
การถูกเวนคืน
การถูกเวนคืน ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ นิติบุคคล ภาษีที่เกี่ยวข้อง
การถูกเวนคืน ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ นิติบุคคล เกี่ยวข้องกับภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย อย่าางไร
การถูกเวนคืน มีกฎหมายเรื่อง การถูกเวนคืน ที่ดินที่ใช้บังคับกันในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 หน่วยงานราชการที่เป็นผู้รับผิดชอบ การเวนคืนที่ดิน ในโครงการนั้น ๆ จะเป็นผู้ดำเนินการประสานงานกับทางเจ้าของที่ดินตามขั้นตอนดังนี้
การ เวนคืนที่ดิน หรือ การถูกเวนคืน คือ
การที่ภาครัฐหรือหน่วยงานราชการทำการบังคับขอซื้อที่ดินคืนจากราษฎรที่เป็นเจ้าของที่ดิน เพื่อนำไปใช้ในกิจการที่เป็นสาธารณประโยชน์ พัฒนาระบบสาธารณูปโภคของประเทศ เช่น สร้างถนน สร้างทางพิเศษหรือทางด่วน สร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ สร้างสถานีรถไฟฟ้าหรือสร้างรางรถไฟฟ้าความเร็วสูงอย่างหลายโครงการที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
ข้อมูลจาก https://moneyhub.in.th/article/expropriation-of-land/

เรียนรู้บัญชี ภาษี พื้นฐานสำหรับเจ้าของกิจการ ซื้อมาขายไปและบริการ
ข้อหารือ กค 0706/6208 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ กรณีค่าทดแทนจากการเวนคืน
ประเด็นปัญหา : มาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร
หจก. ส. หารือภาษีอากร โดยมีข้อเท็จจริงดังนี้
1. ห้างฯ ถูกเวนคืนที่ดิน อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อใช้ในการสร้างหรือขยายทางหลวง
ได้รับเงินทดแทนจากการเวนคืนทั้งสิ้น 15,213,600.-บาท
โดยได้นำไปเสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้แล้ว ตามแบบ ภ.ธ.40
2. ห้างฯ ยื่นอุทธรณ์เพื่อรับค่าทดแทนในส่วนของสิ่งปลูกสร้าง และค่ารื้อย้ายและติดตั้งเครื่องจักร และค่าความเสียหายเนื่องจากต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ ปรากฏว่า ได้รับอนุมัติ ให้จ่ายเงินค่าทดแทน ดังนี้
2.1 ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้าง จำนวนเงิน 37,305,746.- บาท
2.2 ค่าทดแทนการรื้อย้ายและติดตั้งเครื่องจักร จำนวนเงิน 49,134,336.- บาท
2.3 ค่าเสียหายเนื่องจากต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ จำนวนเงิน 233,309.- บาท
3. กรณีได้รับค่าทดแทนฯ ตาม 2 ห้างฯ ขอทราบว่า
3.1 ห้างฯ ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์หรือไม่ เนื่องจากค่าทดแทนทั้งสองจำนวนเป็นเงินได้ที่รับโดยไม่ต้องดำเนินการ จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ณ สำนักงานที่ดิน
3.2 กรณีห้างฯ ได้ยื่นแบบ ภ.ธ.40 เพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในส่วนมูลค่าของที่ดินตาม 1. แล้วนั้น หากห้างฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากค่าทดแทนฯ ที่ได้รับในภายหลัง จะถือได้ว่าเป็นกรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมหรือไม่
3.3 กรณีห้างฯ ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากค่าทดแทนฯ ตาม 2. แต่มิได้ชำระภาษีธุรกิจเฉพาะภายในกำหนดเวลา ขอให้พิจารณายกเว้นเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ให้แก่ห้างฯ
แนววินิจฉัย การถูกเวนคืน นิติบุคคล
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ
- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
1. กรณีห้างฯ ถูกเวนคืนที่ดิน จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อใช้ในการก่อสร้างหรือขยายทางหลวง และได้รับค่าทดแทนเวนคืนทั้งสิ้นจำนวน 15,213,600 บาท และนำไปเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว
ต่อมาได้รับค่าทดแทนจากการเวนคืนเพิ่มเติมจากการยื่นอุทธรณ์เพื่อรับค่าทดแทนในส่วนค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้าง ค่าทดแทนการรื้อย้ายและติดตั้งเครื่องจักร และค่าความเสียหายเนื่องจากต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ แต่ละรายการรวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 86,673,391 บาท
เงินค่าทดแทนที่ได้รับ จากการยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าทดแทนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เมื่อห้างฯ ได้รับ
เงินทดแทนทั้งหมดที่ได้รับ เป็นรายได้ที่นิติบุคคลได้รับจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
ห้างฯ ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเนื่องจากรายรับดังกล่าวเป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4(5) ของพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541
เนื่องจากรายรับดังกล่าวห้างฯ ได้รับมาภายหลังจากการยื่นอุทธรณ์ต่อกรมทางหลวง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเวนคืน
ห้างฯ สามารถนำไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะให้ถูกต้องครบถ้วนต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้
และเพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษีที่ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษี แต่อย่างใด เห็นควรขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะออกไปอีก 7 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือตอบฉบับนี้ แต่ต้องชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับตามมาตรา 89/1 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกรมสรรพากรได้มีแนววินิจฉัยไว้แล้วตามข้อ 5 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.82/2542 เรื่อง การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
2. กรณีกรมทางหลวงผู้จ่ายค่าทดแทนจากการเวนคืนที่ดินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร กรมทางหลวง
มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.0 ของเงินค่าทดแทนที่จ่าย
และให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ของเงินค่าทดแทนที่จ่าย และให้ถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้ของห้างฯ ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถูกหักภาษีไว้ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ
บทความ
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)
Designed by pch.vector / Freepik
ทำบัญชี รับทำบัญชี pantip รับทำบัญชี กรุงเทพ ค่า จ้าง ทำ บัญชี pantip ตัวอย่างการทำบัญชีขายของออนไลน์ การทําบัญชีร้านค้าอย่างง่าย ตัวอย่างบัญชีรายรับรายจ่ายประจําเดือน บัญชีรายรับรายจ่าย สรรพากร สมุดบัญชีรายรับรายจ่ายประจําวัน LAZADA SHOPEE แม่ค้าออนไลน์ สอบ CPA กฎหมาย