Skip to content

บัญชี ภาษี ตัวแทน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย

บัญชี ภาษี ตัวแทน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย

บัญชี ภาษี ตัวแทน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย  ตามที่ทาง  สำนักงานบัญชี ให้บริการ รับทำบัญชี กิจการบริการ จะมีลูกค้าในส่วน ตัวแทน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย ซึ่งทางกรมสรรพากร มีแนวปฎิบัติ สำหรับตัวแทนนายหน้า ตาม ป115/2545 ทางสำนักงานบัญชี ได้รวมรวมมาไว้ในบทความนี้

บัญชี ภาษี ตัวแทน นายหน้า
บัญชี ภาษี ตัวแทน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย

ตัวแทน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย มีความแตกต่างดังนี้

รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขายตัวแทนประกันภัย คือ ผู้ที่มีสังกัดอยู่ในบริษัทประกันภัยต่างๆ และทำหน้าที่เสนอขายประกันของบริษัทตนเอง ให้กับประชาชนที่สนใจ

นายหน้าประกันภัย คือ ผู้ที่มาจากบริษัทประกันภัยโดยตรง ไม่มีสังกัดในการทำงาน แต่เป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือชี้ช่องการทำประกันภัยกับบริษัทต่างๆ หรือทำหน้าที่แทนผู้เอาประกันภัยจนเสร็จสิ้นกระบวนการ

สิ่งสำคัญก็คือ กฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องเป็นตัวแทนหรือนายหน้าได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าเลือกเป็นตัวแทนก็สามารถเป็นได้ทั้งตัวแทนประกันชีวิตและตัวแทนประกันวินาศภัย และในทำนองเดียวกัน ถ้าเลือกเป็นนายหน้าก็สามารถเป็นได้ทั้งนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย

สรุปคำจำกัดความระหว่างตัวแทน และนายหน้าประกันภัย ดังนี้

ความหมาย ของ ตัวแทน นายหน้า

1. ตัวแทนประกันภัย (Insurance Agents)
    
      ตัวแทนประกันภัยจะเป็น  บุคคลธรรมดาเท่านั้น ทำหน้าที่แทนบริษัทประกันที่สังกัดอยู่ในการชักชวนและนำเสนอขายสินค้า (กรมธรรม์) หรืออาจจะเรียกว่าเป็นพนักงานของบริษัทประกันก็ได้พราะตัวแทนประกันนั้นจะมีสังกัดที่แน่นอนว่าเป็นตัวแทนของบริษัทประกันใด อาจเป็นได้มากกว่าหนึ่งบริษัทได้ หากได้รับความยินยอมจากบริษัทแรก

2. นายหน้าประกันภัย (Insurance Brokers)

     นายหน้าประกันภัย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโบรกเกอร์ คือ คนกลางอิสระ เป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ทำหน้าที่แทนประชาชนที่ต้องการซื้อประกันภัย ในการคัดเลือกบริษัทประกันที่มีสินค้า (กรมธรรม์) ตรงกับความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด โดยนายหน้าประกันภัยนั้นสามารถที่จะชี้ช่องแนะนำประกันของบริษัทใดก็ได้ และสามารถขายได้อย่างอิสระ ไม่ขึ้นตรงกับบริษัทประกันแห่งใด สำหรับค่าตอบแทนที่ได้รับ จะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากบริษัทประกันภัย ตามจำนวนที่นายทะเบียนประกาศกำหนดไว้ในแต่ละประเภทของการประกันภัยซึ่งไม่เท่ากัน

พิจารณารายได้ ค่าใช้จ่าย เพื่อใช้ในการจัดบันทึก บัญชี ภาษี ตัวแทน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย

รายได้หลักจากงานบริการ

รายได้อื่นๆ เช่น รายได้ค่าดอกเบี้ย รายได้(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยน รายได้จาการจำหน่ายทรัยพ์สิน

ค่าใช้จ่ายในการขาย และ ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

– เงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ
– ค่าเช่า   – ค่าซ่อมแซม บำรุงรักษา
– ค่าใช้จ่ายในด้านการตลาด ค่าส่งเสริมการขาย
– ค่าประกันภัย   – ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน
– ดอกเบี้ยจ่าย     – ค่าที่ปรึกษา
– ค่าไฟฟ้า ค่าน้าประปา ค่าโทรศัพท์     – ค่าขนส่ง
– ค่า Sub agent – ค่าบริการสำรวจภัย – ค่าประเมินราคาความเสียหาย
– ส่วนลดจ่าย ฯลฯ

