Skip to content

ใบกำกับภาษีของกิจการเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน

รับทำบัญชี

รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขาย

ใบกำกับภาษีของกิจการเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน​

ธุรกิจท่องเที่ยวมีกี่รูปแบบ ในปัจจุบันมีประมาณ 4 ลักษณะกิจการดังนี้

  1. ธุรกิจการนำเที่ยว (Tour operator) หมายถึง ธุรกิจที่ทำหน้าที่จัดการนำเที่ยว การออกแบบโปรแกรมท่องเที่ยว จัดหามัคคุเทศก์ จัดหาที่พัก จัดการเดินทางด้วยวิธีการต่าง ๆเช่น เรือ รถไฟ บอลลูน เครื่องบิน รถยนต์ รถบ้าน จักรยานยนต์ มอเตอร์ไซค์
  2. ธุรกิจตัวแทนท่องเที่ยว (Travel Agency) หมายถึง ธุรกิจที่มีหน้าที่จัดจำหน่าย หรือเป็นตัวแทนจำหน่ายบริการด้านการท่องเที่ยว แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้จัดการการท่องเที่ยวเอง ทั้งนี้ ธุรกิจจัดการการนำเที่ยว (Tour operator) ส่วนใหญ่ ก็มีสถานะเป็นธุรกิจตัวแทนท่องเที่ยว (Travel Agency) ด้วย
  3. ธุรกิจขายส่งบริการท่องเที่ยว (Travel wholeseller) หมายถึง ธุรกิจที่เป็นผู้รวบรวมสินค้าและบริการการท่องเที่ยวจากหลายๆ ผู้ประกอบการ โดยลูกค้าส่วนใหญ่ของ Travel Wholeseller จะเป็น Travel Agency มากกว่านักท่องเที่ยวโดยตรง
  4. ธุรกิจบริหารจัดการจุดหมายปลายทาง (Destination management services : DMC) หมายถึงธุรกิจท่องเที่ยวที่มีบริการหลากหลายในจุดหมายปลายทางหนึ่งๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมทัวร์ ที่พัก สปา การเดินทาง ร้านอาหาร โดยมีลูกค้าเป็นธุรกิจนำเที่ยวเป็นหลัก

การสำรองตั๋วเครื่องบิน ซึ่งมีเทคนิคต่างๆ ที่ค่อนข้างละเอียดซับซ้อน แต่โดยเบื้องต้น สิ่งที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวต้องเข้าใจคือ การสำรองตั๋วเครื่องบิน ส่วนใหญ่ต้องทำผ่านระบบ Global Distribution Systems (GDS) ซึ่งมีเจ้าใหญ่ๆ ที่ใช้กันอยู่ในตลาดเช่น Amadues, Abacus, Galileo ซึ่งผู้ประกอบการท่องเที่ยวสามารถติดต่อบริษัทเหล่านี้เพื่อขอลงระบบ รวมถึงเข้ารับการฝึกอบรมการใช้ระบบดังกล่าวได้

เมื่อได้ทำการสำรองตั๋วเครื่องบินแล้ว ก็จะมาถึงขั้นการออกตั๋วเครื่องบิน ซึ่งผู้ประกอบการท่องเที่ยวจะต้องออกตั๋วโดยอาศัยผู้แทนจำหน่ายตั๋วที่สามารถออกตั๋วโดยสารได้ หรือ BSP Agent (Billing and Settlement Plan Agent) ซึ่งการจะเป็น BSP Agent ได้ จำเป็นต้องมีการวางเงินค้ำประกันจำนวนมาก และดำเนินธุรกิจจนมีความน่าเชื่อถือ

ส่วนธุรกิจท่องเที่ยว ที่ไม่สามารถออกตั๋วได้เอง จะเรียกว่า Non-BSP Agent ทั้งนี้ BSP Agent ยังจะเป็นผู้ออกใบราคา (Fare Sheet) ที่จะระบุราคาของตั๋วโดยสารเครื่องบินด้วย

หลายสายการบิน อาจจะมีการอนุญาตให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยว สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับสายการบินโดยตรงได้ โดยเฉพาะสายการบิน Low Cost Airlines

ที่มา https://www.tripspace.co/how-to-start-your-travel-business/

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant

รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียบ เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า  รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express  ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click

