Skip to content

สินค้าขาดจากรายงาน สินค้าเกินจากรายงาน
ข้อผิดพลาดในงบการเงินที่กิจการต้องรู้

บริการรับทำบัญชี รายเดือน รายปี

สินค้าขาดจากรายงาน -ประเด็นความเสี่ยงของกิจการ 2562

สินค้าขาดจากรายงาน

สินค้าขาดจากรายงาน -ประเด็นความเสี่ยงของกิจการ

สินค้าขาดจาการงาน  สินค้าเกินจากรายงาน บางกิจการเรียกว่า สินค้าขาดจากสต๊อก หรือสินค้าเกินจากสต๊อกสินค้า หรือสินค้าเกินบัญชี สินค้าขาดบัญชี  เป็นประเด็นความเสี่ยงจากข้อผิดพลาดในงบการเงินที่เจ้าของกิจการต้องรู้เพราะนำมาจากการเข้าตรวจสอบกิจการของกรมสรรพากร ประเด็บภาษีที่เกิดขึ้นจากสินค้าขาดจากรายงาน สินค้าเกินจากรายงานจะมีผลต่อภาษีดังนี้

                         1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม  การนำส่ง เบี้ยปรับเงินเพิ่ม

                         2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล การยอดรับเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ หรือ ต้องบันทึกเป็นรายจ่ายต้องห้าม   

                         3. เบี้ยปรับอาญา ไม่เกิน  2,000 บาท                 

                     กรณีสินค้าขาดจากรายงาน หรือสินค้าเกินจากรายงานนั้นไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ผู้ประกอบการทำการตรวจนับเอง หรือเกิดจากการเข้าตรวจปฏิบัติการของกรมสรรพากร มีข้อสังเกตว่าบทลงโทษจะรุนแรงมากสำหรับกรณีสินค้าขาดจากบัญชีคุมสินค้า (รายงานสินค้าและวัตถุดิบ) ทั้งนี้เพราะมุ่งที่จะป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี

ที่มา - เอกสารประกอบการบรรยาย “ประเด็นความเสี่ยงจากการตรวจแนะนำด้านภาษีอากร” ที่จัดทำและเผยแพร่โดย กองมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบภาษี กรมสรรพากร

ประเด็นความเสี่ยงจาก หัวข้อ สินค้าคงหลัง 

จากเอกสารประกอบการบรรยาย ซึ่งทางสำนักงานตรวจสอบพบเจอจากกาารเข้าตรวจสอบจะมี 2 กรณีคือ

สินค้าขาดจากรายงาน / สินค้าเกินจากรายงาน

กิจการมีสินค้าคงเหลือสูงหรือต่ำกว่าข้อเท็จจริง (สินค้าขาด/เกิน) รายงานสินค้าคงเหลือของกิจการไม่ตรงกับสินค้าที่มีอยู่จริง

เศษซาก ของมีตำหนิ สินค้าพลอยได้

กิจการไม่มีผลิตภัณฑ์พลอยได้ ของเสีย ของมีตำหนิ และเศษซากคงเหลือในรายงานสินค้าและวัตถุดิบ และไม่มีการออกใบกำกับภาษีขาย

สินค้าขาดจากรายงาน ประเด็นความเสี่ยงภาษี
สาเหตุ
ผลทางภาษี 
การบันทึกบัญชี 
ความรับผิด
ข้อหารือภาษีอากร

สินค้าเกินจากรายงาน ประเด็นความเสี่ยงภาษี
สาเหตุ
ข้อสังเกตุจากสรรพากร
ผลทางภาษี
การบันทึกบัญชี 
ข้อหารือภาษีอากร

ของเสียปกติ ของเสียเกินปกติ เศษซาก ขั้นตอนการทำลายเพื่อบันทึกค่าใช้จ่ายทางภาษี

สินค้าขาดจากรายงาน - ประเด็นความเสี่ยง ภาษี

สาเหตุ -สินค้าขาดจากรายงาน

สินค้าขาดจากรางาน / สินค้าขาดจากสต๊อกมีหลายสาเหตุ    แต่สาเหตุที่พบมากจากการตรวจสอบ คือ


กิจการขายโดยไม่ออกใบกำกับภาษี (ไม่ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ) แต่ ตอนซื้อกิจการรับใบภาษีมูลค่าเพิ่ม บันทึกรับสินค้าเข้าคลัง



ใช้ภาษีซื้อเคลมภาษีขาย ทำทุกอย่างถูกต้อง แต่เมื่อตอนขายกิจการขายนอกระบบ ไม่เปิดใบกำกับภาษี ไม่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม วิธีแก้ไขคือซื้อสินค้ากลับเข้ามาในระบบชดเชยกับที่ขายแบบไม่ออกใบกำกับภาษีออกไป เป็นกรณีขายไม่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ตอนซื้อนำภาษีซื้อมาเครดิตตามปกติ

ดังนั้นการขายแบบนอกระบบ สินค้าที่บันทึกรับเข้าก็ต้องไม่นำมาเข้าระบบด้วยเหมือนกันเพราะทำให้สต๊อกสินค้า (สินค้าที่มีอยู่จริง) ไม่ตรงกับรายงานสินค้า หรือจำนวนสินค้าทางบัญชี เมื่อสรรพากรตรวจพบจะถือว่าเป็นการขายไม่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่รวมรายได้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี นำไปสู่การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ต้นทุนสินค้าต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม / ภาษีเงินได้นิติบุคคล - สินค้าขาดจากรายงาน

