Skip to content

บัญชี ภาษี ธุรกิจนำเที่ยว กิจการบริษัททัวร์

บัญชี ภาษี ธุรกิจนำเที่ยว กิจการบริษัททัวร์   ในเบื้องต้นเราต้องทำความเข้าใจความหมายของคำว่า ธุรกิจนำเที่ยว คืออะไร เพื่อใช้ในการวางแผนภาษี ในส่วนรายได้ ค่าใช้จ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามพรบธุรกิจนำเที่ยวกำหนดความหมายไว้ว่า

ธุรกิจนำเที่ยว หมายความถึง ธุรกิจเกี่ยวกับการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยว หรือเดินทางไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่น โดยจัดให้มีบริการหรือการอำนวยความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง อันได้แก่ สถานที่พัก อาหาร มัคคุเทศก์ หรือบริการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ( พรบ. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551)

บัญชี ภาษี ธุรกิจนำเที่ยว กิจการบริษัททัวร์​
รับทำบัญชี ภาษี กิจการซื้อมาขายไป

บัญชี ภาษี ธุรกิจนำเที่ยว กิจการบริษัททัวร์

ในการงานส่วนของ บัญชี ภาษี ธุรกิจนำเที่ยว กิจการบริษัททัวร์  นั้น ทางกรมสรรพากรได้แยกกิจการนำเที่ยวออกเป็น 5 ประเภทดังนี้

1. กิจการนำเที่ยวรับเฉพาะนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศอย่างเดียว ( In – bound Operator )

2. กิจการนำเที่ยวคนในประเทศไปยังต่างประเทศ ( Out – bound Operator )

3. กิจการนำเที่ยวภายในประเทศอย่างเดียว ( Local operator )

4. กิจการนำเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ (Local & World wide Operator )

5. กิจการที่ดำเนินธุรกิจทั่วไปเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ( General Travel Agent )

ประเภทของธุรกิจนำเที่ยว

1. Travel Agent บุคคลหรือบริษัทที่มีความสามารถจัดการนำเที่ยว การขนส่ง ที่พัก อาหาร การรับ-ส่งทั้งขาไปและขากลับ การนำสถานที่และงานอื่น ๆ ของการเดินทางซึ่งเป็นการบริการให้แก่สาธารณชน เช่น บริษัท นำเที่ยว จำกัด มีความชำนาญเบ็ดเสร็จทุกอย่าง สามารถดำเนินการเองได้

2. Tour Operator บริษัทมีความชำนาญในการจัดและดำเนินการเกี่ยวกับการ ตลาด ทางด้านการจัดการเดินทางไปพักผ่อน แบบ Inclusive Tour โดยเก็บเงินล่วงหน้าแล้วมอบให้ Travel Agent เป็นผู้ขาย แต่บางครั้งก็ลงมือขายแก่นักท่องเที่ยวโดยตรง เช่น บริษัทหรือกลุ่มคนในพื้นที่ที่มีอุปกรณ์เกี่ยวกับการดำน้ำ และเรือพร้อมในจังหวัดพังงา นำเที่ยวดำน้ำดูปะการังที่หมู่เกาะสิมิลัน – หมู่เกาะสุรินทร์ ก็ติดต่อกับบริษัทนำเที่ยวจำกัด เป็นผู้ขายบัตรเพราะมีลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวแพร่หลายอยู่แล้ว ส่วนตนก็เป็นผู้จัดรายการรับทัวร์ชุดนี้ต่ออยู่ที่พังงา

3. Wholesaler บริษัทมีความชำนาญงานในงานเดินทาง คิดและเสนอโปรแกรมที่ จัดไว้แบบเหมาหรือจัดขึ้นตามแต่จะรับคำสั่งมาจากลูกค้าแล้วมอบให้ Travel Agent รับไปขายต่อ Wholesaler ต่างกับ Tour Operator คือ Wholesaler มักไม่เสนอรายการเดินทางต่อบริษัทนำเที่ยวบ่อย ๆ แต่ Tour Operator จะเสนอขายให้แก่ Retailer ด้วย เช่น เป็นบริษัทหรือกลุ่มคนที่ชอบการผจญภัยชุดบุกเบิก ไปเที่ยวน้ำตกทีลอแล(น้ำตกที่เลยน้ำตกทีลอซูเข้าไปในเขตพม่ามาแล้

รายได้ที่เกี่ยวข้องกับ บัญชี ภาษี ธุรกิจนำเที่ยว กิจการบริษัททัวร์​

กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติไว้ตามหนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0811/ว. 6398

กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติไว้ตาม

1. หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0811/ว. 6398 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่ จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการนำเที่ยวในต่างประเทศ ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2540 และ

2. หนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0811/11473 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2544 เรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีกิจการท่องเที่ยว ดังนี้

การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและการหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการประกอบกิจการนำเที่ยว

.1. การประกอบกิจการนำเที่ยวโดยรับบริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไป ท่องเที่ยวยังต่างประเทศ (out – bound) หรือจัดบริการนำนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาท่องเที่ยวในประเทศไทย (in – bound) ไม่ว่าการบริการจัดนำเที่ยวนั้นจะได้จัดเป็นหมู่คณะหรือเป็นเอกเทศ

การรับจัดนำเที่ยวดังกล่าวถือเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร

    2. ในกรณีคิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมา (package tour) ซึ่งค่าบริการนำเที่ยวที่คิดเป็นการเหมานั้น

สำหรับกรณี out – bound ประกอบด้วยค่าบริการในการทำหนังสือเดินทางและจัดทำวีซ่า ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน ค่าบริการนำเที่ยว รวมทั้งค่าโรงแรม ค่าอาหาร และค่าขนส่ง ณ ต่างประเทศ และ

