำที่ส่งมอบได้อย่างชัดเจน

สรุปพิจารณาประกอบตามลักษณะการซื้อขายทางธุรกิจใน
     ผู้ขายต้องรับรู้รายได้ในวันที่ส่งมอบสินค้า ให้แก่ผู้ซื้อ พร้อมทั้ง รับรู้มูลค่าของรายได้ตามเงื่อนไขการช าระเงินที่ตกลงระหว่างกัน (ราคาตามใบจอง) และ
รับรู้มูลค่าต้นทุนของสินค้าตามต้นทุนที่เกิดขึ้นอย่างน่าเชื่อถือ

หลักการทางภาษีอากร

4.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ขายที่เป็นนิติบุคคลต้องรับรู้มูลค่ารายได้และต้นทุนตามเกณฑ์สิทธิ (มาตรา 65) ถือวันที่รับรู้ รายการและมูลค่าราคาเช่นเดียวกับหลักการทางบัญชีข้างต้น ตามเงื่อนไขการช าระเงินที่ตกลงระหว่างกัน (ราคาตามใบจอง)

4.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการขายทองรูปพรรณและมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อตามราคาขายทองรูปพรรณที่ระบุไว้ตามใบจองในวันที่ส่งมอบ ทองรูปพรรณให้ผู้ซื้อ โดยคำนวณจากผลต่างระหว่างราคาขายทองรูปพรรณซึ่งรวมค่ากำเหน็จแต่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (ราคาตามใบจอง) กับราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองค าประกาศในวันที่ขาย ทองรูปพรรณ VAT = (ราคาขายทองรูปพรรณ รวมค่าก าเหน็จ – ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณ) x 7% ผู้ขายจึงต้องมีหลักฐานพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของรายการขายที่เกิดขึ้น ดังนี้ 

                (1) ใบจองหรือหลักฐานการจองตาม 2.ที่ระบุเงื่อนไขทางการค้าในการส่งมอบและการช าระราคา 

                (2) เอกสารประกอบการลงบัญชี เช่น ใบก ากับภาษี ใบส่งของ ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารพิสูจน์ การรับเงิน เช่น ส าเนาเช็ค ส าเนาใบโอนเงินผ่านธนาคารหรือช่องทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น ใบส าคัญจ่าย

ศึกษาเพิ่มเติม  คู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้


สรุปเนื้อหาเบื้องต้นสำหรับกิจการร้านทองเพื่อประกอบการรับทำบัญชีต้อง แบ่งแยกได้ 3 กรณีดังนี้

  1. ผู้รับไ่ม่ออกหลักฐาน
  2. ผู้รับออกหลักฐานแต่ไม่สมบูรณ์
  3. ผู้รับไม่ออกหลักฐานและไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย

ถ้าสามารถจัดทำเอกสารได้อย่างเข้าเกณฑ์ จะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ แต่ถ้าไม่สามารถจัดทำได้ถือว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามทางภาษี

รับทำบัญชีร้านทอง กิจการร้านทอง ลงบัญชี
รับทำบัญชีร้านทอง กิจการร้านทอง ลงบัญชี
  • เอกสารการรับเงินของผู้รับเงิน ในกรณีจ่ายเงินสดควรมีสำเนาบัตรประชาชนลงชื่อรับเงิน

  • ใบกำกับภาษี หรือใบเสร็จรับเงิน ถ้าเป็นชื่อผู้อื่น กิจการร้านทองควรพิสูจน์ได้ว่าจ่ายเพื่อประโยชน์กิจการ ร้านทองจะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้

  • ใบสำคัญจ่ายพร้อมแนบ 1 สำเนาเช็คจ่าย 2. สำเนาใบโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร

เช่น ทองสูญหายจากการหลอมทองเก่า หรือทองปลอมที่รับมา

ทางบัญชี — กิจการบันทึกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายได้ทันที

ทางภาษี 

  1. การสูญเสียจากการหลอมทองเก่า — ให้รับรู้เป็นค่าใช้จ่าย และจัดทำบัญชีรับรู้โดยต้องมีรายละเอียดังนี้  ชนิด น้ำหนักหรือปริมาณ มูลค่า และสาเหตุของการสูญเสีย

  2. กรณีทองปลอม  — บันทึกเป็นรายจ่ายได้ โดยต้องขออนุมัติทำลายดังนี้

        2.1 แจ้งสรรพากรล่วงหน้า 30 วันก่อนวันทำลาย ตาม ป. 79/2541   และ 2.2 มีเอกสารหลักฐานชัดเจนว่าได้ทำลายไปเรียบร้อยแล้ว

