Skip to content

ภาษี ค่าขนส่งและค่าบริการที่เกี่ยวกับสินค้า ในกิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต และกิจการบริการ​

ภาษี ค่าขนส่งและค่าบริการ ที่เกี่ยวกับสินค้า ใน
กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต และกิจการบริการ

รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขายในการรับทำบัญชี ภาษี ค่าขนส่ง บริการ ติดตั้ง บริการผลิต ทางสำนักงานบัญชีจะได้รับคำถามจากทางผู้ประกอบกิจการขนส่ง กิจการซื้อมาขายไป พร้อมให้บริการขนส่ง หรือกิจการรับบริการรถตู้ให้เช่า กิจการรับส่งเอกสาร กิจการขายของที่ผลิตเองแต่มีการปรับแต่งรายละเอียดให้ลูกค้าได้เช่น บริษัทผลิตซองจดหมายมาตราฐาน  จึงได้รวบรวมคำถามต่างๆ ที่ตามปัญหาต่างๆ มาไว้ในด้านล่างนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงกับ เนื่องจากค่าขนส่งถ้าเป็นการประกอบกิจการเป็นการทั่วไป ไม่เข้าข่ายต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้ามีการให้บริการร่วมด้วยจะเข้าเงื่อนไขเป็นบริการต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม  ส่วนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายนั้น ในกรณีขนส่งหักอัตราร้อยละ 1 แต่ค่าบริการผู้จ่ายต้องหักในอัตราร้อยละ 3

การจ่ายค่าขนส่ง ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร

การจ่ายค่าขนส่ง แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ 
             1. ผู้จ่ายเงินเป็นบุคคลธรรมดา ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพราะไม่อยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
             2. ผู้จ่ายเงินเป็นนิติบุคคล และจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลในประเทศ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิ หรือสมาคม ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

การขนส่งหมายถึง การขนคนหรือขนของส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะต้องประกอบธุรกิจขนส่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 1 ไม่ว่าผู้รับขนส่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม

ภาษี ค่าขนส่งและค่าบริการภาษี ค่าขนส่งและค่าบริการ สำนักงานบัญชี กรุงเทพ รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต รับทำบัญชีรายเดือน

บริษัทประกอบกิจการขายน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคพร้อมขนส่งให้แก่เรือต่างประเทศที่เข้ามาขนถ่ายสินค้า โดยบริษัทซื้อน้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค และถ่ายลงเรือยนต์บรรทุกน้ำของบริษัท จากนั้นนำไปจ่ายให้เรือต่างประเทศ และเรียกเก็บเงินจากตัวแทนเรือหรือเจ้าของเรือต่อไป การขายน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคพร้อมขนส่ง ถือเป็นการขายสินค้า เมื่อผู้ซื้อชำระราคาค่าสินค้าดังกล่าวแก่ห้างฯ จึงไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ภาษี ค่าขนส่งและค่าบริการ
ภาษี ค่าขนส่งและค่าบริการ

ภาษี ค่าขนส่งและค่าบริการ ที่เกี่ยวข้อ ในกิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต และกิจการบริการ

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ค่าบริการ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตราร้อยละ 3 |
ค่าขนส่ง ภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตราร้อยละ 1

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ค่าบริการ ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 | ค่าขนส่ง ได้รับการยกเว้น

อากรแสตมป์

สัญญาบริการต้องติดอากร | สัญญาขนส่งไม่ใช่สัญญาจ้างทำของไม่ต้องติดอากร

สรุปบัญชีภาษี ค่าขนส่งและค่าบริการ ดังนี้

ธุรกิจ ซื้อมาขายไป

                  กิจการขาย + บริการติดตั้ง
      รวมยอด              –  VAT 7 %   : W/H – ไม่หัก
แยกยอด/บิล  สินค้า   –  VAT 7 %  : W/H – ไม่หัก
แยกยอด/บิล  บริการ  –  VAT 7%  : W/H – หัก 3%

                       กิจการขาย+ จัดส่งให้
              (กิจการไม่ได้ประกอบการขนส่ง)
         รวมยอด           –  VAT 7 %   : W/H – ไม่หัก
แยกยอด/บิล  สินค้า    –  VAT 7 %  : W/H – ไม่หัก
แยกยอด/บิล  จัดส่ง   –  VAT 7%  : W/H – ไม่หัก

                      กิจการขาย+ จัดส่งให้
             (กิจการประกอบการขนส่งปกติธุระ)
รวมยอดค่าสินค้า         –  VAT 7 %   : W/H – ไม่หัก
แยกยอด/บิล  สินค้า    –  VAT 7 %  : W/H – ไม่หัก
แยกยอด/บิล  จัดส่ง   –  non VAT  : W/H – หัก 1%

บริการ

ค่าบริการ + อะไหล่ /วัสดุ –  VAT 7%  : W/H – หัก 3%

ค่าวัสดุ / อะไหล่   –  VAT 7%  : W/H – หัก 3%

รับจ้างผลิต

ถือว่าเป็นการรับจ้างผลิต – บริการ VAT 7%  : W/H – หัก 3%

สัญญาจ้างทำของต้องติดอากรแสตมป์

กิจการขาย+ผลิต

ผลิต + ปรับเปลี่ยนเล็กน้อยตามแบบที่มีอยู่แล้วเช่น เปลี่ยนสี มีโลโก้   – ขาย VAT 7 %  : W/H – ไม่หัก

ผลิต + ใช้วัสดุผู้ว่าจ้าง – บริการ VAT 7%  : W/H – หัก 3%

ผลิต +  วัสดุผู้รับจ้างจัดหามาให้เป็นพิเศษแตกต่างจากที่ทำอยู่ – บริการ VAT 7%  : W/H – หัก 3%

 

*ตัวอย่างกิจการ เช่น กิจการขายซองจดหมาย และรับพิมพ์เพิ่มโลโก้ ชื่อที่อยู่ลูกค้าบนซอง  หรือกิจการขายของพรีเมี่ยม ของแจกปีใหม่ ผลิตกระเป๋าขายเป็นปกติ  ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป

ภาษี ค่าขนส่งและค่าบริการ
ภาษี ค่าขนส่งและค่าบริการ ที่มารูป Facebook ท่านอาจารย์สุเทพ

ข้อหารือภาษีอากร ค่าบริการติดตั้ง ผลิต พร้อมสินค้า

ตัวอย่างแนวคำตอบข้อหารือ กรณีรับจ้างผลิต โดยผู้รับจ้างผลิดไม่ได้ผลิตสินค้านั้น ขายเป็นปกิติธุระ จึงยังคงถือว่าเป็นการให้บริการรับจ้างผลิต ที่อยู่ในข่ายที่ต้องถูกหัภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย - ควรอ่าน

เลขที่หนังสือ : กค 0706/พ./6743 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2549
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการรับจ้างผลิตสินค้า
ข้อกฎหมาย : มาตรา 77/1(10) และมาตรา 78/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ:

ภาษี ค่าขนส่งและค่าบริการ ชีบริษัท บ. ประกอบกิจการเป็นผู้รับจ้างผลิตอะไหล่ลูกกลิ้งยาง และวัสดุอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมทุกชนิด รวมทั้งการให้บริการซ่อมวัสดุอุปกรณ์ โดยจะผลิตตามคำสั่งของลูกค้าแต่ละรายซึ่งเป็นผู้กำหนดขนาด รูปแบบ ชนิด และความแข็งของยาง ตลอดจนสีที่ต้องการ โดยบริษัทฯ จะเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบและวัสดุต่างๆ เองและนำไปบันทึกเป็นต้นทุนการผลิตของกิจการ โดยมีขั้นตอนการออกเอกสาร ดังนี้
1. เมื่อกระทำเสร็จพร้อมส่งมอบจะออกเอกสารใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ให้ลูกค้าเพื่อยืนยันการรับสินค้า ยกเว้นกรณีสินค้าไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดของลูกค้าจะส่งกลับ และบริษัทฯ จะดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องก่อนส่งมอบต่อไป
2. เมื่อครบกำหนดชำระเงิน และได้รับชำระเงินจากลูกค้าจากการรับจ้างผลิต บริษัทฯ จะออกใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้า
บริษัทฯ จึงขอทราบว่า กรณีดังกล่าวเป็นการรับจ้างผลิตหรือเป็นการขายสินค้า และความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อใด

 

แนววินิจฉัย

 

ภาษี ค่าขนส่งและค่าบริการตามข้อเท็จจริงหากบริษัทฯ ไม่ได้ผลิตสินค้าเพื่อขายเป็นปกติธุระแต่จะกระทำการผลิตตามคำสั่งที่ลูกค้ากำหนดเท่านั้น โดยคู่สัญญามุ่งโดยตรงต่อผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ มิได้มุ่งโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าแต่อย่างใด ถือเป็นการรับจ้างทำของเข้าลักษณะเป็นการให้บริการซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/1 (10) และตาม มาตรา 78/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น กรณีบริษัทฯ ออกเอกสารใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ให้ลูกค้าเพื่อยืนยันการรับสินค้าโดยยังมิได้รับชำระราคาค่าบริการ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงยังไม่เกิดขึ้น

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการขายสินค้าพร้อมบริการติดตั้ง การขายส่งและขายปลีกวัสดุก่อสร้าง

บริษัท ซ. ได้ขอหารือเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการขายสินค้าพร้อมติดตั้ง สรุปข้อเท็จจริงได้ดังนี้

       ภาษี ค่าขนส่งและค่าบริการ ชี    1.บริษัทฯ ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มประกอบกิจการเกี่ยวกับการขายส่งและขายปลีกวัสดุก่อสร้าง พร้อมบริการติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวอยู่เป็นปกติ ทั้งนี้ ในการขายสินค้าของบริษัทฯ ผู้ซื้อสามารถซื้อเฉพาะสินค้าของบริษัทฯ โดยไม่รับบริการติดตั้งจากบริษัทฯ ก็ได้ ผู้ซื้อสามารถจ้างบุคคลอื่นมาติดตั้งแทนและไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้าพร้อมรับบริการติดตั้งจากบริษัทฯ

          2.เนื่องจากในการทำสัญญาซื้อขายและติดตั้งระหว่างบริษัทฯ กับผู้ซื้อ การออกใบกำกับภาษีขายมิได้มีการระบุแยกรายการว่าเป็นราคาค่าสินค้าและเป็นค่าบริการจำนวนเท่าใด จึงทำให้เกิดปัญหาในการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย บริษัทฯ จึงขอหารือในกรณีดังนี้

               2.1 ถ้าบริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีขายโดยแยกรายการเป็นค่าสินค้าและค่าบริการออกจากกัน ราคาสินค้าที่แยกถือเป็นการขายสินค้า ผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ถูกต้องหรือไม่

