สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี วางระบบบัญชี กรุงเทพ นนทบุรี โดย CPA : 091-830-3543|@beeaccountant
แนวทางจัดทำบัญชี ภาษี กิจการซื้อขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่ ในบทความนี้เราจะกล่าวถึง บัญชีพื้นฐานเบื้องต้น ภาษี และกฎหมายใดที่เกี่ยวข้อง ประเด็นที่กิจการต้องระวัง ทั้งการค้าปลีก รายย่อย การค้าแบบขายส่ง หรือการค้าขายแบบ B2B รายได้จากการขายมาจากการขายปลีก เงินสด ขายส่งแบบเงินสด และ การขายแบบเงินเชื่อ ลูกค้าทั่วไป ลูกค้าประจำ ลูกค้าขาจร เจ้าหนี้ Supplier อาจจะมีทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ
ในบทความนี้จะกล่าวถึงกระบวนการบัญชีของกิจการที่ ซื้อสินค้า มาเพื่อขาย หรือ ที่เรียกวันว่า กิจการซื้อมาขายไป Trading ในส่วนที่เกี่ยวกับการ รับทำบัญชี ภาษี กิจการซื้อขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่
แนวทางจัดทำบัญชี ภาษี กิจการซื้อขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่ ในส่วนของการ รับทำบัญชี แบ่งรายได้ของกิจการนิติบุคคลได้ 2 ประเภท ดังนี้ (ทั้งรถใหม่ป้ายแดง และ รถมือสอง (รถเก่า รถยึด)
แนวทางจัดทำบัญชี ภาษี กิจการซื้อขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่ ในบทความนี้เราจะกล่าวถึง บัญชีพื้นฐานเบื้องต้น ภาษี และกฎหมายใดที่เกี่ยวข้อง ประเด็นที่กิจการต้องระวัง ทั้งการค้าปลีก รายย่อย การค้าแบบขายส่ง หรือการค้าขายแบบ B2B รายได้จากการขายมาจากการขายปลีก เงินสด ขายส่งแบบเงินสด และ การขายแบบเงินเชื่อ ลูกค้าทั่วไป ลูกค้าประจำ ลูกค้าขาจร เจ้าหนี้ Supplier อาจจะมีทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ
ในบทความนี้จะกล่าวถึงกระบวนการบัญชีของกิจการที่ ซื้อสินค้า มาเพื่อขาย หรือ ที่เรียกวันว่า กิจการซื้อมาขายไป Trading ในส่วนที่เกี่ยวกับการ รับทำบัญชี ภาษี กิจการซื้อขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่
แนวทางจัดทำบัญชี ภาษี กิจการซื้อขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่ ในส่วนของการ รับทำบัญชี แบ่งรายได้ของกิจการนิติบุคคลได้ 2 ประเภท ดังนี้ (ทั้งรถใหม่ป้ายแดง และ รถมือสอง (รถเก่า รถยึด)
รายได้ของกิจการนิติบุคคล มาจาก (สำหรับร้านที่ไม่ได้จัดไฟแนนซ์เอง)
1. รายได้จากการขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่ ให้ลูกค้า หรือ ร้าน Sub ตัวแทนจำหน่าย
2. รายได้จากการเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่ ทั้งกรณีจัดไฟแนนซ์เอง หรือ มีไฟแนนซ์อื่นมารับจัดให้ รับจำนำรถรับวางเล่ม
3. รายได้จากการส่วนลดค่านายหน้าประกันภัยรถยนต์ รถจักรยานยนต์ พรบ ประกันอุบัติเหตุ
4. รายได้จากการต่อทะเบียน ต่อภาษี รถยนต์ รถจักรยานยนต์
5. รายได้จากการบริการซ่อม (บางร้านเป็นรายได้อื่น บางร้านเป็นรายได้หลัก)
รายได้อื่น ๆ ของนิติบุคคล เช่น
1. รายได้ที่ได้รับจากค่าส่งเสริมการขาย จากโรงงานรถยนต์ รถจักรยานยนต์ จากการเป็น Dealer (ดีลเลอร์)
2. รายได้จากการขายทรัพย์สิน
3. รายได้ดอกเบี้ยรับ เงินฝากธนาคาร