1.1 การขายทองรูปพรรณ ต้องเสียภาษีมุลค่าเพิ่มจากผลต่างระหว่างราคาขาย กับ ราคารับซื้อทองที่สมาคมผู้ค้าทองประกาศ เช่น ขายทองราคา 20,000 บาท ราคา ซื้อทอง 19,000 บาท ดังนั้นจะมีภาษีมูลค่าเพิ่ม (20,000-19,000 = 1,000 *.07 = 70 บาทผู้ขายต้องจ่ายเงิน 20,070 บาท เป็นภาษีขาย 70 บาท

1.2 การขายเครื่องประดับที่ทำด้วยทอง เช่น ตุ้มหู แหวนพลอย กรอบพระ เสียภาษี 7% จากราคาขาย

1.3 การขายทองคำแท่ง ได้รับการยกเว้น VAT แต่ต้องไปจดทะเบียนเป็นผู้ค้าทองด้วยแบบ ภพ.01.3 

รายงานภาษีขายต้องแสดงด้วย มูลค่าที่เสียภาษีขายเท่านั้นเช่นกรณีแรกในรายงานภาษีขายต้องแสดงยอด มูลค่าขาย 1,000 ภาษีขาย 70 บาท

-ช่องยอดขายรวมทั้งหมด จะเท่ากับราคาขายที่ขายทองได้จริงไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่
-ช่องยอดขายที่ มี VAT เท่ากับยอดขายที่นำไปคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
-ส่วนผลต่างราคาขายกับราคารับซื้อ กรอกลงตรงช่อง ยอดขายที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตามหลักการบัญชี ทองมีค่าเป็นเงิน ทองเก่าที่ลูกค้าเอามาเปลี่ยนถือเป็นเงินที่ลูกค้าชำระตามราคารับแลก และถือเป็นสินค้าที่ได้รับ 

เมื่อนำทองเก่าไปแลกเป็นทองใหม่เพื่อนำมาขาย ถือว่าเป็นการขายทองเก่าให้กับร้านขายส่งด้วย และด้วยเหตุนี้เอง

ทำให้รายได้ของร้ายทองจะมีรายได้จากการขายทองเก่าอยู่ด้วย และการขายทองเก่าจะไม่มีภาระเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม และจำต้องนำไปรวมกับรายได้ที่ได้รับการยกเว้น VAT เมื่อกรอก ภพ.30 ด้วย

ขอบพระคุณข้อมูลถามตอบจากเพจนักบัญชีขอนแก่น 

ลูกค้าได้ใบกำกับภาษีขายไป แล้วแจ้งว่าใบกำกับภาษีขายหาย โทรมาเพื่อขอใบกำกับภาษีใหม่ พนักงานจัดส่งใบใหม่ให้ ลูกค้าได้ใบกำกับภาษีสองใบและนำไปใช้ทั้งสองใบแต่คนละเดือน (อาจจะตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ)

ถ้าสรรพากรเรียกตรวจพอดี แล้วพบว่า ใช้ใบกำกับภาษีซ้ำกัน 2  ใบผลคือ   ลูกค้าต้องเสียค่าปรับ 2 เท่าของภาษีที่นำไปยื่น พร้อมกับเงินเพิ่มอีกเดือนละ 1.5% ของภาษี

กิจการถือเป็นการออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออก ถือเป็นใบกำกับภาษีปลอม สรรพากรจะต้องส่งเรื่องให้สรรพากรพื้นที่ที่ออกใบกำกับภาษีตรวจสอบอีกก่อนผลออกกิจการจะเสียค่าปรับดังนี้


1.ภาษีตามใบกำกับภาษีที่ออกซ้ำ
2.ค่าปรับ. 2 เท่า ของภาษี
3.เงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนและ
4. ปรับอาญาโทษจำคุก 7 ปี

ดังนั้น ห้ามออกใบกำกับภาษีซ้ำเด็ดขาด ถ้าจะออกใหม่

1.ต้องเอาต้นฉบับมายกเลิก
2.กรณีออกแทนเนื่องจากสูญหาย ต้องเอาใบแจ้งความมาแนบ แล้วถ่ายสำเนาใบกำกับภาษีเดิม ระบุว่าเป็นการออกแทน

                             เนื่องจากปัจจุบันสรรพากรเพ่งเล็งการใช้ใบกำกับภาษีอย่างมากจึงขอให้กิจการใช้ความระมัดระวังในการออกใบกำกับภาษีด้วยค่ะ

คำทั่วของสรรพากรที่ ป.86/2542 และมาตรา 86/4 และ 86/5 

http://www.rd.go.th/publish/3568.0.html
คำทั่วของสรรพากรที่ ป.86/2542 และมาตรา 86/4 และ 86/5 