               2.2 ถ้าบริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีขายโดยมิได้แยกรายการค่าสินค้าออกจากค่าบริการ คือ รวมเป็นราคาเดียว เช่นนี้จะถือว่าเป็นการขายหรือเป็นการให้บริการ และผู้จ่ายเงินจะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายได้หรือไม่

 

ภาษี ค่าขนส่งและค่าบริการ  1.กรณีตาม ๒.๑ หากบริษัทฯ ขายวัสดุก่อสร้างและวัสดุเคมีภัณฑ์พร้อมบริการติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว

โดยการออกใบกำกับภาษีได้แยกมูลค่าของสินค้าและของบริการออกจากกันม่ว่าด้วยการออกใบกำกับภาษีเป็นสองฉบับและแยกมูลค่าของสินค้าและของบริการออกจากกัน หรือออกใบกำกับภาษีฉบับเดียวแต่แยกมูลค่าของสินค้าและของบริการก็ตาม เมื่อผู้ซื้อชำระค่าสินค้าและค่าบริการ

ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับค่าสินค้า

แต่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ ๓.๐ สำหรับค่าบริการติดตั้ง         

2.กรณีตาม ๒.๒ หากบริษัทฯ ขายวัสดุก่อสร้างและวัสดุเคมีภัณฑ์พร้อมบริการติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว โดยในการออกใบกำกับภาษีได้รวมมูลค่าของสินค้าและของบริการ เป็นราคาเดียวกัน ถือว่าเป็นการขายสินค้า และเมื่อผู้ซื้อชำระค่าสินค้า ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 

กค 0702/9659

ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีผลิตสินค้าเพื่อขายและผลิตสินค้าตามคำสั่งลูกค้า - ผลิต / รับจ้างผลิตอัญมณี

ภาษี ค่าขนส่งและค่าบริการ ชีนางสาว อ. เป็นผู้รับจ้างทำบัญชีให้แก่บริษัทฯ แห่งหนึ่งประกอบกิจการผลิตเครื่องประดับ ทำด้วยเงินเพื่อจำหน่ายโดยทั่วไปเป็นปกติธุระ และรับจ้างผลิตโดยลูกค้าจะสั่งให้ทำงานตามแบบ ขนาด จำนวนตามที่ต้องการ เช่น สั่งทำสร้อยลาย A จำนวน 1,000 กรัม บริษัทฯ นำวัตถุดิบ (เม็ดเงิน 100%) เข้าสู่ขบวนการผลิตตามแบบและจำนวนที่ลูกค้าสั่ง โดยมีขั้นตอนการผลิตเช่นเดียวกับ เครื่องประดับเงินที่บริษัทฯ ผลิตจำหน่ายเป็นปกติ

คำถาม

 

 

(1) กรณีลูกค้าสั่งให้บริษัทฯ ผลิตเครื่องประดับตามแบบ ขนาดและจำนวนที่ต้องการโดย ลูกค้าจัดหาวัตถุดิบ (เม็ดเงิน 100%) มาเอง จากนั้นบริษัทฯ นำวัตถุดิบดังกล่าวเข้าสู่ขบวนการผลิต เมื่อบริษัทฯ ผลิตเสร็จ ลูกค้าจะชำระค่าแรงงานรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และหักภาษี ณ ที่จ่าย บริษัทเอาไว้ กรณีนี้ถือเป็นการรับจ้างทำของ ใช่หรือไม่

 

(2) มีลูกค้าบางรายได้ติดต่อทำธุรกิจกันมานานและรู้จักกันเป็นอย่างดี สั่งให้บริษัทฯ ผลิต เครื่องประดับตามแบบ ขนาดและจำนวนที่ต้องการ บริษัทฯ ได้นำวัตถุดิบ (เม็ดเงิน 100%) ของบริษัทฯ มาผลิตก่อน เมื่อบริษัทฯ ผลิตเสร็จ ลูกค้าจะชำระค่าแรงรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และหักภาษี ณ ที่จ่ายใน อัตราร้อยละ 3.0 พร้อมกับคืนวัตถุดิบ (เนื้อเงิน 100%) ให้แก่บริษัทฯ ตามจำนวนสินค้าที่ผลิต กรณีนี้ถือ เป็นการรับจ้างทำของ ใช่หรือไม่

 

(3) เมื่อภาวะการแข่งขันทางธุรกิจรุนแรงขึ้นทุกวัน บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องนำวัตถุดิบ (เม็ดเงิน 100%) ของบริษัทฯ มาผลิตก่อนและลูกค้าขอเครดิตทั้งค่าแรงงานและวัตถุดิบ โดยให้ credit ลูกค้า 15, 30, 45, 60 วัน เมื่อครบกำหนด ลูกค้าจะชำระค่าแรงงานรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 พร้อมกับคืนวัตถุดิบ (เนื้อเงิน 100%) ให้แก่บริษัทฯ ตาม จำนวนสินค้าที่ผลิต กรณีนี้ถือเป็นการรับจ้างทำของ ใช่หรือไม่

 

แนวตอบ

ภาษี ค่าขนส่งและค่าบริการ1. กรณีบริษัทฯ ผลิตเครื่องประดับที่ทำด้วยเงินเพื่อจำหน่ายโดยทั่วไปเป็นปกติธุระ ต่อมา บริษัทฯ ได้รับคำสั่งจากลูกค้าซึ่งเป็นนิติบุคคลให้ผลิตเครื่องประดับตามแบบ ขนาดและจำนวน ที่ลูกค้า กำหนด โดยในการผลิตได้ใช้วัตถุดิบที่ลูกค้าจัดหามาให้ กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของ  เมื่อลูกค้าจ่ายค่าจ้างให้บริษัทฯ ลูกค้ามีหน้าที่ต้อง หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 เฉพาะค่าจ้างหรือค่าบริการ

 

2. กรณีบริษัทฯ ผลิตเครื่องประดับที่ทำด้วยเงินเพื่อจำหน่ายโดยทั่วไปเป็นปกติธุระ ต่อมา บริษัทฯ ได้รับคำสั่งจากลูกค้าซึ่งเป็นนิติบุคคลให้ผลิตเครื่องประดับตามแบบ ขนาดและจำนวนที่ลูกค้า กำหนด โดยในการผลิตบริษัทฯ ได้ใช้วัตถุดิบของบริษัทฯ ผลิตก่อน เมื่อผลิตเสร็จแล้วลูกค้าจะชำระ ค่าบริการพร้อมคืนวัตถุดิบให้ตามปริมาณที่ใช้ผลิตสินค้า กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า ไม่อยู่ ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการผลิตสินค้าเพื่อขาย และการผลิตสินค้าตามคำสั่งลูกค้า กิจการผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการผลิตสินค้าเพื่อขาย และการผลิตสินค้าตามคำสั่งลูกค้า

ห้างฯ ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป เช่น เสื้อโปโล เสื้อแจ๊คเก็ต เสื้อเชิ้ต และกางเกง โดยใช้วัสดุในการผลิตแตกต่างกัน รวมทั้งมีการผลิตและจำหน่ายให้แก่ลูกค้าตามคำสั่งมีลักษณะดังนี้

1. ลูกค้าสั่งซื้อตามรูปแบบตามที่ห้างฯ รับผลิต หรือตามตัวอย่างที่ห้างฯ จัดเตรียมไว้และลูกค้าขอเลือกวัสดุ เช่น สีผ้า ชนิดผ้า กระดุม และแบบกระดุม ที่ห้างฯ จัดเตรียมและมีไว้ให้เลือก ซึ่งบางครั้งคำสั่งซื้อจะมีการติดเครื่องหมายของ บริษัทลูกค้า โลโก้ หรือเครื่องหมายอื่นที่ลูกค้าต้องการบนเสื้อตามจุดที่ลูกค้าต้องการ

2. ลูกค้าสั่งผลิตสินค้าโดยลูกค้าเป็นผู้ออกแบบเอง แต่ใช้วัตถุดิบในการผลิตตามตัวอย่างที่ห้างฯ จัดเตรียมและมีไว้ให้เลือก และอาจมีการติดเครื่องหมายของบริษัทลูกค้า โลโก้ หรือเครื่องหมายอื่นที่ลูกค้าต้องการบนเสื้อตามจุดที่ลูกค้าต้องการ

ห้างฯ จึงขอทราบว่า การกระทำลักษณะดังกล่าวของห้างฯ เป็นการขายสินค้า มิใช่เป็นการรับจ้างผลิต ห้างฯ จึงไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ความเข้าใจของห้างฯ ถูกต้องหรือไม่


แนววินิจฉัย

 

 

กรณีห้างฯ ได้ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ว่าลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้าตามรูปแบบที่ห้างฯ จัดเตรียมไว้หรือลูกค้าเป็นผู้ออกแบบเอง แต่ใช้วัตถุดิบในการผลิตของห้างฯ ที่จัดเตรียมและมีไว้ให้เลือก การรับทำสินค้าดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า ไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
 กค 0702/554

สั่งซื้อตามแบบที่มี หรือ ลูกค้าออกแบบมาเอง + ใช้วัตถุดิบของห้าง =  ขายสินค้า

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีรับจ้างพิมพ์แบบฟอร์มสำนักงาน

บริษัทฯ ประกอบกิจการขายส่ง ขายปลีก และรับจ้างพิมพ์เอกสารต่างๆ ตามคำสั่งของลูกค้า บริษัทฯ จึงขอทราบว่า 1. กรณีบริษัทฯ รับจ้างพิมพ์แบบฟอร์มสำนักงาน (design form) โดยจะพิมพ์งานตามคำสั่งของลูกค้า ซึ่งแบบพิมพ์ จะแตกต่างกันตามที่ลูกค้าสั่ง โดยลูกค้าจะมีตัวอย่างมาให้ บริษัทฯ จะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ 2. กรณีแบบพิมพ์ (design form) บางงานของลูกค้าที่มาว่าจ้างบริษัทฯ พิมพ์ แต่ทางบริษัทฯ ไม่สามารถพิมพ์ได้ตาม ตัวอย่างงานที่ลูกค้าสั่ง บริษัทฯ จึงไปว่าจ้างบริษัทอื่นพิมพ์ให้ แล้วนำไปให้ลูกค้าที่มาสั่งพิมพ์ บริษัทฯ จะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่ 3. กรณีลูกค้าสั่งกระดาษต่อเนื่องที่ไม่มีการพิมพ์ (stock form) โดยบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตกระดาษต่อเนื่องนั้น บริษัทฯ จะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่    

