Skip to content

8 สิ่งแรกที่ควรรู้เกี่ยวกับบัญชี หลังจดบริษัท ห้างหุ้นส่วน

8 สิ่งแรกที่ควรรู้หลังจดบริษัท ห้างหุ้นส่วน บัญชีภาษี

 

         หลังจดจัดตั้งบริษัทแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องทำอะไรบ้าง การเริ่มต้นจัดทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดนั้น จะต้องเริ่มจากตรงไหนก่อน และทำอะไรบ้าง เป็นคำถามที่หลายผู้ประกอบการหลายท่านสอบถาม

          ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2547 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัด เป็นหนึ่งในผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ดังนั้นตาม คือกฎหมายกำหนดให้พวกเรา (บริษัท ห้างหุ้นส่วน) ต้องจัดทำบัญชีนั่นเอง การเริ่มต้นจัดทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดนั้น เริ่มต้นอย่างไร เรามาสรุปให้คุณอ่านเข้าใจง่ายนำไปใช้ได้จริง 8 สิ่งแรกที่ควรรู้หลังจดบริษัท
————————————————————————————————————————–

เลือกหัวข้อที่คุณสนใน    :      8 สิ่งแรกที่ควรรู้หลังจดบริษัท ห้างหุ้นส่วน บัญชีภาษี

1. ใคร??? กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจะต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชี

2. ส่งมอบเอกสารประกอบการลงบัญชี

3. จัดทำบัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้า และบัญชีอื่น ๆ  ตามความจำเป็น

4. ต้องปิดบัญชีภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่เริ่มทำบัญชี

5. การจัดทำงบการเงินตามมาตรฐานรายการทางการเงิน ผู้ทำบัญชี เมื่อบันทึกบัญชีครบทั้งหมดแล้ว

6. งบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบและข้อแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

7. นำส่งงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและยื่นภาษีต่อกรมสรรพากร

8. เก็บรักษาเอกสารทางบัญชีไม่น้อยกว่า 5 ปี 

1. ใครกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจะต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชี

      ตาม พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดไว้ว่า

    ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

 —   บริษัท ห้าง กระทำการโดยกรรมการผู้กระทำการแทน ดังนั้น กรรมการของห้างเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

สำหรับเงื่อนไขของผู้ทำบัญชี ต้องเป็นผู้ที่จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเทียบเท่า เว้นแต่ บริษัทจำกัดจะมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท สามารถให้ผู้ที่จบไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า เป็นผู้ทำบัญชีได้ โดยนิติบุคคล ต้องควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริงและเป็นไปตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน


8 สิ่งควรรู้หลังจดบริษร
8 สิ่งแรกที่ควรรู้หลังจดบริษัท ห้างหุ้นส่วน บัญชีภาษี รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี สำนักงานบัญชี Online

2. ส่งมอบเอกสารประกอบการลงบัญชี

          ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีซื้อขาย บิลเงินสด หนังสือสัญญาเช่าต่างๆ  หรือเอกสารใด ๆ ที่เป็นหลักฐานในการลงบัญชี จะต้องส่งให้แก่ผู้ทำบัญชี ประกอบการลงบัญชี ตามความเป็นจริง
                         หากนิติบุคคลไม่ดำเนินการ ถือว่ามีความผิด ค่าปรับเป็นจำนวน 10,000 บาท



3. จัดทำบัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้า และบัญชีอื่น ๆ  ตามความจำเป็น


             โดยเริ่มตั้งแต่วันที่จดทะเบียน หลังจากจดทะเบียน เมื่อมีรายการทางบัญชีเกิดขึ้น ต้องบันทึกบัญชีลงในสมุดบัญชีรายวันก่อนที่จะผ่านไปบัญชีแยกประเภท ถ้าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนใด มีสต๊อกสินค้าคงเหลือ จะต้องจัดทำบัญชีสินค้าด้วย

             สำหรับกิจการที่ไม่จัดทำบัญชี จะมีความผิด โดยปรับที่นิติบุคคล จำนวน 30,000 บาท และปรับเป็นรายวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง วันละ 1,000 บาท ในส่วนของหุ้นส่วนผู้จัดการและกรรมการผู้จัดการซึ่งเป็นผู้กระทำการแทน ถูกปรับไม่เกิน 30,000 บาทรวมทั้งการปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละ 1,000 บาท

 

4. ต้องปิดบัญชีภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่เริ่มทำบัญชี

            ให้ปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันที่ปิดบัญชีครั้งก่อน โดยรอบบัญชีปีแรกหรือปีสุดท้าย อนุโลมให้ไม่ถึง 12 เดือนได้ หากไม่จัดทำตามนี้ นิติบุคคล จะมีค่าปรับเป็นจำนวน 10,000 บาท ผู้กระทำการแทน จำนวน 10,000 บาท

 

 5. การจัดทำงบการเงินตามมาตรฐานรายการทางการเงิน ผู้ทำบัญชี เมื่อบันทึกบัญชีครบทั้งหมดแล้ว

             สิ้นงวดปีบัญชี ต้องจัดทำงบการเงิน ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ และหมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ต้องจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ

 