อัตรค่าบริการรับทำบัญชี 2564 2565
ใบกำกับภาษีของกิจการเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน
ใบกำกับภาษีของกิจการเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน

ใบกำกับภาษีของกิจการเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน

คำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ป. 53/2537

เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยานและสำหรับ กิจการให้บริการเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสาร

เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติเดียวกันในการตรวจและแนะนำสำหรับกรณีการเสียภาษี เงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ในการขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสาร ระหว่างประเทศโดยอากาศยาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการเป็นตัวแทนของ บริษัทสายการบิน และโดยที่ตัวแทนนั้นเป็นตัวแทนของบริษัทสายการบินไม่ใช่ตัวแทนของผู้ใช้ บริการโดยสาร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่สรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจ และแนะนำดังต่อไปนี้  แยกเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้

 

1. การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้ง ขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ

ข้อ 1 ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้ง ขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่าง ประเทศโดยอากาศยานบริษัทสายการบินต่างประเทศจะต้องนำค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร

รายได้ตามแบบ ภงด 50 : รายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง

— รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนคนโดยสารซึ่งเรียกเก็บจากคนโดยสาร —

ทั้งในกรณีที่บริษัทสายการบินต่างประเทศขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยตรงและ ในกรณีที่บริษัทสายการบินต่างประเทศขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยผ่านตัวแทน

— โดยไม่คำนึงว่า รายได้ดังกล่าวจะมากกว่าหรือน้อยกว่าราคาค่าโดยสารที่ระบุในตั๋วโดยสาร —

 

2. การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้ง ขึ้นตามกฎหมายไทย

ข้อ 2 ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้ง ขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดย อากาศยาน

รายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง

— รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนคนโดยสารซึ่งเรียกเก็บจากคนโดยสาร ทั้งในกรณีที่บริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยตรงและในกรณีที่ บริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยผ่านตัวแทน โดยไม่คำนึงว่ารายได้ดังกล่าวจะมากกว่าหรือน้อยกว่าราคาค่าโดยสารที่ระบุใน ตั๋วโดยสาร

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ข้อ 3 ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทยและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่าง ประเทศ ซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยาน บริษัทสายการบินจะต้องนำ

— มูลค่าของค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร

มูลค่าของค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสาร ตามวรรคหนึ่ง หมายถึง

รายได้ที่ได้รับจากการรับขนคนโดยสารซึ่งเรียกเก็บจากคนโดยสาร ทั้งในกรณีที่บริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยตรงและในกรณีที่ บริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยผ่านตัวแทน โดยไม่คำนึงว่ารายได้ดังกล่าวจะมากกว่าหรือน้อยกว่าราคาค่าโดยสารที่ระบุใน ตั๋วโดยสาร

ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศ โดยอากาศยาน

มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากรให้คนโดยสาร ( ใบกำกับภาษีของกิจการเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน )

ทั้งในกรณีที่ได้
1.  ขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยตรงและ
2.  ขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยผ่านตัวแทน

4. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ข้อ 4 ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการให้บริการขายตั๋วโดยสารโดยเป็นตัวแทนบริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดย อากาศยาน

(1) ในกรณีที่เป็นตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง รายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสารให้ บริษัทสายการบิน โดยให้คำนวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากบริษัทสายการบิน

(2) ในกรณีที่เป็นตัวแทนช่วง –  ใบกำกับภาษีของกิจการเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน

(ก) กรณีตัวแทนช่วงเป็นผู้ให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากรแก่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง รายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรหมายถึง รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการแก่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง โดยให้คำนวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง จากบริษัทสายการบิน

(ข) กรณีตัวแทนช่วงเป็นผู้ให้บริการตามมาตรา 77/1(10)แห่งประมวลรัษฎากร แก่คนโดยสารซึ่งใช้บริการโดยสาร โดยมิได้ให้บริการแก่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง รายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการแก่คนโดยสารซึ่งใช้บริการ โดยสาร โดยให้คำนวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากคนโดยสาร

5. การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของ ผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งประกอบกิจการให้บริการขายตั๋วโดยสาร

ข้อ 5 ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของ ผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งประกอบกิจการให้บริการขายตั๋วโดยสารโดยเป็นตัวแทนบริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดย อากาศยาน