แนววินิจฉัย

  1. กรณีบริษัทฯ รับจ้างพิมพ์แบบฟอร์มสำนักงาน (design form) ซึ่งแบบพิมพ์จะแตกต่างกันตามที่ลูกค้าสั่ง กรณีจึงเป็น การมุ่งหวังผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ เข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากลูกค้าเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัทฯ ลูกค้ามีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 2. กรณีบริษัทฯ ไม่สามารถพิมพ์งานได้ บริษัทฯ จึงไปว่าจ้างบริษัทอื่นพิมพ์ให้ แล้วนำผลงานดังกล่าวไปให้ลูกค้า ถือว่า ลูกค้าได้ว่าจ้างบริษัทฯ ให้พิมพ์งาน โดยเป็นการมุ่งหวังผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ เข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของ ตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากลูกค้าเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินค่าจ้างทำของ ให้แก่บริษัทฯ ลูกค้ามีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว 3. กรณีลูกค้าสั่งซื้อกระดาษต่อเนื่องที่ไม่ต้องมีการพิมพ์ (stock form) โดยบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตกระดาษต่อเนื่องนั้นขายเป็นปกติอยู่แล้ว เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า จึงไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว

ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการรับรู้รายได้จากการรับจ้างผลิต

บริษัทฯ ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเขตส่งออก (EPZ) ประกอบกิจการรับจ้างผลิตกระเป๋าตาม คำสั่งของผู้ว่าจ้างในประเทศไต้หวัน โดยวัตถุดิบหลักในการผลิต เช่น ผ้าที่ใช้ในการผลิตกระเป๋า ผู้ว่าจ้างจากประเทศไต้หวันจะเป็นผู้จัดส่งมาให้ และเมื่อผลิตเป็นสินค้าเสร็จแล้วบริษัทฯ จะจัดส่งสินค้า ไปให้ลูกค้าของผู้ว่าจ้างที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยตรง และลูกค้าที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะจ่ายเงิน ดังกล่าวไปให้ผู้ว่าจ้างที่ประเทศไต้หวัน โดยบริษัทฯ จะได้รับเงินค่าจ้างตามอัตราร้อยละ 20 ถึง 30 ของมูลค่าส่งออกตามใบขนสินค้าจากผู้ว่าจ้างประเทศไต้หวัน และในกรณีที่บริษัทฯ รับจ้างผลิตสินค้าไม่ทัน

บริษัทฯ จึงส่งมอบวัตถุดิบในการผลิตกระเป๋าที่ได้รับจากผู้ว่าจ้างประเทศไต้หวัน ให้แก่บริษัทในประเทศ เป็นผู้รับจ้างช่วงในการผลิตสินค้า เมื่อผลิตเสร็จก็จะส่งคืนให้บริษัทฯ แล้วบริษัทฯ ส่งออกสินค้าไปให้ ลูกค้าของผู้ว่าจ้างที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จากกรณีดังกล่าว บริษัทฯ ได้หารือดังนี้

1. การที่บริษัทฯ ส่งออกสินค้าที่บริษัทฯ รับจ้างผลิตไปให้ลูกค้าของผู้ว่าจ้างในต่างประเทศ ถือเป็นการขายสินค้าที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มถูกต้องหรือไม่

2. กรณีบริษัทฯ ส่งออกสินค้าที่รับจ้างผลิต บริษัทฯ จะรับรู้รายได้จากการรับจ้างดังกล่าว เมื่อบริษัทฯ ได้ออกใบขนสินค้า และผ่านพิธีการของกรมศุลกากร ถูกต้องหรือไม่

3. การส่งวัตถุดิบในการผลิตสินค้าไปให้ผู้รับจ้างช่วงในการผลิตดังกล่าว จะต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 หรือไม่

 

แนววินิจฉัย

 

กรณีตาม 1. การที่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศว่าจ้างให้บริษัทผลิตสินค้า โดยผู้ว่าจ้างจัดหา วัตถุดิบในการผลิตมาให้ เมื่อบริษัทฯ ผลิตเสร็จแล้ว บริษัทฯ ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ ลูกค้าของผู้ว่าจ้างใน ต่างประเทศ โดยยื่นใบขนสินค้าขาออกในนามของบริษัทฯ เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าโดยส่งออกตาม มาตรา 77/1(8)(ค) และมาตรา 77/1(14) แห่งประมวลรัษฎากร

 

กรณีตาม 2. การที่บริษัทฯ รับจ้างผลิตกระเป๋าตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างในประเทศไต้หวัน โดยผู้ว่าจ้างจัดหาวัตถุดิบในการผลิตมาให้ แล้วส่งออกสินค้าที่รับจ้างผลิตให้แก่ลูกค้าของผู้ว่าจ้างใน ต่างประเทศ บริษัทฯ จะต้องใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยนำรายได้ตามส่วนของ งานที่ทำเสร็จในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามข้อ 4.6 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 ฯ ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2528

 

กรณีตาม 3. การที่บริษัทฯ ส่งวัตถุดิบไปให้ผู้รับจ้างช่วงในประเทศไทยให้ผลิตสินค้าให้ บริษัทฯ เพื่อส่งออกให้แก่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศ ถือว่าผู้รับจ้างช่วงดังกล่าวเป็นผู้รับจ้างทำของ เมื่อ บริษัทฯ จ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างช่วง บริษัทฯ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528

 

กิจการผลิตกล่อง และ กิจการรับจ้างผลิตกล่อง จะดูอย่างไรเป็นผลิตขาย หรือรับจ้างผลิต

คุณ Sunee Cheurprakobkit (15 พฤศจิกายน 2558 เวลา 18:45 น.)

ปุจฉา: เรียน อ.สุเทพ
รบกวนช่วยขยายความ กิจการผลิตกล่อง และ กิจการรับจ้างผลิตกล่อง จะดูอย่างไรเป็นผลิตขาย หรือรับจ้างผลิต

สุเทพ พงษ์พิทักษ์

กรมสรรพากรได้มีคำตอบข้อหารือเกี่ยวกับกรณีรับจ้างผลิตกล่องกระดาษแก่ลูกค้าเฉพาะรายเพื่อผลิตกล่องกระดาษตามรูปแบบที่ ลูกค้ารายนั้นๆ ต้องการ กิจการของบริษัทฯ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ถือได้ว่า บริษัทฯ ทำกล่องกระดาษและกล่อง กระดาษลูกฟูกไว้เพื่อขายเป็นปกติ หากตามปกติบริษัทฯ ได้ผลิตกล่องขนาดมาตรฐานไว้เพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้าทั่วไป ตามหนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/568 ลงวันที่ 24 มกราคม 2551 เรื่อง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการรับจ้างผลิตกล่องกระดาษรูปแบบพิเศษตามสัญญาจ้าง ด้งนี้


วิสัชนา:

กรณีบริษัทฯ มิได้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกวางจำหน่ายเป็นการทั่วไป หากแต่บริษัทฯ จะผลิตสินค้าดังกล่าว เฉพาะเมื่อมีการสั่งให้ผลิตจากลูกค้าเท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่ากรรมสิทธิ์ในแม่แบบจะเป็นของบริษัทฯ หรือของลูกค้าก็ตาม การประกอบกิจการของบริษัทฯ ถือเป็นการรับจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และถือเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงมีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อได้รับชำระค่าบริการตามมาตรา 78/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อลูกค้าจ่ายค่าจ้างให้บริษัทฯ ลูกค้ามีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 (หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0811/16284 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2540 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก)

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการรับจ้างผลิตกล่องกระดาษรูปแบบพิเศษตามสัญญาจ้าง

หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/568 ลงวันที่ 24 มกราคม 2551 เรื่อง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการรับจ้างผลิตกล่องกระดาษรูปแบบพิเศษตามสัญญาจ้าง ด้งนี้

ข้อหารือ :

บริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายกล่องกระดาษ รวมถึงผลิตและจำหน่ายกระดาษลูกฟูกเป็นปกติธุระ

ในการประกอบกิจการบริษัทฯ ได้ผลิตกล่องขนาดมาตรฐานไว้รอจำหน่ายให้แก่ลูกค้าที่ต้องการซื้อ และบางส่วนบริษัทฯ จะผลิตกล่องขายต่อเมื่อมีลูกค้าสั่งให้ผลิต

โดยการผลิตกล่องตามที่ลูกค้าสั่งทำบริษัทฯ จะผลิตกล่องกระดาษตามขนาด ลักษณะ รูปแบบ และจำนวนที่ลูกค้าต้องการ โดยบริษัทฯ จะใช้วัตถุดิบของบริษัทฯ เอง เมื่อผลิตเสร็จแล้ว บริษัทฯ จะส่งมอบให้ลูกค้า

หากบริษัทฯ ผลิตกล่องเกินจำนวนที่ลูกค้าสั่งทำ บริษัทฯ จะขายส่วนที่เกินไปเป็นเศษซาก ต่อมา เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550

บริษัทฯ ได้รับเลือกจากบริษัท ป.ให้ผลิตกล่อง EMS FREE BOX ตามรูปแบบและขนาดที่บริษัท ป. กำหนดโดยบริษัทฯ ยังคงใช้วัตถุดิบที่จัดหามาเอ

เมื่อบริษัทฯ ได้รับเงินค่าจ้าง บริษัท ป. ได้หักภาษี เงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 3.0 โดยถือว่า เป็นการจ่ายเงินค่าจ้างตามสัญญารับจ้างทำของ

บริษัทฯ จึงหารือว่า กรณีบริษัทฯ รับจ้างทำกล่องให้แก่บริษัท ป. ดังกล่าว อยู่ในบังคับต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายโดยถือว่า เป็นการรับจ้างทำของถูกต้องหรือไม่ และการที่บริษัทฯ ได้ทำสัญญากับลูกค้าเฉพาะรายเพื่อรับผลิตกล่องตามรูปแบบที่ลูกค้ากำหนดมา จะมีผลกระทบต่อภาระการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่

 

แนววินิจฉัย :

 

 

วัตถุประสงค์การประกอบกิจการของบริษัทฯ ตามแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01 กิจการของ บริษัทฯ เป็นประเภทผลิตและจำหน่ายกล่องกระดาษและกระดาษลูกฟูก

บริษัทฯ ได้ผลิตกล่องขนาดมาตรฐานไว้เพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้าทั่วไป แต่มีบางโอกาสที่บริษัทฯ ได้ไปรับจ้างลูกค้าเฉพาะรายเพื่อผลิตกล่องกระดาษตามรูปแบบที่ลูกค้ารายนั้นๆ ต้องการ

กิจการของบริษัทฯ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ถือได้ว่า บริษัทฯ ทำกล่องกระดาษและกล่อง กระดาษลูกฟูกไว้เพื่อขายเป็นปกติ

การที่บริษัทฯ รับจ้างบริษัท ป. ผลิตกล่อง EMS FREE BOX แม้จะต้องผลิตกล่อง ดังกล่าว ตามรูปแบบที่บริษัท ป. กำหนดให้กระทำ

ก็ยังคงถือว่า เป็นการขายกล่อง EMS FREE BOX ให้แก่บริษัท ป. เมื่อบริษัท ป. จ่ายเงินค่ากล่อง จึงเป็นการชำระเงินค่าซื้อสินค้าและไม่อยู่ในบังคับต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
เลขตู้ : 71/35599

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย - นำรถยนต์เปลี่ยนยาง และเปลี่ยนแบตเตอรี่ (ควรอ่าน - ความมุ่งหมาย / เจตนาของการกระทำ)

คุณ Nannie Siridejpinuyo (22 เมษายน 2559 เวลา 11:58 น.)