 6. งบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบและข้อแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

      ยกเว้น ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจํากัด มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ไม่จำเป็นต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) แต่ต้องจัดให้มีการตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีภาษีอากร (TA)

 

 7. นำส่งงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและยื่นภาษีต่อกรมสรรพากร

         ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน นำส่งภายใน 5 เดือนนับตั้งแต่วันที่ปิดบัญชี
         บริษัทจำกัด นำส่งภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น สำหรับบริษัทจำกัดส่งได้ช้าสุด คือวันที่ 31 พฤษภาคม
          เนื่องจาก บริษัทจำกัดมีเงื่อนไข ที่บริษัทจะต้องประชุมสามัญผู้ถือหุ้นภายในวันที่ 30 เมษายน ในส่วนของความผิดถ้าไม่ดำเนินการ ค่าปรับไม่เกิน 50,000 บาท สำหรับนิติบุคคล และสำหรับผู้มีหน้าที่กระทำการแทน ปรับไม่เกินคนละ 50,000 บาท


 

  8. เก็บรักษาเอกสารทางบัญชีไม่น้อยกว่า 5 ปี  ทั้งเอกสารทางบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี ไว้ที่สำนักงานใหญ่ หรือสถานที่ที่ผลิต หรือเก็บสินค้าเป็นประจำ หรือสถานที่ทำงานประจำเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ปิดบัญชี

           เอกสารบัญชีหรือเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหาย หรือเสียหาย ต้องแจ้งสารวัตรใหญ่บัญชี หรือสารวัตรบัญชีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหายหรือเสียหาย หากไม่ดำเนินการ มีความผิด ปรับไม่เกิน 5,000 บาท ผู้มีหน้าที่กระทำการแทนปรับไม่เกิน 5,000 บาท เช่นกัน
—————-

 

 

เมื่อจดทะเบียนนิติบุคคลแล้วต้องทำอะไรบ้าง

ทุนจดทะเบียนต้องนำฝากธนาคารเต็มจำนวนหรือไม่

ทุน 1 ล้านบาท ต้องนำฝากเข้าบัญชีบริษัทเต็ม 100% หรือไม่

ทุนจดทะเบียนกับทุนชำระต่างกันอย่างไร

ทุนจดทะเบียน 1 ล้าน ทุนชำระแล้ว 25% ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

บุคคลธรรมดาโอนย้ายกิจการมาเป็นนิติบุคคล

ต้องทำอะไร จะโดนตรวจสอบหรือไม่

ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่นำมาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท

ค่าน้ำ ไฟ โทรศัพท์ แท็กวี่ พี่วิน grab ค่าอาหารเลี้ยงพนักงาน Lineman ค่าวัคซีน เป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้หรือไม่

บิลที่สรรพากร OK เป็นยังไง

บิลเงินสด ซื้อของผ่านไลน์ ซื้อของผ่าน Shopee lazada ทำอย่างไรเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท

เอกสารที่ต้องเก็บเพื่อถูกต้องนำมาใช้ทางภาษีได้

เอกสารที่ต้องเก็บมีอะไรบ้างเพื่อตรวจสอบจะได้มีนำยื่นให้ถูกต้อง

เอกสารที่ต้องส่ง สนง บัญชี รับทำบัญชี

ส่งเอกสารอย่างไรให้ สนง ได้รับครบถ้วนถูกต้อง แจ้งสนงอย่างไรเพื่อให้ตรงกับประเภทค่าใช้จ่ายที่ถูกต้อง

ซื้อทรัพย์สินจากกรรมการ บุคคลธรรมดา นำเข้าบริษัทอย่างไร ได้หรือไม่

ซื้อรถ เครื่องถ่ายเอกสาร คอมพิวเตอร์  ตู้เก็บสินค้าจากกรรมการ บุคคลธรรมดา ร้านขายมือ 2 นำมาเป็นของบริษัทอย่างไร

กู้เงินธนาคารเพื่อนำมาใช้ในกิจการทำอย่างไร

กู้เงินธนาคาร กรรมการเป็นผู้ค้ำ หรือกรรมการกู้ยืมเงินมาเพื่อกิจการทำอย่างไรให้สรรพากร Ok

ซื้อของไม่มีบิล ต้องทำใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน ทำอย่างไร

ใบรับรองใบเสร็จรับเงิน ทำอย่างไร เราสอนแนะนำให้ลูกค้าทำอย่างถูกต้อง

ข้อดีของการไม่จด VAT

สรรพากรรู้รายได้เราจากไหน และจดหมายสรรพากรที่ได้ต้องทำอย่างไร

รายได้ หัก ณ ที่จ่าย เงินเข้าบัญชี มีคนแจ้งสรรพากร รายได้อะไรของเราที่สรรพากรรู้บาง

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

ทำบัญชี รับทำบัญชี pantip รับทำบัญชี กรุงเทพ ค่า จ้าง ทำ บัญชี pantip เจ้าหนี้กรรมการ ลูกหนี้กรรมการ สอบ Cpa ข้อสอบ กฎหมาย ใบลดหนี้ กรณีสินค้าชำรุด  สำนักงานบัญชีกรุงเทพ

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 2,367

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า