Skip to content

ใบกำกับภาษีซื้อใช้ได้ภายใน 6 เดือน ถัดไป

ใบกำกับภาษีซื้อใช้ได้ภายใน 6 เดือน ถัดไป หมายความว่า?

ใบกำกับภาษีซื้อใช้ได้ภายใน 6 เดือน ถัดไป โดยไม่ต้องแสดงหลักฐานพิสูจน์ต่อเจ้าพนักงานสรรพากรว่าไดรับใบกำกับภาษีในเดือนใด  6 เดือนมาจากไหน???

ทำไม ภาษีซื้อ ถึงขอคืน / เครดิตภาษี ได้ 6 เดือน > 6 เดือนมาจากไหน

เมื่อไม่กี่วันก่อน  ทางสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ให้กิจการ ลูกค้าถามว่า ทำไมภาษีซื้อถึงเคลมได้ถึง 6 เดือน นี่คือที่มาที่ไป

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 4)

เรื่อง    กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีภาษีซื้อที่มิได้นำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษี เพราะมีเหตุจำเป็นให้มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้นตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

              ข้อ 1  ภาษีซื้อที่มิได้นำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีเพราะเหตุดังต่อไปนี้

                           (1) เหตุจำเป็นซึ่งเกิดขึ้นตามประเพณีทางการค้า

                           (2) เหตุสุดวิสัย

                           (3) ได้รับใบกำกับภาษีในเดือนภาษีอื่นที่มิใช่เดือนภาษีที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษี

               

                “ข้อ 2  ภาษีซื้อที่มิได้นำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีเพราะมีเหตุจำเป็นตามข้อ 1 ให้มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้นได้ แต่ต้องไม่เกินหกเดือนนับแต่เดือนถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษี

                           การปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุข้อความว่า “ถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษี…” ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วย วิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 76) ใช้บังคับ 1 พฤษภาคม 2541 เป็นต้นไป)

 

                  ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2535 เป็นต้นไป

 

ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534

 

 

ใบกำกับภาษีซื้อใช้ได้ภายใน 6 เดือน  ถัดไป โดยไม่ต้องแสดงหลักฐานพิสูจน์ต่อเจ้าพนักงานสรรพากรว่าไดรับใบกำกับภาษีในเดือนใด   นอกจากนี้ยังมีเรื่องของเบี้ยปรับเงินเพิ่มประเภทภาษีต่างๆ ในการนำส่งเกินหนดเวลา

ที่ กค 0811/พ.05254 
กรมสรรพากร   อาคารธนาคารทหารไทย จำกัด  34 ถนนพญาไท เขตราชเทวี  กท 10400
1 พฤษภาคม 2541

เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 76) ฯ ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2541

เรียน ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภาษี สรรพากรพื้นที่ (ทุกพื้นที่)

             ตามที่กรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 76) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีภาษีซื้อที่มิได้นำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษี เพราะมีเหตุจำเป็นให้มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้นตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2541 นั้น

             เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน และแนะนำให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง กรมสรรพากรจึงขอซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าว ดังต่อไปนี้ 

ใบกำกับภาษีซื้อใช้ได้ภายใน 6 เดือน
ใบกำกับภาษีซื้อใช้ได้ภายใน 6 เดือน

ใบกำกับภาษีซื้อใช้ได้ภายใน 6 เดือน (ไม่ได้ใช้ตรงเดือนตามใบกำกับภาษี)

        1. ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้นำภาษีซื้อไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีเพราะมีเหตุจำเป็น ได้แก่

       เหตุจำเป็นซึ่งเกิดขึ้นตามประเพณีทางการค้า เหตุสุดวิสัย หรือได้รับใบกำกับภาษีในเดือนภาษีอื่นที่มิใช่เดือนภาษีที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษี

       ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้นได้ แต่ต้องไม่เกินหกเดือนนับแต่เดือนถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษี

ตัวอย่างเช่น ใบกำกับภาษีลงวันที่เดือนตุลาคม 2563 ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษี พฤศจิกายน 2563 ถึงเดือน เมษายน 2564 เดือนภาษีหนึ่งเดือนภาษีใด ซึ่งเป็นเดือนที่ได้รับใบกำกับภาษีนั้นก็ได้ 