รูปแบบการประกอบกิจการ มีผลต่อ
การรับทำ บัญชี ภาษี ตัวแทน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย

รูปแบบการประกอบกิจการจะเป็นตัวกำหนดประเภทรายได้ ค่าใช้จ่าย และการเสียภาษี การรับทำบัญชี  บัญชี ภาษี ตัวแทน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย แยกได้ 2 ประเภทดังนี้

  1.  บริษัท  หรือ 2. บุคคลธรมดา

ตามกฎของ  OIC สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)     อนุญาตให้จัดตั้งกิจการนิติบุคคลในรูปแบบ การจดทะเบียนบริษัท จำกัด เท่านั้น

ตัวแทน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย ดำเนินการในแบบบุคคลธรรมดา

การคำนวนภาษี

ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(1) หรือ 40(2)
หรือ
ในกรณี ที่ถือเป็นเงินได้ ถึงประเมิน  40(8) แห่ง 
ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงต้องสามารถแสดงหลักฐานพิสูจน์ค่าใช้จ่ายได้

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรภีคานวภภาษีจากฐานเงินได้สุทธิ และการยื่นแบบแสดงรายได้

อัตรารายได้ภาษีบุคคลธรรมดาปี 2561

ภ.ง.ด.94 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี และ ภ.ง.ด.90 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สำนักงานบัญชี BEE-Accoutant

บริการรับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี สอนทำบัญชี ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปบัญชี Express (เอ็กซ์เพรส)  สำหรับ กิจการบริการ ซื้อมาขายไป ผลิต รับเหมาก่อสร้าง โฮสเทล ร้านอาหาร กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย ตัวแทนประกันชีวิต ตัวแทนประกันวินาศภัย

อัตราค่าบริการรับทำบัญชี

บทความ บริการรับทำบัญชี

ตัวแทน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย
ดำเนินการในแบบนิติบุคคล

การคำนวนภาษี

 1. การคำนวณรายได้และรายจ่ายให้ใช้เกณฑ์สิทธิ

 2. ฐานภาษี ได้แก่ กาไรสุทธิซึ่งคานวณได้จากรายได้จากกิจการ เสียภาษีปีละ 2 ครั้งด้วยแบบ ภงด 51 และ ภงด  50

 3. อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในการคานวณภาษีจากฐานกาไรสุทธิ 2564

ภาษีอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการตัวแทน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย

  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

 2. อากรแสตมป์ เช่น กิจการเช่าที่ดินเพื่อใช้เป็นสถานประกอบการ สัญญาเช่าที่ดิน สถานประกอบการ สิ่งปลูกสร้าง หรือ เช่าซื้อทรัพย์สิน ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ชาระอากรแสตม

 3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น สัญญากู้ยืม เงินกู้ยืมกรรมการ ให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินและคำนวณดอกเบี้ยรับเยี่ยงธนาคารพาณิชย์

 

ภาษีมูลค่าเพิ่มจาก รายได้ ตัวแทน นายหน้า
บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล

 การให้บริการของตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนแก่บริษัทประกันชีวิตหรือบุคคลใด ๆ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องนำรายรับซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่ได้รับมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ถ้ารายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย รายได้ ตัวแทน นายหน้า
บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล​

  1. ประเภทค่าตอบแทน ตาม เงินได้ 40(1)
                     กรณีจ่ายค่าตอบแทนที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 2.1(1) ให้แก่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร  – หัก ณ ที่จ่ายตามอัตราก้าวหน้า แบบเงินเดือน

  2. ประเภทค่าตอบแทน ตามเงินได้ 40(8)
                   กรณีจ่ายค่าตอบแทนที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 2.1(2) ให้แก่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และผู้จ่ายเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 12/1(1) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528

  3. ประเภทค่าตอบแทนให้แก่นายหน้าซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
                  กรณีจ่ายค่าตอบแทนให้แก่นายหน้าซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และผู้จ่ายเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ให้ผู้จ่ายหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 12/1(2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528

ประเภทรายได้ของ ตัวแทน นายหน้า - บุคคลธรรมดา

กรณี เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) หรือ 40(2)

        ค่าตอบแทนที่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทน ได้รับจากบริษัทประกันชีวิตหรือบุคคลใด ๆ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร

        โดยในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้มีสิทธิหัก ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ได้อย่างเดียวในอัตราร้อยละ 40 ของค่าตอบแทนที่ได้รับ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