กรณี in – bound ประกอบด้วยค่าบริการท่องเที่ยวรวมทั้งค่าขนส่งค่าอาหาร ค่าบัตรผ่านประตู ค่ามัคคุเทศก์ ค่าโรงแรมและค่าอาหารที่โรงแรม ค่าตั๋วโดยสาร เครื่องบินภายในประเทศ เป็นต้น

ผู้ประกอบการจะต้องนำค่าบริการนำเที่ยวที่คิดเป็นการเหมาซึ่งประกอบด้วย ค่าบริการใด ๆ ที่คิดเอาจากนักท่องเที่ยวทั้งหมดมาเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

และการให้บริการจัดนำเที่ยวดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากผู้จ่ายเงินเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา ร้อยละ 3.0 ของค่าบริการนำเที่ยวที่คิดเป็นการเหมา ซึ่งประกอบด้วยค่าบริการใด ๆ ที่คิดจากนักท่องเที่ยวทั้งหมด ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

สำหรับการพิจารณาว่าผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้คิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมา (package tour) หรือไม่ ให้พิจารณาจากสัญญาการให้บริการนำเที่ยว

    3. กรณีค่าบริการนำเที่ยวมิได้คิดเป็นการเหมา แต่ได้มีการตกลงกับนักท่องเที่ยวโดยขอคิดสินจ้างเฉพาะค่านำเที่ยวและค่าบริการเท่านั้น

ส่วนค่าใช้จ่ายที่นักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากสินจ้างดังกล่าว เช่น ค่าโรงแรม ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน ค่าอาหารในโรงแรม ซึ่งผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวจ่ายทดรองให้นักท่องเที่ยวแต่ละคนไปก่อน โดยจ่ายไปจริงเท่าใดก็จะเรียกเก็บคืนจากนักท่องเที่ยวเท่านั้น (cost plus) และถ้ามีส่วนลดใด ๆ จากผู้รับ ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ก็จะคืนส่วนลดนั้นให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งหมดโดยตนเองจะไม่รับเก็บไว้เป็นรายได้ของตน และผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้มีหลักฐานพิสูจน์ได้อย่างชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัยว่าได้มีการปฏิบัติเช่นนั้นจริง

ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวมีสิทธินำเฉพาะสินจ้างที่เป็นค่านำเที่ยวและค่าบริการมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

สำหรับค่าใช้จ่ายอื่นที่นักท่องเที่ยวต้องจ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากสินจ้าง ซึ่ง ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้เรียกเก็บจากนักท่องเที่ยวตามจำนวนที่ทดรองจ่ายไปจริง ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

และการให้บริการรับจัดนำเที่ยว ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากผู้จ่ายเงินเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าสินจ้างที่เป็นค่านำเที่ยวและค่าบริการที่ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวเรียกเก็บ ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

(cost plus) กรณีค่าบริการนำเที่ยวมิได้คิดเป็นการเหมา มีองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ คือ

กรณีค่าบริการนำเที่ยวมิได้คิดเป็นการเหมา มีองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ คือ

(1) ได้มีการตกลงกับนักท่องเที่ยว โดยขอคิดสินจ้างเฉพาะค่านำเที่ยวและค่าบริการเท่านั้น ส่วนค่าใช้จ่ายที่นักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากสินจ้างดังกล่าว เช่น ค่าโรงแรม ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน ค่าอาหารในโรงแรม ซึ่งผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวจ่ายทดรองให้นักท่องเที่ยวแต่ละคนไปก่อน โดยจ่ายไปจริงเท่าใดก็จะเรียกเก็บคืนจากนักท่องเที่ยวเท่านั้น (cost plus) และ

(2) กรณีที่มีส่วนลดใด ๆ จากผู้รับ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวก็จะคืนส่วนลดนั้นให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งหมดโดยตนเองจะไม่รับเก็บไว้เป็นรายได้ของตน และ

(3) ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้มีหลักฐานพิสูจน์ได้อย่างชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัยว่าได้มีการปฏิบัติเช่นนั้นจริง

เช่นนี้ ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวมีสิทธินำเฉพาะสินจ้างที่เป็นค่านำเที่ยวและค่าบริการมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% สำหรับค่าใช้จ่ายอื่นที่นักท่องเที่ยวต้องจ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากสินจ้าง ซึ่งผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้เรียกเก็บจากนักท่องเที่ยวตามจำนวนที่ทดรองจ่ายไปจริง ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด

รายได้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว

 

รายได้จากการประกอบกิจการนำเที่ยวโดยรับบริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไป ท่องเที่ยวยังต่างประเทศ (out – bound) หรือจัดบริการนำนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาท่องเที่ยวในประเทศไทย (in – bound) ไม่ว่าการบริการจัดนำเที่ยวนั้นจะได้จัดเป็นหมู่คณะหรือเป็นเอกเทศ

โดยทั่วไป การให้บริการในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการในต่างประเทศ ดังเช่น กรณีบริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศนั้น พึงได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0

แต่ได้มีข้อกำหนดไว้เป็นพิเศษว่า กรณี  การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรแก่ผู้รับบริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ที่เป็นการให้บริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศนั้น ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ดังเช่นกรณีจัดบริการนำนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาท่องเที่ยวในประเทศไทย และการให้บริการนำเที่ยวภายในประเทศ

การรับจัดนำเที่ยวดังกล่าวถือเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร

– เป็นบริการรับจ้างทำของ อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม /ผู้จ่ายต้องดำเนินการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย —
 
 

 รายได้ของนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยวมี รายได้หลักดังนี้

              1.  รายได้จาก บริการนำเที่ยว 
              2.  รายได้ค่า บริการ มัคคุเทศน์

              3.  รายได้ค่านายหน้าจาการจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน
              4.  รายได้ค่านายหน้าจากการจองห้องพัก จำหน่ายบัตรเข้าชมการแสดง
              5.  รายได้จากการจัดเตรียมเอกสาร วีซ่า หนังสือเดินทาง
              6.  รายได้ค่านายหน้าประกันชีวิต ประกันวินาศภัย ที่ได้รับจากบริษัทประกันชีวิต / ประกันวินาศภัย
              7.  รายได้จากการให้ บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (มีภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ไม่มี ภาษีหัก ณ ที่จ่าย)

