Skip to content

ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน : สวัสดิการ ผลประโยชน์เพิ่ม

ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน : สวัสดิการ ผลประโยชน์เพิ่ม

ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน อ่านข้อหารือเกี่ยวกับการจัดงานปีใหม่ เป็น ค่าใช้จ่ายกิจการ รายได้พนักงานหรือไม่

รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขายค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน : สวัสดิการ ประโยชน์เพิ่ม ที่นายจ้างให้และภาระภาษีสำหรับพนักงาน

                       ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน  ในแง่ของกฎหมายภาษีอากรแล้ว บรรดาประโยชน์เพิ่มหรือสวัสดิการที่พนักงานได้รับจากนายจ้าง อาจถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงานและต้องนำไปรวมเสียภาษีกับสินจ้างพวก เงินเดือน/ค่าจ้าง ตามความหมายของคำว่า “เงินได้พึงประเมิน” ตามประมวลกฎหมายรัษฎากรมาตรา 29 ที่ระบุว่า

เงินได้พึงประเมิน “ให้รวมถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน” โดยพิจารณาได้จากประเภทขอเงินได้พึงประเมินเนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

สวัสดิการบางประเภทที่พนักงาน ที่กิจการบันทึกเป็น ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน ซึ่งพนักงาน ได้รับจากกิจการอาจจะไม่ต้องรวมเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข

1. เป็นการปฎิบัติให้พนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน อาจจะแตกต่างกันตามลำดับขั้นของพนักงานได้ แต่ต้องไม่แตกต่างกันในระดับขั้นเดียวกัน  เงื่อนไขนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าบริษัท / กิจการไม่ได้เลือกปฏิบัติ ไม่ได้ให้เป็นการส่วนตัว(ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม)

2. สวัสดิการบางอย่างต้องมีระเบียบปฏิบัติอย่างชัดเจน พนักงานรับรู้กันทุกคน

3. ผลประโยชน์ให้พนักงานบางกรณีต้องมีการทำหนังสือรับรู้ หรือได้รับการอนุมัติจากกรรมการเป็นลายลักษณ์อักษร เอกสารประกอบชัดเจน ถูกต้อง พร้อมทั้งเอกสารบันทึกค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นตรงตามที่ได้รับการอนุมัติ

กล่าวโดยสรุปรายจ่าย ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน ที่เรียกกันว่า ค่าสวัสดิการ หากเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กำหนดไว้เป็นการทั่วไปที่มิใช่เป็นการเลือกปฏิบัติย่อมถือเป็นรายจ่ายในการดำเนินงานสำหรับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากรแต่ต้องพิจารณาต่อไปว่า ค่าสวัสดิการที่พนักงานได้รับนั้นถือเป็นประโยชน์เพิ่มที่เป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร

ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน : สวัสดิการ ผลประโยชน์เพิ่ม​
ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน : สวัสดิการ ผลประโยชน์เพิ่ม​

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant

รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียบ เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า  รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express  ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click

ขอข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อหารือทางภาษี ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน

กค 0706/9276 กรณีเงินค่าสวัสดิการของพนักงาน จัดงานปีใหม่

ข้อหารือ

: บริษัท ก. จำกัด มีระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับเรื่องสวัสดิการของพนักงาน กล่าวคือ

บริษัทฯ มีนโยบายคิดค่าสวัสดิการให้กับพนักงานทุกคนและทุกตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นพนักงานทดลองงาน พนักงานรายวันหรือพนักงานรายเดือนที่ยังคงสภาพเป็นพนักงานของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 สิงหาคมของทุกปี เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน

และเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องสวัสดิการต่างๆ เช่น งานกีฬาสี การจัดงานเลี้ยงเทศกาลปีใหม่ ฯลฯ และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานโดยตรงทั้งนี้ไม่รวมถึงค่าชุดเครื่องแบบของพนักงาน

การคิดเงินสวัสดิการพนักงาน จะคิดให้ในอัตราคนละ 3,000 บาท พนักงานทั้งสิ้น 257 คน รวมเงินสวัสดิการจำนวน 771,000 บาท (เจ็ดแสนเจ็ดหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน) จะถูกจ่ายจากบัญชีของบริษัทฯ เป็นยอดเดียว และนำเงินทั้งหมดเก็บเข้าไว้ในบัญชี “คณะกรรมการสวัสดิการ”

โดยบัญชีดังกล่าวจะแยกออกจากบัญชีของบริษัทฯ มีคณะกรรมการซึ่งได้รับการเลือกตั้งมาจากลูกจ้างในบริษัทฯ ตามมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นผู้ดูแลบัญชีสวัสดิการพนักงานดังกล่าวและเป็นผู้ควบคุมเรื่องการเบิกจ่าย มีการทำบัญชีเก็บไว้เป็นหลักฐาน

จึงขอหารือว่า

1. กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินสวัสดิการให้พนักงาน จะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ได้หรือไม่

2. ค่าสวัสดิการ ที่ให้กับพนักงานดังกล่าวนั้น จะถือเป็นรายได้ของพนักงานแต่ละคนซึ่งต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่

แนววินิจฉัย

: 1. กรณีบริษัทฯ ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีคณะกรรมการสวัสดิการ และคณะกรรมการฯ ได้นำเงินดังกล่าวไปจัดงานและกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นสวัสดิการให้แก่พนักงาน