4. รายได้จากการทำยอดถึงเป้า ที่ทางผู้จำหน่ายให้เป็นค่าตอบแทน หรือ แรงจูงใจในการขาย
5. รายได้จากเศษซาก บริการเปลี่ยนอุปกรณ์ เช่น อะไหล่เก่าที่ลูกค้านำมาเปลี่ยน เศษกระป๋องน้ำมันเครื่อง
ในการบันทึกบัญชี กิจการสามารถลงบัญชีด้วยโปรแกรมที่ทางกิจการใช้เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี Express (เอ็กซ์เพรส) หรือ โปรแกรมบัญชี ออนไลน์ ( Online on Cloud) เชน Tr cloud SmeMove Flow Account Peak Engine
ต้นทุนในการขาย
1. ต้นทุนสินค้า เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่
2. ค่าแรงงาน สวัสดิการ โบนัส เบี้ยขยัน เงินจูงใจ ค่าคอมมิชชั่น พนักงานขาย ทีมขาย / ทีมงานซ่อม ช่าง (บริการซ่อม)
3. ค่าเช่าพื้นที่ + ค่าบริการอำนวยความสะดวก + ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ
ต้นทุนในการบริหาร
1. ค่าแรงงาน สวัสดิการ โบนัส เบี้ยขยัน เงินจูงใจ ค่าคอมมิชชั่น พนักงานในส่วนออฟฟิส เช่น บัญชี การเงิน โกดัง
2. ต้นทุนเงินกู้ยืมธนาคาร เงินกู้ยืมกรรมการ
3. ค่าเช่าพื้นที่ออฟฟิส + ค่าบริการอำนวยความสะดวก + ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ
4. ค่าประกันภัยสินค้า จากการสูญหาย เสียหาย โจรกรรม
5. ค่าพนักงานรักษาความปลอดภัย
6. ค่ารับรอง ค่าสอบบัญชี
7. ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์สำนักงาน
8. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ระบบการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าม หรือ วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือของธุรกิจซื้อขายสินค้า อาจทำได้ 2 วิธี คือ
1. การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method)
2. การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด (Periodic Inventory Method)
ระบบการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด ทุกๆ รายการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจะบันทึกไว้ในบัญชีนั้นๆ เมื่อต้องการทราบสินค้าคงเหลือปลายงวดจะไปตรวจนับจากสินค้าคงเหลือ ต้นทุนขายจะหาได้จากการคำนวณ
บทความที่เกี่ยวข้อง
1. การตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวด (สินค้าต้นงวดยกมา)
2. สินค้าขาดจากรายงานประเด็นความเสี่ยง (สินค้าขาดจากรายงาน)
สินค้าคงเหลือ ของกิจการ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่ หมวก ของตกแต่งรถ ของแจกของแถม เช่น เสื้อ หมวกันน๊อก กระติกนำ้ หม้อหุงข้าว พัดลม และอื่นๆ ตามที่ร้านจัดแจกของแถมในช่วงเวลานั้นๆ
การดำเนินงาน ของกิจการ ร้านค้า ซื้อมาขายไป จะมีวงจรรายได้ วงจรค่าใช้จ่าย มีลักษณะเหมือนกัน ดังนี้
วงจรรายจ่าย
รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียน เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click
อัตรค่าบริการรับทำบัญชีความเสี่ยงของกิจการในการเข้าตรวจสอบกิจการ เช่น
1. การบันทึกรายการราคาขายสินค้า ไม่ครบถ้วน
2. การบันทึกรายการบริการ ค่าซ่อมแซม ตรวจสอบไม่ครบถ้วน
3. การบันทึกรายการทางด้านบริการอื่นๆ เช่น จดทะเบียน พรบ กรมธรรม์ประกันภัย ไม่ครบถ้วน