              8.  รายได้อื่นๆ
 

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว ( ภาษีมูลค่าเพิ่ม/ภาษีหัก ณ ที่จ่าย)

              1.   เงินเดือน และ ค่าตอบแทน พนักงาน สวัสดิการ เงินล่วงเวลา
              2.   ค่าเช่าอาคาร และ ค่าเช่ายานพาหนะ (นิติบุคคลจ่ายหัก ภาษีอัตราร้อยละ 5 )
              3.   ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย (นิติบุคคลจ่ายหัก ภาษีอัตราร้อยละ 1 )
              4.   ค่าโฆษณา เผยแพระประชาสัมพันธ์ (นิติบุคคลจ่ายหัก ภาษีอัตราร้อยละ 2 )
              5.   ค่าทำบัญชี และ ค่าตรวจสอบบัญชี ค่าธรรมเนียมธนาคาร (นิติบุคคลจ่ายหัก ภาษีอัตราร้อยละ 3 )
              6.   ค่าส่งเสริมการขาย และ ค่านายหน้า  (นิติบุคคลจ่ายหัก ภาษีอัตราร้อยละ 3 )
              7.   ภาษีอื่นๆ ภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล เบี้ยปรับเงินเพิ่ม ทางกฎหมายภาษี และกฎหมายอาญา

 

ข้อหารือ บัญชี ภาษี ธุรกิจนำเที่ยว กิจการบริษัททัวร์​​

ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีหัก ณที่จ่าย บริษัทฯ ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับทัวร์

คุณ Poonyaporn Thanapornwanit (ศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 8:18 น.)

เรียนปรึกษาเกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีหัก ณที่จ่าย

บริษัทฯ ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับทัวร์ ได้เพิ่มธุรกรรมทางด้านเป็นนายหน้าหารถบัสใหญ่ มินิบัส ไมโครบัส รถตู้ ให้บริการแก่ลูกค้า

ซึ่งบริษัทต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% ทำให้บริษัทไม่สามารถสู้ร่คาหับคู่แข่งขันได้ ถ้าลูกค้าติดต่อกับบริษัทที่มีรถบัสโดยตรงได้ เพราะบริษัทขนส่งไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1%  บริษัทควรจะไปจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่งเพิ่มอีกบริษัทหรือไม่ค่ะ

ขอคำแนะนำในการวางแผนภาษีในกรณีนี้ควรจะทำอย่างไร

ถ้าบริษัทขายทัวร์ แล้วแยกรายได้ออกเป็นค่าทัวร์ส่วนหนึ่ง แล้วแยกเป็นรายได้ค่าขนส่ง เพื่อจะได้ไม่ต้องเสีย vat แล้วถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% สามารถทำได้ไหมค่ะ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์

วิสัชนา

กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการให้บริการท่องเที่ยง (ทัวร์) ได้เพิ่มธุรกรรมทางด้านเป็นนายหน้าหารถบัสใหญ่ มินิบัส ไมโครบัส รถตู้ ให้บริการแก่ลูกค้า

ซึ่งบริษัทฯ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% ทำให้บริษัทฯ ไม่สามารถสู้ราคากับคู่แข่งขันได้ ถ้าลูกค้าติดต่อกับบริษัทที่มีรถบัสโดยตรงได้ เพราะบริษัทขนส่งไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
นั้น

1. การที่บริษัทฯ จะตัดสินใจประกอบกิจการรับจ้างขนส่ง โดยจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่งเพิ่มขึ้น นั้น ต้องประเมินข้อดี ข้อเสียโดยรอบด้าน

    ในเชิงการวางแผนภาษีในกรณีนี้ ในการประกอบกิจการเดิม บริษัทฯ ไม่มีปัญหาการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ตามธุรกิจใหม่ที่เพิ่มขึ้น บริษัทฯ มีรายได้จากการประกอบกิจการสองประเภท ต้องเฉลี่ยภาษีซื้อสำหรับรายจ่ายและทรัพย์สินที่ใช้ร่วมกันในสองประเภทกิจการโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ แต่ถ้าทำให้บริษัทฯ มีกำไรเพิ่มขึ้น ก็เป็นสิ่งที่พึงกระทำ แม้การเฉลี่ยภาษีซื้อจะเป็นงานที่ยาก ก็ไม่ใช่จะเรียนรู้ไม่ได้

2.กรณีบริษัทฯ ประกอบธุรกิจนำเที่ยวรับบริการนำนักท่องเที่ยวแล้วแยกรายได้ออกเป็นค่าทัวร์ส่วนหนึ่ง แล้วแยกเป็นรายได้ค่าขนส่ง เพื่อจะได้ไม่ต้องเสีย VAT แล้วถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% สามารถทำได้ในลักษณะ Cost Plus ตามข้อ 3 (3) ดังกล่าวข้างต้น (แนวทางปฏิบัติไว้ตามหนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0811/ว. 6398)

ธุรกิจเป็นตัวกลางหาลูกค้าให้บริษัททัวร์ต่างประเทศ

เพจท่านอาจารย์ สุเทพ

คุณ Praphawal Kulama ได้โพสต์ไปในไทม์ไลน์ เมื่อ 4 ก.ย. 2556 เวลา 11:02 น. ว่า

“กราบเรียนอาจารย์ค่ะ

1. สำหรับธุรกิจที่ตัวกลางหาลูกค้าให้บริษัททัวร์ต่างประเทศ

1.1 ค่าตั๋วเครื่องบิน (ไม่มีvat) ถ้าแยกรายการหรือใบกำกับภาษีโดยส่วนต่างของราคาตั๋วเครื่องบินถือเป็นค่าบริการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะทำได้ไหมค่ะ โดยถือเป็นค่านายหน้า หรือต้องนำเงินค่าตั๋วเครื่องบินบวกส่วนเพิ่มมาเสียVAT ทั้งก้อนค่ะ