                  เดือนที่     0    ใบกำกับภาษี 10/2563
                  เดือนที่     1     ใบกำกับภาษี  11/2563                         
                  เดือนที่     6    ใบกำกับภาษี 04/2564    ยื่นภพ 30 ผ่านระบบ internet ภายใน 23/5/2564

 

         2. การนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีอื่นตาม 1. ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุข้อความว่า “ถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษี…” ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว

          โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้ 

คำแนะนำ ลูกค้าสำนักงานบัญชีของเรา ทำตรายางข้อความ  “ถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษี…” ประทับตราหลังใบกำกับภาษีซื้อที่ยื่นไม่ตรงเดือนทุกฉบับ

 

         3. ในกรณีที่ใบกำกับภาษีที่ได้รับมิได้นำไปหักในการคำนวณภาษีภายในกำหนดระยะเวลาหกเดือนนับแต่เดือนถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษีตาม 1.
             ผู้ประกอบการจดทะเบียนยังคงมีสิทธิยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมสำหรับเดือนภาษีที่ออกใบกำกับภาษีได้ ตามมาตรา 83/4 แห่งประมวลรัษฎากร 

       — กลับไปยื่นเพิ่มเติมเดือนที่ตามใบกำกับภาษี และขอคืนภาษีเป็นเงินสด แนะนำให้กิจการพิจารณาตามยอดเงิน และ ความถูกต้องของเอกสาร

        ถ้าไม่ต้องการขอคืน ให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม บวกกลับ
        ในกรณีที่ต้องการขอคืนให้เตรียมเอกสารให้พร้อมประกอบการตรวจสอบตั้งแต่เดือนที่เริ่มมีการพันยอดภาษีซื้อ และในกรณีที่ไม่เคยได้รับการตรวจสอบจากกรมเลย ให้เตรียมพร้อมในการเข้าตรวจภาษีอื่นด้วยค่ะ —

 

       4. ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้นำภาษีซื้อไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีเพราะเหตุจำเป็นตาม 1. และได้นำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีภายในกำหนดระยะเวลาไม่เกินหกเดือนนับแต่เดือนถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษีนั้น

           ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องแสดงหลักฐานพิสูจน์ต่อเจ้าพนักงานสรรพากรว่าไดรับใบกำกับภาษีในเดือนใด 

         ข้อนี้เพื่อลดงานของเจ้าหน้าที่ และ มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กิจการเมื่อเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ

การลงรายการในรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ 

ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือให้บริการมีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและส่งมอบใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น และมีหน้าที่ลงรายการในรายงานภาษีขายภายในสามวันทำการ นับแต่วันที่จำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าหรือบริการนั้น

เช่น ผู้ขายสินค้าออกใบกำกับภาษีในวันที่ 28 มีนาคม 2563 แต่ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อในวันที่ 1 เมษายน 2563

ผู้ขายมีหน้าที่ลงรายการในรายงานภาษีขายภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 แต่วันที่ 29 มีนาคม 2563 เป็นวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดทำการของผู้ขาย วันครบสามวันทำการ คือ วันที่ 1 เมษายน 2563

ส่วนการลงรายการในรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ให้ลงตามที่ส่งมอบสินค้าจริง ภายในวันที่ 4 เมษายน 2563

กรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการมีหน้าที่ลงรายการในรายงานภาษีซื้อภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการนั้น

ถ้าผู้ขายออกใบกำกับภาษีในวันที่ 28 มีนาคม 2563 แต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ซื้อสินค้าได้รับใบกำกับภาษีในวันที่ 2 เมษายน 2563 ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ลงรายการในรายงานภาษีซื้อภายในวันที่ 5 เมษายน 2563

ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวอาจนำใบกำกับภาษีลงวันที่ 28 มีนาคม 2563 ไปลงรายการในรายงานภาษีซื้อของเดือนเมษายน 2563 หรืออาจจัดทำรายงานภาษีซื้อสำหรับใบกำกับภาษีที่ได้รับในเดือนภาษีอื่นที่มิใช่เดือนภาษีที่ระบุในใบกำกับภาษีแยกต่างหากขึ้นอีกฉบับหนึ่งก็ได้

ส่วนการลงรายการในรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ให้ลงตามที่ได้รับสินค้าจริงภายในวันที่ 4 เมษายน 2563