กรณีสินค้าขาดจากรายงานสินค้า ประเด็นความเสี่ยงทางภาษีมูลค่าเพิ่มถือว่าเป็นการขาย ตามมาตรา 77/1 (8)(จ) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม นั้นรวมถึงสินค้าที่ขาดจากรายงานสินค้าจากการตรวจนับสินค้าประจำปีด้วย โดยไม่จำต้องออกใบกำกับภาษี กล่าวคือ จะออกใบกำกับภาษีหรือไม่ก็ได้ ตามข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 86/2542 “ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น โดยไม่จำต้องจัดทำใบกำกับภาษี”

ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้นำราคาสินค้าตามราคาตลาดมาถือฐานภาษีตามมาตรา 79/3 วรรคท้าย แห่งประมวลรัษฎากร ที่กำหนดว่า “ราคาตลาด” ได้แก่ ราคาเฉลี่ยของราคาตลาดที่ซื้อขายกันตามความเป็นจริงทั่วไปในวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น

การบันทึกรายการสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบในรายงานภาษีขาย นั้น ให้แสดงรายการสินค้าที่ขาดไปเสมือนเป็นการขายสินค้าทั่วไป โดยอาจแสดงแต่ละรายการหรือแสดงเป็นยอดรวมแล้วแนบรายละเอียดก็ได้ เนื่องจากไม่มีข้อกำหนด

 

การบันทึกบัญชี - สินค้าขาดจากรายงาน

การบันทึกบัญชีสินค้าขาดจากสต๊อก – 
มีหลักฐานชัดเจน เช่น บันทึกประจำวันดำเนินคดีจนถึงที่สุด

 

   DR. รายจ่าย (ไม่ต้องห้าม)  570.00 
   เบี้ยปรับเงินเพิ่ม       XX.00                                                                                                                                                    CR.ภาษีขาย                         70.00 (ราคาตลาด 1000)
        เจ้าหนี้กรมสรรพาพร           XX.00 (เบี้ยปรับเงินเพิ่ม)
        สินค้าคงเหลือ                   500.00 (ต้นทุนสินค้าสูญหาย)

การบันทึกบัญชีสินค้าขาดจากสต๊อก – 
ไม่มีหลักฐานชัดเจน ถึงแม้จะแจ้งความเป็นหลักฐานก็เข้าเงื่อนไขนี้

 

   DR. รายจ่ายต้องห้าม   570.00 
   เบี้ยปรับเงินเพิ่ม            XX.00                                                                                                                                                CR.ภาษีขาย               70.00 (ราคาตลาด 1000)
        เจ้าหนี้กรมสรรพาพร           XX.00 (เบี้ยปรับเงินเพิ่ม)
        สินค้าคงเหลือ                   500.00 (ต้นทุนสินค้าสูญหาย)

ความรับผิดชอบกรณีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

ภาษีขาย

เสียภาษีขาย ด้วยราคาตลาดของสินค้า ณ วันที่ตรวจพบ

เบี้ยปรับ

เสียเบี้ยปรับเป็น 2 เท่าของภาษีที่ต้องเสีย

รายงานการตรวจนับสินค้า

นำ "รายงานการตรวจนับสินค้า" เป็นหลักฐานในการตัดปริมาณสินค้าที่ขาดออกจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

สินค้าเกินจากรายงาน - ประเด็นความเสี่ยง ภาษี​

สาเหตุ -สินค้าเกินจากรายงาน

เรื่องสินค้าเกินจากรายงานสินค้าฯถ้าดูตามกฎหมายประมวลรัษฎากรแล้วจะเห็นว่าไม่มีประเด็นความเสี่ยง และไม่มีตรงไหนกำหนดว่าจะต้องเสียภาษีไม่ว่าจะเป็น ภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีมูลค่าเพิ่ม เพียงแต่ว่าถ้าตรวจนับสินค้าแล้วปรากฏว่าสินค้าเกินจากรายงานสินค้าฯกฎหมายกำหนดความผิดทาง อาญาไว้ตามมาตรา 90 (14) แห่งประมวลรัษฎากร ว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสินค้าเกินจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท (เปรียบเทียบปรับเพียง 1,000) โดยมีอายุความเพียง 1 ปีนับจากวันกระทำความผิด

ประเด็นสรรพากรสังเกต - สินค้าเกินจากรายงานบ่งบอกสรรพากรถึงประเด็นเล่านี้

ประเด็นภาษี เบี้ยปรับ กรณี สินค้าเกินจากรายงาน

ดังนั้นสินค้าเกินจากรายงาน อาจนำไปสู่ประเด็นความเสี่ยง – ให้อำนานเจ้าพนักงานในการกำหนดรายได้หรือรายรับที่ควรจะเป็นในการเสียภาษี ซึ่งเป็นอำนาจตามกฎหมายของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 65 ทวิ (4) และมาตรา 88/2 (4) แห่งประมวลรัษฎากร

  
มาตรา 88/2
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรา 88 และมาตรา 88/1 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจ
  
    (4) กำหนดมูลค่าที่ควรได้รับ โดยพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ หรือพฤติการณ์ของผู้ประกอบการ หรือสถิติการค้าของผู้ประกอบการเอง หรือของผู้ประกอบการที่กระทำกิจการทำนองเดียวกัน หรือพิจารณาจากหลักเกณฑ์ อย่างอื่นอันอาจแสดงมูลค่าที่ได้รับโดยสมควร

แต่ถ้าผู้ประกอบการ มีหลักฐาน ชี้แจงที่มาที่ไปของสินค้าได้ เช่น บางครั้งอาจจะมีข้อผิดพลาดเรื่องเอกสาร หรือการรับสินค้าเข้า STOCK แต่ลืมลงรายการในรายงานสินค้าฯ หรือมี การกระทำที่เจ้าพนักงานประเมินเชื่อได้ว่า ไม่มีการกระทำใดที่ส่งผลให้เสียภาษีไม่ครบถ้วน ก็เป็นอันสบายใจได้ว่า จะถูกปรับทางอาญาอย่างเดียว ไม่เกิน 2,000 บาท ไม่มีความรับผิดอย่างอื่น