กรณีจึงเข้าลักษณะเป็นประโยชน์เพิ่มอันถือเป็น  เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร

ซึ่งพนักงานผู้ได้รับสวัสดิการดังกล่าวต้องนำประโยชน์ที่ได้รับมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร

เว้นแต่สวัสดิการจัดเลี้ยงในเทศกาลปีใหม่ ถือเป็นเงินได้ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(10) แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินเพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่พนักงานตาม 1. ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ และไม่ใช่รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา

บริษัทฯ สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร

– สวัสดิการงานปีใหม่เป็นค่าใช้จ่ายกิจการ พนักงานไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

-ของรางวัลที่ให้พนักงานทุกคนในงานขอคืนภาษีซื้อได้ และต้องนำส่งภาษีขาย แต่ถ้าเป็นการแจกเงิน มูลค่าตามสมควรจะไม่มีภาระภาษีเกิดขึ้น-

0702/1131 สวัสดิการ จัดเลี้ยงปีใหม่ ทำบุญ

ข้อหารือ

บริษัทฯ มีประเพณีประจำปี จัดทำบุญเลี้ยงพระในวันสงกรานต์ วันปีใหม่ และทำบุญเปิดกิจการใหม่ โดยงานบุญดังกล่าวได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ตลอดจนสร้างความสามัคคีกลมเกลียวให้กับพนักงานของบริษัทฯ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตั้งแต่ ปี 2555 ถึงปีปัจจุบัน

บริษัทฯ จึงขอทราบว่า บริษัทฯ จะนำรายจ่ายดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ได้หรือไม่ อย่างไร

แนววินิจฉัย

1. กรณีการทำบุญประจำปีตามประเพณี หากบริษัทฯ มีระเบียบเกี่ยวกับการจัดงานทำบุญประจำปีตามประเพณีดังกล่าว ที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไปในบริษัทฯ โดยจัดทำขึ้นเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ตลอดจนสร้างความสามัคคีกลมเกลียวให้กับพนักงานบริษัทฯ รายจ่ายดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการโดยตรง

งานทำบุญบริษัทฯ ตามประเพณีบริษัทฯ สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(13) แห่งประมวลรัษฎากร 

เงินทำบุญใส่ซอง ไม่สามารถนำมารวมเป็นค่าใช้จ่ายกิจการได้ ต้องห้ามเพราะเป็นรายจ่ายส่วนตัว

2. กรณีบริษัทฯ ทำบุญเปิดกิจการใหม่ เนื่องจากรายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการ บริษัทฯ สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(13) แห่งประมวลรัษฎากร

ภาษีซื้อ กรณีการจัดงานปีใหม่ และค่าของขวัญพนักงานในวันปีใหม่

ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดงานปีใหม่ และค่าของขวัญพนักงานในวันปีใหม่ เป็นภาษีซื้อต้องห้ามหรือไม่ และค่าของขวัญพนักงานต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าจัดงานปีใหม่ ถือเป็นสวัสดิการที่บริษัทมอบให้แก่พนักงาน ย่อมเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของบริษัท จึงนำมาหักออกจากภาษีขายได้


          ส่วนภาษีซื้อที่เกิดจากค่าของขวัญพนักงานในวันปีใหม่ เป็นภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของบริษัท จึงต้องห้ามไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร 


           อย่างไรก็ดี หากเป็นของขวัญจับสลากในงานเลี้ยงให้แก่พนักงานทุกคนในลักษณะสวัสดิการ โดยไม่เลือกปฏิบัติให้กับพนักงานบางคน ย่อมมีลักษณะเช่นเดียวกับการเลี้ยงพนักงาน จึงถือว่าเป็นประเภทสวัสดิการของพนักงาน ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของบริษัทย่อมนำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้


          ทั้งนี้  ของขวัญจับสลาก ซึ่งเป็นสวัสดิการของพนักงานดังกล่าวนั้น  ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากถือเป็นการขายสินค้า ตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้า ตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่จำต้องจัดทำใบกำกับภาษี ตามข้อ 2(10) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.86/2542ฯ ;

กค 0706/9052 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเครดิตภาษีซื้อของค่าใช้จ่ายประเภทต่างๆ

ข้อหารือ


        บริษัทฯ หารือกรณีค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการดำเนินกิจการของบริษัทฯ ดังต่อไปนี้


        บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่


        1. บริษัทฯ ให้สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลกับพนักงาน
        2. บริษัทฯ ให้ของเยี่ยมไข้เป็นสวัสดิการกับพนักงานในกรณีพนักงานเจ็บป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป
        3. บริษัทฯ เลี้ยงอาหารและจับของรางวัลเป็นสวัสดิการให้กับพนักงานในวันปีใหม่


แนววินิจฉัย


        บริษัทฯ ประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ให้สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลกับพนักงานให้ของเยี่ยมพนักงานผู้เจ็บป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป

การเลี้ยงอาหารและจับของรางวัลแก่พนักงานในวันปีใหม่ หากค่าใช้จ่ายดังกล่าว เป็นค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับสวัสดิการที่บริษัทฯให้แก่พนักงานทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ และมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนย่อมเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการบริษัทฯมีสิทธินำภาษีซื้อมาหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