1.2 ค่าบริการเหมาค่าใช้จ่ายนำเที่ยว เช่น ค่าโรงแรม ค่ารถ และอื่นๆ บริษัทตัวแทนช่วงที่ต้องจ่ายให้บริษัททัวร์จะต้องหักภาษีณที่จ่ายหรือไม่ค่ะ

2. เลขประจำตัวเพื่อเสียภาษี13หลัก ใบกำกับภาษีพิมพ์จากโรงพิมพ์(ลูกค้ามีเหลือจำนวนมาก) ถ้าเขียนเพิ่ม13หลักจะทำได้ไหมค่ะและจะใช้ได้นานเท่าไรคะ

ขอบพระคุณมากค่ะ
อนุโมทนากับอาจารยฺ์ด้วยที่อาจารย์ได้ทำบุญทางปัญญากับพวกเรา”

เรียน คุณ Praphawal Kulama
เกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีกิจการท่องเที่ยว นั้น กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติไว้ตามหนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0811/ว. 6398 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการนำเที่ยวในต่างประเทศ ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2540 และหนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0811/11473 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2544 เรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีกิจการท่องเที่ยว

 

ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า

1. สำหรับธุรกิจที่เป็นตัวกลางหาลูกค้าให้บริษัททัวร์ต่างประเทศ
1.1 ค่าตั๋วเครื่องบิน (ไม่มีvat)

ถ้าแยกรายการหรือใบกำกับภาษี โดยส่วนต่างของราคาตั๋วเครื่องบินถือเป็นค่าบริการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นค่านายหน้า หรือจะเลือกนำเงินค่าตั๋วเครื่องบินบวกส่วนเพิ่มมาเสีย VAT ทั้งก้อน ก็มีสิทธิกระทำได้ทั้งสองแบบ

ทั้งนี้ ตามแนวทางปฏิบัติตามข้อ 2 กรณีคิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมา (package tour) และข้อ 3 กรณีค่าบริการนำเที่ยวมิได้คิดเป็นการเหมา แต่ได้มีการตกลงกับผู้ว่าจ้าง โดยขอคิดสินจ้างเฉพาะค่านำเที่ยวและค่าบริการเท่านั้น (cost plus) แล้วแต่กรณี

1.2 ค่าบริการเหมาค่าใช้จ่ายนำเที่ยว เช่น ค่าโรงแรม ค่ารถ และอื่นๆ บริษัทตัวแทนช่วงที่ต้องจ่ายให้บริษัททัวร์จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

กรณีที่ตัวการมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
แต่ในกรณีเป็นตัวแทนอาจมีความเสี่ยงที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนตัวการตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร จึงขอแนะนำให้รับช่วงเหมาเป็นผู้รับจัดการการท่องเที่ยวในประเทศไทยเสียเอง

2. เลขประจำตัวเพื่อเสียภาษี 13 หลัก ใบกำกับภาษีพิมพ์จากโรงพิมพ์ (ลูกค้ามีเหลือจำนวนมาก) ถ้าเขียนเพิ่ม 13 หลักจะทำได้ แต่ลูกค้าที่จะนำไปใช้เป็นภาษีซื้อไมได้ จึงควรจัดพิมพ์ใหม่ หรือไม่ก็ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ

กค 0706/พ./625 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการนำเที่ยว

ข้อหารือ

1. กรณีเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสารเครื่องบิน และที่พัก เมื่อตัวแทนขายตั๋วโดยสารเครื่องบินและที่พัก จะได้รับค่านายหน้าจากสายการบินตามอัตราของสายการบิน และผู้ประกอบการมีรายได้ ดังนี้

               1.1 รายได้จากการขายตั๋วโดยสารเครื่องบินอย่างเดียว

               1.2 รายได้จากการขายตั๋วโดยสารเครื่องบิน และที่พัก
                   (ก) แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน และที่พักออกจากกัน ตั๋วโดยสารเครื่องบินคิดราคาจากลูกค้าในราคาปกติที่ลูกค้าซื้อจากผู้ประกอบการ ส่วนที่พักคิดเป็นราคาต่อหัว
                   (ข) แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบริการนำเที่ยวออกจากกันตั๋วโดยสารเครื่องบินเหมือน (ก) ที่พักจองในนามลูกค้า และได้รับใบเสร็จรับเงินจากโรงแรมในนามลูกค้า ค่าบริการนำเที่ยวคิดเป็นราคาต่อหัว ไม่รวมตั๋วโดยสารเครื่องบินและที่พัก
                   (ค) ค่านำเที่ยวเป็นรายหัว ไม่แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบริการออกจากกัน

          2. กรณีจัดนำเที่ยว ผู้ประกอบการมีรายได้ ดังนี้

               2.1 แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน และบริการนำเที่ยวออกจากกัน ตั๋วโดยสารเครื่องบินคิดราคาในราคาปกติ ที่ลูกค้าซื้อเอง และบริการนำเที่ยวคิดเป็นราคาต่อหัว ไม่รวมตั๋วโดยสารเครื่องบินผู้ประกอบการจองและซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบินให้แก่ลูกค้า และเรียกเก็บเงินตามราคาตั๋วโดยสารเครื่องบิน

               2.2 แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบริการนำเที่ยวออกจากกันตั๋วโดยสารเครื่องบินเหมือนข้อ 2.1 ที่พักจองในนามลูกค้า และได้รับใบเสร็จรับเงินจากโรงแรมในนามลูกค้าบริการนำเที่ยวคิดเป็นราคาต่อหัว ไม่รวมตั๋วโดยสารเครื่องบินและที่พัก ผู้ประกอบการจองและซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบิน และที่พักให้แก่ลูกค้า และเรียกเก็บเงินตามราคาตั๋วโดยสารเครื่องบิน และราคาที่พัก ใบเสร็จรับเงินออกในนามลูกค้า