การบันทึกบัญชี กรณีสินค้าขาด หรือ สินค้าเกินจากรายงาน

Periodic Inventory Method

บริษัทเพียงปรับปรุงปริมาณสินค้าตามสต๊อกให้ตรงตามผลการตรวจนับ และให้นำมูลค่าสินค้าคงเหลือตามที่ตรวจนับ และตีราคาไว้ไปบันทึกบัญชีถือเป็นสินค้าคงเหลือปลายงวดในงบการเงิน ผลการปฏิบัติดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนสินค้าที่ขายได้แบกรับมูลค่าสินค้าขาดเกินจากบัญชีคุม

Perpetual Inventory Method

บริษัทจะต้องปรับปรุงบัญชีสินค้าคงเหลือ และต้นทุนขายเสียใหม่ ให้ตรงตามผลการตรวจนับซึ่งจะมีผลให้ยอดตามบัญชีทั้งสองเพิ่มขึ้น หรือลดลงตามยอดสินค้าที่ขาดหรือเกิน

ขั้นตอนปฏิบัติการทำลายสินค้าเสื่อมชำรุด เสื่อมคุณภาพ ล้าสมัย เพื่อตัดออกจากบัญชี

คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 79/2541เรื่อง   แนวทางปฏิบัติ กรณีการทำลายของเสีย สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตำหนิสินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ และเศษซาก

การทำลาย คือ การทำให้สินค้าไม่มีอยู่ หรือไม่อยู่ในสภาพที่เป็นสินค้า อาจทำโดยการเผา การทุบ การบด การตัดเป็นชิ้น ๆ เทหรือฝัง กลบ – คือมองไม่เห็นเป็นชิ้นส่วนเดิม นำกลับมาใช้ไม่ได้เลย

ถ้าสินค้ายังมีตัวตนเป็นสินค้าให้เห็นไม่ถือเป็นการทำลาย(ยกเว้น
 
การบริจากให้องค์กรการกุศลสาธารณะ)
เช่น การนำสินค้าชำรุดไปบริจาคหรือมอบให้หน่วยงาน จึงไม่ถือว่าเป็นการทำลาย ดังนั้น ทำลายจึงต้องทำให้หมดไปจริงๆ

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการทำลายของเสียเกินปกติ เศษซาก สินค้าเสื่อมสภาพ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

การทำลายสินค้าไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้จะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร

ภาษีมูลค่าเพิ่ม - ไม่ถือว่าขาย

ไม่ถือเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2

ภาษีมูลค่าเพิ่ม - ภาษีซื้อขอเครดิตได้

ภาษีซื้อที่เกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวก็ไม่มีผลตามกฎหมายที่จะทำให้ภาษีซื้อต้องห้าม

หลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการทำลายสินค้าชำรุด เสื่อมสภาพ หรือล้าสมัย เพื่อตัดออกจาบัญชีสินค้าคงเหลือนั้น กรมสรรพากรได้วางหลักเกณฑ์การปฏิบัติไว้ดังนี้

ภาษาสรรพากร

  1. ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะทำลายสินค้า และตัดออกจากบัญชี จะทำได้ก็ต่อเมื่อได้ทำลายสินค้าแล้ว โดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามวิธีปฏิบัติทางการค้าอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป และให้ผู้ประกอบการแจ้งการทำลายสินค้าคงเหลือให้กรมสรรพากรทราบล่วงหน้าเป็นเวลา 30 วันก่อนวันทำลาย ซึ่งกรมสรรพากรอาจส่งเจ้าหน้าที่ไปดูการทำลายด้วยก็ได้ตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี และให้ผู้ประกอบการเชิญผู้สอบบัญชีของตนมาดูเพื่อเป็นพยานในการทำลาย พร้อมทั้งให้ผู้สอบบัญชีรับรองเป็นลายลักษณ์อักษร แนบงบดุลไว้ด้วย
 
  1. เมื่อได้มีการทำลายสินค้าโดยปฏิบัติให้เป็นไปตามวิธีปฏิบัติทางการค้าอันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป และตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดแล้ว ไม่ถือว่าเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนสินค้า จึงไม่ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 71/1 (8) แห่งประมวลรัษฏากร จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าสินค้าที่ได้ทำลายและตัดออกจากบัญชีสินค้าคงเหลือ
    หนังสือกรมสรรพากรที่ กค0811/08730 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2541

เราสรุปให้ ดังนี้

กิจการตัองมีนโยบายชัดเจนเกี่ยวกับ ของเสียตามปกติ ของเสียเกินปกติ เศษซาก สินค้ามีตำหนิ สินค้าเสื่อมอายุ สินค้าหมดสมัย สินค้าล้าสมัย สินค้าเสื่อมคุณภาพ

ของเสียตามปกติ

ตามคำสั่งกรมสรรพากร ทป 79/2541 ต้นทุนของของเสียตามปกติที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนของผลิตภัณฑ์หน่วยที่ดีด้วย - นับเข้าเป็นต้นทุกการผลิตได้ไม่ต้องแจ้งสรรพากร

ของเสียที่เกินปกติ

ของเสียที่เกิดขึ้นมากกว่าอัตราปกติที่ได้กำหนดไว้ในกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ เศษซาก สินค้ามีตำหนิ สินค้าเสื่อมสภาพ สินค้าล้าสมัย