1.กิจการมีผลขาดทุนเกินทุน ซึ่งมีผลต่อการออกรายงานของผู้สอบบัญชี และถูกเพ่งเล็งจากสรรพากร
2.กิจการมีบัญชียืมเงินจากกรรมการ เพราะต้องใช้เงินมากกว่าที่มีอยู่ และเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ (ถึงแม้จะบวกกลับก่อนคำนวณภาษีแต่เป็นตัวเลขที่ไม่ถูกต้อง)
3.งบการเงินขาดความน่าเชื่อถือ เนำไปใช้ในการกู้ยืมเงินไม่ได้

เมื่อต้องการทำยัญชีชุดเดียว อย่านำรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานมาบันทึกเพราะไม่เป็นผลดีต่องบการเงิน

กรณีที่เป็นเงินที่กรรมการนำไปใช้ส่วนตัวให้บันทึกเป็นเงินยืมกรรมการ แล้วไปตัดกับบัญชีเงินที่ต้องยืมกรรมการ เพื่อลดทั้งขาดทุน และเงินกู้ยืมกรรมการ แต่ในทางที่ถูกต้องคือควรแยกการใช้เงินของกรรมการไปที่บัญชีส่วนตัวไม่ควรนำมาปะปนกับเงินของกิจการ

การบวกกลับค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ หรือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้จ่ายส่วนตัวจำนวนมากๆ จะไม่เป็นผลดีต่อกิจการ ในการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นตามอัตราส่วนระบบของกรมสรรพากรเพื่อประเมินธุรกิจ  กิจการของท่านจะมีอัตราส่วนบางตัวที่สูงมากทำให้สรรพากรขอเข้าพบและขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้

นิติบุคคลที่ตั้งใหม่ ใช้อาคาร หรือ รถยนต์ของบุคคลธรรมดา โดยเจ้าของยินยอมให้ใช้ ถือว่าได้หรือไม่

กรณีเป็นนิติบุคคล การคำนวณภาษีใช้เกณฑ์สิทธิ ถ้าไม่ต้องจ่ายค่าเช่ารถหรือค่าเช่าอาคาร โดยไม่มีเหตุอันควร
             สรรพากรสามารถตีมูลค่าดังกล่าวเป็นรายได้เพราะถือว่าเป็นประโยชน์ที่ได้รับ และหากตั้งเป็นรายจ่ายไว้ แต่ไม่มีการจ่ายเงินกันจริง ๆ สรรพากรก็สามารถบวกกลับรายจ่ายนั้นได้
             ดังนั้น กิจการควรตั้งจ่ายค่าเช่าอาคาร ค่าเช่ารถ แล้วให้เจ้าของนำไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะถูกต้องทางภาษีมากกว่า

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร 
เรื่อง    กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับการนำเข้าหรือการขายทองคำ เฉพาะที่ยัง
มิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณหรือของรูปพรรณของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

——————————–

                อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 367) พ.ศ. 2543 อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับการนำเข้าหรือการขายทองคำ เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณหรือของรูปพรรณของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้ 
                ข้อ   1   ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับการนำเข้าหรือการขายทองคำ เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณหรือของรูปพรรณของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จะได้รับยกเว้นภาษี มูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน 
                                “ข้อ 1 ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ที่มีความประสงค์จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการ นำเข้าหรือการขายทองคำ เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณหรือของรูปพรรณต้องแจ้งการประกอบกิจการค้าทองคำต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบแจ้งการประกอบกิจการค้าทองคำตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ 
                                กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง มีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้แจ้งการประกอบกิจการค้าทองคำเป็นรายสถานประกอบการ ทั้งนี้ ไม่ว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกันหรือไม่ก็ตาม โดยยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่” 
                ข้อ   2   ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป 

ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545

ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล

(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)

อธิบดีกรมสรรพากร

 

แบบ ภ.พ.01.3

Inbox: พฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 14:33 น.
คุณ เก่ง ธาตุทอง ฟาร์ม

สวัสดีค่ะ อาจารย์รบกวนถามหน่อยค่ะ
เรื่อง การคิดภาษีมูลค่าเพิ่มขายทองคำรูปพรรณ คือหนูไม่มีหน้าร้านค่ะ ขายทองตามออเดอร์ หนูอยากทราบวิธีการคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มในบิลขายค่ะ
1. คำนวณจากค่ากำเหน็จ ×7%
              ขายทอง 1 บาท 20000
                   + ค่ากำเหน็จ. 5000
                        + VAT 7% 350
                 รวมราคาขาย. 25350
2. คำนวณจากราคาขาย ×7%
            ขายทอง 1 บาท 20000
                  + ค่ากำเหน็จ 5000
             รวมราคาทอง 25000
                + VAT 7% 1750
           รวมราคาขายทั้งสิ้น 26750