               2.3 ค่านำเที่ยวเป็นรายหัว ไม่แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบริการนำเที่ยวออกจากกัน

          3. กรณีประกาศในสื่อโฆษณา หรือในรายการทัวร์ เกี่ยวกับราคาทัวร์หรือเดินทางเป็นการเหมา โดยไม่ได้แยกชัดแจ้งค่าเดินทาง เป็นค่าตั๋วโดยสาร ค่าทัวร์ และค่าบริการเป็นเท่าไรแต่จะแยกในช่วงชำระเงิน เป็น 3 กรณี ดังนี้

               3.1 แยกตั๋วโดยสาร
               3.2 แยกค่าทัวร์ และบริการนำเที่ยว
               3.3 (ก) แยกตั๋วโดยสาร
                      (ข) แยกค่าทัวร์ ได้แก่ โรงแรม รถ ขนส่ง อาหาร ในต่างประทศ และต่างประเทศออกใบเสร็จรับเงินให้โดยตรง
                     (ค) แยกค่าบริการนำเที่ยวบวกกำไร

แนววินิจฉัย

ภาระภาษีสำหรับการประกอบธุรกิจนำเที่ยว ในกรณีผู้ประกอบการคิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมา และมิได้คิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมา แยกพิจารณาได้ ดังนี้

          1. ตามข้อ 1 การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเป็นตัวแทนให้บริการธุรกิจนำเที่ยว กรมสรรพากรได้วางแนวปฏิบัติไว้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 21)ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ประกาศอธิบดี กรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)ฯ ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535

           2. ตามข้อ 2 และข้อ 3 การประกอบกิจการนำเที่ยวเป็นการเหมา และมิได้คิดค่าบริการเป็นการเหมา โดยรับบริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไป ท่องเที่ยวยังต่างประเทศ หรือจัดบริการนำนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ไม่ว่าการบริการจัดนำเที่ยวนั้น จะได้จัดเป็นหมู่คณะหรือเป็นเอกเทศการจัดนำเที่ยวดังกล่าวถือเป็น การให้บริการในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการนำเที่ยวอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร

ในการพิจารณาว่าผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้คิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมาหรือไม่ ให้พิจารณาสัญญาเป็นสาระสำคัญ

กรณีผู้ประกอบการคิดค่าตอบแทนจากการจัดนำเที่ยวแต่ละครั้ง ประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายทั้งส่วนที่แจกแจงรายละเอียดให้ลูกค้าทราบ และส่วนที่คิดค่าบริการเป็นการเหมา

หากผู้ประกอบการมีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ค่าตอบแทนส่วนใดที่ผู้ประกอบการมีการแจกแจงค่าใช้จ่ายให้แก่ลูกค้าทราบ โดยแยกรายละเอียดค่าใช้จ่ายชัดแจ้ง

ซึ่งผู้ประกอบการอาจเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายแต่ละรายการจากลูกค้าล่วงหน้าเป็นจำนวนเฉพาะเท่ากับที่จะต้องจ่ายจริง หรืออาจทดรองจ่ายเงินค่าใช้จ่ายนั้นไปก่อนแล้ว จึงเรียกเก็บคืนจากลูกค้าเป็นจำนวนเท่ากับที่ต้องจ่ายไปจริง เช่น ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินที่เรียกเก็บจากลูกค้าเท่ากับที่ต้องจ่ายจริง โดยให้ผู้ประกอบการขายตั๋วโดยสารเครื่องบินออกหลักฐานใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีเป็นชื่อของลูกค้า และผู้ประกอบการได้ส่งมอบเอกสารดังกล่าวให้แก่ลูกค้า เป็นต้น

ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ซึ่งผู้ประกอบการเรียกเก็บล่วงหน้า หรือเรียกเก็บคืนจากลูกค้าเท่ากับจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง จึงไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด

          สำหรับค่าบริการส่วนอื่นที่มีลักษณะเป็นการเหมา ซึ่งไม่สามารถแจกแจงรายละเอียดให้ลูกค้าทราบได้ว่า เป็นค่าอะไร จำนวนเท่าใด และไม่มีหลักฐานการจ่ายมาแสดงค่าบริการส่วนอื่นดังกล่าวที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บจาก ลูกค้าต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

กค 0811/11473 ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีกิจการท่องเที่ยว - ค่าจองห้องพัก

ข้อหารือ
สมาคมไทยบริการท่องเที่ยวหารือกรมสรรพากรเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการเสีย  ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีกิจการท่องเที่ยว ซึ่งประกอบด้วยการประกอบกิจการ เป็นตัวแทนให้บริการสำรองห้องพักโรงแรม การประกอบกิจการนำเที่ยว และการให้บริการเป็นตัวแทน ขายตั๋วโดยสาร

แนววินิจฉัย
1. การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีเป็นตัวแทนให้บริการสำรอง ห้องพักโรงแรม
1.1 กรณีที่ตัวแทนหรือตัวแทนช่วงให้บริการสำรองห้องพักโรงแรมแก่ผู้ใช้บริการ ทั้งกรณี การสำรองห้องพักโรงแรมในประเทศและต่างประเทศ ถือว่าโรงแรมให้บริการห้องพักแก่ผู้ใช้บริการตาม มาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่โรงแรมให้บริการห้องพักแก่ตัวแทนหรือตัวแทนช่วง ดังนั้น โรงแรมในประเทศมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร

โดยต้อง ออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ใช้บริการตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร

1.2 กรณีโรงแรมกำหนดค่านายหน้าไว้ในราคาห้องพักโดยเสนอเป็นราคาสุทธิ เช่น

ราคาห้องพัก 100 บาท โรงแรมเสนอราคาให้แก่ตัวแทน 95 บาท ซึ่งตัวแทนสามารถบวกค่าบริการส่วน เพิ่มขายให้แก่ตัวแทนช่วงหรือผู้ใช้บริการ