กค 0706/6969 จ่ายค่าน้ำมันรถยนต์แก่พนักงาน

เลขที่หนังสือ :กค 0706/6969

วันที่:13 กรกฎาคม 2550

เรื่อง:ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์แก่พนักงาน

ข้อกฎหมาย:มาตรา 65 ตรี (3) และมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ:

บริษัทฯ มีนโยบายจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานของบริษัทฯ ในกรณีที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวในกิจธุระของบริษัทฯ ตามอัตราที่กำหนดและประกาศให้พนักงานทราบทุกสิ้นเดือน โดยบริษัทฯใช้อัตราราคาน้ำมันที่สูงที่สุดในเดือนนั้น ๆ ของกระทรวงพลังงานมาคำนวณเพื่อจ่ายคืนแก่พนักงานเดือนละครั้ง และต้องระบุรายละเอียดการเดินทางและกิจธุระที่ทำในหน้าที่ของพนักงานพร้อมใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันที่จ่ายจริง บริษัทฯ หารือว่า

1.บริษัทฯ จะบันทึกค่าน้ำมันที่จ่ายให้กับพนักงานเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ และจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่

2.พนักงานของบริษัทฯ ต้องนำเงินได้ที่ได้รับดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่

แนววินิจฉัย:

1.กรณีบริษัทฯ จ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานของบริษัทฯ ตามจำนวนที่จ่ายจริงในกรณีที่พนักงานใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางไปทำงานให้บริษัทฯ ถือเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการประกอบกิจการของบริษัทฯบริษัทฯ มีสิทธินำค่าน้ำมันดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับค่าน้ำมันรถยนต์ส่วนที่บริษัทฯ ได้จ่ายไปเกินกว่าจำนวนที่พนักงานของบริษัทฯ ได้จ่ายไปจริง ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่าย ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร

2.กรณีพนักงานจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำค่าน้ำมัน ในกรณีนี้ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร นั้น จะต้องมีหลักฐานการใช้รถยนต์และพิสูจน์จนเป็นที่เชื่อถือแก่การตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน ว่าได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็น เฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่นั้นด้วยประกอบกับบริษัทฯ ต้องมีระเบียบอนุญาตให้มีการเบิกจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ได้และมีหนังสืออนุญาตพร้อมทั้งการบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานจากที่ใดถึงที่ใด ระยะเวลาทางเท่าใด ชื่อเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียนรถยนต์ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันรถยนต์ที่มีการระบุชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ให้ชัดเจน

เลขตู้:70/35139

กค 0702/3384 การจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงาน และคณะกรรมการ

ข้อหารือ :บริษัท ส. (บริษัทฯ)ประกอบกิจการซื้อขายคอมพิวเตอร์ และรับบริการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ บริษัทฯ ได้มีการจ่ายเงินให้กับบุคคล ดังนี้
 
1. การจ่ายโบนัสพิเศษให้แก่พนักงานของบริษัทฯ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่พนักงานและจูงใจ ให้พนักงานมีความมุ่งมั่นในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสพิเศษโดยจะพิจารณาและประเมินผล การทำงานของพนักงานแต่ละคนในช่วงที่ผ่านมา ในรอบปีนั้นจากคะแนนที่หัวหน้างานและจากคณะกรรมการ- บริหารบริษัทฯ ประเมิน
 
 
2. การจ่ายเงินโบนัสพิเศษให้แก่คณะกรรมการบริหาร เพื่อให้การบริหารบรรลุเป้าหมายและเพื่อ ประโยชน์สูงสุดขององค์กร บริษัทฯ จึงกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสพิเศษให้แก่คณะกรรมการบริหารเป็น อัตราร้อยละตามยอดขายเป็นลักษณะขั้นบันไดตามยอดขายที่สามารถทำได้ตามเป้ายอดขายแต่ละขั้น ตามที่ คณะกรรมการบริหารสามารถบริหารกิจการได้โดยเกณฑ์ในแต่ละปีจะมีการทบทวนและกำหนดเป็นมติทุก ๆ ปีในช่วงต้นปีนั้น ๆ
 
 
 
 
แนววินิจฉัย :


กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินโบนัสพิเศษให้แก่พนักงาน และคณะกรรมการบริหาร ตามหลักเกณฑ์การจ่าย เงินโบนัสพิเศษของบริษัทฯที่คณะกรรมการบริหารกำหนดในแต่ละปี โดยพิจารณาจากผลการงานการขาย และ การทำประโยชน์ให้แก่กิจการของบริษัทฯ การจ่ายเงินโบนัสพิเศษดังกล่าว บริษัทฯ มีสิทธิถือเป็นรายจ่ายในการ คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร

กค 0706/10504 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่ารักษาพยาบาล

ข้อหารือ


บริษัทฯ ได้จัดสวัสดิการให้แก่พนักงานเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล โดยระเบียบของบริษัทฯ กำหนดวงเงิน กรณีเจ็บป่วยทั่วไปของพนักงานทุกระดับไว้ไม่เกินคนละ 40,000 บาทต่อปี แต่ปรากฏว่า ในบางกรณีค่ารักษามีจำนวนเกิน 40,000 บาท ซึ่งเกินกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบของบริษัทฯ แต่เนื่องจากพนักงานผู้นั้น เป็นผู้ที่ทำงานให้กับบริษัทฯ มาเป็นเวลานานและเป็นผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในการปฏิบัติงานของบริษัทฯเป็นอย่างมาก บริษัทฯ จึงให้ความช่วยเหลือในค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นทั้งหมด บริษัทฯ จึงขอทราบว่า