(1) ในกรณีที่เป็นตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง ค่าบริการที่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากรหมายถึง มูลค่าของค่าบริการที่ได้รับจากการให้บริการเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสารให้ บริษัทสายการบิน โดยให้คำนวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากบริษัทสายการบิน และตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีตามมาตรา86/4 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับค่าบริการดังกล่าวให้บริษัทสายการบิน

(2) ในกรณีที่เป็นตัวแทนช่วง

(ก) กรณีตัวแทนช่วงเป็นผู้ให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากรแก่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง ค่าบริการที่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง มูลค่าของค่าบริการที่ได้รับจากการให้บริการเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสารให้ตัว แทนที่ได้รับแต่งตั้ง โดยให้คำนวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง จากบริษัทสายการบิน และตัวแทนช่วงมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับค่าบริการดังกล่าวให้ตัวแทน

(ข) กรณีตัวแทนช่วงเป็นผู้ให้บริการตามมาตรา 77/1(10)แห่งประมวลรัษฎากร แก่คนโดยสารซึ่งใช้บริการโดยสาร โดยมิได้ให้บริการแก่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งค่าบริการที่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79แห่งประมวลรัษฎากร

(1)หมายถึง มูลค่าของค่าบริการที่ได้รับจากการให้บริการซื้อตั๋วโดยสารให้แก่คนโดยสาร โดยให้คำนวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากคนโดยสาร และตัวแทนช่วงมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับค่าบริการให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการ

(2) โดยให้แยกออกจากใบกำกับภาษีที่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งออกให้คนโดยสารหรือ ผู้รับบริการ สำหรับค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสาร โดยใบกำกับภาษีที่ตัวแทนช่วงออกเพื่อเรียกเก็บค่าบริการดังกล่าวจะต้อง

ระบุให้ชัดแจ้งว่าเป็นค่าบริการสำหรับการซื้อตั๋วโดยสารเลขที่ใด ของบริษัทสายการบินใด

(1).ใบกำกับภาษีออกเฉพาะค่าบริการโดยสาร ไม่ต้องออกค่าตั๋วเครื่องบิน กรณีได้รับการแต่งตั้ง

(2).สามารถแยกค่าบริการออกจากใบกำกับภาษีค่าตั๋วเครื่องบินที่ตัวแทนสายการบินเปิดมาให้ผู้โดยสาร

(3). ใบกำกับภาษีที่ตัวแทนช่วงออกให้ลูกค้า และต้องระบุให้ชัดแจ้งว่าเป็นค่าบริการสำหรับการซื้อตั๋วโดยสารเลขที่ใด ของบริษัทสายการบินใด

6. ในกรณีที่มีระเบียบ คำสั่ง หรือหนังสือสั่งการใด ๆ กำหนดให้ต้องนำใบกำกับภาษีไปใช้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกรณีต่าง ๆ

ข้อ 6 ในกรณีที่มีระเบียบ คำสั่ง หรือหนังสือสั่งการใด ๆ กำหนดให้ต้องนำใบกำกับภาษีไปใช้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกรณีต่าง ๆ เช่น

(1)การตรวจสอบยัน ให้นำใบกำกับภาษีที่บริษัทสายการบินออกให้คนโดยสารหรือ ผู้รับบริการในกรณีบริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารหรือผู้รับ บริการโดยตรง

หรือใบกำกับภาษีที่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง ออกให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการ ในกรณีบริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการโดยผ่านตัว แทนที่ได้รับแต่งตั้งไปใช้ดำเนินการ

สำหรับการ(2)ตรวจสอบความถูกต้องของใบกำกับภาษีที่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งออกให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการ ให้ทำการตรวจสอบกับหลักฐานรับเงินที่ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งหรือตัวแทนช่วงออกให้คนโดยสารหรือผู้รับบริการ

ข้อ 7 มิให้นำหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 ถึงข้อ 6 มาใช้บังคับในกรณีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งได้รับสิทธิให้ดำเนินการขายตั๋วโดยสารของ บริษัทสายการบินใดสายการบินหนึ่งแต่เพียงผู้เดียวให้กับตัวแทนหรือคนโดยสาร โดยได้รับค่าบริการในอัตราที่แน่นอนตามข้อตกลงจากบริษัทสายการบิน

คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537

จัตุมงคล โสณกุล

อธิบดีกรมสรรพากร

ปัญหาภาษี หลักกฎหมาย สถานะต่าง ๆ ของ บริษัทร้าง

Trave Agency ค่าบริการอัตรา 0

คุณ Udomvorakulchai Sara ได้โพสต์ไปในไทม์ไลน์ “สุเทพ พงษ์พิทักษฺ์” แฟนเพจ เมื่อ 30 มกราคม 2557 เวลา 15:24 น. จากบริเวณ Bangkok ว่า


“เรียน อาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์
ขอเรียนปแรึกษาเกี่ยวกับปัญหาภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณ๊ค่าบริการอัตรา 0% ค่ะ


ลักษณะกิจการ บริษัท E Holidays (Thailand) เป็นนิติบุคคล จดทะเบียนในประเทศไทย สัดส่วนการถือหุ้น ไทย 51 ออสเตรเลีย 49 ได้รับรายได้ค่าบริการจากบริษัทแม่ที่ออสเตรเลีย อยากทราบว่าVAT จะจัดอยู่ในประเภท 0% หรือ 7% ช่วยแนะนำด้วยคะ


1. ประกอบกิจการเป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่าง ตัวแทนบริษัทท่องเที่ยว (Travel Agent ) ต่างประเทศกับ Travel Agent ต่างประเทศ ออสเตรเลียเป็นส่วนใหญ่ นิวซีแลนด์มีบ้างเล็กน้อย หรือระหว่าง Travel Agent ต่างประเทศ กับ Travel Agent ในประเทศ (แต่เป็นส่วนน้อย)


2. โดยมี website ชื่อ E holidays.com ให้บริการเฉพาะสมาชิกที่เป็น Traveling Agents เท่านั้น


3. website E holidays.com จะมีบริการจองห้องพัก, จองรถรับส่งสนามบิน-โรงแรม-สนามบิน และ บริการจัดแพคเกจทัวร์ตามความต้องการของลูกค้า โดยผ่านการจองของ Travel Agent


4. website E holidays.com จะมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานที่ Australia คอยดูแลทางด้าน Operation การรับโทรศัพท์จาก Agents


5. E Holidays Thailand จะมีเจ้าหน้าที่คอยประสานงานเป็นตัวกลางติดต่อ เช็คข้อมูลในระบบการจองของ Agents จัดทำ email ยืนยัน หรือกรณีมีการเปลี่ยนแปลงวันเวลา ให้กับ Travel Agents


6. บริษัท E holidays ที่ออสเตรเลีย จะส่งรายชื่อ travel Agents มาให้เพื่อให้ทางบริษัทที่เมืองไทยติดต่อ


7. บริษัทที่ประเทศไทย ไม่มีการติดต่อโดยตรงกับโรงแรม หรือลูกค้าบุคคล แต่เป็นการติดต่อแบบ B to B (business to business)


8. การออก Inv เรียกเก็บค่าบริการ จะต้องระบุราบละเอียดหรือไม่ว่า ติดต่อ Traveling Agent บริษัทใดกับบริษัทใด ในประเทศ ออสเตรเลีย

เรียน คุณซาร่า “Udomvorakulchai Sara”


ให้ข้อเท็จจริงไปครบถ้วนตามกติกา มีคำถามเพียงข้อเดียว คือ ข้อ 8 เกี่ยวกับรายละเอียดใน Invoice ที่เรียกเก็บค่าบริการ นั้น


ขอเรียนว่า
1. การให้บริการดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ซึ่งได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) เรื่อง กำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่ กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตาม มาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2543


2. ตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) กำหนดว่า
“ข้อ 3 การประกอบกิจการตามข้อ 2 ต้องมีหลักฐานแสดงการชำระราคา ค่าบริการตามใบแจ้งหนี้ (Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐาน การเปิด L/C (Letter of Credit) หลักฐานการจัดทำ T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) เอกสารใบเสร็จรับเงิน หลักฐานการรับชำระเงิน ตาม L/C (Letter of Credit) หรือ Bank Statement เอกสารที่ระบุว่านำเงิน เข้าบัญชีธนาคารโดยใช้สมุดคู่ฝาก เอกสารการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารโดยไม่มีสมุดคู่ฝาก หลักฐานการรับชำระเงินตามบัตรเครดิต การใช้ E-money หรือ E-cash เว้นแต่ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทนก็ไม่จำต้องมีหลักฐานแสดงการชำระราคาค่าบริการ”