ตัวแทนอาจขายให้แก่ตัวแทนช่วง 97 บาท และ

ตัวแทนช่วงขาย ต่อให้แก่ผู้ใช้บริการในราคา 100 บาท

กรณีดังกล่าว เมื่อโรงแรมเก็บเงินจาก ตัวแทน 95 บาท ถือว่า
โรงแรมได้จ่ายค่าบำเหน็จตัวแทนให้แก่ตัวแทน โดยคำนวณจากผลต่างระหว่างราคาห้องพักที่ตัวแทนรับ จากผู้ใช้บริการและราคาห้องพักที่จ่ายให้แก่โรงแรมจำนวน 5 บาท

ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร หากตัวแทนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการใน ประเทศไทย

โรงแรมในประเทศมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ทั้งนี้ ตามข้อ 3/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40
แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 ฯ ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544

แต่หาก โรงแรมในต่างประเทศจ่ายค่าบำเหน็จตัวแทนโรงแรมในต่างประเทศไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด และตัวแทนมีหน้าที่ต้องเสียภาษี มูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ของค่าบำเหน็จ ตัวแทนจำนวน 5 บาท ตามมาตรา 77/2(1) และมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร

1.3 กรณีที่โรงแรมกำหนดค่านายหน้าแก่ตัวแทนเป็นอัตราร้อยละ (คงที่) ของราคา ห้องพัก เช่น ราคาห้องพัก 100 บาท ค่านายหน้าร้อยละ 5 และให้ตัวแทนจ่ายเป็นเงินยอดสุทธิให้แก่
โรงแรม หรือในกรณีโรงแรมกำหนดค่านายหน้าให้แก่ตัวแทนต่างหากจากราคาห้องพัก

เมื่อผู้ใช้บริการ จ่ายค่าห้องพักให้แก่โรงแรมโดยตรง โรงแรมจะจ่ายค่านายหน้าให้แก่ตัวแทนเมื่อผู้ใช้บริการห้องพัก เสร็จสิ้นแล้ว

กรณีดังกล่าวถือว่าโรงแรมให้บริการห้องพักแก่ผู้ใช้บริการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและ ออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ใช้บริการเช่นเดียวกับ 1.1

และถือว่าโรงแรมจ่ายค่าบำเหน็จตัวแทนให้แก่ ตัวแทน โรงแรมในประเทศมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เช่นเดียวกับ 1.2 และตัวแทนมีหน้าที่ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับ 1.2

1.4 กรณีตัวแทนหรือตัวแทนช่วงเรียกเก็บเงินค่าห้องพักจากผู้ใช้บริการ เช่น ค่าห้องพัก 100 บาท ผู้ใช้บริการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็น ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่
ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากค่าห้องพัก เนื่องจากเป็นการจ่ายค่าบริการของโรงแรม ทั้งนี้ ตามข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544 ฯ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544

1.5 กรณีตัวแทนช่วงเรียกเก็บเงินค่าห้องพักจากผู้ใช้บริการตามตัวอย่าง 100 บาท และ จ่ายให้แก่ตัวแทน 97 บาท

กรณีดังกล่าว ถือว่าตัวแทนได้จ่ายค่าบำเหน็จตัวแทนให้แก่ ตัวแทนช่วง

โดย คำนวณจากผลต่างระหว่างราคาห้องพักที่ตัวแทนช่วงรับจากผู้ใช้บริการและราคาห้องพักที่จ่ายให้แก่ตัวแทน จำนวน 3 บาท (100 – 97) ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)แห่งประมวลรัษฎากร

หาก ตัวแทนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น และ ตัวแทนช่วงเป็น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ตัวแทนมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 3/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 ฯ ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544 และ

ตัวแทนช่วงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ของค่าบำเหน็จตัวแทน ช่วงจำนวน 3 บาท ตามมาตรา 77/2(1) และมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร

กค 0811/11473 การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและการหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการประกอบกิจการ นำเที่ยว

ข้อหารือ

สมาคมไทยบริการท่องเที่ยวหารือกรมสรรพากรเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการเสีย  ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีกิจการท่องเที่ยว ซึ่งประกอบด้วยการประกอบกิจการ เป็นตัวแทนให้บริการสำรองห้องพักโรงแรม การประกอบกิจการนำเที่ยว และการให้บริการเป็นตัวแทน ขายตั๋วโดยสาร

แนววินิจฉัย

2. การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและการหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการประกอบกิจการ นำเที่ยว

2.1 การประกอบกิจการนำเที่ยวโดยรับบริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไป ท่องเที่ยวยัง ต่างประเทศ (out – bound) หรือจัดบริการนำนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาท่องเที่ยวใน ประเทศไทย (in – bound) ไม่ว่าการบริการจัดนำเที่ยวนั้นจะได้จัดเป็นหมู่คณะหรือเป็นเอกเทศ

การรับจัดนำเที่ยวดังกล่าวถือเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม มาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร

2.2 ในกรณีคิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมา (package tour) ซึ่งค่าบริการ นำเที่ยวที่คิดเป็นการเหมานั้น สำหรับกรณี out – bound ประกอบด้วย

ค่าบริการในการทำ หนังสือเดินทางและจัดทำวีซ่า ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน ค่าบริการนำเที่ยว รวมทั้งค่าโรงแรม ค่าอาหาร และค่าขนส่ง ณ ต่างประเทศ

และกรณี in – bound ประกอบด้วยค่าบริการท่องเที่ยวรวมทั้งค่าขนส่ง ค่าอาหาร ค่าบัตรผ่านประตู ค่ามัคคุเทศก์ ค่าโรงแรมและค่าอาหารที่โรงแรม ค่าตั๋วโดยสาร เครื่องบิน ภายในประเทศ เป็นต้น