4. การไม่บันทึกรายการขายเศษซาก อุปกรณ์ อะไหล่
5. บัญชีการเงินของกิจการ มีการเบิกใช้ส่วนตัว ปะปนกันเงินได้กรรมการ นำเงินส่วนตัวมาใช้ในกิจการ ทำให้ไม่ทราบว่ากิจการขาดทุน / กำไร จากการดำเนินธุรกิจการ เช่น เอาเงินบัตรเครดิต มาใช้ปะปนกัน
6. สินค้าคงเหลือ ขาดไปจากรายงานสินค้าคงเหลือ
7. การนำสินค้าไปฝากขายกับร้านค้าอื่น แต่ไม่ออกใบกำกับภาษี
8. ค่าแรงงาน บันทึกบัญชีเกินจากตัวตนจริงของพนักงาน
9. ค่ารับรอง / ค่าใช้จ่ายไม่มีใบเสร็จ จัดทำเอกสารประกอบไม่ถูกต้อง
10. กิจการบันทึกบัญชี 2 ชุด
11. กิจการบันทึกบัญชีรับรู้รายได้ ค่าใช้จ่าย ตามเกณฑ์เงินสด ซึ่งที่ถูกต้อง ต้องใช้เกณฑ์สิทธิ์
12. ในการวางระบบบัญชี ใหม่ ต้องเริ่มจาก แยกเงินส่วนตัวออกจากร้านค้า บันทึกรายการค้า ขายการขาย ค่าใช้จ่าย ให้ครบถ้วนถูกต้อง
13. การหาเงินทุนขั้นต่ำในการหมุนเวียน ต้องทำบัญชีเพื่อให้ทราบว่าในแต่ละวันกิจการต้องใช้เงินเท่าไหร่ ซึ่งทราบตัวเลขได้การทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ในส่วนของกิจการเท่านั้น
()
การรับรู้รายได้จากการขายสินค้าจะต้องเข้าหลักเกณฑ์เงื่อนไขครบทุกข้อดังนี้
1. กิจการได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าให้กับผู้ซื้อแล้ว
2. กิจการไม่เกี่ยวข้องในการบริหารสินค้าอย่างต่อเนื่องในระดับที่เจ้าของพึงกระทำ หรือไม่ได้ควบคุมสินค้าที่ขายไปแล้วทั้งทางตรงและทางอ้อม
3. กิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือ
4. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของรายการบัญชีนั้น
5. กิจการสามารถวัดมูลค่าของต้นทุนที่เกิดขึ้นหรือที่จะเกิดขึ้นมาจากรายการบัญชีนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ
ธุรกิจซื้อมาขายไปมีรายได้จาการขายสินค้าที่ซื้อมา นอกจากนี้อาจมีรายได้ที่ได้รับจากกิจการอื่นที่ไม่ใช่จากการขายสินค้าก็ได้ รายได้ของกิจการซื้อมาขายไป ไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
ค่าใช้จ่ายของกิจการซื้อมาขายไป
ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้ามาขาย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านต่างๆ เป็นต้น ค่าใช้จ่ายของธุรกิจซื้อมาขายไปสามารถแบ่งออกเป็น2ประเภทดังนี้
1.ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานหลัก ประกอบด้วยต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาขาย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารงานทั่วไป ค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นประจ าและต่อเนื่องที่เกิดจากธุรกิจปกติของกิจการ เช่น ต้นทุนสินค้าขาย เงินเดือน ค่าโฆษณา ( Facebook Google IG Youtube) ค่าเช่า ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ การบันทึกค่าใช้จ่ายที่มีเอกสารไม่ครบถ้วนให้ถูกต้องตามหลักกรมสรรพากร เป็นต้น
2.ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานหลักหรือค่าใช้จ่ายอื่น เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดจากธุรกิจอันเป็นปกติของกิจการ เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำและไม่ต่อเนื่อง เช่น ดอกเบี้ยจ่ายขาดทุนจากการขายสินค้าทรัพย์ ขายทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ขาดทุนจากเงินลงทุน เป็นต้น