หรือมีวิธีการอย่างไร รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำด้วยนะคะ
ขอบคุณมากค่ะ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:

ตามข้อ 2 (14) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535

ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า ได้สิทธิไม่ต้องนำมูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจำนวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ มานับรวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีดังนี้
….“(14) มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจำนวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ ทั้งนี้ เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า
……….ทองรูปพรรณตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ทองคำที่ทำสำเร็จเป็นเครื่องประดับกาย เครื่องแต่งกาย ของชำร่วย หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่มีไว้เพื่อโชว์ ทั้งนี้ ต้องไม่มีอัญมณีประกอบอยู่ด้วย
……….ทองรูปพรรณตามวรรคสอง หมายความรวมถึงนากที่สามารถคำนวณราคารับซื้อคืนได้ตามส่วนของราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืน”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 117) ใช้บังคับ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป)

กรณีไม่มีหน้าร้าน และได้ขายทองตามออเดอร์ ให้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามวิธีที่ 2 ดังนี้
2. คำนวณจากราคาขาย ×7%    ขายทอง 1 บาท 20,000    + ค่ากำเหน็จ 5,000   รวมราคาทอง 25,000    + VAT 7% 1,750   รวมราคาขายทั้งสิ้น 26,750

 

– กรณีไม่ได้จดทะเบียนใบอนุญาตค้าของเก่า ไม่ได้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ของทองรูปพรรณตามที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อมากยกเว้นมูลค่าฐานภาษี –

ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน ตามแบบกรมสรรพากร

ในกิจการร้านทอง  การขายทองคำ ให้บริการจัดทำทองตามที่ลูกค้าแจ้งมา การออมทอง ต้องมีหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้แก่

          1. ใบเสร็จรับเงิน ซึ่งเป็นใบรับที่แสดงการรับชำระเงิน
          2. ใบกำกับภาษี หากเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะต้องมี 

 ลักษณะของใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีจะต้องมีสาระสำคัญที่กฎหมายกำหนดไว้จึงจะถือว่าถูกต้อง สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้ใบกำกับภาษีกับใบเสร็จรับเงินในฉบับเดียวกันก็ได้

             ทั้งนี้ นิยามคำว่า “ใบรับ” ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากร หมายความว่า

             (ก) บันทึก หรือหนังสือใด ๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับ ได้รับฝาก หรือได้รับชำระเงินหรือตั๋วเงิน หรือ

             (ข) บันทึก หรือหนังสือใด ๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่าหนี้หรือสิทธิเรียกร้องได้ชำระหรือปลดให้แล้วบันทึก หรือหนังสือที่กล่าวนั้นจะมีลายมือชื่อของบุคคลใด ๆ หรือไม่ ไม่สำคัญ

             สาระสำคัญและกฎหมายของใบกำกับภาษีและใบรับ สรุปได้ดังนี้

เอกสาร สาระสำคัญ ตัวอย่างเอกสาร
ใบรับ
1. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบรับ 2. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ออกใบรับ 3. เลขลำดับของเล่มและของใบรับ 4. วัน เดือน ปี ที่ออกใบรับ 5. จำนวนเงินที่รับ 6. ชนิด ชื่อ จำนวนและราคาสินค้า ในกรณีการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าเฉพาะชนิดที่มีราคาตั้งแต่ หนึ่งร้อยบาทขึ้นไป
Content
สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ กฎหมายใหม่ ร้านทอง คู่มือร้านทอง ฉบับปรับปรุง ร้านทอง ใบกำกับภาษี ระบบบัญชีร้านทอง เปิด ร้าน ทอง ต้อง จดทะเบียน อะไร บ้าง ร้านทอง นิติบุคคล pantip ภ.พ.30 ร้านทอง ภาษีร้านทอง pantip การบัญชีร้านค้าทองคำ ตอนที่ 2 บัญชี ภาษี ร้านทอง รับทำบัญชีร้านทอง ระบบบัญชีร้านทอง ร้านทอง ใบกำกับภาษี ภาษีร้านทอง pantip รายงานภาษีซื้อร้านทอง คู่มือร้านทองฉบับปรับปรุง กฎหมายใหม่ ร้านทอง บันทึกบัญชีร้านทอง

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่นกรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 14,973

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า