3. เนื่องจากการให้บริการในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทส ได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 21) เรื่อง กำหนดรายการในใบกำกับภาษีของสินค้าหรือบริการบางกรณี ตามมาตรา 86/5 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 กำหนดว่า


“ข้อ 4 กำหนดให้ใบกำกับภาษีของการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร มีรายการ เช่น เดียวกันกับใบแจ้งหนี้หรืออินวอยซ์ซึ่งผู้ให้บริการได้ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศ”



สรุป การออก Invoice เรียนเก็บค่าบริการอัตรา 0 ขึ้นอยู่กับการออกอินวอยซ์ตามประเพณีทางการค้าระหว่าวประเทศ ซึ่งจะระบุราบละเอียดว่า ติดต่อ Traveling Agent บริษัทใดกับบริษัทใด ในประเทศออสเตรเลีย ก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นทางธุรกิจครับ

 

 

กค 0706/พ./625 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการนำเที่ยว

ข้อหารือ
          1. กรณีเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสารเครื่องบิน และที่พัก เมื่อตัวแทนขายตั๋วโดยสารเครื่องบินและที่พัก จะได้รับค่านายหน้าจากสายการบินตามอัตราของสายการบิน และผู้ประกอบการมีรายได้ ดังนี้
               1.1 รายได้จากการขายตั๋วโดยสารเครื่องบินอย่างเดียว
               1.2 รายได้จากการขายตั๋วโดยสารเครื่องบิน และที่พัก
                   (ก) แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน และที่พักออกจากกัน ตั๋วโดยสารเครื่องบินคิดราคาจากลูกค้าในราคาปกติที่ลูกค้าซื้อจากผู้ประกอบการ ส่วนที่พักคิดเป็นราคาต่อหัว
                   (ข) แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบริการนำเที่ยวออกจากกันตั๋วโดยสารเครื่องบินเหมือน (ก) ที่พักจองในนามลูกค้า และได้รับใบเสร็จรับเงินจากโรงแรมในนามลูกค้า ค่าบริการนำเที่ยวคิดเป็นราคาต่อหัว ไม่รวมตั๋วโดยสารเครื่องบินและที่พัก
                   (ค) ค่านำเที่ยวเป็นรายหัว ไม่แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบริการออกจากกัน
          2. กรณีจัดนำเที่ยว ผู้ประกอบการมีรายได้ ดังนี้
               2.1 แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน และบริการนำเที่ยวออกจากกัน ตั๋วโดยสารเครื่องบินคิดราคาในราคาปกติ ที่ลูกค้าซื้อเอง และบริการนำเที่ยวคิดเป็นราคาต่อหัว ไม่รวมตั๋วโดยสารเครื่องบินผู้ประกอบการจองและซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบินให้แก่ลูกค้า และเรียกเก็บเงินตามราคาตั๋วโดยสารเครื่องบิน
               2.2 แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบริการนำเที่ยวออกจากกันตั๋วโดยสารเครื่องบินเหมือนข้อ 2.1 ที่พักจองในนามลูกค้า และได้รับใบเสร็จรับเงินจากโรงแรมในนามลูกค้าบริการนำเที่ยวคิดเป็นราคาต่อหัว ไม่รวมตั๋วโดยสารเครื่องบินและที่พัก ผู้ประกอบการจองและซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบิน และที่พักให้แก่ลูกค้า และเรียกเก็บเงินตามราคาตั๋วโดยสารเครื่องบิน และราคาที่พัก ใบเสร็จรับเงินออกในนามลูกค้า
               2.3 ค่านำเที่ยวเป็นรายหัว ไม่แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบริการนำเที่ยวออกจากกัน
          3. กรณีประกาศในสื่อโฆษณา หรือในรายการทัวร์ เกี่ยวกับราคาทัวร์หรือเดินทางเป็นการเหมา โดยไม่ได้แยกชัดแจ้งค่าเดินทาง เป็นค่าตั๋วโดยสาร ค่าทัวร์ และค่าบริการเป็นเท่าไรแต่จะแยกในช่วงชำระเงิน เป็น 3 กรณี ดังนี้
               3.1 แยกตั๋วโดยสาร
               3.2 แยกค่าทัวร์ และบริการนำเที่ยว
               3.3 (ก) แยกตั๋วโดยสาร