สินค้าที่ผู้ซื้อสั่งซื้อนั้น ในบางครั้งอาจมีสาเหตุว่า ผู้ขายส่งไปผิดประเภท หรือมีปริมาณหรือคุณภาพ
ไม่ตรงตามที่สั่งซื้อ ผู้ซื้อไม่ต้องการจะรับไว้ ก็จะขอส่ง คืนสินค้านั้นไปให้ผู้ขาย รายการเช่นนี้ เรียกว่า การส่งคืนสินค้า (purchase Returns)
แต่สินค้าที่รับชำรุดหรือ คุณภาพเปลี่ยนนแปลงไปจากที่ตกลงกันไว้ แต่ทางด้านผู้ซื้อยังคง พิจารณารับสินค้านั้นไว้ และแจ้งขอส่วนลดแก่ผู้ขายก็ได ทางด้านผู้ขายจะทำการบันทึกไว้ในบัญชีสินค้า ส่งคืนและส่วนลด
วิธีการส่งคืนสินค้าหรือขอให้ผู้ขายลดราคาให้ มักจะทำเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็น แบบฟอร์มเรียกว่า ใบขอลดหนี้ หรือ Debit Note หรือ Debit Memorandum เพื่อแจ้งให้ผู้ขาย ทราบว่าจะส่งคืนสินค้า หรือขอส่วนลดจำนวนเท่าใด พร้อมทั้งแจ้งเหตุผลให้ผู้ขายทราบด้วย เมื่อผู้ขายได้รับแจ้งขอคืนสินค้าหรือขอส่วนลดแล้ว ถ้าผู้ขายตกลงยินยอม
ผู้ขายจะออก หลักฐานให้กับผู้ซื้อโดย เรียกว่า ใบลดหนี้ (เป็นใบกำกับภาษีแบบหนึ่ง) ส่งมาให้ผู้ซื้อ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ขายยินยอมตกลงตามที่ขอผู้ซื้อจะใช้เอกสารฉบับนี้บันทึกลงรับทำบัญชี และ การจัดทำภาษี เพื่อยื่นสรรพากร
ส่วนลดการค้า
ส่วนลดการค้า หมายถึงจำนวนเงินที่ผู้ขายยอดลดให้แก่ผู้ซื้อโดยคิดเป็นร้อยละของราคาที่ ปรากฏในบัญชีแสดงราคา
ดังนั้นราคาที่ผู้ขายแสดงไว้ในใบกำกับสินค้าจึงเป็นราคาสุทธิ ภายหลังจากที่ได้หักส่วนลดการค้าและไม่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินเร็วหรือช้าของลูกค้าแต่อย่างใด
การที่ธุรกิจให้ส่วนลดการค้าก็เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากและสะดวกแก่ธุรกิจ ในการเปลี่ยนแปลงราคาขายโดยไม่จำเป็นต้องจัดพิมพ์บัญชีแสดงราคาสินค้าใหม่ทุกครั้ง ส่วนลด การค้าจะไม่มีการนำมาลงบัญชี
เช่นสินค้ารับคืนหรือส่วนลดการค้าแล้วเท่า นั้น เช่น ร้านค้าส่งขายส่ง สินค้าชนิดหนึ่งในราคาหน่วยละ 200 บาท และจะยอมลดให้ 30% ในราคาสินค้าสำหรับร้านค้าปลีก ที่ซื้อสินค้าตั้งแต่ 10 หน่วยขึ้นไป ถ้าร้านค้าปลีกตกลงซื้อสินค้าจำนวน 10 หน่วยเป็นเงินสด
ส่วนลดเงินสด หมายถึง ส่วนลดที่เจ้าหนี้จะยอมลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ได้นำเงินสดมา ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้เพราะเมื่อกิจการได้มีการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ การที่จะจูง ใจให้ลูกหนี้หรือผู้ซื้อสินค้าไปเป็นเงินเชื่อนำเงินสดมาชำระหนี้โดยเร็ว
ทางด้านผู้ซื้อส่วนลดเงินสดที่ได้รับจากผู้ขายจะบันทึกรายการเป็น “ ส่วนลดรับ ” (Purchase Discounts) และนำรายการส่วนลดรับนี้ไปหักจากยอดซื้อ เพื่อหายอดซื้อสุทธิ
ทางด้านผู้ขาย ถือว่าส่วนลดเงินสดที่ให้แก่ผู้ซื้อจะบันทึกรายการเป็น “ ส่วนลดจ่ าย ” (Sales Discounts) ซึ่งจะนำเอารายการส่วนลดจ่ายนี้ไปหักจากยอดขาย เพื่อหายอดขายสุทธิ
.