       ในกรณีที่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนได้รับเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร จากนายจ้างอื่นด้วย ให้หักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1) และมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นการเหมาได้อย่างเดียวในอัตราร้อยละ 40 ของเงินได้ที่ได้รับ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท 

       ในกรณีบุคคลธรรมดา รายได้จากค่านายหน้าจะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) หรือ 40(2) หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาะ 40% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

       เช่น นาย ก เป็นพนักงานบริษัทประกันชีวิต และเป็นตัวแทนให้บริษัทประกันชีวติเดียวกัน ค่านายหน้าจากการขายประกันจะถือเป็นเงินได้ 40(1) รวมกับเงินเดือน

กรณีตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนมีหลักฐานในการประกอบกิจการให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า ได้ประกอบกิจการในรูปแบบของการทำธุรกิจและสามารถพิสูจน์รายจ่ายในการประกอบกิจการได้ ซึ่งต้องมีลักษณะการประกอบกิจการดังนี้

                                            (ก) ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนและ

                                            (ข) ได้จัดตั้งเป็นสำนักงานในการประกอบกิจการ โดยมีอาคารสำนักงานเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง หรือเช่าจากบุคคลอื่น โดยมีหลักฐาน เช่น หลักฐานการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ สัญญาเช่าสำนักงาน และ

                                            (ค) มีการลงทุนด้วยการจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ มีค่าใช้จ่ายสำนักงาน และ

                                            (ง) มีการจ้างลูกจ้างหรือพนักงานในการประกอบกิจการ โดยมีหลักฐานตามสัญญาจ้างแรงงาน หลักฐานการจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และหลักฐานการแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่ง ในกรณีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไม่มีภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายและนำส่ง จะต้องมีหลักฐานเกี่ยวกับการยื่นรายการเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงานตามแบบ ภ.ง.ด.1 ก.

                                            (จ) มีค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการ เช่น ค่ารับรอง หรือค่าบริการเพื่อประโยชน์ในการติดต่องานกับลูกค้า และ

                                            (ฉ) มีหนังสือรับรองจากบริษัทประกันชีวิต ว่าไม่มีการจ่ายเงินชดเชยหรือออกค่าใช้จ่ายแทนให้


ค่าตอบแทนที่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทน ได้รับจากบริษัทประกันชีวิตในการประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง เข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร และในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร โดยให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ทั้งนี้ หากตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนไม่สามารถพิสูจน์รายจ่ายและไม่มีหลักฐานในการประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง เงินค่าตอบแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันชีวิตเข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร

ประเด็นภาษีจากการตรวจสอบของกรมสรรพากร

ตัวแทนหรือนายหน้า หรือ หัวหน้าตัวแทนซึ่งได้มีการรวมกับบุคคลอื่น ในลักษณะเป็นกลุ่มหรือทีม หรือ ในลักษณะทำนองเดียวกันในการหาผู้เอาประกันชีวิต โดยตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนต้องได้รับค่าตอบแทนในการทำหน้าที่เป็นตัวแทนหรือ นายหน้าเพียงคนเดียว

แต่ปรากฏหลักฐานว่าให้มีการรับเงินค่าตอบแทนในชื่อบุคคลอื่น ไม่ว่าบุคคลอื่นจะได้รับค่าตอบแทนจริงหรือไม่

ให้ถือว่าค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นเงินได้ของตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนนั้นทั้งจำนวน


-ในการขายประกัน / การรับค่าตอบแทน ควรจะมีหลักฐานชัดเจน ให้สอดคล้องกับผู้รับเงินได้ค่าคอมมิชชั่น จากประกัน เพื่อป้องกันข้อโต้แย้งกับทางพนักงานตรวจสอบ-

ข้อหารือภาษี

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กค 0706/6632 กรณีเงินได้จากการเป็นตัวแทนประกันชีวิต

ข้อหารือ

กรณี นาย ก. ประกอบอาชีพเป็นตัวแทนและนายหน้าประกันชีวิต ได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยเข้าใจว่าค่าตอบแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันชีวิตเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร และได้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 75 มา โดยตลอด

โดยมิได้เก็บเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายไว้ ต่อมาได้มีคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 115/2545 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต ลงวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2545

กำหนดให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร นาย ก. ไม่สามารถหาหลักฐานค่าใช้จ่ายเพื่อพิสูจน์รายจ่ายได้ และไม่สามารถขอให้ผู้รับเงินออก ใบเสร็จรับเงินย้อนหลังได้ในช่วงปีภาษี 2545 จึงขอให้กรมสรรพากรผ่อนผันการชำระภาษีสำหรับปีภาษี 2545 และให้ถือว่าการชำระภาษีในปีดังกล่าวถูกต้องแล้ว