กิจการต้องทำจะได้ไม่ต้องโต้แย้งกับสรรพากร จัดทำให้สอดคล้องกับแนวทางการตรวจแนะนำของกรมสรรพากร
เพื่อลดปัญหาข้อพิพาทกับเจ้าหน้าที่   —
เราสรุปให้ด้งนี้

การทำลายเศษซาก สินค้ามีตำหนิ สินค้าเสื่อมอายุ สินค้าหมดสมัย สินค้าล้าสมัย สินค้าเสื่อมคุณภาพ ต้องดำเนินการดังนี้ เพื่อบันทึกเป็นรายจ่ายได้

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล   ประสงค์จะตัดต้นทุนดังกล่าวเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ทำลายนั้น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้

ตัวอย่างในกลุ่มนี้ เช่น   ผลิตภัณฑ์อาหาร เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์

  1. กิจการต้องกำหนดหลักเกณฑ์การผลิตอย่างชัดเจน ว่าเกิดของเสีย เศษซาก ปริมาณเท่าไหร่ถือว่าเป็นของเสียตามปกติ และ ส่วนเกินเป็นของเสียเกินปกติ เศษซากคืออะไร  - บริษัทต้องชัดเจนในการกำหนดมาตราฐานการผลิต ขอบเขตของเสียปกติ ของเสียเกินปกติ และเศษซากอย่างชัดเจน
  2. มีการอนุมัติจากกรรมการบริษัท กิจการ ห้างหุ้นส่วนเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน
  3. เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี  - ให้มีตัวแทน ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขาย หรือฝ่ายตรวจสอบ (ถ้ามี) ร่วมสังเกตการณ์ และลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำลาย
  4. เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี ให้เชิญผู้สอบบัญชีมาเป็นพยานในการทำลาย 
  5. ไม่ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่กรมสรรพากรร่วมเป็นพยานในการทำลายก็ได้
  1. กิจการต้องกำหนดหลักเกณฑ์การผลิตอย่างชัดเจน ว่าเกิดของเสีย เศษซาก ปริมาณเท่าไหร่ถือว่าเป็นของเสียตามปกติ และ ส่วนเกินเป็นของเสียเกินปกติ เศษซากคืออะไร  - บริษัทต้องชัดเจนในการกำหนดมาตราฐานการผลิต ขอบเขตของเสียปกติ ของเสียเกินปกติ และเศษซากอย่างชัดเจน
  2. มีการอนุมัติจากกรรมการบริษัท กิจการ ห้างหุ้นส่วนเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน
  3. แจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่กรมสรรพากรร่วมเป็นพยานในการทำลายก็ได้

ทั้งสองกรณีสิ่งสำคัญที่ต้องมีคือ

1. ของเสียเกินปกติ / เศษซาก กิจการต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการผลิตไว้อย่างชัดเจนว่าปริมาณของเสียตามปกติคืออะไร เท่าไหร่ ถือว่าเป็นอัตราปกติของกรรมวิธีการผลิต อะไรคือของเสียเกินปกติ เศษซากของแต่ละการผลิตแตกต่างกันอย่างไร 

2. ต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจในการพิจารณาให้เป็นของเสียเกินปกติ /เศษซาก / สินค้ามีตำนิ /สินค้าเสื่อมสภาพ /สินค้าล้าสมัย / สินค้าเสื่อมอายุ ทุกกรณี

3. สินค้าได้รับคืน กิจการต้องมีหลักฐานการรับคืน ระบุ รายละเอียดสินค้าที่รับคืน เช่น วัน เดือน ปี ที่รับคืน ปริมาณสินค้าที่รับคืน ชนิด รหัส สาเหตุที่รับคืน เลขที่อ้างอิงการสั่งซื้อสินค้า และลายมือชื่อลูกค้าที่ส่งสินค้าคือน พนักงานที่รับคืนสินค้า และพนักงานฝ่ายคลังที่รับสินค้าไว้เพื่อตรวจสรับ

ข้อหารือภาษีอากร - สินค้าขาดจากรายงาน สินค้าเกินจากรายงาน

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสินค้าสูญหาย

เลขที่หนังสือ: กค 0706/34153

วันที่: 3 พฤษภาคม 2548

เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสินค้าสูญหาย

ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ:

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นวันหยุดทำการของบริษัทฯ สินค้าของบริษัทฯ ได้แก่ เพชร พลอย แหวน ต่างหู จี้ สร้อยคอ และอื่นๆ อีกหลายรายการมีมูลค่ารวม 2,901,355.69 บาทได้ถูกโจรกรรมโดยนาย ด. และบริษัทฯ ได้แจ้งความและดำเนินคดีทางกฎหมายกับนาย ด. ตามสำเนาคำพิพากษาของศาลอาญากรุงเทพใต้คดีหมายเลขแดง และเนื่องจากการดำเนินคดีได้สิ้นสุดลงแล้ว

บริษัทฯ จึงขอทราบว่า ค่าเสียหายมูลค่า 2,901,355.69 บาท บริษัทฯ มีสิทธินำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2548 และมีสิทธินำภาษีซื้อของสินค้าที่ถูกโจรกรรมไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่

 

แนววินิจฉัย

 

: 1. กรณีสินค้าของบริษัทฯ สูญหายและบริษัทฯ มีหลักฐานแจ้งชัดว่า สินค้าดังกล่าวถูกโจรกรรม ถือเป็นผลเสียหายเนื่องจากการประกอบกิจการ หากผลเสียหายดังกล่าวไม่มีประกันหรือสัญญาคุ้มกันใด ๆ