ในการซื้อขายสินค้า โดยปกติผู้ซื้อมักจะต้องชำระเงินให้กับผู้ขายเมื่อส่งมอบสินค้าให้แล้ว เรียกว่าเป็นการขายสด
แต่บางครั้งผู้ขายอาจให้เครดิตแก่ผู้ซื้อเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 15 วัน 30 วัน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาความเชื่อถือของคู่ค้าระหว่างกัน
ระยะเวลาการใช้สินเชื่อ เช่น กำหนดว่าให้ชำระภายใน 10 วัน 20 วัน หรือ 30 วัน เป็นต้น เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ซื้อชำระเงินเร็วขึ้น
ผู้ขายอาจให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อในกรณีชำระเงินโดยเร็ว ซึ่ง ส่วนลดที่ให้นี้เรียกว่า “ ส่วนลดเงินสด ”
ส่วนลดเงินสด จะกำหนดเป็นอัตราร้อยละ เช่น 2% หรือ 3% ของราคาสินค้า ถ้าผู้ซื้อไม่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดจะต้องชำระหนี้เต็มจำนวน
ซึ่งจะปรากฏในใบกำกับ สินค้าดังนี้ 2/10 , n /30 หมายถึง กำหนดชำระเงินตามราคาในใบกำกับสินค้าเป็นเวลา 30 วัน นับจาก วันซื้อ หากชำระภายใน 10 วัน นับจากวันซื้อ จะได้ส่วนลดตามราคาในใบกำกับสินค้า 2%
2/ E.O.M . n /60 หมายถึง กำหนดชำาระเงินตามราคาในใบกำกับสินค้าภายใน 60 วัน นับจาก วันที่ซื้อ หากชำระภายในเดือนที่ซื้อสินค้านั้น จะได้ส่วนลดจากราคาในใบกำกับสินค้า 2%
2/10 Prox , n /60 หรือ 2/10 E.O.M. , n /60 หมายถึงกำหนดชำระเงินตามราคาสุทธิที่ปรากฏ ในใบกำกับสินค้าเป็นเวลา 60 วัน ถ้าหากผู้ซื้อนำเงินมาชำระภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดจากเดือนที่ ซื้อสินค้านี้จะได้ส่วนลด 2% เงื่อนไขการชำระหนี้อาจแตกต่างกันไปตามประเภทของสินค้าหรือตามลักษณะของธุรกิจ
ค่าขนส่ง คือ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขนถ่ายสินค้าที่ซื้อมาหรือขายไป เช่น ค่าระวาง ค่า รถบรรทุก ในการซื้อขายสินค้า
เงื่อนไขที่สำคัญที่ควรตกลงกัน คือ การส่งมอบสินค้า ทั้งนี้การซื้อขาย สินค้าจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบสินค้ากัน
บางกรณีผู้ขายอาจส่งมอบสินค้า ณ ที่จุดขายหรือ บางกรณีอาจ ส่งมอบสินค้าที่ร้านของผู้ซื้อ หรือส่งมอบที่สถานีรถไฟ ท่าเรือ สถานีขนส่งแล้วแต่จะตกลง กัน
เงื่อนไขในการส่งมอบสินค้า มีข้อตกลงกัน 2 ลักษณะดังนี้
1. การส่งมอบสินค้า ณ ที่จุดขาย ผู้ซื้อต้องรับภาระจ่ายค่าขนส่งเอง ค่าขนส่งนี้ผู้ซื้อเรียกว่า “ ค่าขนส่งเข้า ” ถือว่ าเป็นต้นทุนของสินค้าที่ซื้อ
2. การส่งมอบสินค้า ณ ปลายทาง ผู้ขายต้องเป็นผู้รับภาระจ่ายค่าขนส่งสินค้าให้ผู้ซื้อผู้ขาย เรียกค่าขนส่งนี้ว่า “ ค่าขนส่งออก ” เป็นค่าใช้จ่ายในการขาย