 

1. ค่ารักษาพยาบาลที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่พนักงานในส่วนที่มากกว่า 40,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเกินกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบของบริษัทฯ บริษัทฯ มีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทฯ ได้หรือไม่

 

2. ค่ารักษาพยาบาลที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่พนักงานตามจำนวนที่พนักงานได้จ่ายไปจริงในการรักษาพยาบาล พนักงานจะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 2(4) (ก) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 149 (พ.ศ. 2523)ฯ ใช่หรือไม่
 
 


 
แนววินิจฉัย

 



1. กรณีบริษัทฯ มีระเบียบการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้พนักงานทุกระดับไว้ไม่เกินคนละ 40,000 บาทต่อปี เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้พนักงานคนใดเกิน 40,000 บาท ซึ่งเกินกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบของบริษัทฯ เงินค่ารักษาพยาบาลส่วนที่เกิน 40,000 บาท ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวและมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพา

บริษัทฯ จึงไม่มีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร 

2. ค่ารักษาพยาบาลที่พนักงานได้รับจากบริษัทฯ เข้าลักษณะเป็นเงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้าง ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(4)(ก) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509

0702/1121 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินค่าโทรศัพท์และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ให้พนักงาน

ข้อหารือ

บริษัทฯ มีระเบียบการจ่ายเงินช่วยเหลือค่าโทรศัพท์ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ให้กับพนักงานบางหน่วยงานของบริษัทฯ ที่มีความจำเป็นต้องออกไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ และได้นำโทรศัพท์และรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการทำงาน โดยบริษัทฯ ได้มีการจ่ายเงินตามหลักเกณฑ์ ดังนี้


๑.ค่าโทรศัพท์ให้เบิกได้ตามจริงแต่ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ให้พนักงานนำใบเสร็จรับเงินค่าโทรศัพท์ฉบับจริงมาแสดงทุกครั้งที่ทำการขอเบิกจ่ายเงิน


๒.ค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ และค่าพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ (พ.ร.บ.) ให้พนักงานเบิกได้ตามจริง โดยนำใบเสร็จรับเงินฉบับจริงมาแสดงทุกครั้งที่ทำการขอเบิกจ่ายเงิน



๓.ค่าน้ำมันรถยนต์มีรายงานการเดินทางและใบเสร็จรับเงินฉบับจริงมาแสดง


๔.ค่าบำรุงรักษาและค่าเสื่อมราคารถยนต์เหมาจ่ายเป็นรายเดือน บริษัทฯ ขอทราบว่า เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าว ให้กับพนักงาน บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่ อย่างไร



ข้อหารือ



๑.กรณีตาม ๑. เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าโทรศัพท์ให้แก่พนักงาน เนื่องจากพนักงานได้นำโทรศัพท์ส่วนตัวมาใช้ในกิจการของบริษัทฯ ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินของบริษัทฯ นั้น


หากบริษัทฯ มีหลักฐานพิสูจน์ได้โดยชัดแจ้งว่า ค่าโทรศัพท์นั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการแล้วกรณีดังกล่าว ไม่ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงาน ฉะนั้น เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าโทรศัพท์คืนให้พนักงานบริษัทฯ ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด 



๒.กรณีตาม ๒. และ ๓. เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานพนักงานจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำค่าน้ำมันรถยนต์ดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๒(๑) แห่งประมวลรัษฎากร


พนักงานต้องมีหลักฐานการใช้รถยนต์และพิสูจน์จนเป็นที่เชื่อถือแก่การตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมินว่าได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็น เฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่นั้นด้วย


ประกอบกับบริษัทฯ ต้องมีระเบียบอนุญาตให้มีการเบิกจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์โดยมีหนังสืออนุญาต พร้อมทั้งการบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานจากที่ไหนถึงไหน ระยะทางเท่าใด ชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันรถยนต์ที่มีการระบุชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ให้ชัดเจน


ส่วนกรณีเงินค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ค่า พ.ร.บ. และค่าน้ำมันรถยนต์ที่บริษัทฯ ได้จ่ายให้พนักงานส่วนที่นอกเหนือจากกรณีดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา ๔๐(๑) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย และบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องนำไปรวมคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๒ แห่งประมวลรัษฎากร



๓.กรณีตาม ๔. ค่าบำรุงรักษาและค่าเสื่อมราคารถยนต์เหมาจ่ายเป็นรายเดือนเข้าลักษณะเป็นค่าพาหนะที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่พนักงานโดยคิดคำนวณมาจากค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน และค่าใช้จ่ายที่กำหนดแน่นอน เป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง


ย่อมไม่อยู่ในความหมายของมาตรา ๔๒(๑) แห่งประมวลรัษฎากร และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงาน บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายไว้และนำส่งตามมาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๒ แห่งประมวลรัษฎากร

กค 0702/392 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีจัดสวัสดิการแจกทุนการศึกษาให้แก่บุตรของพนักงาน