บริษัทฯ มีสิทธิ นำมูลค่าต้นทุนของสินค้าทั้งจำนวนไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(12) แห่งประมวลรัษฎากร

โดยต้องลงเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผลเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้น และหากภายหลังบริษัทฯ ได้รับชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนในรอบระยะเวลาบัญชีใดก็ให้นำจำนวนหนี้ที่ได้รับชำระแล้วนั้น มาลงเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นด้วย

 

2. กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว สินค้าคงเหลือของบริษัทฯ สูญหาย เนื่องจากถูกโจรกรรม สินค้าที่ถูกโจรกรรมเข้าลักษณะเป็นสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ถือเป็นการขายสินค้า

บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าตามราคาตลาดของสินค้าที่ถูกโจรกรรมไปดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/1(8)(จ) มาตรา 79 มาตรา 79/3(3) และมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร

สำหรับภาษีซื้ออันเกิดจากสินค้าที่ถูกโจรกรรมไปนั้น เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ หากไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร

บริษัทฯ มีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้:69/34153

วิธีการตัดจำหน่ายสินค้าสูญหาย, ตรวจนับพบสินค้าขาด/เกินจาก Stock

วิธีการตัดจำหน่ายสินค้าสูญหาย, ตรวจนับพบสินค้าขาด/เกินจาก Stock 

ตอบ กรณีสินค้าสูญหาย เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องระมัดระวังในการจัดการ โดยแต่ละกิจการก็พยายามที่จะหาหนทางหรือวิธีการในการจัดการเกี่ยวกับสินค้า แต่ในบางครั้งก็ยังไม่สามารถควบคุมได้ ในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีได้มีการให้แนวทางปฏิบัติไว้ว่าให้รับรู้ผลขาดทุนอื่นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงเหลือ เช่น ขาดทุนจากสินค้าสูญหาย โดยกิจการต้องจัดประเภทผลขาดทุนนั้นในงบการเงินงวดก่อนที่นำมาเปรียบเทียบ โดยแสดงไว้เป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการบริหาร 

ในกรณีของสินค้าขาดรายงานต้องเสียภาษีขาย (ม.77/1 (8) (จ)) เบี้ยปรับ 2 เท่า (ม.89 (10)) ถูกปรับอาญา 2,000 บาท (ม.90 (14) (15))

ในแง่ของการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลสินค้าขาดสต๊อก / สินค้าขาดจากรายงาน

กรณีสินค้าของบริษัทฯ สูญหายและบริษัทฯ มีหลักฐานแจ้งชัดว่า สินค้าดังกล่าวถูกโจรกรรม ถือเป็นผลเสียหายเนื่องจากการประกอบกิจการ หากผลเสียหายดังกล่าวไม่มีประกันหรือสัญญาคุ้มกันใด ๆ บริษัทฯ มีสิทธิ นำมูลค่าต้นทุนของสินค้าทั้งจำนวนไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(12) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องลงเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผลเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้น และหากภายหลังบริษัทฯ ได้รับชำระหนี้ (ได้รับคืน) ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนในรอบระยะเวลาบัญชีใดก็ให้นำจำนวนหนี้ที่ได้รับชำระแล้วนั้น มาลงเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นด้วย

ในแง่ของภาษีมูลค่าเพิ่มสินค้าขาดสต๊อก / สินค้าขาดจากรายงาน

สินค้าคงเหลือของบริษัทฯ สูญหาย เนื่องจากถูกโจรกรรม สินค้าที่ถูกโจรกรรมเข้าลักษณะเป็นสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ถือเป็นการขายสินค้า บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าตามราคาตลาดของสินค้าที่ถูกโจรกรรมไปดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/1(8)(จ) มาตรา 79 มาตรา 79/3(3) และมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับภาษีซื้ออันเกิดจากสินค้าที่ถูกโจรกรรมไปนั้น เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ หากไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

โดย อาจารย์ธนพล สุขมั่นธรรม   https://www.dha.co.th

ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสินค้าของบริษัทฯ สูญหาย

เลขที่หนังสือ: กค. 0706/พ./6444

วันที่: 2 กรกฎาคม 2550

เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสินค้าสูญหายเนื่องจากถูกลักขโมย

ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี (12) มาตรา 77/1(8)(9) มาตรา 77/1(8)(จ) มาตรา 79 มาตรา 79/3(3) มาตรา 87(3) มาตรา 82/3 และมาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร.

ข้อหารือ

: บริษัทฯ ประกอบธุรกิจจำหน่ายเศษโลหะทุกชนิดโดยรับซื้อจากหลายแหล่งนำมาคัดแยกแล้วอัดเป็นก้อนเพื่อจำหน่ายทั้งภายในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ

 

ในระหว่างปี 2547 บริษัทฯ ถูกโจรกรรมในเวลากลางคืน และสินค้าของบริษัทฯ ถูกลักขโมย ในวันรุ่งขึ้น บริษัทฯ ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาล และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มาตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุภายในโรงงานเพื่อติดตามจับกุมคนร้าย

 

ต่อมา สถานีตำรวจนครบาล แจ้งว่า พนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนการสอบสวนมีความเห็นให้งดการสอบสวน โดยส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการศาลอาญากรุงเทพใต้ ซึ่งพนักงานอัยการมีความเห็นให้งดการสอบสวน และมีคำสั่งให้งดการสอบสวน

 

บริษัทฯ ขอทราบว่า ความเข้าใจของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่ ดังต่อไปนี้

 