ในการติดต่อซื้อขายสินค้ากับต่างประเทศ การขายจะมี
ราคา F.O.B. Shipping Point (Free on Board at the Shipping Point) เป็นการซื้อขายสินค้าที่ไม่รวมค่าขนส่งสินค้า การส่งมอบสินค้าจะกระทำ ณ ต้นทาง ผู้ซื้อจะเป็นผู้จ่ายค่าขนส่ง กรรมสิทธิ์ในสินค้าจะเป็นของผู้ซื้อ ณ จุดต้นทาง ค่าขนส่งที่ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายจะนำไปบันทึกไว้ในบัญชีค่า ขนส่งเข้า (Freight – In Account) และถือเป็นต้นทุนสินค้าอย่างหนึ่ง
ราคา F.O.B. Destination เป็นการซื้อขายสินค้าที่รวมค่าขนส่งสินค้าไว้ การส่งมอบสินค้า จะกระทำ ณ ปลายทาง เมื่อผู้ขายได้ขนสินค้ามาถึงเมืองหรือประเทศของผู้ซื้อกรรมสิทธิ์ในสินค้าจะ เป็นของผู้ขายจนกว่ าจะถึงเมืองของผู้ซื้อ ดังนั้นผู้ขายจะต้องรับภาระค่าขนส่งจนถึงเมืองของผู้ซื้อ โดย จะบันทึกค่าขนส่งนี้เป็นค่าขนส่งออก (Freight – Out A/C) ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขาย
ราคา C.I.F. (Cost insurance and Freight) เป็นการซื้อขายสินค้าที่ได้รวมราคาทุนสินค้า บวกค่าประกันภั ยบวกค่าขนส่งสินค้าไว้แล้ว เงื่อนไขในการขนส่งต้องระบุให้ชัดเจนว่าส่งมอบที่ไหน เช่น ณ ที่ท่าเรือของเมืองผู้ซื้อ
1. บริษัท อ. ประกอบกิจการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ อะไหล่รถจักรยานยนต์ และให้บริการซ่อมแซมรถจักรยานยนต์ยี่ห้อ “H” จดทะเบียนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2529 และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535 และมีสาขา 4 แห่ง
บริษัทฯ ได้รับอนุมัติให้ยื่น แบบ ภ.พ.30 รวมกัน ณ สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งแต่เดือนภาษีมีนาคม 2535 เป็นต้นมา
2. สำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้เข้าตรวจปฏิบัติการภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอคืนภาษี ณ สถานประกอบการของบริษัทฯ
2.1 บริษัทฯ จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ แยก เป็นรายสถานประกอบการ
2.2 การจัดทำใบกำกับภาษีขายและใบลดหนี้ สำนักงานใหญ่จะเป็นผู้จัดทำใบกำกับภาษี ขายและใบลดหนี้เพียงแห่งเดียว สำหรับสถานประกอบการทั้ง 4 สาขา ไม่มีการจัดทำใบกำกับภาษีขาย และใบลดหนี้แต่อย่างใด
2.3 บริษัทฯ มียอดซื้อที่ขอคืนภาษีซื้อจากการซื้อรถจักรยานยนต์ อะไหล่รถจักรยานยนต์ ค่าโฆษณาที่จ่ายให้กับบริษัทโฆษณา เงินสนับสนุนค่าโฆษณาที่จ่ายให้กับตัวแทนจำหน่ายของบริษัทฯ ค่าส่งเสริมการขาย ค่าสาธารณูปโภคดังนี้
2.3.1 บริษัทฯ ซื้อรถจักรยานยนต์จากบริษัท ท. และซื้ออะไหล่รถจักรยานยนต์จาก บริษัท ช.