ปุจฉา: เรียนถามอาจารย์สุเทพ

กรณีการนำรถเข้าเปลี่ยนยาง และเปลี่ยนแบตเตอรี่ เหตุใดทางสรรพากรจึงมองว่า เป็นการมุ่งโอนกรรมสิทธ์ ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หากคิดค่าแรงก็ให้หักเฉพาะค่าแรง หากเป็นการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง แม้ไม่คิดค่าแรงก็จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายจากมูลค่าของทั้งหมด


1. จะรู้ได้อย่างไรว่านี่คือการซ่อมแซม นี่คือการขายคะ (แบตเสื่อมจึงเปลี่ยน ทำไมจึงไม่มองว่าเป็นการซ่อมแซม)
2. หากหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว มีความผิดหรือไม่


กราบขอบพระคุณอาจารย์ค่ะสุเทพ พงษ์พิทักษ์

 

กรณีการนำรถเข้าเปลี่ยนยาง และเปลี่ยนแบตเตอรี่ สาเหตุทำให้พิจารณาได้ว่า เป็นการมุ่งโอนกรรมสิทธ์ จึงไม่ต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ถ้าแยกค่าสินกับค่าบริการหรือค่าแรงต่างหากก็ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเฉพาะค่าแรง นั้น เนื่องจากความมุ่งหมายของการกระทำดังกล่าว เป็นเพียงการซื้อขายสินค้ากันโดยทั่วไป มิได้มีการตรวจเช็ครถยนต์อันเป็นพื้นฐานของการให้บริการซ่อมที่มุ่งหมายในผลสำเร็จของงาน

รวมทั้งการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ที่รวมอยู่ในบริการตรวจเช็ค – ซ่อมรถยนต์ จึงต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากมูลค่าของทั้งหมดอันเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการจ้างทำของ

อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการตรวจเช็ค – ซ่อมรถยนต์ เพียงแคการซื้อน้ำมันเครื่องพร้อมเปลี่ยนถ่ายให้ด้วย ก็ไม่อยู่ในเงื่อนไขที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย – ถือเป็นการขายสินค้า


ต่อข้อถาม


1. การพิจารณาว่า กิจรรมใดเป็นการซ่อมแซม หรือการซื้อขายคะ นั้น อยู่ที่ข้อเท็จจริงในแต่ละคราว ให้พิจารณาจากเจตนาเบื้องต้น ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น เช่น

               เมื่อเจ้าของรถยนต์ท่านโดยชัดแจ้งว่าแบตเตอรี่เสื่อมจึงนำรถยนต์ไปที่ร้านขายแบตเตอรี่เพื่อซื้อแบตเตอรี่ลูกใหม่ เช่นนี้ก็ไม่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่ถ้าในการตรวจเช็ครถยนต์พบว่า แบตเตอรี่เสื่อมจึงสั่งให้เปลี่ยน เช่นนี้ ทั้งกิจกรรมการตรวจเช็ครถยนต์เพื่อทำการซ่อมแซม ย่อมถือเป็นการให้บริการจ้างทำของที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

— ถ้าไปซื้อแบตเตอรี่ เป็นการขาย   แต่ถ้านำรถเข้าศูนย์เช็คระยะ และพบว่าต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่เป็นบริการต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 3–


2. การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งต่อทางราชการ และออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ส่งมอบให้แก่ผู้มีเงินได้ไว้แล้ว ไม่ถือว่ามีความผิดแต่อย่างใด (เรียกว่า “หักช่วยชาติ”) ผู้มีเงินได้สามารถนำจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายไปถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ต่อไปตามมาตรา 60 แห่งประมวลรัษฎากร

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย สั่งทำหมอนแจกลูกค้า พร้อมโลโก้

คุณ Pod Nonglak ได้โพสต์ไปในไทม์ไลน์ “สุเทพ พงษ์พิทักษ์” เมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2577 เวลา 13:14 น. ว่า


“เรียน อาจารย์ค่ะ  บริษัทฯ ได้สั่งทำหมอนเพื่อแจกลูกค้า โดยได้ให้พิมพ์ชื่อบริษัทฯ เพิ่มไว้ที่หมอนด้วย โดยนิติบุคคลดังกล่าว
ได้จดทะเบียนตามเอกสาร ภพ. 01 และ ภพ. 20 เป็นผลิตและจำหน่ายสินค้า
ขอรบกวนสอบถามอาจารย์ กรณีดังกล่าวต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% เป็นรับจ้างทำของหรือไม่
ขอบพระคุณมากค่ะ”

 

เรียน คุณ Pod Nonglak
กรณีบริษัทฯ สั่งทำสินค้าจากผู้ผลิตสินค้าที่ผลิตสินค้าที่บริษัทฯ ได้สั่งทำนั้นเป็นปกติอยู่แล้ว โดยให้เพิ่ม Logo ของบริษัทฯ เพิ่มเติมไปในสินค้า นั้น ในทางปฏิบัติกรมสรรพากรให้ถือเป็นเป็นการซื้อสินค้าทั่วไป ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ ได้จ่ายค่าสั่งทำหมอนที่พิมพ์ชื่อบริษัทฯเพิ่มไว้ด้วย บริษัทฯ จึงไม่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด ดังตัวอย่างแนวคำตอบข้อหารือของกรมสรรพากร
เลขที่หนังสือ กค 0706/9054 ลงวันที่ 6 กันยายน 2550

ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีธุรกรรมการซื้อขายแม่พิมพ์สำหรับขึ้นรูปพลาสติก

กค 0702/561

บริษัท อ. ประกอบกิจการผลิต และจำหน่ายชิ้นส่วนพลาสติกเป็นปกติธุระ บริษัทฯ ได้รับคำสั่งซื้อแม่พิมพ์ สำหรับขึ้นรูปพลาสติกจากบริษัท ส. จำกัด เป็นบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งบริษัท ส. จะกำหนด รูปแบบแม่พิมพ์ (Spec) เพื่อใช้ในการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกตามแบบที่กำหนด แต่เนื่องจากบริษัทฯ มิได้เป็น ผู้ผลิตแม่พิมพ์ จึงทำใบสั่งซื้อแม่พิมพ์ดังกล่าว จากบริษัท ต. ซึ่งเป็นผู้ผลิตแม่พิมพ์ภายนอกอีกทอดหนึ่ง เมื่อ บริษัท ต. ได้ส่งมอบกรรมสิทธิ์แม่พิมพ์ไปยัง บริษัท ส. แล้ว บริษัท ต. จะจัดทำใบส่งของ/ใบกำกับภาษีมาให้ บริษัทฯ (ในฐานะบริษัทฯ เป็นผู้ซื้อจากผู้ผลิต) และบริษัทฯ ก็จัดทำใบส่งของ/ใบกำกับภาษีส่งไปยังบริษัท ส. อีกทอดหนึ่ง โดยบริษัทฯ จะคิดราคาสินค้า (แม่พิมพ์) เพิ่มขึ้นจากราคาที่ซื้อมา เช่น ซื้อมา 100 บาท แต่ขาย ออกไป 120 บาท เป็นต้น ทั้งนี้ การส่งมอบจะเสร็จสิ้นต่อเมื่อลูกค้าได้ตรวจรับแม่พิมพ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว บริษัทฯ เห็นว่า การสั่งซื้อแม่พิมพ์จากบริษัท ต. เพื่อจะขายและส่งมอบให้แก่บริษัท ส. ตามชนิดประเภท และลักษณะที่ บริษัท ส. กำหนด ถือเป็นการขายสินค้าตามปกติธุระ โดยมุ่งการโอนกรรมสิทธิ์ของสินค้าเป็นสำคัญ บริษัทฯ จึงไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จากบริษัท ส. บริษัทฯ จึงขอทราบว่า ความเห็นของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่

บริษัท ส. ได้ว่าจ้างบริษัทฯ ให้ผลิตแม่พิมพ์สำหรับขึ้นรูปพลาสติกตามรูปแบบที่บริษัท ส. กำหนดโดย มุ่งหวังผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ เข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของ ตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ เมื่อบริษัท ส. จ่ายเงินค่าจ้างทำของให้บริษัทฯ จึงมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่ง ประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

ค่าแม่พิมพ์ บันทึกบัญชี และ ภาษีอย่างไร

คุณ Jarinthip Seekheow ได้โพสต์ไปในไทม์ไลน์ “สุเทพ พงษ์พิทักษ์” เมื่อ 28 มกราคม 2557 เวลา 14:10 น. ว่า
“เรียน อาจารย์สุเทพ ขอรบกวนสอบถามเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้ ค่ะ
บริษัท ก. สั่งซื้อถุงพลาสติกเพื่อใช้บรรจุสินค้า จาก บริษัท ข.โดยบริษัท ข. เป็นผู้ผลิตถุงจำหน่ายเป็นปกติ และในเดือน กย.2556 บริษัท ก. ต้องการเปลี่ยนลายแบบบนถุงใหม่ บริษัท ข. จึงออกใบกำกับภาษีขายเรียกเก็บค่าแม่พิมพ์ เพื่อใช้สำหรับการพิมพ์ลายแบบบนถุงใหม่ ซึ่งมีข้อตกลงระหว่างกันว่าบริษัท ก. จะจ่ายค่าแม่พิมพ์ดังกล่าวเพียงครั้งเดียวและสามารถสั่งผลิตถุงลายนี้ได้ตลอดไป โดยบริษัท ข.จะคิดเฉพาะค่าถุงทีั่บริษัท ก. สั่งซื้อเท่านั้น ส่วนแม่พิมพ์จะอยู่ที่บริษัท ข.เพื่อใช้ในการผลิต โดยบริษัท ก. จะไม่ได้รับแม่พิมพ์คืนถึงแม้ว่าจะเลิกซื้อถุงจากบริษัท ข.
ข้อหารือ


1. เมื่อบริษัท ก. จ่ายค่าแม่พิมพ์ให้ บริษัท ข. ถือเป็นค่าบริการที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่ง หรือไม่
2. บริษัท ก. จะต้องบันทึกบัญชีค่าแม่พิมพ์เป็นทรัพย์สินหรือค่าใช้จ่าย
ขอบคุณค่ะ”