ผู้ประกอบการจะต้องนำค่าบริการนำเที่ยวที่คิดเป็นการเหมาซึ่งประกอบด้วย

ค่าบริการใด ๆ ที่คิดเอาจากนักท่องเที่ยวทั้งหมดมาเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม มาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และ

การให้บริการจัดนำเที่ยวดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการ รับจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากผู้จ่ายเงินเป็น

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา ร้อยละ 3.0 ของค่าบริการนำเที่ยวที่คิดเป็นการเหมา ซึ่งประกอบด้วยค่าบริการใด ๆ ที่คิดจาก นักท่องเที่ยวทั้งหมด ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึง ประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

สำหรับการพิจารณาว่าผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้คิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมา (package tour) หรือไม่ ให้พิจารณาจากสัญญาการให้บริการนำเที่ยว

2.3 กรณีค่าบริการนำเที่ยวมิได้คิดเป็นการเหมา แต่ได้มีการตกลงกับนัก ท่องเที่ยวโดย ขอคิดสินจ้างเฉพาะค่านำเที่ยวและค่าบริการเท่านั้น ส่วนค่าใช้จ่ายที่นักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้น
นอกเหนือจากสินจ้างดังกล่าว เช่น ค่าโรงแรม ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน ค่าอาหารในโรงแรม ซึ่ง ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวจ่ายทดรองให้นักท่องเที่ยวแต่ละคนไปก่อน โดยจ่ายไปจริงเท่าใดก็จะ เรียกเก็บคืนจากนักท่องเที่ยวเท่านั้น (cost plus) และถ้ามีส่วนลดใด ๆ จากผู้รับ ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ก็จะคืนส่วนลดนั้นให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งหมดโดยตนเองจะไม่รับเก็บไว้เป็นรายได้ของตน และ ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้มีหลักฐานพิสูจน์ได้อย่างชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัยว่าได้มีการปฏิบัติเช่นนั้น จริง ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวมีสิทธินำเฉพาะสินจ้างที่เป็นค่านำเที่ยวและค่าบริการมารวมคำนวณ เป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับค่าใช้จ่ายอื่นที่ นักท่องเที่ยวต้องจ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากสินจ้าง ซึ่ง ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้เรียกเก็บจาก นักท่องเที่ยวตามจำนวนที่ทดรองจ่ายไปจริง ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และการให้บริการรับจัดนำเที่ยว ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของตามมาตรา
587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หากผู้จ่ายเงินเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือ นิติบุคคลอื่น ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าสินจ้างที่เป็นค่า นำเที่ยวและค่าบริการที่ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวเรียกเก็บ ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่
ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

กค 0811/11473 การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการให้บริการเป็นตัวแทนขาย ตั๋วโดยสาร

ข้อหารือ

สมาคมไทยบริการท่องเที่ยวหารือกรมสรรพากรเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการเสีย  ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีกิจการท่องเที่ยว ซึ่งประกอบด้วยการประกอบกิจการ เป็นตัวแทนให้บริการสำรองห้องพักโรงแรม การประกอบกิจการนำเที่ยว และการให้บริการเป็นตัวแทน ขายตั๋วโดยสาร

แนววินิจฉัย

3.การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการให้บริการเป็นตัวแทนขาย ตั๋วโดยสาร

3.1 ในกรณีสายการบินขายตั๋วโดยสารให้กับคนโดยสารหรือผู้รับบริการโดยผ่านตัวแทนที่ ได้รับแต่งตั้ง คือ

ตัวแทนจำหน่ายตั๋วโดยสาร หรือเรียกว่า BSP AGENT (BILL SETTLEMENT PLAN) ผลต่างระหว่างราคาขายตั๋วโดยสารที่ BSP AGENT ขายได้ และราคาขายตั๋วโดยสารที่สายการบิน เรียกเก็บจาก BSP AGENT ถือเป็นค่านายหน้าที่สายการบินจ่ายให้แก่ BSP AGENT สายการบินจึงมี หน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 3/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 101/2544 ฯ ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544 และ

BSP AGENT มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับค่านายหน้าดังกล่าวในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 77/2(1) และมาตรา 80 แห่ง ประมวลรัษฎากร และต้องออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่สายการบิน

3.2 ในกรณีสายการบินขายตั๋วโดยสารให้กับคนโดยสารหรือผู้รับบริการโดยผ่าน BSP AGENT และ BSP AGENT ขายตั๋วโดยสารผ่านตัวแทนช่วง โดยตัวแทนช่วงเป็นผู้ให้บริการแก่คนโดยสาร โดยมิได้ให้บริการแก่ BSP AGENT ตัวแทนช่วงมีหน้าที่ต้องเสียภาษี มูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของค่าบริการที่ ได้รับจากการให้บริการซื้อตั๋วโดยสารให้แก่คนโดยสารตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

โดยคำนวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากคนโดยสารและ ตัวแทนช่วงมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับค่าบริการให้แก่คนโดยสาร โดยจะต้องระบุให้ชัดแจ้งว่าเป็น ค่าบริการสำหรับการซื้อตั๋วโดยสารเลขที่ใด ของสายการบินใด และกรณีคนโดยสารหรือผู้รับบริการจ่าย ค่าบริการที่เป็นค่าบำเหน็จตัวแทนให้แก่ ตัวแทนช่วง

หากผู้รับบริการเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นและตัวแทนช่วงเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงิน มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 3/1 ของ คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 ฯ ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544

3.3 กรณี BSP AGENT จำหน่ายตั๋วโดยสารเครื่องบินทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว ต่อมาผู้โดยสารยกเลิกการเดินทาง ผู้โดยสารจะนำตั๋วโดยสารมาให้แก่ BSP AGENT เพื่อยกเลิกการเดินทางกับสายการบิน ซึ่งสายการบินจะคิดค่าปรับจากการยกเลิกการเดินทางโดยมีการดำเนินงาน ดังนี้