กรมศุลกากร : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเหตุจำเป็นที่ไม่นำใบกำกับภาษีไปหักในเดือนภาษี (กิจการนำเข้า ส่งออก)

กค 0811/พ.02619

ข้อหารือ

: บริษัท ก จำกัด ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 ประจำเดือน เมษายน 2538 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2538 โดยนำใบกำกับภาษีซื้อของเดือนก่อนมารวมยื่นด้วย กล่าวคือ

บริษัทฯ ได้แสดงยอดภาษีขายใน เดือนเมษายน 2538 จำนวน 10,768,796.50 บาท
แสดงยอดภาษีซื้อในเดือนเมษายน 2538 จำนวน 9,019,670.31 บาท

แต่ยอดภาษีซื้อจำนวน 9,019,670.31 บาท นั้น มีใบกำกับภาษีที่เป็น     ใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร ซึ่งระบุวันที่ในเดือนมีนาคม 2538 รวมอยู่ด้วยเป็นเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 2,276,822 บาท

ทั้งนี้ เนื่องจากภาษีซื้อจำนวน 2,276,822 บาท นั้น เป็นภาษีซื้ออันเกิดจาก การนำสินค้าบุหรี่จากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศ ซึ่งเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการ ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทฯ

 

ประกอบกับบริษัทชิปปิ้งซึ่งเป็นผู้ออกของให้แก่บริษัทฯ ได้ส่งมอบใบเสร็จรับเงินดังกล่าวพร้อมหลักฐานการนำเข้าให้แก่บริษัทฯ ในเดือนเมษายน 2538 อันเป็น ประเพณีทางการค้าของบริษัทชิปปิ้งที่จะรวบรวมส่งเอกสารให้ลูกค้าเป็นช่วง ๆ

 

ฉะนั้น บริษัทฯ จึงได้เก็บใบเสร็จรับเงินดังกล่าวรวบรวม และลงรายงานภาษีซื้อพร้อมกับใบกำกับภาษีอื่นที่บริษัทฯ ได้รับในเดือน เมษายน 2538 และยื่นแบบ ภ.พ.30 แสดงยอดซื้อและภาษีซื้อตามรายงานภาษีซื้อ ขอทราบว่า บริษัทฯปฏิบัติถูกต้องหรือไม่

แนววินิจฉัย

 

     บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบเสร็จรับเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมศุลกากร ซึ่งเกิดจากการนำเข้าสินค้าดังกล่าวไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีที่ได้รับใบกำกับภาษีที่มิใช่เดือนภาษีที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษีได้ ทั้งนี้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 4)ฯ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534

สำหรับใบเสร็จที่ระบุ มูลค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ได้รับจากกรมศุลกากร สามารถใช้เคลมภาษีขายในเดือนอื่นที่ไม่ใช่เดือนที่ระบุในใบเสร็จได้


รับสอนทำบัญชี ด้วยโปรแกรม Express เบื้องต้น

อัตราค่าบริการ รับสอนทำบัญชี ด้วยโปรแกรม Express เบื้องต้น ตัวต่อตัว ค่าเรียน 4,000 - 4,500 บาท เวลา 6 ชั่วโมง และแนะนำเรื่องการใช้งาน โปรแกรม Express ต่อเนื่อง

จองวันเวลาเรียนติดต่อ TEL  091-830-3543​ / Line  :@beeaccountant

ติดต่อ BEE-acc

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

รับทำบัญชี ภาษีซื้อ 6 เดือน ภาษีซื้อเกิน 6 เดือน บันทึกบัญชี ถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษี ภาษีขายย้อนหลังได้กี่เดือน ใบ กํา กับ ภาษี เกิน 6 เดือน ทำ อย่างไร เครดิตภาษีซื้อ ได้กี่เดือน ภาษีซื้อเกิน 6 เดือน ขอคืนได้หรือไม่ ตัวอย่างตรายาง ถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษี ขอคืนภาษีซื้อ รับทำบัญชี ยื่นภาษี รับทำบัญชีอิสระ รับทำบัญชี pantip รับทำบัญชี กรุงเทพ รับ ทำ บัญชี ที่ บ้าน รับทําบัญชีราคาถูก 500 รับทำบัญชี ราคา รับทำบัญชี นนทบุรี ค่า จ้าง ทำ บัญชี pantip

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่นกรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 45,340

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า