เรียน คุณจรินทร์ทิพย์ สีเขียว “Jarinthip Seekheow”
เกี่ยวกับว่าจ้างผลิตบรรจุภัณฑ์ ไม่ว่าจะมีตรา ชื่อ ยี่ห้อของผู้ว่าจ้างหรือไม่ก็ตาม ในทางภาษีอากร ถือเป็นการสั่งซื้อบรรจุภัณฑ์นั้น โดยไม่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับต่าจ้างทำบรรจุภัณฑ์นั้นๆ แต่อย่างใด

ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น พิจารณาได้ว่า “ค่าแบบพิมพ์” ก็คือส่วนหนึ่งของค่าถุงพลาสติกนั่นเอง เพราะบริษัท ก. ไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในแบบพิมพ์แต่อย่างใด
1. เมื่อบริษัท ก. จ่ายค่าแม่พิมพ์ให้ บริษัท ข. ไม่ถือเป็นค่าบริการที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 แต่อย่าางใด
2. บริษัท ก. จะต้องบันทึกบัญชีค่าแม่พิมพ์เป็นทรัพย์สิน เพราะถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร
 

ค่าบริการว่าจ้างจัดทำแม่พิมพ์ ต่างประเทศ ภพ 36 และ ภงด 54

คุณ ‎ส้ม นภัส‎ (12 ตุลาคม 2559 เวลา 11:04 น.)
ปุจฉา: อาจารย์ค่ะรบกวนสอบถามปัญหาค่ะ
บริษัท ก ว่าจ้างบริษัทที่ประเทศจึนทำแม่พิมพ์ตามรูปแบบที่บริษัทฯ กำหนด เพื่อทำการผลิดล้อแม็กซืรถยนต์ในประเทศ โดยขายให้กับลูกค้าราย BMW และลูกค้ารายอื่นของบริษัทฯ
ขอสอบถามว่า
1. เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าจ้างทำแม่พิมพ์ดังกล่าวให้กับบริษัทที่ประเทศจีน บริษัทฯ ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.36 และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามแบบ ภ.ง.ด.54 หรือไม่อย่างไร
2. และหากเป็นกรณีว่า ผู้รับจ้างที่ประเทศจีนประกอบกิจการผลิตแม่พิมพ์เป็นปกติธุรกิจ กรณีนี้ต้องนำส่ง ภ.พ.36 และ ภ.ง.ด.54 หรือไม่
3. กรณีการรับจ้างผลิดแม่พิมพ์เป็นปกติธุระ จะหมายความว่าอย่างไร และต้องพิสูจน์อย่างไรว่า เป็นการประกอบกิจการผลิดแม่พิมพ์เป็นปกติโดยทั่วไป

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:

การว่าจ้างทำของมีต้องพิจารณาว่า ผู้รับจ้างทำของประกอบกิจารผลิตสินค้านั้นเป็นปกติธุรกิจหรือไม่นั้น ให้ใช้บังคับกับเฉพาะการว่าจ้างที่กระทำกันในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อการผ่อนปรนการคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 บางกรณี เท่านั้น กรณีว่าจ้างทำของกับคู่สัญญาในต่างประเทศ นั้น ไม่ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขดังกล่าวแต่อย่างใด

ดังนั้น จากคำถามทั้งสามกรณีดังกล่าวจึงมีคำตอบเดียวที่เหมือนกันคือ
กรณีว่าจ้างให้บริษัทที่ประเทศสาธรณรัฐประชาชนจีน ทำแม่พิมพ์ตามรูปแบบที่บริษัทฯ กำหนด เมื่อบริษัทฯ ได้จ่ายค่าจ้างทำแม่พิมพ์ดังกล่าว ถือเป็นการจ่ายค่าบริการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในประเทศไทยตามมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวลรัษฎากร

บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.36 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้

เนื่องจากบริษัทผู้รับจ้างตั้งอยู่ในประเทศสาธรณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย การให้บริการดังกล่าวถือเป็นเงินได้ที่เป็น “กำไรจากธุกิจ” (Business Profit) และ ผู้ให้บริการไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย ตามข้อ 5 และข้อ 7 แห่งอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศสาธรณรัฐประชาชนจีน

ดังนั้น ผู้ให้บริการ จึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยตามข้อ 7 แห่งอนุสัญญาฯ ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505

เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินได้ดังกล่าวออกไป จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินนำส่งแต่อย่างใด

ข้อหารือภาษีอากร ค่าขนส่งสินค้า

ค่าขนส่ง : ต้องจดทะเบียนเป็นขนส่งหรือไม่ ต้องมีรถเป็นขอตัวเองหรือไม่ (ควรอ่าน) กค 0706/พ./5896

ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการขนส่งสินค้า

ข้อหารือ

ริษัทฯ ประกอบกิจการรับขนส่งทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศด้วยรถยนต์ โดยบริษัทฯ ไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งและไม่มีรถยนต์ขนส่งเป็นของตนเอง แต่จะใช้วิธีว่าจ้างหรือเช่ารถยนต์ของผู้อื่นมาเพื่อใช้ขนส่ง บริษัทฯ จึงขอทราบเกี่ยวกับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้
             1. กรณีบริษัทฯ ได้ว่าจ้างรถยนต์ของบุคคลอื่นเพื่อขนส่งสินค้าจากโรงงานของลูกค้าไปส่งตามสถานที่ต่างๆ ภายในประเทศ รายรับจากการขนส่งดังกล่าวอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
             2. กรณีบริษัทฯ รับจ้างขนส่งสินค้าไปส่งยังเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซียโดยในการขนส่งช่วงระหว่างโรงงานของลูกค้าไปยังด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย และจากด่านชายแดนดังกล่าวไปยังจุดหมายปลายทางที่เมืองปีนัง บริษัทฯ ได้ว่าจ้างรถยนต์ของบุคคลอื่นให้ทำการขนส่งทั้งสองทอด การขนส่งสินค้าจากโรงงานไปยังชายแดน กรณีดังกล่าวถือเป็นการขนส่งในราชอาณาจักรหรือไม่ และ การขนส่งสินค้าจากชายแดนไปยังเมืองปีนัง ถือเป็นการขนส่งระหว่างประเทศทางรถยนต์ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
             3. กรณีตาม 2. หากลูกค้าได้ให้บริษัทฯ ดำเนินพิธีการศุลกากรนำสินค้าผ่านแดนการรับจัดการพิธีการศุลกากรดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการหรือไม่ และหากฐานภาษีของการให้บริการดังกล่าวมีมูลค่าไม่ถึง 1,800,000 บาท ต่อปีจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร ใช่หรือไม่

แนววินิจฉัย

1. กรณีตาม 1. บริษัทฯ ได้รับจ้างขนส่งสินค้าจากสถานที่แห่งหนึ่งไปส่งยังสถานที่ต่าง ๆ ภายในประเทศไม่ว่าจะเป็นการใช้รถยนต์บรรทุกสินค้าของตนเองหรือได้ว่าจ้างรถยนต์บรรทุกสินค้าของบุคคลอื่นๆ ให้ทำการขนส่ง การให้บริการดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร
             2. กรณีตาม 2. บริษัทฯ รับจ้างขนส่งสินค้าจากโรงงานของลูกค้าในประเทศไทยไปส่งยังเมืองปีนังประเทศมาเลเซียโดยทางรถยนต์ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ด) แห่งประมวลรัษฎากร
             3. กรณีตาม 3. บริษัทฯ รับจ้างขนส่งสินค้าจากโรงงานของลูกค้าในประเทศไทยไปส่งยังเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซียพร้อมกับดำเนินพิธีการศุลกากรนำสินค้าผ่านแดนให้กับลูกค้าด้วย การดำเนินพิธีการศุลกากรดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการอันอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และเนื่องจากบริษัทฯ ได้ให้บริการขนส่งสินค้าโดยมีการให้บริการอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากการขนส่ง การให้บริการขนส่งรายใดที่บริษัทฯ ได้จัดให้มีบริการดำเนินพิธีการศุลกากรรวมอยู่ด้วยจึงเข้าลักษณะเป็นการให้บริการอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/1(10) และมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร หากรายรับจากการให้บริการขนส่งทุกรายที่บริษัทฯ ได้จัดให้มีการดำเนินพิธีการศุลกากรรวมอยู่ด้วยมีมูลค่าเกิน 1,800,000 บาทต่อปี บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องนำมูลค่าของการให้บริการขนส่งมารวมกับค่าบริการดำเนินพิธีการศุลกากรเพื่อรวมคำนวณเป็นฐานภาษีสำหรับการให้บริการที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 79 และมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร

ค่าขนส่ง : การหักภาษี ณ ที่จ่าย บริษัทจ้างบริษัทชิปปิ้งเดินพิธีการออกของให้

   บริษัทจ้างบริษัทชิปปิ้งเดินพิธีการออกของให้ ทางบริษัทชิปปิ้งจะคิดค่าบริการ หักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร

          กรณีบริษัทชิปปิ้งเป็นผู้ประกอบการให้บริการดำเนินการออกของจากการท่าเรือ และให้บริการขนส่งสินค้าแก่ลูกค้าด้วย หากบริษัทชิปปิ้งมิได้เป็นผู้ประกอบการให้บริการขนส่งเป็นปกติธุระ แม้บริษัทชิปปิ้งจะได้ให้บริการขนส่งสินค้าแก่ลูกค้าด้วยไม่ว่าจะใช้ยาน พาหนะของตนเองหรือผู้อื่น และไม่ว่าจะแยกค่าขนส่งออกจากราคาค่าบริการออกของได้หรือไม่ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการ  ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ
เลขที่ :     404726

กค 0702/9659

ค่าขนส่ง : การหักภาษี ณ ที่จ่าย กิจการซื้อขายสินค้า มีค่าขนส่งหรือค่าบริการที่เกิดจากการขายสินค้า

           กิจการซื้อขายสินค้า มีค่าขนส่งหรือค่าบริการที่เกิดจากการขายสินค้า จะต้องหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าขนส่งหรือค่าบริการนั้นหรือไม่

          กรณีขายสินค้าโดยผู้ขายได้เรียกเก็บค่าขนส่งจากผู้ซื้อสินค้าโดยจะแยกราคา ค่าสินค้าและค่าขนส่งออกจากกันหรือไม่ ถือเป็นการขายสินค้า ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 

          เว้นแต่ผู้ขายสินค้าได้ประกอบกิจการรับขนส่งเป็นปกติอยู่แล้ว และได้มีการขายสินค้าโดยได้ใช้รถยนต์ที่รับขนส่งมาขนส่งสินค้าให้บริษัท ลูกค้าที่ซื้อสินค้าจากตนเอง และเรียกเก็บค่าขนส่งแยกต่างหากจากกัน กรณีนี้บริษัทลูกค้าจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับค่าขนส่ง ในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ
เลขที่ :     404726