(1) กรณีตั๋วโดยสารภายในประเทศ สายการบินจะคิดค่าปรับ 200 บาท ซึ่งจะ ระบุไว้ในตั๋วโดยสาร เมื่อผู้โดยสารนำตั๋วมาคืนกับ BSP AGENT BSP AGENT จะส่งตั๋วโดยสารให้ ฃสายการบินตรวจสอบ แล้วจึงคืนเงินหลังจากหักค่าปรับให้แก่ BSP AGENT ซึ่ง BSP AGENT ก็จะส่งคืน
ให้แก่ผู้โดยสารต่อไป เงินค่าปรับดังกล่าวถือเป็นค่าเสียหายที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม มาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่อยู่ในบังคับต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

(2) กรณีตั๋วโดยสารต่างประเทศ สายการบินจะคิดค่าปรับ 800 บาท ซึ่งจะระบุ ไว้ในตั๋วโดยสาร ในทางปฏิบัติผู้โดยสารนำตั๋วมาคืนกับ BSP AGENT มูลค่า 10,000 บาท BSP AGENT จะส่งตั๋วโดยสารให้สายการบินตรวจสอบแล้วจึงหักค่าปรับไว้จำนวน 400 บาท และให้ตัวแทน 400 บาท
ซึ่งหากตัวแทนขายตั๋วโดยสารให้แก่ตัวแทนช่วง ตัวแทนก็จะแบ่งเงิน ค่าปรับนั้นให้แก่ตัวแทนช่วง 200 บาท .

กรณีดังกล่าว เฉพาะในส่วนที่สายการบินหักไว้เป็นค่าปรับ 400 บาท ถือเป็นค่าเสียหายที่ไม่อยู่ใน บังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่อยู่ในบังคับต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่ในส่วนที่สายการบินแบ่งให้แก่ตัวแทน 400 บาท ถือเป็นการจ่ายค่าบำเหน็จ ตัวแทน สายการบินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 3/1 ของ คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 ฯ ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544

และหากตัวแทนแบ่งเงิน ค่าปรับให้ตัวแทนช่วง 200 บาท ถือว่าตัวแทนจ่ายค่าบำเหน็จตัวแทนให้แก่ตัวแทนช่วง ตัวแทนมีหน้าที่ต้อง หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เช่นเดียวกัน

บริการรถรับส่งลูกค้า

Inbox: จันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เวลา 16:13 น.
คุณ Supapong Intakhunjinda
เรียนถาม อ. สุเทพ

บริษัทฯ ประกอบกิจการจัดแสดงโชว์คาบาเรต์ และมีบริการรถรับส่งลูกค้าจาก โรงแรมมาดูโชว์และรับกลับโรงแรม ที่ผ่านมาบริษัทฯ ออกใบเสร็จ/ใบกำกับภาษีรวมค่าตั๋วแสดงโชว์ และค่าโดยสารเป็นใบเดียวกัน และยื่น VAT ขายทั้งใบ

เรียนถามว่า
1. บริการรถรับส่งลูกค้าจาก โรงแรมมาดูโชว์และรับกลับโรงแรม รายได้ส่วนนี้ถือเป็นรายได้ค่าขนส่งที่ได้รับยกเว้น VAT ใช่หรือไม่ครับ

2. จากข้อ 1 หากถือเป็นรายได้ค่าขนส่ง ต่อไปบริษัท ออกแยกเป็น 2 เอกสาร คือ ใบที่ 1 ค่าตั๋วการแสดง ออกเป็นใบกำกับภาษี มี VAT และใบที่ 2 ค่าโดยสาร ออกเป็นใบเสร็จใบรับเงิน (ไม่มี VAT) ได้หรือไม่ครับ

ข้อมูลเพิ่มเติม ลูกค้าไม่ได้ใช้บริการรับส่งทุกราย รายได้ค่าบริการรถโดยสารคิดเป็น 10% ของรายได้รวมครับ
ขอบคุณครับ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:

กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการจัดแสดงโชว์คาบาเรต์ และมีบริการรถรับส่งลูกค้าจาก โรงแรมมาดูโชว์ และรับกลับโรงแรม ที่ผ่านมาบริษัทฯ ออกใบเสร็จ/ใบกำกับภาษีรวมค่าตั๋วแสดงโชว์ และค่าโดยสารเป็นใบเดียวกัน และยื่น VAT ขายทั้งใบ ทั้งนี้ ลูกค้าไม่ได้ใช้บริการรับส่งทุกราย รายได้ค่าบริการรถโดยสารคิดเป็น 10% ของรายได้รวม นั้น

1. หากบริษัทฯ มิได้ประกอบกิจการรับจ้างขนส่งเป็นปกติธุระ รายได้ค่าบริการรถรับส่งลูกค้าจาก โรงแรมมาดูโชว์และรับกลับโรงแรม ไมว่าบริษัทฯ จะมีรถรับส่งลูกค้าเองหรือไม่ก็ตาม ถือเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ค่าแสดงโชว์คาบาเรต์ ที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมุลค่าเพิ่ม ตามที่บริษัทฯ ได้ถือปฏิบัติมาโดยตลอดนั้น ถูกต้องแล้ว

2. แต่ถ้าในโอกาสข้างหน้า บริษัทฯ ประกอบกิจการรับจ้างขนส่งเป็นปกติธุระ เช่น มีการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่ง ต่อกรมการขนส่งทางบก รายได้ค่าขนส่งในกรณีนี้ เป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (1)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ สามารถแยกรายการค่าขนส่ง ต่างหากจากค่าตั๋วการแสดง ที่ออกเป็นใบกำกับภาษี มี VAT โดยในส่วนของ ค่าโดยสาร ออกเป็นใบเสร็จใบรับเงิน เป็นรายได้ที่ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant

รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียน ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า  รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express  ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click

อัตรค่าบริการรับทำบัญชี
สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 18,128

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า