1. สินค้าของบริษัทฯ ที่ถูกขโมยเป็นสินค้าที่ไม่มีประกัน หรือสัญญาคุ้มกันใดๆ มูลค่าของสินค้าที่สูญหายดังกล่าว ถือเป็นผลเสียหายเนื่องจากการประกอบกิจการ ไม่ถือเป็นการขายที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

2. บริษัทฯ มีสิทธินำมูลค่าต้นทุนของสินค้าที่สูญหายไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร

 

3. สินค้าคงเหลือของบริษัทฯ ที่สูญหายเนื่องจากการถูกโจรกรรม เข้าลักษณะเป็นสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ถือเป็นการขายสินค้า บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าสินค้าที่สูญหายดังกล่าว

 

4. ภาษีซื้อของสินค้าที่ถูกโจรกรรม เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

 

แนววินิจฉัย

: 1.กรณีตาม 1 และ 2 สินค้าของบริษัทฯ สูญหาย และบริษัทฯ มีหลักฐานแจ้งชัดว่าสินค้าดังกล่าวถูกโจรกรรม ถือเป็นผลเสียหายเนื่องจากการประกอบกิจการ ผลเสียหายดังกล่าวไม่มีประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ บริษัทฯ มีสิทธินำมูลค่าต้นทุนของสินค้าทั้งจำนวนไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องนำมาถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถูกโจรกรรม มิใช่รอบระยะเวลาบัญชีที่การดำเนินคดีความสิ้นสุด และหากภายหลังบริษัทฯ ได้รับสินค้าคืนหรือได้รับชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็ให้นำจำนวนสินค้าหรือจำนวนหนี้ที่ได้รับชำระมาถือเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

 

2. กรณีตาม 3 สินค้าคงเหลือของบริษัทฯ ที่สูญหายเนื่องจากถูกโจรกรรม สินค้าดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) และ(9) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30 จากมูลค่าของสินค้าตามราคาตลาดของสินค้าที่ถูกโจรกรรมไป ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/1(8)(จ) มาตรา 79 มาตรา 79/3(3) และมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร

 

3. กรณีตาม 4 หากบริษัทฯ ได้ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มรายอื่น ภาษีซื้อดังกล่าวถือเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ บริษัทฯ มีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ไม่เป็นต้องห้าม ตามมาตรา 82/3 และมาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้: 70/35085

ผลต่างจากการนับสินค้าคงเหลือ

กรณีที่บริษัทนับสินค้าคงเหลือแล้วพบว่า

1.สินค้าที่นับได้จริงน้อยกว่ารายงานสินค้าคงเหลือในระบบบัญชี  – สินค้าขาดจากสต๊อก ( สินค้าขาดจากรายงานสินค้าคงเหลือ)

2.สินค้าที่นับได้จริงมากกว่ากว่ารายงานสินค้าคงเหลือในระบบบัญชี  – สินค้าเกินจากสต๊อก ( สินค้าเกินจากรายงานสินค้าคงเหลือ)

ทั้ง 2 กรณีมีภาระทางด้านภาษีอากรอย่างไร
 
ผลกระทำทางภาษีอากร กรณีที่บริษัทฯ ตรวจนับสินค้าคงเหลือ
1. กรณีที่ตรวจพบว่า สินค้าที่นับได้จริงน้อยกว่ารายงานสินค้าคงเหลือในระบบบัญชี หรือ “สินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ” 

1.1 กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม 

กรณีดังกล่าว ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8)(จ) แห่งประมวลรัษฎากรนื่องจาก “มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 (3) หรือมาตรา 87 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร” ซึ่งตามมาตรา 78/3 แหงประมวลรัษฎากร ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 189 กำหนดให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อบริษัทฯ ได้ “ตรวจพบ” ว่าสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบฯ ดังกล่าว 

บริษัทฯ จึงต้องนำมูลค่าของสินค้าขาดจากรายงานไปรวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีในเดือนภาษีที่ตรวจพบ เพื่อเสียภาษีขายในอัตราร้อยละ 7.0 ของมูลค่าสินค้าตามราคาตลาดตามมาตรา 79/3 แห่งประมวลรัษฎากร 

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังอาจต้องรับผิดระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 90 (15) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจาก “ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงาน โดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 87 หรือตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1 แห่งประมวลรัษฎากร”

1.2 กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล 

การที่สินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เป็นกรณีที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร บริษัทฯ ต้องนำมูลค่าของสินค้าขาดจากรายงานมาถือรวมเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยนำไปปรับปรุงในแบบ ภ.ง.ด.50   – เนื่องจากพิสูจน์ไม่ได้ว่าถูกโจรกรรม ถ้ามีหลักฐานชัดเจนจะสามารถบันทึกเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิได้


2. กรณีที่ตรวจพบว่า สินค้าที่นับได้จริงมากกว่ากว่ารายงานสินค้าคงเหลือในระบบบัญชี หรือ “สินค้าเกินจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ” 

2.1 กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม 

กรณีดังกล่าว ไม่ถือเป็นการขายสินค้า บริษัทฯ อาจต้องรับผิดระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 90 (14) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจาก (14) ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสินค้าเกินจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 

2.2 กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล
ไม่มีผลกระทบใดๆ ในกรณีนี้