ข้อหารือ


บริษัทฯ มีนโยบายจัดสวัสดิการแจกทุนการศึกษาให้แก่บุตรพนักงานของบริษัทฯ ตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาลจนถึง ระดับปริญญาตรีทั้งในสถานศึกษาของรัฐบาลและสถานศึกษาของเอกชน โดยพนักงานต้องมีอายุการทำงานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป บุตรทุกคนของพนักงานที่จะได้รับทุนการศึกษาต้องกำลังศึกษาอยู่ มีผลการเรียนดีอยู่ในเกณฑ์เกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 2.75 ขึ้นไป นโยบายแจกทุนการศึกษาประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปีทุนละ 2,000 บาท ถึง 4,000 บาท

นโยบายแจกทุนการศึกษา ดังกล่าว ผู้บริหารของบริษัทฯ ได้มีการประชุมหารือกับหน่วยงานของบริษัทฯ และได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ใน การรับทุน แต่ยังมิได้บรรจุในระเบียบของบริษัทฯ ในรอบปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ยังไม่มีการแจกทุนการศึกษา

บริษัทฯ จึงขอ ทราบว่า การแจกทุนการศึกษาแก่บุตรพนักงานของบริษัทฯ จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
 
 
 
แนววินิจฉัย


กรณีบริษัทฯ มีนโยบายจัดสวัสดิการแจกทุนการศึกษาให้แก่บุตรของพนักงาน หากบริษัทฯ มีระเบียบปฏิบัติของ บริษัทฯที่ชัดเจนใช้บังคับสำหรับพนักงานทั้งองค์กรและจำนวนเงินไม่สูงจนเกินสมควร

บริษัทฯ มีสิทธินำรายจ่ายดังกล่าว ไปหักในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร
 
 
 

กค 0706/6969 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์แก่พนักงาน

ข้อหารือ

        บริษัทฯ มีนโยบายจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานของบริษัทฯ ในกรณีที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวในกิจธุระของบริษัทฯ ตามอัตราที่กำหนดและประกาศให้พนักงานทราบทุกสิ้นเดือน โดยบริษัทฯใช้อัตราราคาน้ำมันที่สูงที่สุดในเดือนนั้น ๆ ของกระทรวงพลังงานมาคำนวณเพื่อจ่ายคืนแก่พนักงานเดือนละครั้ง และต้องระบุรายละเอียดการเดินทางและกิจธุระที่ทำในหน้าที่ของพนักงานพร้อมใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันที่จ่ายจริง บริษัทฯ หารือว่า

        1. บริษัทฯ จะบันทึกค่าน้ำมันที่จ่ายให้กับพนักงานเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ และจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่

        2. พนักงานของบริษัทฯ ต้องนำเงินได้ที่ได้รับดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่

แนววินิจฉัย

        1. กรณีบริษัทฯ จ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานของบริษัทฯ ตามจำนวนที่จ่ายจริงในกรณีที่พนักงานใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางไปทำงานให้บริษัทฯ ถือเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการประกอบกิจการของบริษัทฯบริษัทฯ มีสิทธินำค่าน้ำมันดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

          สำหรับค่าน้ำมันรถยนต์ส่วนที่บริษัทฯ ได้จ่ายไปเกินกว่าจำนวนที่พนักงานของบริษัทฯ ได้จ่ายไปจริง ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่าย ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร

        2. กรณีพนักงานจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำค่าน้ำมันในกรณีนี้ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร นั้น จะต้องมีหลักฐาน

 1.  การใช้รถยนต์และพิสูจน์จนเป็นที่เชื่อถือแก่การตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน ว่าได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและ

 2. ได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่นั้นด้วยประกอบกับบริษัทฯ ต้องมีระเบียบอนุญาตให้มีการเบิกจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ได้และ

 3. มีหนังสืออนุญาตพร้อมทั้งการบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานจากที่ใดถึงที่ใด ระยะเวลาทางเท่าใด ชื่อเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียนรถยนต์ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันรถยนต์ที่มีการระบุชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ให้ชัดเจน

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 47/2537 กรณีเครื่องแบบของพนักงาน

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 47/2537

เรื่อง  ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำสินค้าไปใช้ในการบริหารงานของกิจการกรณีเครื่องแบบของพนักงาน

ข้อ 1  กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับเครื่องแบบของพนักงาน โดยผู้ประกอบการเป็นฝ่ายจัดหาให้พนักงานใช้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน อันจะเข้าเงื่อนไขว่าเป็นการนำสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรงนั้น ต้องเป็นกรณีดังต่อไปนี้ :  เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของกิจการ ไม่ต้องห้าม

                        (1) เป็นเครื่องแบบที่ใช้เฉพาะงานหรือห้องปฏิบัติงานโดยเฉพาะในปริมาณไม่เกินสมควร ซึ่งไม่ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่พนักงาน และเมื่อพนักงานปฏิบัติงานตามหน้าที่แล้วต้องเก็บรักษาไว้ที่สถานที่ประกอบการ หรือให้พนักงานนำออกไปจากสถานประกอบการได้เพียงเพื่อการซักฟอกหรือทำความสะอาด เป็นต้น