– ถ้ากิจการประกอบกิจการรับขนส่งอยู่เป็นปกติ และมีการขายสินค้าด้วย  ค่าขนส่ง หัก 1% ไม่มี VAT ส่วนสินค้า/บริการอื่นที่มีเพิ่ม +  VAT และค่าบริการอื่นหัก 3%-

ค่าขนส่ง : รับจ้างขนส่งเกลี่ยหน้าดิน มีค่าขนส่งแยกจากใบกำกับภาษีค่าบริการ

บริษัท รับจ้างขนส่งหน้าดินและจะต้องมีการเกลี่ยปรับให้เรียบร้อยตามที่ผู้ว่าจ้าง กำหนด ได้เรียกเก็บค่าขนส่งแยกต่างหาก เมื่อบริษัทผู้ว่าจ้างจ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่

          เป็นการมุ่งจะปฏิบัติตามสัญญาเพื่อผลสำเร็จของงาน เข้าลักษณะสัญญาจ้างทำของ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ
เลขที่ :     409601

– ถ้ากิจการบริการ +ค่าขนส่ง หัก 3% + มี VAT + และถ้ามีการทำสัญญาต้องติดอากรแสตมป์-

ค่าขนส่ง : การหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายค่าเช่ารถตู้รับส่งพนักงาน

บริษัทจ่ายค่าเช่ารถตู้รับส่งพนักงาน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราเท่าใด

          กรณีว่าจ้างรถตู้จากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเพื่อรับส่งพนักงาน โดยบริษัทเป็นผู้กำหนดเส้นทาง ค่าจ้าง คนขับรถ ค่าน้ำมันรถ และค่าทางด่วน ผู้ให้เช่าเป็นผู้จ่าย โดยผู้ให้เช่ามิได้ส่งมอบการครอบครองรถ กรณีดังกล่าวเป็นการให้บริการขนส่ง ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ
เลขที่ :     401816

— มิได้ส่งมอบการครอบครองรถ กำหนดเส้นทางให้ ไม่สนใจว่าใครจะขับ หรือค่าน้ำมันใครจ่าย เป็นการขนส่ง–

ค่าขนส่ง : การหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีจ้างรถเครนยกหรือย้ายเสาปูน

กรณีจ้างรถเครนยกหรือย้ายเสาปูน ถือเป็นค่าเช่าหรือค่าขนส่ง และในกรณีรถขนปูนผงมาส่งให้บริษัท โดยคิดค่าขนส่งรวมกับราคาสินค้า แต่แยกรายการสินค้าและค่าขนส่ง ต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่

          หากรับจ้างขนยกอย่างเดียวและการครอบครองรถไม่ได้อยู่ที่ผู้ว่าจ้าง การขนยกดังกล่าวเป็นการขนส่งหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

           หากผู้ขายเรียกเก็บเป็นค่าสินค้าและค่าขนส่ง โดยผู้ขายไม่ได้ประกอบธุรกิจรับขนส่ง เป็นค่าสินค้ารวมค่าขนส่งถือเป็นค่าตอบแทนจากการซื้อขายสินค้า ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แม้จะแยกรายการเรียกเก็บเงิน

เลขที่ :     404683

ค่าขนส่ง : การหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีรถตู้รับนักท่องเที่ยว

คำถาม

บริษัทดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับรถตู้ ประเภทธุรกิจที่แจ้งคือรับขนคนโดยสาร และรายได้ของบริษัทเกิน 1.8 ล้านแต่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากเป็นธุรกิจขนส่งค่ะ

รายได้ของบริษัททั้งหมด มาจากการทำสัญญากับบริษัททัวร์ ซึ่งบริษัทจะต้องจัดหารถตู้พร้อมคนขับเพื่อรับนักท่องเที่ยวไปส่งตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โดยจะได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน และได้รับค่าจ้างเป็นรายเที่ยวสำหรับกรณีที่นักท่องเที่ยวต้องการไปที่อื่นนอกเหนือจากโปรแกรมทัวร์ ซึ่งค่าจ้างรายเที่ยวก็จะได้รับจากบริษัททัวร์เช่นกัน ทั้งนี้บริษัทถูกหัก ณ ที่จ่าย 1 % เป็นค่าขนส่ง

เนื่องจากรถตู้ของบริษัทมีจำนวนไม่พอ จึงมีการจ้างรถตู้จากบุคคลภายนอกร่วมด้วย ซึ่งเป็นการจ้างรถตู้พร้อมคนขับเช่นกัน และหัก ณ ที่จ่าย 1% จากรถตู้ร่วมเป็นค่าขนส่งเช่นกัน

 

บริษัทเคยขอคืนภาษีปี 56 และในปี 57 บริษัทได้ขอคืนภาษีอีกครั้ง แต่ทางเจ้าหน้าที่สรรพากร(คนละทีมกับปี 56)แจ้งมาเบื้องต้นว่า การดำเนินธุรกิจของบริษัทน่าจะเข้าข่ายเป็นการรับจ้างมากกว่าการขนส่ง โดยส่งข้อหารือภาษีอากร กค 0706/4939 วันที่ 29/5/2546 มาให้ค่ะ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้มีการสรุปว่าเป็นแบบไหน

อยากทราบว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัท เข้าลักษณะเป็นรับจ้าง หรือว่า ขนส่งคะ
ขอบคุณค่ะ

แนววินิจฉัย

         ตามหนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากร เลขที่ กค 0706/4939 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2546 การที่จะพิจารณาว่า “การตกลงรับขนส่งผู้โดยสารทางเรือและรับเงินค่าขนส่งผู้โดยสารจากโรงแรมและบริษัททัวร์ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการที่มิใช่บริการขนส่งสาธารณะ” นั้น ต้องมีข้อเท็จจริงอื่นเพิ่มเติมเข้ามาให้เห็นว่า ผู้ประกอบการขนส่งได้ให้บริการอย่างอื่น เช่น การนำเที่ยว มีไกด์พาชมสถานที่ต่างๆ มิใช่เพียงรับขนส่งเพียงอย่างเดียว

           ดังนั้น ตามข้อเท็จจริงที่แจ้งไป หากเป็นสัญญาขนส่งคนโดยสาร ซึ่งมีการดำเนินการขนส่งคนโดยสารจากที่หนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง โดยไม่มีการให้บริการใดเพิ่มเติม ถือเป็นการให้บริการขนส่ง ตามมาตรา 608 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 608 อันว่าผู้ขนส่งภายในความหมายแห่งกฎหมายลักษณะนี้คือบุคคลผู้รับขนส่งของหรือคนโดยสารเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตน

มาตรา 634 ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดต่อคนโดยสารในความเสียหายอันเกิดแก่ตัวเขา หรือในความเสื่อมเสียอย่างใด ๆ อันเป็นผลโดยตรงแต่การที่ต้องชักช้าในการขนส่ง เว้นแต่การเสียหายหรือชักช้านั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่ความผิดของคนโดยสารนั้นเอง

ค่าขนส่ง ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีการขายสินค้าพร้อมให้บริการขนส่ง

ค่าขนส่งกรณี : คำถาม  บริษัท ก. จำกัด ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายชั้นวางสินค้า ตู้เก็บเอกสาร ชิ้นส่วนเกี่ยวกับเหล็กและอื่น ๆ โดยปกติบริษัทฯ จะจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า โดยคิดค่าขนส่งแยกต่างหากจากราคาสินค้า ขอทราบว่าบริษัทฯ จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่

   กค 0811/17066   กรณีบริษัท ก. จำกัด เป็นผู้ประกอบการขายสินค้าและให้บริการขนส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าด้วยโดยที่บริษัทฯ มิได้เป็นผู้ประกอบการให้บริการขนส่งอยู่เป็นปกติธุระ

ดังนั้น เมื่อมีการขายสินค้าพร้อมทั้งบริการขนส่งให้ด้วย ไม่ว่าการขนส่งนี้จะใช้ยานพาหนะของตนเองหรือจ้างบุคคลอื่นให้ขนส่งให้ และไม่ว่าจะแยกค่าขนส่งออกจากราคาสินค้าหรือไม่ บริษัทฯ ต้องนำมูลค่าของสินค้าซึ่งรวมค่าขนส่งมารวมคำนวณเป็นฐานภาษี สำหรับการขายสินค้าเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อกรณีถือเป็นการขายสินค้าบริษัทฯ จึงไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด

– สรุป ถ้าไม่ได้ขนส่งเป็นปกติธุระ กิจการจะขนส่งเอง หรือ จ้างคนอื่นขนส่ง – ใบกำกับภาษีแยกค่าสินค้า และค่าขนส่ง หรือใบกำกับภาษีใบเดียวกันแยกยอด มีภาษีมูลค่าเพิ่ม  แต่ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย —

ค่าขนส่ง กรณีการประกอบกิจการรับส่งเอกสาร

ค่าขนส่งกรณีรับส่งเอกสาร :

            ห้างฯ ประกอบกิจการขนส่งเอกสาร พัสดุภัณฑ์ สินค้า และสิ่งของด้วยรถจักรยานยนต์ ตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งผู้ว่าจ้างอาจเรียกใช้เป็นครั้งคราว หรือเป็นประจำทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน ในการคำนวณเรียกเก็บค่าขนส่ง ห้างฯ จะคำนวณจากระยะทางใกล้หรือไกล และหรือน้ำหนักของเอกสารหรือสิ่งของที่ต้องขนส่ง โดยจะตกลงกันเป็นคราวๆ ไปเมื่อดำเนินการขนส่งเสร็จ

          ห้างฯ จะได้รับค่าจ้างเป็นเงินสดหรือเช็คจากผู้ว่าจ้าง ทั้งนี้ ห้างฯ ประกอบกิจการดังกล่าวแต่เพียงอย่างเดียวโดยมิได้ประกอบกิจการอื่น และมิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด ห้างฯ จึงขอทราบว่า

       1. การประกอบกิจการดังกล่าวของห้างฯ อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
       2. หากกิจการดังกล่าวอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ห้างฯ จะมีความผิดหรือไม่ อย่างไร และห้างฯ ควรดำเนินการอย่างไร
       3. ผู้ว่าจ้างซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากค่าจ้างที่จ่ายในอัตราใด

กค 0706/6506 กรณีการประกอบกิจการขนส่งเอกสาร พัสดุภัณฑ์ สินค้า และสิ่งของด้วยรถจักรยานยนต์ ตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งผู้ว่าจ้างอาจเรียกใช้เป็นครั้งคราว หรือเป็นประจำทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน และ