ค่าส่งเสริมการขาย / ยอดแต้มสะสม(incentive) แลกเป็นสินค้ากับภาระภาษี

เรียนอ.สุเทพ ที่เคารพ
ขอเรียนถาม กรณีบริษัทฯ ได้ยอดแต้มสะสม(incentive) จากการสั่งซื้อของจากsupplier รายหนึ่ง ซึ่งแต้มนี้ทางsupplier ให้แลกเป็นสินค้าได้ หากไม่แลกในเวลาที่กำหนด แต้มนี้จะหมดอายุไป ซึ่งทางบริษัทฯ ได้แลกเป็นสินค้ามาเพื่อขาย (ทางsupplier มีแต่ใบส่งสินค้าให้เท่านั้น)ขอเรียนถามว่า
1.ทางบริษัทได้ลงบัญชีรับ Dr.สินค้าคงคลัง Cr.รายได้อื่นๆ ..ถูกต้องแล้วหรือไม่คะ
2.รายได้อื่นนั้น อยู่ในข่ายต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่คะ ..และหากต้องนำส่งVat …ในรายงานภาษีขายต้องลงรายการอย่างไรคะ

ขอบพระคุณค่ะ
อัคพร
กรณีบริษัทฯ ได้ยอดแต้มสะสม (incentive) จากการสั่งซื้อของจาก supplier รายหนึ่ง ซึ่งแต้มนี้ทาง supplier ให้แลกเป็นสินค้าได้ หากไม่แลกในเวลาที่กำหนด แต้มนี้จะหมดอายุไป ซึ่งทางบริษัทฯ ได้แลกเป็นสินค้ามาเพื่อขาย (ทาง supplier มีแต่ใบส่งสินค้าให้เท่านั้น) ขอเรียนถามว่า
1. ในทางปฏิบัติ บริษัทฯ อาจเลือกบันทึกบัญชโดย Dr.สินค้าคงคลัง Cr.รายได้อื่นๆ และเมื่อขายก็ให้นำรายได้อื่นมาเป็นต้นทุนของสินค้าที่ขาย หรือจะเลือกไม่รับรู้รายได้อื่น ก็ได้
2. การได้รับสินค้าจาก Supplier ดังกล่าว ไม่ใช่รายได้จากการขายสินค้าหรือการให้บริการตามมาตรา 77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 
ตอบเมื่อ 25 ส.ค. 2559  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการทำลายสินค้า

เลขที่หนังสือกค 0706/308

วันที่: 15 มกราคม 2551

เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการทำลายสินค้า

ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี และมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ  บริษัท ค. ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายอาหารธัญพืช โดยมีข้อเท็จจริงดังนี้

1. บริษัทฯ ได้ตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2549 พบว่า มีสินค้าเน่าเสียจำนวนหนึ่ง และไม่สามารถนำออกขายได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ได้ตรวจนับสินค้าคงเหลือ จึงพิจารณารายการสินค้าคงเหลือที่ชำรุดเสียหาย

2. บริษัทฯ ได้ย้ายสถานประกอบการเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2550 บริษัทฯ ตรวจพบว่ามีสินค้าที่อยู่ในสภาพที่ชำรุด เสียหาย และเน่าเสียอีกจำนวนหนึ่งฝ่ายโรงงานจึงเสนอให้มีการทำลายสินค้าที่ชำรุด เสียหาย และเน่าเสีย ซึ่งไม่สามารถจำหน่ายได้

บริษัทฯ จึงขอทราบว่า กรณีบริษัทฯ ทำลายสินค้าที่ชำรุด เสียหาย และเน่าเสียดังกล่าว บริษัทฯ จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และบริษัทฯ จะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

 

แนววินิจฉัย กรณีสินค้าเน่าเสียเสื่อมชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือล้าสมัย ที่โดยสภาพไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้

 

หากบริษัทฯ ได้ทำลายสินค้าซึ่งชำรุดบกพร่องนั้นตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดแล้ว ไม่ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร

บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าสินค้าที่ได้ทำลาย และ

บริษัทฯ มีสิทธิตัดต้นทุนที่เหลือเป็นรายจ่ายได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

เมื่อได้รับอนุมัติให้ทำลายของเสียหรือสินค้าหรือเศษซากจากผู้มีอำนาจอนุมัติให้ทำลายสินค้าแล้วให้มีบุคคลอย่างน้อยประกอบด้วย ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขาย หรือฝ่ายตรวจสอบ (ถ้ามี) ร่วมสังเกตการณ์ และลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำลายเพื่อใช้เป็น หลักฐานในการบันทึกบัญชี พร้อมทั้งเชิญผู้สอบบัญชีมาเป็นพยานในการทำลาย ทั้งนี้

บริษัทฯ ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรร่วมเป็นพยานในการทำลายก็ได้

เลขตู้ : 71/35565

พนักงานยักยอกสินค้าของบริษัท ทางบริษัท มีการแจ้งตำรวจดำเนินคดี

Inbox: พฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 0:16 น. 
คุณ Sajee Lnm

รบกวนสอบถามเกี่ยวกับพนักงานยักยอกสินค้าของบริษัทคะ ทางบริษัท มีการแจ้งตำรวจดำเนินคดี กับพนักงาน สอบถามว่า 

1. แล้วถ้าพนักงานอ้างชื่อลูกค้ามาเปิดบิลขาย แล้วทางบริษัทฯ ได้รวมยอดบิลนั้นแจ้งความแล้ว แต่ทางโกดังยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบยอดสินค้า และรอการเช็คยอดรายละเอียดสินค้าและลูกค้า ใช้ระยะเวลา 6 เดือนเช็คยอดเสร็จสมบูรณ์ และขออนุมัติจากกรรมการแล้ว สอบถามคะว่าวันที่ตัดสต๊อก และทราบผล การยักยอก เป็นวันที่ตรวจสอบเสร็จแล้วหรือไม่

2. การตัดสินค้าออกจากสต๊อกตัดอย่างไร บันทึกพนักงานเป็นลูกหนี้อย่างไร 

3. มีผลทางภาษีอย่างไรบ้าง 

4. สามารถตัดหนี้สูญทางกฎหมายได้หรือไม่ อย่างไร

5. ราคาที่ใช้ยื่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้ราคาไหนคะ และราคาที่บันทึกค่าใช้จ่ายราคาไหนคะ