                   (ข) แยกค่าทัวร์ ได้แก่ โรงแรม รถ ขนส่ง อาหาร ในต่างประทศ และต่างประเทศออกใบเสร็จรับเงินให้โดยตรง
                   (ค) แยกค่าบริการนำเที่ยวบวกกำไร
แนววินิจฉัย
          ภาระภาษีสำหรับการประกอบธุรกิจนำเที่ยว ในกรณีผู้ประกอบการคิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมา และมิได้คิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมา แยกพิจารณาได้ ดังนี้
          1. ตามข้อ 1 การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเป็นตัวแทนให้บริการธุรกิจนำเที่ยว กรมสรรพากรได้วางแนวปฏิบัติไว้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 21)ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ประกาศอธิบดี กรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)ฯ ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535
          2. ตามข้อ 2 และข้อ 3 การประกอบกิจการนำเที่ยวเป็นการเหมา และมิได้คิดค่าบริการเป็นการเหมา โดยรับบริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไป ท่องเที่ยวยังต่างประเทศ หรือจัดบริการนำนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ไม่ว่าการบริการจัดนำเที่ยวนั้น จะได้จัดเป็นหมู่คณะหรือเป็นเอกเทศการจัดนำเที่ยวดังกล่าวถือเป็น การให้บริการในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการนำเที่ยวอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร ในการพิจารณาว่าผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้คิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมาหรือไม่ ให้พิจารณาสัญญาเป็นสาระสำคัญ กรณีผู้ประกอบการคิดค่าตอบแทนจากการจัดนำเที่ยวแต่ละครั้ง ประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายทั้งส่วนที่แจกแจงรายละเอียดให้ลูกค้าทราบ และส่วนที่คิดค่าบริการเป็นการเหมาหากผู้ประกอบการมีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ค่าตอบแทนส่วนใดที่ผู้ประกอบการมีการแจกแจงค่าใช้จ่ายให้แก่ลูกค้าทราบ โดยแยกรายละเอียดค่าใช้จ่ายชัดแจ้ง ซึ่งผู้ประกอบการอาจเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายแต่ละรายการจากลูกค้าล่วงหน้าเป็นจำนวนเฉพาะเท่ากับที่จะต้องจ่ายจริง หรืออาจทดรองจ่ายเงินค่าใช้จ่ายนั้นไปก่อนแล้ว จึงเรียกเก็บคืนจากลูกค้าเป็นจำนวนเท่ากับที่ต้องจ่ายไปจริง เช่น ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินที่เรียกเก็บจากลูกค้าเท่ากับที่ต้องจ่ายจริง โดยให้ผู้ประกอบการขายตั๋วโดยสารเครื่องบินออกหลักฐานใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีเป็นชื่อของลูกค้า และผู้ประกอบการได้ส่งมอบเอกสารดังกล่าวให้แก่ลูกค้า เป็นต้น ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ซึ่งผู้ประกอบการเรียกเก็บล่วงหน้า หรือเรียกเก็บคืนจากลูกค้าเท่ากับจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง จึงไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
          สำหรับค่าบริการส่วนอื่นที่มีลักษณะเป็นการเหมา ซึ่งไม่สามารถแจกแจงรายละเอียดให้ลูกค้าทราบได้ว่า เป็นค่าอะไร จำนวนเท่าใด และไม่มีหลักฐานการจ่ายมาแสดงค่าบริการส่วนอื่นดังกล่าวที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บจาก ลูกค้าต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

รับทำบัญชี บริษัท travel agency ระบบบัญชีบริษัททัวร์ การ เปิด บริษัท ทัวร์ แบบ บุคคลธรรมดา อบรมเปิดบริษัททัวร์ เปิดบริษัททัวร์ 2561 เปิดบริษัททัวร์ต้องทําอย่างไร เริ่ม ต้น ทำ ทัวร์ เอกสาร วิธี การ จดทะเบียน ธุรกิจ นำเที่ยว จดทะเบียนบริษัท

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 8,823

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า