        ในการคำนวณเรียกเก็บค่าขนส่ง ห้างฯ จะคำนวณจากระยะทางใกล้หรือไกล และหรือน้ำหนักของเอกสารหรือสิ่งของที่ต้องขนส่ง โดยจะตกลงกันเป็นคราวๆ ไป ตามข้อเท็จจริงข้างต้น

เข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร ห้างฯ จึงไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด และ

 

เงินได้จากการประกอบกิจการขนส่ง เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.0

– รับส่งเอกสาร กิจการดำเนินการเป็นปกติธุระ ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้จ่ายหักค่าบริการอัตรา 1%–

ค่าขนส่ง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการรับขนส่งพนักงาน

ค่าขนส่งกรณี : คำถาม

  นางสาว อ. ประกอบกิจการเป็นผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ มีปัญหาเกี่ยวกับกรณีการประกอบกิจการรับขนส่งพนักงาน โดยมีข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้

1. บริษัทผู้ว่าจ้างได้ตกลงว่าจ้างให้ผู้รับจ้างซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา รับส่งพนักงานของบริษัทผู้ว่าจ้าง ซึ่งมีข้อตกลงด้วย วาจาที่ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน โดยยึดถือสัญญาเดิมที่เคยตกลงกันของผู้รับจ้างรุ่นแรกๆ เมื่อปี 2546 มาเป็นแนวทางใน การปฏิบัติ ซึ่งมีเนื้อหาสาระว่า ผู้รับจ้างต้องจัดรถ ซึ่งมีทั้งรถบัส รถตู้ รถกระบะปิกอัพ พร้อมพนักงานขับรถ เพื่อบริการรับส่ง พนักงานของบริษัทผู้ว่าจ้างทุกวัน เว้นวันหยุดประจำสัปดาห์หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ที่บริษัทผู้ว่าจ้าง กำหนดให้มีการหยุด วิ่งรับส่ง และการรับส่งพนักงานดังกล่าวต้องเป็นไปตามเส้นทางที่บริษัทผู้ว่าจ้าง และผู้รับจ้างตกลงและกำหนดเส้นทางไว้ แน่นอนแล้ว

2. บริษัทผู้ว่าจ้างกำหนดค่าจ้างตามระยะทาง โดยมิได้นำจำนวนคนโดยสารมากำหนดค่าจ้าง และกำหนดจ่ายกัน เดือนละ 2 ครั้ง คือ ทุกวันที่ 15 และวันสิ้นเดือนของทุกเดือน


3. การรับส่งพนักงานของบริษัทผู้ว่าจ้างในแต่ละวัน ผู้รับจ้างจะต้องวิ่งรถรับส่งวันละ 3 กะ ยกเว้นวันอาทิตย์หรือ วันทำงานในวันนักขัตฤกษ์ให้วิ่งรับส่งเพียง 2 กะ

4. กรณีบริษัทผู้ว่าจ้าง จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง บริษัทผู้ว่าจ้าง จะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ ผู้รับจ้าง โดยระบุประเภทเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าจ้างร้อยละ 3.0 หรือค่าบริการร้อยละ 3.0

5. กรณีผู้รับจ้างมีเส้นทางเดินรถรับส่งมากกว่า 1 เส้นทาง ผู้รับจ้างจะไม่ได้เป็นผู้ขับขี่รถด้วยตนเอง แต่จ้างพนักงาน ขับรถมาขับให้แทนเป็นประจำ และรถยนต์ที่ใช้ในการรับส่งพนักงาน ผู้รับจ้างอาจจะมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ดังกล่าว

นางสาว อ. จึงขอทราบว่า กรณีการประกอบกิจการรับขนส่งพนักงานดังกล่าวของผู้รับจ้าง ถือเป็นการประกอบกิจการ ให้บริการขนส่งตามสัญญารับขนหรือเป็นการประกอบกิจการรับจ้างตามสัญญารับจ้างทำของ และบริษัทผู้ว่าจ้างต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราเท่าใด

แนววินิจฉัย

กค 0702/6429   กรณีผู้รับจ้างได้ตกลงด้วยวาจากับบริษัทผู้ว่าจ้าง เพื่อให้บริการรับส่งพนักงานตามวัน เวลา และเส้นทางที่กำหนดไว้ โดยรถยนต์ที่ใช้ในการให้บริการดังกล่าวยังคงอยู่ในความครอบครองของผู้รับจ้าง และไม่มีการให้บริการอื่นอีกนอกจาก การขนส่งพนักงาน

เข้าลักษณะเป็นสัญญารับขนตามมาตรา 608 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทผู้ว่าจ้าง ใน ฐานะผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าว จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0 ตามข้อ 12/4(2) ของคำสั่ง กรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

– สรุป รับขนพนักงานตามเส้นทางวันเวลาที่กำหนด  รถ / คนขับอยู่ในความครอบครองของผู้รับจ้าง และไม่มีบริการอื่นๆปะปนมาด้วย – เป็นการขนส่ง หักภาษีอัตราร้อยละ 1 ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม

ค่าขนส่ง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีขายสินค้าพร้อมให้บริการขนส่ง

ค่าขนส่งกรณี : คำถาม  บริษัท ส. จำกัด ประกอบกิจการซื้อมาขายไป ประเภทวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ และเครื่องมือในการก่อสร้าง บริษัทฯ ขอทราบว่า

          กรณีบริษัทฯ เรียกเก็บเงินค่าสินค้าพร้อมค่าขนส่งจากลูกค้า ซึ่งบริษัทฯ จะออกใบกำกับภาษีแยกรายการค่าสินค้าและค่าขนส่งออกจากกัน แต่ระบุในใบกำกับภาษีฉบับเดียวกัน เมื่อลูกค้าชำระค่าขนส่ง ลูกค้าซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่

         กค 0706/3978 กรณีบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าพร้อมให้บริการขนส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าด้วย บริษัทฯ มิได้เป็นผู้ประกอบการให้บริการขนส่งเป็นปกติ แม้บริษัทฯ จะออกใบกำกับภาษีโดยระบุราคาสินค้าและค่าขนส่งแยกออกจากกัน

        บริษัทฯ ต้องนำมูลค่าของสินค้า ซึ่งรวมค่าขนส่งมารวมคำนวณเป็นฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 65 และมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร       

        ดังนั้น เมื่อเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า บริษัทฯ จึงไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด

– สรุป ถ้าไม่ได้ขนส่งเป็นปกติธุระ ใบกำกับภาษีจะแยกค่าสินค้า และค่าขนส่ง ต้องมีภาษีมูลค่าเพิ่ม  แต่ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย —

ค่าขนส่ง - ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการขนส่งสินค้าภายในประเทศ

เลขที่หนังสือ: กค 0706พ./4804

วันที่:2 มิถุนายน 2549

เรื่อง:ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการขนส่งสินค้าภายในประเทศ

ข้อกฎหมาย:มาตรา 81(1)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ   

  : บริษัทฯ จำกัด ประกอบกิจการเป็นตัวแทนจัดการรับขนถ่ายสินค้าและบริการขนส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าภายในประเทศ โดยบริษัทฯ ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลูกค้า ดังต่อไปนี้

                1. ให้บริการเก็บสินค้าในคลังสินค้า (รับฝากสินค้า) พร้อมกับให้บริการขนส่งระหว่างโรงงานของลูกค้าและคลังสินค้าของบริษัทฯ

                2. ให้บริการขนส่งสินค้าจากโรงงานของลูกค้าไปยังผู้ซื้อโดยไม่ผ่านคลังสินค้าของบริษัทฯ ซึ่งเรียกว่า “การส่งตรง”
               การให้บริการดังกล่าว โดยเฉลี่ยแล้วบริษัทฯ จะออกใบแจ้งหนี้ค่าบริการขนส่งเดือนละประมาณ 20 -25 ล้านบาท และค่าบริการคลังสินค้าเดือนละประมาณ 4 ล้านบาท

               บริษัทฯ ออกใบแจ้งหนี้ค่าบริการคลังสินค้าและค่าบริการขนส่งแยกต่างหากจากกัน

             ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ออกใบกำกับภาษีและเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการคลังสินค้า ส่วนค่าบริการขนส่งสินค้าในราชอาณาจักรซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด

              บริษัทฯ จึงขอทราบว่า การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบกำกับภาษีของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่

แนววินิจฉัย  

: กรณีบริษัทฯ ได้ให้บริการคลังสินค้า (รับฝากสินค้า) พร้อมขนส่งสินค้าให้กับลูกค้า โดยบริษัทฯ ประกอบกิจการให้บริการขนส่งเป็นปกติธุระ
                หากบริษัทฯ สามารถแยกค่าขนส่งและราคาค่าบริการเก็บรักษาสินค้าออกจากกันได้  

                1.  การให้บริการขนส่งดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร

               2. ส่วนการให้บริการเก็บรักษาสินค้า เข้าลักษณะเป็นการให้บริการ บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยออกใบกำกับภาษีและเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าบริการดังกล่าวตามมาตรา 77/1(10) มาตรา 77/2 และมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร

           ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ เรียกเก็บค่าบริการจากลูกค้า จึงมีสิทธิแยกคำนวณค่าขนส่งต่างหากจากค่าบริการคลังสินค้าได้

เลขตู้  :69/34260

– ประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุระ  และมีกิจการบริการ ซึ่งแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจนใน ดังนั้น การขนส่ง หัก 1% ยกเว้น VAT  ส่วนบริการ หัก 3% + VAT 7% –

ค่าขนส่ง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการรับ - ส่งเอกสารด้วยรถจักรยานยนต์

เลขที่หนังสือ: กค ๐๗๐๒/พ./๖๙๖๙
วันที่ : ๗ กันยายน ๒๕๖๑

เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการรับ – ส่งเอกสารด้วยรถจักรยานยนต์


ข้อกฎหมาย: มาตรา ๘๑ (๑) (ณ) แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อหารือ


๑. นางสาว ส.จดทะเบียน เครื่องหมายบริการสำหรับขนส่งสินค้าตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ ประกอบกิจการรับ- ส่งเอกสาร โดยให้พนักงานรับ – ส่งเอกสาร สินค้าและสิ่งของโดยรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นของพนักงาน ตามระยะทางและเส้นทางที่กำหนด

โดย นาง ส.ได้ทำสัญญารับ – ส่งเอกสารกับผู้ว่าจ้างโดยตกลงกับผู้ว่าจ้างจะรับ – ส่งเอกสารจากจุดใดไปยังจุดใด โดยมีกำหนดระยะทางและจำนวนน้ำหนักในการวิ่งงานแต่ละครั้งที่แน่นอนวันละ ๑ เที่ยวเท่านั้นและจะเรียกเก็บค่าจ้างเพิ่มขึ้นหากระยะทางและหรือน้ำหนักมากกว่าที่ตกลงไว้

