Skip to content

การวางแผนการส่งเสริมการขาย - แจกทอง / รถยนต์

การวางแผนการส่งเสริมการขาย - แจกทอง / รถยนต์

รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขายการวางแผนการส่งเสริมการขาย – แจกทอง / รถยนต์

คำถาม จากเพจ ท่านอาจารย์ สุเทพ พงษ์พิทักษ์

1. บริษัทฯ ได้จัดส่งเสริมการขาย โดยการแจกทองให้ลูกค้าที่ทำเป้าขายได้ตามกำหนด (โดยมีการจัดทำเอกสารเป็นโครงการส่งเสริมการขาย กำหนดเวลา เป้าหมายและการอนุมัติจากกรรมการผู็จัดการ) ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย แก่ลูกค้าไว้ รวมทั้งยื่นเสียภาษีขายแล้ว แต่ไม่ได้ออกใบกำกับภาษีเรียกเก็บภาษีขายจากลูกค้า อยากทราบว่าภาษีขายที่ บริษัทฯ จ่ายไปแทนลูกค้านี้สามารถนำไปเป็นรายจ่ายทางภาษีได้หรือไม่ครับ

2. บริษัทฯ ต้องการทำการส่งเสริมการโดยแจกรถยนต์นั่งแก่ลูกค้าที่ทำเป้าขายได้ อยากให้ช่วยแนะนำว่าควรทำ การวางแผนการส่งเสริมการขาย อย่างไร จึงจะถูกต้องตามกฏหมายภาษีอากร ทั้ง หัก ณ ที่จ่าย, VAT และสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งมูลค่ารถ ภาษีซื้อรถ และภาษีขายที่ออกแทนลูกค้า

1. กรณีบริษัทฯ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย โดยการแจกทองให้ลูกค้าที่ทำเป้าขายได้ตามกำหนด ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย แก่ลูกค้าไว้ รวมทั้งยื่นเสียภาษีขายแล้ว แต่ไม่ได้ออกใบกำกับภาษีเรียกเก็บภาษีขายจากลูกค้า

    สำหรับภาษีขายที่ บริษัทฯ จ่ายไปแทนลูกค้านี้ในทางปฏิบัติ กรมสรรพากรตีความว่า เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) แห่งประมวลรัษฎากร โดยถือเป็น “ภาษ๊มูลค่าเพิ่มที่พึงต้องชำระ” บริษัทฯ จึงไม่สามารถนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

2. กรณีบริษัทฯ จะทำการส่งเสริมการ โดยแจกรถยนต์นั่งแก่ลูกค้าที่ทำเป้าขายได้

….2.1 กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม

…….. (1) สำหรับภาษีซื้อจากการซื้อรถุยนต์มาเพื่อแจกในการจัดการส่งเสริมการขาย ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ประเภทใด บริษัทฯ สามารถนำมาถือเป็นภาษีซื้อหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ ไม่เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ทางที่ดี ควรเลือกเป็นรถกระบะบรรทุก (กระบะตอนเดียว ไม่ว่าจะมี Cab หรือไม่ก็ตาม) ซึ่งไม่ถือเป็นรถยนต์นั่งตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต

…….. (2) สำหรับภาษีขาย เนื่องจากการแจกรถยนต์ ซึ่งถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร เข้าลักษณะเป็นการขายที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร นั้น

              ขอแนะนำให้บริษัทฯ ตกลงเรียกเก็บจากลูลค่าที่ได้รับรางวัลจากการส่งเสริมการขาย และยิ่งหากเป็นรถบรรทุกกระบะตอนเดียว ลูกค้าที่จ่ายภาษีมุลค่าเพิ่ม สามารถนำไปใช้เป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ โดยให้บริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้แก่ลูกค้า (ฟรีค่ารถบรรทุก แต่เรียกเก็บภาษีมุลค่าเพิ่ม) กรณีก็จะไม่ทำให้บริษัทฯ มีรายจ่ายต้องห้าม ดังเช่นกรณีตามข้อ 1 ข้างต้น

….2.2 กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล

…….. (1) รถยนต์กระบะบรรทุกที่แจกเนื่องจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ต้องมีการจัดทำเอกสารเป็นโครงการส่งเสริมการขาย กำหนดเวลา กลุ่มเป้าหมาย และได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจของบริษัทฯ อาทิ กรรมการผู็จัดการ บริษัทฯ ก็ย่อมสามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร

…….. (2) การแจกรถบรรทุก ไม่ถือเป็นการขายที่ต้องรับรู้เป็นรายได้ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร

….2.3 กรณีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

…….. เมื่อบริษัทฯ ได้แจกรถยนต์กระบะบรรทุก เนื่องจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ให้แก่ลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปขายต่อ โดยซื้อตามเป้าที่บริษัทฯ กำหนด (Rebate/ Target Promotion) ถือเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ของเงินได้ค่ารถยนต์บรรทุกกระบะที่ซื้อมานั้น และนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 (กรณีผู้รับเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือ ภ.ง.ด.3 (กรณีผู้รับเป็นบุคคลธรรมดา)

เรียนรู้บัญชี ภาษี พื้นฐานสำหรับเจ้าของกิจการ ซื้อมาขายไปและบริการ

สรุปพื้นฐานบัญชีภาษี เบื้องต้ง การกรอกแบบ ภงด 1/3/53 ภงด 1 ก แบบ ภพ 30 36 ความเสี่ยงการตรวจสอบกิจการเบื้องต้น ถึงกิจการท่าน
Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย บันทึกบัญชีค่า ส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อหารือ ส่งเสริมการขาย การบันทึกรายได้ส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย คือ ค่าส่งเสริมการขาย หักค่าใช้จ่าย ค่าส่งเสริมการขายเป็นเงินได้ประเภทใด แบบฟอร์ม ส่วนลดการค้า

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 11,784

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า