ขอบคุณคะ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์


วิสัชนา: 


เกี่ยวกับกรณี พนักงานยักยอกสินค้าของบริษัทฯ กรณีพนักงานอ้างชื่อลูกค้ามาเปิดบิลขาย แล้วทางบริษัทฯ ได้รวมยอดบิลนั้นแจ้งความแล้ว แต่ทางโกดังยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบยอดสินค้า และรอการเช็คยอดรายละเอียดสินค้าและลูกค้า ใช้ระยะเวลา 6 เดือนเช็คยอดเสร็จสมบูรณ์ และขออนุมัติจากกรรมการแล้ว ซึ่งทางบริษัทฯ ได้ทำการแจ้งความเพื่อดำเนินคดี กับพนักงานแล้ว นั้น

1. ถือว่าวันที่ตัดสต๊อก และทราบผลการยักยอก เป็นวันที่ตรวจสอบเสร็จ ถูกต้องแล้ว

2. การตัดสินค้าออกจากสต๊อก บริษัทฯ ต้องสำรวจความเสียหายทั้งปริมาณและมูลค่าของสินค้าที่ถูกพนักงานยักยอกไป ก่อนที่จะได้แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งต้องได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจของ บริษัทฯ มาก่อนแล้ว และหากยังไม่ได้กระทำ ก็ให้เร่งรีบดำเนินการ แล้วนำหลักฐานดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ในการตัดสต๊อกสินค้าและการบันทึกความเสียหายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และบันทึกพนักงานเป็นลูกหนี้นอกบัญชี เพื่อติดตามเร่งรัดให้ได้รับชำระหนี้ต่อไป ครั้นเมื่อได้รับชำระหนี้เท่าใด ก็ใ้ห้รับรู้รายได้ทางภาษีอากรเท่านั้น โดยถือเป็นความเสียหายได้รับกลับคืน และไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีมลู่ค่าเพิ่มอีก

3. 4. และ 5. มีผลทางภาษีอากรดังนี้ 

….(1) กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ ได้เปิดใบกำกับภาษีและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว จึงเป็นอันสิ้นสุด
………แต่ถ้ายังไม่ได้นำไปรวมเป็นมูลค่าของฐานภาษี การที่สินค้าถูกยักยอกถือเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนสินค้า บริษัทฯ ต้องนำมูลค่าสินค้าที่ถูกยักยอกตามราคาทุนไปบันทึกรายงานภาษีขายเพื่อรวคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีที่ถูกยักยอก ได้แก่ เดือนภาษีที่ตรวจพบว่าสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ตามข้อ 1. ข้างต้น

….(2) กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล การยักยอกของพนักงาน ถือเป็นความเสียหายของกิจการ ไม่ใช่การจำหน่ายหนี้สูญ ดังนั้นเมื่อมีหลักฐานการติตามทวงถามตามสมควรแก่กรณีแล้ว บริษัทฯ ย่อมสามารถรับรู้ความเสียหายตามราคาตาม (1) ได้แก่ ราคาหรือราคาทุนแล้วแต่กรณี ดังกล่าว ถือเป็นรายจ่ายในการดำเนินการได้ โดยไม่ต้องรอให้คดีถึงที่สุด ครั้นเมื่อได้รับชำระหนี้เท่าใด ก็ให้รับรู้รายได้เท่านั้น โดยถือเป็นความเสียหายได้รับกลับคืน

สินค้าขาดสต๊อก - กิจการแจ้งความดำเนินคดี

บริษัท J ประกอบกิจการนำเข้าสินค้าอะไหล่เครื่องจักรกล และเมื่อเดือนธันวาคม 2546 ได้ ตรวจนับสินค้าคงเหลือประจำปีปรากฏว่า ตลับลูกปืนที่ใช้กับเครื่องจักรซึ่งเป็นสินค้าของบริษัทฯ ได้สูญหาย ไปจำนวน 2 รายการ ราคาต้นทุนรวมเป็นเงินจำนวน 657,000 บาท

 

ซึ่งบริษัทฯ ได้ดำเนินการ แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจไว้เรียบร้อยแล้ว

 

บริษัทฯ จึงหารือว่า 


1. บริษัทฯ ต้องนำราคาสินค้าดังกล่าวมาคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่อย่างไร 

2. สินค้าของบริษัทฯ ที่สูญหายต้องเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(10) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ หากต้องเสียเบี้ยปรับบริษัทฯ ขอลดเบี้ยปรับให้ด้วย

 

กรณีบริษัทฯ ตรวจนับสินค้าคงเหลือแล้วปรากฏว่า สินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตาม มาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร

เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ว่าเกิดโดยเหตุสุดวิสัย –  ถึงแจ้งความแต่ไม่ได้ทำให้ไม่ต้องเสียภาษี

 

ต้องถือว่าสินค้าที่ขาดไปนั้นได้ขายไปแล้วตามมาตรา 77/1(8)(จ) แห่งประมวลรัษฎากร

 

บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร

 

และต้องเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของ เงินภาษี ซึ่งคำนวณจากมูลค่าของฐานภาษีตามราคาตลาดของสินค้าในวันที่ตรวจพบตามมาตรา 79/3(3) และมาตรา 89(10) แห่งประมวลรัษฎากร

 

ทั้งนี้ บริษัทฯ มีสิทธิได้รับการลดเบี้ยปรับตามข้อ 7 ของ คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และ มาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่นกรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 32,742

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า