                        (2) เป็นเครื่องแบบที่พนักงานแต่ละคนต้องแต่งอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันในจำนวนคนมากพอสมควร ซึ่งประชาชนทั่วไปเมื่อพบเห็นสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นเครื่องแบบของพนักงานของผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใดโดยเฉพาะ ไม่ว่าพนักงานแต่ละคนจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการตัดเย็บเอง หรือผู้ประกอบการเป็นผู้จ่ายให้ทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงานในจำนวนคนละไม่เกินปีละ 2 ชุด เสื้อนอกไม่เกินปีละ 1 ตัว แต่ไม่รวมถึงรองเท้า ชุดชั้นใน หรือเครื่องแต่งตัวอย่างอื่น

                        การจ่ายสิ่งของดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการต้องลงรายการให้ชัดเจน ดังนี้

                              (ก) กรณีที่ผู้ประกอบการเป็นผู้ผลิตสิ่งของดังกล่าว ผู้ประกอบการต้องลงรายการจ่ายในรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ในช่องหมายเหตุว่า จ่ายเพื่อตัดเย็บเครื่องแบบ เสื้อนอก ของพนักงาน แล้วแต่กรณี

                              (ข) กรณีที่ผู้ประกอบการเป็นผู้ซื้อหรือสั่งจ้างทำสิ่งของดังกล่าว เพื่อนำมาจ่ายให้แก่พนักงาน ให้ผู้ประกอบการลงรายการในรายงานภาษีซื้อ ในช่องรายการใต้รายการสินค้าหรือบริการว่า เพื่อจ่ายให้แก่พนักงานตัดเย็บเครื่องแบบ เสื้อนอก หรือใช้เป็นเครื่องแบบของพนักงาน แล้วแต่กรณี

 

                ข้อ 2  สำหรับค่าใช้จ่ายตามข้อ 1 ผู้ประกอบการหรือนายจ้างสามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ แล้วแต่กรณี

 

กค 0811/1846 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่าใช้จ่ายในการส่งพนักงานเข้ารับการฝึกอบรม

ข้อหารือ
: สมาชิกของหอการค้าไทยซึ่งเป็นนิติบุคคลได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการอบรมสำหรับพนักงานให้กับ สถาบันการศึกษาที่จัดอบรมตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 กรณีผู้ทำบัญชีที่ขาด คุณสมบัติตามมาตรา 7(6) แห่งพระราชบัญญัติฯ ฉบับดังกล่าว (ไม่มีคุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือปริญญาตรีทางบัญชี) จะต้องเข้าอบรมและสำเร็จการอบรมจึงจะสามารถเป็นผู้ทำบัญชีได้ต่อไปอีก 8 ปี สมาชิกของหอการค้าไทยได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและค่าตำรา จึงขอทราบว่า


1. การจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้สถาบันการศึกษาของทางราชการ สถาบันการศึกษาของ เอกชน หรือสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่

ถ้าได้จะได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ ตามมาตรา5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 284) พ.ศ. 2538 หรือไม่


2. ใบเสร็จรับเงินที่สถาบันการศึกษาออกให้ควรระบุชื่อของบริษัทผู้จ่ายเงินหรือชื่อของผู้เข้า รับการอบรม


3. หากพนักงานจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวล่วงหน้าไปก่อน โดยใบเสร็จระบุชื่อของพนักงาน พนักงานจะขอเบิกย้อนหลังได้หรือไม่ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทนายจ้าง


4. ค่าใช้จ่ายดังกล่าวถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงานผู้เข้ารับการอบรมหรือไม่


แนววินิจฉัย


: 1. กรณีตาม 1. หากสมาชิกของหอการค้าไทยเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่าย ค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างเข้ารับการอบรมในสถาบันการศึกษาของทางราชการ สถาบันการศึกษาของ เอกชนหรือสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรายจ่ายเพื่อประโยชน์ในการ ดำเนินกิจการ จึงนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13)
แห่งประมวลรัษฎากร แต่จะได้รับสิทธิในการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นจำนวนร้อยละ 50 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้าง ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมในสถาบันการศึกษาของทางราชการ เท่านั้น

 

ส่วนการจ่ายค่าใช้จ่ายในการศึกษาหรือฝึกอบรมในสถาบันการศึกษาของเอกชน และสมาคมนัก บัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 284) พ.ศ. 2538


2. กรณีตาม 2. ใบเสร็จรับเงินที่สถาบันการศึกษาออกให้จะต้องระบุชื่อของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้ารับ การศึกษาหรือฝึกอบรม


3. กรณีตาม 3. กรณีที่พนักงานจ่ายค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมไปก่อน โดยใบเสร็จระบุชื่อของพนักงาน ต่อมาจึงมาขอเบิกจากบริษัทนายจ้างในภายหลัง

หากบริษัทนายจ้าง พิสูจน์ได้ว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้จ่ายไปเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของบริษัทนายจ้าง ย่อมถือ เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่ง   ประมวลรัษฎากร


4. กรณีตาม 4. หากบริษัทฯ จ่ายค่าใช้จ่ายในการส่งพนักงานเข้ารับการอบรมดังกล่าวเพื่อ เป็นประโยชน์แก่การดำเนินกิจการของ

 

บริษัทฯ ไม่ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงานผู้เข้ารับการอบรม

กค 0702/2065 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีสวัสดิการพนักงาน - เบี้ยประกันภัยกลุ่ม ประกันสุขภาพ การตรวจสุขภาพประจำปี ค่าวัคซีน