แนววินิจฉัย


1. กรณีตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทน ได้รับค่าตอบแทนจากบริษัทประกันชีวิตหรือ บุคคลใด ๆ  เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวรัษฎากร ในการคำนวณ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ให้มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้อย่างเดียวในอัตราร้อยละ 40 ของ ค่าตอบแทนที่ได้รับ แต่ไม่เกิน 60,000 บาท และ

ในกรณีที่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทน ได้รับ เงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร จากนายจ้างอื่นด้วย ให้หักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้ตาม มาตรา 40(1) และมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นการเหมาได้อย่างเดียวในอัตราร้อยละ 40 ของเงินได้ที่ได้รับแต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท

2. กรณีตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทน มีหลักฐานในการประกอบกิจการที่แสดงให้เห็น ได้ชัดแจ้งว่า ได้ประกอบกิจการในรูปแบบของการทำธุรกิจ และสามารถพิสูจน์รายจ่ายในการ ประกอบกิจการได้ ซึ่งต้องมีลักษณะการประกอบกิจการดังนี้

(1) ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนและ

(2) ได้จัดตั้งสำนักงานในการประกอบกิจการโดยมีอาคารสำนักงานเป็นกรรมสิทธิ์ของ ตนเองหรือเช่าจากบุคคลอื่นโดยมีหลักฐาน เช่น หลักฐานการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ สัญญาเช่าสำนักงาน และ

(3) มีการลงทุนด้วยการจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ มีค่าใช้จ่ายสำนักงาน และ

(4) มีการจ้างลูกจ้างหรือพนักงานในการประกอบกิจการโดยมีหลักฐานตาม สัญญาจ้างแรงงาน หลักฐานการจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และหลักฐานการแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง ในกรณีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่มีภาษีที่ต้อง หัก ณ ที่จ่ายและนำส่ง จะต้องมีหลักฐานเกี่ยวกับการยื่นรายการเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงานตาม ภ.ง.ด.1 ก. และ

(5) มีค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการ เช่น ค่ารับรองหรือค่าบริการเพื่อประโยชน์ใน การติดต่องานกับลูกค้า และ

(6) มีหนังสือรับรองจากบริษัทประกันชีวิตว่าไม่มีการจ่ายเงินชดเชยหรือออกค่าใช้จ่าย แทนให้ ค่าตอบแทนที่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนได้รับจากบริษัทประกันชีวิต

ในการประกอบกิจการดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร และในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร โดยให้นำ มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ ตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจาก เงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502

ซึ่งหากตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนที่เป็น บุคคลธรรมดาไม่สามารถพิสูจน์รายจ่ายและไม่มีหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่กล่าวแล้วข้างต้นมา พิสูจน์ให้เห็นได้ เงินค่าตอบแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันชีวิตเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร

 — สรุป —

ดังนั้น กรณีที่ท่านยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่านายหน้าที่ได้รับจาก บริษัทประกันชีวิตโดยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 75 ของเงินได้ จึงไม่ใช่ การหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราตามที่กฎหมายกำหนด และกรมสรรพากรไม่อาจพิจารณาให้ถือว่า การเสียภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราดังกล่าวเป็นการเสียภาษีที่ถูกต้องแล้วได้

กค 0702/138 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินได้จากการเป็นตัวแทนขายประกันชีวิต

ข้อหารือ

 นาย ก. มีอาชีพรับราชการครู และประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนขายประกันชีวิต ซึ่งต้องมีการลงทุนจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ มีลูกจ้างพนักงานที่ต้องจ่ายเงินเดือน มีค่าจ้าง ค่าใช้จ่ายสำนักงาน ค่ารับรองหรือค่าบริการเพื่อประโยชน์ในการติดต่อหาลูกค้า ในปีภาษี 2550 นาย ก. มีรายได้จากการเป็นตัวแทนขายประกันชีวิตเป็นจำนวนเงิน 1,165,566.92 บาท นาย ก. จึงขอทราบว่า


           1. เงินได้จากการเป็นตัวแทนขายประกันชีวิตดังกล่าว ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร และสามารถหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ใช่หรือไม่


           2. หากมีรายรับจากการเป็นตัวแทนขายประกันชีวิตไม่เกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี จะได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช่หรือไม่

 

แนววินิจฉัย

 