โดยนาง ส. จะแจ้งให้พนักงานไปยังสำนักงานของผู้ว่าจ้างเพื่อดำเนินการรับ – ส่งเอกสารตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนดภายใต้ข้อตกลงของสัญญาเป็นประจำทุกวัน ระหว่างวันจันทร์ถึงวันศุกร์ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น. ถึง ๑๗.๓๐ น. หรือตามเวลาทำการของผู้ว่าจ้างแต่ละรายเดือนละ ๒๒ วัน เป็นระยะเวลา๑ ปี

โดยจะเรียกเก็บค่าจ้างตามสัญญาเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละเท่า ๆ กัน นอกจากนี้ผู้ว่าจ้างจะชำระค่าตอบแทนเพิ่มเติมหากมอบหมายให้พนักงานดำเนินการรับ – ส่งเอกสารนอกเวลาทำการปกติโดยในสัญญารับจ้างดังกล่าวและ จะรับผิดชอบในความเสียหายหรือสูญหายซึ่งเอกสารหรือสิ่งอื่นใดภายใต้ความรับผิดชอบตามที่กำหนดในสัญญา


แนววินิจฉัย


กรณีนางสาว ส.ได้ทำสัญญารับ – ส่งเอกสาร โดยได้ส่งพนักงานไปยังสำนักงานของผู้ว่าจ้าง เพื่อไปรับ – ส่งเอกสารให้ตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างในแต่ละวันและได้ดำเนินการส่งเอกสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า นางสาว ส. ไม่ได้ส่งพนักงานไปปฏิบัติงานระจำ ณ สำนักงานของผู้ว่าจ้าง เพื่อรับคำสั่งและให้บริการอย่างอื่นนอกจากการรับ – ส่งเอกสาร ถือเป็นการให้บริการขนส่งตามมาตรา ๖๐๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๑ (๑) (ณ) แห่งประมวลรัษฎากร และผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ ๑.๐ ตามข้อ ๑๒/๔ (๒)ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. ๔/๒๕๒๘ฯ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘


เลขตู้: ๘๑/๔๐๘๐๒

ค่าขนส่ง : การหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีซื้อสินค้าพร้อมค่าบริการขนส่งจาก Suppiler

Inbox: ศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 10:32 น.
คุณ Boom Chuenmun
สวัสดีค่ะ
เรียน อาจารย์สุเทพ
เนื่องจากมีข้อสงสัยเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีซื้อสินค้าพร้อมค่าบริการขนส่งจาก Suppiler ผู้จำหน่ายออกใบกำกับภาษีแยกต่างหากจากใบกำกับภาษีค่าขนส่ง และทั้งนี้ ผู้จำหน่ายได้นำรายได้ทั้งสองประเภทไปรวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
เรียนถามว่าบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย รายได้ค่าขนส่งนั้นหรือไม่ (ทั้งนี้ผู้จำหน่ายไม่ได้ประกอบกิจการขนส่งค่ะ)
ขอบคุณค่ะ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
กรณีบริษัทฯ ซื้อสินค้าพร้อมค่าบริการขนส่งจาก Suppiler ผู้จำหน่ายไม่ได้ประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุรกิจ ในการนี้ผู้จำหน่ายได้ออกใบกำกับภาษีแยกต่างหากจากใบกำกับภาษีค่าขนส่ง แต่ทั้งนี้ ผู้จำหน่ายได้นำรายได้ทั้งสองประเภทไปรวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม นั้น
เช่นนี้ บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้ค่าขนส่งตามใบกำกับภาษีฉบับที่สองนั้น แต่อย่างใด เนื่องจาก ถือว่าค่าขนส่งดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้า
อย่างไรก็ตาม ค่าขนส่งที่แยกต่างหากนั้น Supplier พึงต้องออกเอกสาร “ใบเพิ่มหนี้” ตามมาตรา 82/9 ประกอบกับมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ใช่ “ใบกำกับภาษี” เพราะเป็นราคาสินค้าส่วนเพิ่ม จึงไม่สามารถออกใบกำกับภาษีได้อีก ใบกำกับภาษีดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ Supplier ออกโดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามมาตรา 86/13 แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าขนส่ง จึงถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (5) แห่งประมวลรัษฎากร

ค่าขนส่ง : จ่ายค่าขนส่งเพิ่มเติมหลังออกใบกำกับภาษีแล้ว

Inbox: พุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 20:26 น.
คุณ Teerachai Tee
เรียน อาจารย์สุเทพ ที่นับถือ

บริษัทฯ ทำธุรกิจซื้อมาขายไป โดยมีการเปิดใบกำกับภาษีขายสินค้าให้ลูกค้า แต่ยังไม่มีการส่งมอบครับ โดยลูกค้าว่าจ้างส่งให้ end user ทางไปรษณีย์ บริษัทฯ จะทำการจัดเก็บค่าขนส่งทางไปรษณีย์อย่างไร

1. ออกใบเสร็จรับเงิน โดยคิดเป็นขนส่งในประเทศไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย

2. ออกใบกำกับภาษี โดยคิดเป็นค่าบริการหัก ณ ที่จ่าย 3%
บริษัทฯ ไม่ได้มีใบอนุญาติขนส่ง แต่มีการแจ้งวัตถุประสงค์การจัดตั้งบริษัทว่ารับขนส่งสินค้า

ลูกค้าบริษัทฯ ที่ว่าจ้างให้ส่งสินค้าทางไปรษณีย์ ทำธุรกิจธนาคาร และ ค่ายโทรศัพท์ ได้นำสินค้าที่ซื้อจากบริษัทฯ จัดทำเป็นของ premium ให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการใช้ point แลก และให้บริษัทฯ เป็นผู้จัดส่งให้ หลังจากนั้นให้เรียกเก็บค่าขนส่งกับผู้ว่าจ้างตามหลัง (ธนาคารและค่ายโทรศัพท์)

3. ออกใบเพิ่มหนี้แบบมี VAT โดยไม่หัก ณ ที่จ่ายเพราะถือเป็นการขายสินค้า

ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์ 

วิสัชนา: 
กรณีบริษัทฯ ทำธุรกิจซื้อมาขายไป โดยมีการเปิดใบกำกับภาษีขายสินค้าให้ลูกค้า แต่ยังไม่มีการส่งมอบครับ โดยลูกค้าว่าจ้างส่งให้ end user ทางไปรษณีย์ บริษัทฯ จะทำการจัดเก็บค่าขนส่งทางไปรษณีย์ โดยต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ดังนี้ 

3. ออกใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 82/10 และมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร แบบมี VAT โดยผู้ซื้อไม่มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เนื่องจากถือเป็น มูลค่าของฐานภาษีเนื่องจากการขายสินค้าในส่วนที่เพิ่มขึ้น

ค่าขนส่ง : กิจการขนส่ง ขนย้ายเครื่องจักร

Inbox: เสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2562 เวลา 08:35 น.

คุณ Na Kanc

รบกวนสอบถามอาจารย์หน่อยค่ะ

บริษัทฯ ทำกิจการขนส่ง ขนย้ายเครื่องจักรหรือสินค้าขนาดใหญ่และหนักด้วยรถติดตั้งเครนหรือรถเฮี๊ยบ

ในการบริการของเรา เมื่อขนส่งไปถึงปลายทางเอาของลงจากรถเรียบร้อยแล้วก็จะทำการนำสินค้าหรือเครื่องดังกล่าวเข้าไปยังที่ที่ทางลูกค้าได้จัดไว้ให้ โดยพนักงานของบริษัทเรา

เช่นนี้จะ เป็นการบริการหลังจากขนส่งด้วยหรือไม่คะเพราะ

ตอนที่จดเข้า VAT ทางเจ้าหน้าที่สอบถามว่าเมื่อขนถ่ายสินค้าลงจากรถแล้วผู้ที่นำสินค้าเก็บเข้าที่เป็นคนของทางลูกค้าหรือทางเรา เราตอบว่าเป็นคนของทางเราเองเขาก็ตีความให้ว่ามีบริการอื่นร่วมด้วยจึงให้จด VAT ได้ หลังจากนั้นเราก็ผ่านทีมตรวจแนะนำ และทีมตรวจสอบการขอคืนภาษีต่างๆ ก็ผ่านมาได้ 3-4 ปีแล้วมา

ในปีล่าสุดตรวจขอคืนเช่นกัน แต่เป็นทีมกรรมวิธีก็กลับพิจารณาว่าเราไม่มีสิทธิจด VAT ให้ พิจารณาและออกจากระบบ จึงต้องขอความคิดเห็น หรือข้อกฎหมาย กับท่านอาจารย์ด้วยค่ะ
ขอบคุณค่ะ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:

กรณีบริษัทฯ ทำกิจการขนส่ง ขนย้ายเครื่องจักรหรือสินค้าขนาดใหญ่และหนักด้วยรถติดตั้งเครนหรือรถเฮี๊ยบ ในการบริการของบริษัทฯ เมื่อขนส่งไปถึงปลายทาง เมื่อนำของลงจากรถเรียบร้อยแล้วก็จะทำการนำสินค้าหรือเครื่องดังกล่าวเข้าไปยังที่ที่ทางลูกค้าได้จัดไว้ให้ โดยพนักงานของบริษัทเรา เช่นนี้ ยังคงถือเป็นการให้บริการขนส่ง ตามมาตรา 608 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


ดังนั้น เจ้าพนักงานส่วนกรรมวิธี พิจารณาว่า บริษัทฯ ประกอบกิจการรับจ้างขนส่งในราชอาณาจักร ไม่มีสิทธิจด VAT ให้ขอถอนทะเบียนออกจากระบบ VAT นั้นเป็นความเห็นที่ถูกต้องแล้ว

ข้อควรระวัง

สำหรับปัญหาของกิจการขนส่ง หรือกิจการขายสินค้า แต่มีการแยก บริการขนส่งออกจาก ค่าสินค้า ทำให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% จากอัตราค่าขนส่ง และไม่มีอยูในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม   ถ้าคู่ค้าของท่านต้องการหักภาษี ณ ที่จ่าย ท่านต้องให้ลูกค้าหัก ในอัตราภาษีค่าขนส่ง (1%) เพื่อป้องกันปัญหาการตีความจากการเข้าตรวจสอบของกรมสรรพากร เพราะถ้าทางลูกค้าต้องการหัก ณ ที่จ่ายอัตราเดียวกับค่าบริการ และ มียอดรวมเกินกว่า 1.8 ล้านบาท กิจการขนส่งอาจถูกประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลังได้

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่นกรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Icon made by [Smashicons ] from www.flaticon.com

Contact us

Post Views: 51,138

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า