ข้อหารือ



           ๒. บริษัทฯ ระบุสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงานไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทฯ โดยระบุไว้ในคู่มือพนักงาน ซึ่งการให้สวัสดิการดังกล่าวเป็นการให้สวัสดิการโดยทั่วไปแก่พนักงานทุกคน ดังนี้ ผ

                ๒.๑ การตรวจสุขภาพประจำปีของบริษัทฯ พนักงานประจำของบริษัทฯ สามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินยอดวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด 

                ๒.๒ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดหรือโรคระบาดอื่น ๆ พนักงานประจำของบริษัทฯ และสมาชิกครอบครัวสามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินยอดวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด 

                ๒.๓ เงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตร พนักงานประจำของบริษัทฯ ทั้งหญิงและชาย สามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินยอดวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด 

                ๒.๔ เงินช่วยเหลือพนักงานกรณีรับบุตรบุญธรรม โดยพนักงานที่ไม่สามารถมีบุตรได้เอง ที่ได้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม สามารถได้รับเงินช่วยเหลือตามวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด 

                ๒.๕ การจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตและทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรแบบกลุ่ม และการจ่ายเบี้ยประกันอุบัติเหตุแบบกลุ่ม ซึ่งระบุชื่อของบริษัทฯ ในกรมธรรม์ โดยพนักงานจะได้รับค่าชดเชยหรือค่าสินไหมทดแทนกรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุจนถึงแก่ชีวิต สูญเสียอวัยวะบางส่วน หรือทุพพลภาพถาวร ในช่วงที่เป็นพนักงานของบริษัทฯ เท่านั้น 

                ๒.๖ การจ่ายค่าเบี้ยประกันโรคร้ายแรงแบบกลุ่ม ซึ่งระบุชื่อของบริษัทฯ ในกรมธรรม์ โดยพนักงานจะได้รับค่าชดเชยหรือค่าสินไหมทดแทนกรณีพนักงานประสบโรคร้ายแรงที่ระบุในกรมธรรม์ในช่วงที่เป็นพนักงานของบริษัทฯ เท่านั้น 

           บริษัทฯ จึงหารือว่า พนักงานบริษัทฯ ที่ได้รับสวัสดิการดังกล่าวข้างต้น จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำผลประโยชน์ที่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินดังกล่าว มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ และบริษัทฯ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายในการให้สวัสดิการแก่พนักงานดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่

 



แนววินิจฉัย

 

 

 

   ๑. กรณีการตรวจสุขภาพประจำปีตาม ๒.๑ และเงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตรตาม ๒.๓

หากบริษัทฯ ได้จ่ายเงินให้แก่พนักงานทุกคนเป็นการทั่วไปและเป็นไปตามระเบียบของบริษัทฯ ถือเป็น ค่ารักษาพยาบาลที่พนักงานได้รับจากบริษัทฯ เข้าลักษณะเป็นเงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้าง จ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้าง สำหรับการรักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง


ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๒ (๑๗) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ ๒ (๔) (ก) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙ 


           ๒. กรณีค่าฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดหรือโรคระบาดอื่น ๆ ซึ่งมิใช่วัคซีนที่ใช้รักษาเมื่อมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น ตาม ๒.๒ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงมิใช่เงินที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามข้อ ๒ (๔) (ก) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙ การให้เงินช่วยเหลือพนักงานดังกล่าว ถือเป็นประโยชน์เพิ่มอันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๓๙ แห่งประมวลรัษฎากร และถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานของบริษัทฯ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๕๖ แห่งประมวลรัษฎากร 


— การฉีดวัคซีน ไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาล ถือเป็นประโยชน์เพิ่มพนักงาน 40(1)–


           ๓. กรณีเงินช่วยเหลือพนักงานกรณีรับบุตรบุญธรรมตาม ๒.๔ มิใช่เงินที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อ เสียภาษีเงินได้ ตามข้อ ๒ (๔) (ก) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙ การให้เงินช่วยเหลือพนักงานดังกล่าว ถือเป็นประโยชน์เพิ่มอันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๓๙ แห่งประมวลรัษฎากร และถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๑) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานของบริษัทฯ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๕๖ แห่งประมวลรัษฎากร 


           ๔. กรณีการจ่ายค่าเบี้ยประกันตาม ๒.๕ และ ๒.๖ หากบริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันภัยกลุ่มแทนพนักงานให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกิน ๑ ปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้างแล้ว เงินได้เท่าที่บริษัทฯ ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันดังกล่าว ได้รับยกเว้นตามข้อ ๒ (๗๗) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙)ฯ


           ๕. กรณีบริษัทฯ จ่ายสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่พนักงาน หากบริษัทฯ มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการให้สวัสดิการดังกล่าวที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป บริษัทฯ มีสิทธินำเงินที่จ่ายไปนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา ๖๕ ตรี (๓) และ (๑๓) แห่งประมวลรัษฎากร

กค 0702/4944 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีนายจ้างจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม

มาตรา 42(7) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (77)



ข้อหารือ

 


          บริษัท ก. (บริษัทฯ) ได้ทำประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มให้กับพนักงาน ซึ่งถือเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งของบริษัทฯ คุ้มครองเรื่องค่ารักษาพยาบาลหากเกิดอุบัติเหตุทั้งในและนอกเวลาทำงาน และมีค่าทดแทนหากทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต

โดยบริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันภัยแทนลูกจ้างให้บริษัทประกันภัย สำหรับระยะเวลาคุ้มครองหนึ่งปี


บริษัทฯ เป็นผู้ถือกรมธรรม์ พนักงานเป็นผู้เอาประกัน บริษัทฯ เป็นผู้รับประโยชน์    ในกรมธรรม์ระบุว่า ค่าทดแทนสำหรับการเสียชีวิต


บริษัทฯ ขอทราบว่า เบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ดังกล่าวเข้าหลักเกณฑ์ที่พนักงานจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่

 

 



แนววินิจฉัย




          กรณีบริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันภัยกลุ่มแทนลูกจ้างให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการ ในราชอาณาจักร สำหรับประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับ ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้างแล้ว

เงินได้เท่าที่บริษัทฯ ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันภัยกลุ่มแทนพนักงานได้รับยกเว้นข้อ ๒ (77) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 263 (พ.ศ. 2549) ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2549

ปี2562 เลขที่หนังสือ : 0702/6449 บัตรรับประทานอาหาร สินค้าบางประเภท กรมธรรม์ประกันภัย แต้มดังกล่าวถูกกำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการให้พนักงานเลือกรับสวัสดิการ

เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง
ข้อกฎหมาย: มาตรา 42 (17) กฎกระทรวง 126ฯ ข้อ 2 (77)
ข้อหารือ

          บริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ทั้งในประเทศและส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ บริษัทฯ ได้จัดสวัสดิการในรูปแบบต่าง ๆ ให้พนักงานสามารถเลือกได้ โดยบริษัทฯ จะให้แต้มแก่พนักงานเพื่อใช้แลกสวัสดิการที่ต้องการ เช่น บัตรรับประทานอาหาร สินค้าบางประเภท กรมธรรม์ประกันภัย แต้มดังกล่าวถูกกำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการให้พนักงานเลือกรับสวัสดิการ และไม่มีมูลค่ารวมทั้งไม่สามารถโอนเปลี่ยนมือได้ บริษัทฯ ขอหารือว่า กรณีที่พนักงานนำแต้มมาแลกเป็นกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล โดยบริษัทฯ ได้จ่ายเบี้ยประกันภัยกลุ่มแทนพนักงานให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร เบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ดังกล่าว เป็นเงินได้ที่พนักงานได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือไม่ อย่างไร

 

แนววินิจฉัย

          กรณีที่บริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันภัยกลุ่มแทนพนักงานที่นำแต้มมาแลกตามข้อเท็จจริงดังกล่าว หากเบี้ยประกันภัยที่จ่ายแทนนั้นเป็นการจ่ายให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้างเฉพาะการรักษาพยาบาลในประเทศไทย หรือสำหรับลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติงานในต่างประเทศเป็นครั้งคราว เบี้ยประกันภัยดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินที่พนักงานได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (77) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

ข้อ 2  ให้กำหนดเงินได้ต่อไปนี้เป็นเงินได้ตาม (17) ของมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496

(4) เงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล สำหรับ 
                                         (ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย 
                                         (ข) ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ เงินจำนวนดังกล่าวได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น


(34) เงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าของเครื่องแบบซึ่งลูกจ้างได้รับจากนายจ้างในจำนวนคนละไม่เกินสองชุดต่อไป และเสื้อนอกในจำนวนคนละไม่เกินหนึ่งตัวต่อปี

                                      “เครื่องแบบ” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า เครื่องแต่งกาย รวมทั้งสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่กำหนดให้แต่งเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน แต่ไม่รวมถึงรองเท้าที่อาจใช้งานได้ทั่วไป ชุดชั้นใน หรือสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยโลหะหรืออัญมณีที่มีค่าเช่น เงิน ทองคำ ทับทิม หยก
                                      “เสื้อนอก” ตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึง ชุดไทยพระราชทานและเสื้อที่นิยมใช้ในการแต่งกายไปในงานสำคัญต่างๆ
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 194 (พ.ศ. 2537) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 1 มกราคม 2537 เป็นต้นไป)

 “(77) เงินได้เท่าที่นายจ้างจ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับ


                                      (ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะการรักษาพยาบาลในประเทศไทย
                                      (ข) ลูกจ้าง ในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศ ในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว
                                       ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 263 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป)



 

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

Facebook
Twitter
LinkedIn

และผู้คนยังค้นหา ประกันชีวิตกลุ่ม หัก ณ ที่จ่าย ทำประกันให้กรรมการ ตัวอย่างการบันทึกบัญชี ประกันชีวิต สวัสดิการพนักงาน ภาษีมาตรา 42 13กค 0702/10407 สวัสดิการพนักงาน บัญชี ภาษี ตารางสรุปการเสียภาษี กรณีสวัสดิการพนักงาน ค่าอาหารพนักงาน ลงบัญชี การบันทึกบัญชี สวัสดิการพนักงาน พาพนักงานไปเที่ยว ลงบัญชี สวัสดิการพนักงาน สรรพากร ค่าสวัสดิการพนักงาน คือ สวัสดิการ ชุดพนักงาน พาพนักงานไปเที่ยวต่างประเทศ ภาษี

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 30,453

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า