           1. กรณีตาม 1. เงินได้จากการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนตามกฎหมายว่าด้วยการรับประกันวินาศภัยหรือกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ในอัตราร้อยละ 40 แต่เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว ต้องไม่เกิน 60,000 บาท
             
             แต่ถ้าในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการตั้งเป็นสำนักงาน ซึ่งต้องลงทุนจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ มีลูกจ้างพนักงานต้องจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าใช้จ่ายสำนักงาน ค่ารับรองหรือค่าบริการเพื่อประโยชน์ในการติดต่อหาลูกค้า ซึ่งเมื่อรวมทั้งปีแล้วสูงกว่าอัตราร้อยละดังกล่าว กรมสรรพากรอนุโลมให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้ ตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502

           2. กรณีตาม 2. รายรับที่ได้จากการประกอบกิจการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนประกันชีวิต ถือเป็นรายรับจากการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร
             
              หากมีรายรับเกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น หากนาย ก. มีรายรับจากการเป็นตัวแทนขายประกันชีวิตไม่เกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

             อย่างไรก็ดี นาย ก. ซึ่งประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีตามแบบที่อธิบดีกำหนดเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา 81/3 แห่งประมวลรัษฎากร

กค 0706/4227 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ

            บริษัท ม. หารือว่า กรณีที่สำนักงานสรรพากรภาคได้มีหนังสือตอบข้อหารือกรณีเบี้ยประกันชีวิต ที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการตามมติที่ประชุมของบริษัทว่า หากผู้รับประโยชน์คือบริษัท เงินค่าเบี้ยประกันที่ บริษัทจ่ายแทนกรรมการผู้เอาประกันไม่ถือเป็นเงินได้ของกรรมการ แต่หากผู้รับประโยชน์จากกรมธรรม์ เป็นครอบครัวหรือญาติพี่น้องของกรรมการ เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนถือเป็น เงินได้พึงประเมินของกรรมการ ต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ของกรรมการ ประเด็นดังกล่าวตัวแทน ประกันชีวิตเห็นว่า

          1. เบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการบริษัทตามมติที่ประชุมของบริษัทถือว่าเป็นระเบียบ วางไว้ให้จ่ายได้ เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของบริษัทซึ่งถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
ได้ และหากผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์คือบริษัท เงินค่าเบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการ ผู้เอาประกันก็ไม่ถือเป็นเงินได้ของกรรมการ

          2. ผลประโยชน์ที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายคืนระหว่างอายุกรมธรรม์ทุก 5 ปีหรือทุกปี ถือเป็น เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42(13) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะผลประโยชน์มิใช่สินไหมเสียชีวิตหรือครบกำหนดอายุกรมธรรม์ บริษัท ประกันชีวิตจะจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันเท่านั้น ไม่จ่ายให้แก่บริษัทซึ่งเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันและเป็นผู้รับ ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ ย่อมถือเป็นประโยชน์เพิ่มของกรรมการที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42(13) ที่กล่าวถึงข้างต้นบริษัทฯ หารือว่าความเห็นของตัวแทนประกันชีวิตในกรณีดังกล่าวถูกต้องหรือไม่

 

แนววินิจฉัย

 

                  1. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการบริษัทตามมติที่ประชุมของบริษัท หากเป็น กรณีที่บริษัทต้องจ่ายให้กรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบของบริษัทแล้ว บริษัทมีสิทธินำ เบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร ถึงแม้ผู้รับประโยชน์ตาม กรมธรรม์คือบริษัท เงินค่าเบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการก็ต้องถือเป็นประโยชน์เพิ่มของกรรมการ เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร

                2. ผลประโยชน์ที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายคืนระหว่างอายุกรมธรรม์ 5 ปี หรือทุกปีให้แก่ ผู้เอาประกันภัยถือเป็นเงินที่ได้จากการประกันภัย ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(13) แห่งประมวลรัษฎากร

อ้างอิง คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 115/2545เรื่อง การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการตัวแทน ประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต 

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ รับทำบัญชี ตัวแทน นายหน้า ค่า นายหน้า ยกเว้น vat ค่า นายหน้า เกิน 1.8 ล้าน ภาษีค่านายหน้า บุคคลธรรมดา ภาษีตัวแทนประกันชีวิต บันทึกบัญชีค่านายหน้า ขายประกัน ยื่นภาษี รายได้ค่านายหน้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยประกันชีวิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่นกรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

Contact us

Post Views: 10,447

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า