2.3.2 ค่าโฆษณาที่จ่ายให้กับบริษัทโฆษณาซึ่งทำการโฆษณารถจักรยานยนต์ ทางสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ นิตยสาร และโฆษณาตามการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งบริษัทฯ เป็นผู้จ่ายเงินค่าบริการจัดทำ โฆษณาโดยตรง
2.3.3 กรณีการจ่ายเงินค่าส่งเสริมการขาย บริษัทฯ จะจ่ายเงินค่าส่งเสริม
การขายให้กับตัวแทนจำหน่ายตามจำนวนรถซึ่งตัวแทนจำหน่ายขายได้ เมื่อตัวแทนจำหน่ายได้รับเงิน จะ ออกใบกำกับภาษีให้กับบริษัทฯ โดยระบุรายการในใบกำกับภาษีว่า “ค่าส่งเสริมการขาย ค่าแคมเปญ” เป็นต้น และบริษัทฯ ก็จะนำใบกำกับภาษีมาถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษีนั้น
2.3.4 เงินสนับสนุนค่าโฆษณาที่จ่ายให้กับตัวแทนจำหน่ายสินค้าของบริษัทฯ โดย ตัวแทนจำหน่ายจะเป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการขายเอง เช่น การโฆษณาทางวิทยุ การ จัดรายการของแจกแถม เป็นต้น หรือจะเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทโฆษณาทำโฆษณาทางวิทยุ นิตยสาร รถแห่ หรือจะเป็นผู้จัดซื้อของแจกแถมที่ใช้ในการส่งเสริมการขายเอง เมื่อดำเนินการแล้วจะนำเอกสารการ ชำระเงินค่าโฆษณาหรือค่าจัดซื้อของแจกแถมมาเพื่อเบิกเงินสนับสนุนค่าโฆษณาจากบริษัทฯ โดยการจ่าย เงินสนับสนุนค่าโฆษณาให้กับตัวแทนจำหน่ายแต่ละรายจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าตัวแทนจำหน่ายจะเป็น ผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์เพียงยี่ห้อเดียวหรือยี่ห้ออื่น ๆ ด้วย
นอกจากนี้ หากตัวแทนจำหน่ายมียอด
ขายสินค้าลดลง บริษัทฯ จะให้ตัวแทนจำหน่ายจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้น โดยต้องแนบ เอกสารหลักฐานการชำระเงินและรายละเอียดการจัดกิจกรรมเพื่อขอเบิกเงินกับบริษัทฯ โดยบริษัทฯ กับ
ตัวแทนจำหน่ายไม่มีการทำสัญญาระหว่างกันแต่อย่างใด บริษัทฯ จะเป็นผู้พิจารณาการจ่ายเงินอุดหนุน และเมื่อตัวแทนจำหน่ายได้รับเงินแล้วจะออกใบกำกับภาษีขายโดยระบุรายการ “ค่าโฆษณา เงินสนับสนุน ค่าโฆษณา สำหรับเดือน …”ให้บริษัทฯ เพื่อขอคืนภาษีซื้อต่อไป และบริษัทฯ จะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 2.0
3. สำนักงานสรรพากรพื้นที่เห็นว่า การจ่ายเงินสนับสนุนค่าโฆษณาของบริษัทฯ ให้ แก่ตัวแทนจำหน่ายตามข้อ 2.3.4 ถือเป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือหรือเงินสนับสนุน ไม่ใช่การจ่าย ค่า โฆษณาหรือการให้บริการ แต่เป็นเงินที่บริษัทฯ ช่วยเหลือเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการขายสินค้าของตัวแทน จำหน่ายให้ยอดขายเพิ่มขึ้น อีกทั้งการจ่ายเงินดังกล่าวมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทฯ เพียง ฝ่ายเดียว ไม่มีการตกลงเป็นหลักการแน่นอนแต่อย่างใด ภาษีซื้อดังกล่าวบริษัทฯ จึงไม่สามารถนำมา ขอคืนได้
1. กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินช่วยเหลือส่งเสริมการขายให้แก่ตัวแทนจำหน่ายตามจำนวนของ รถจักรยานยนต์ที่ตัวแทนจำหน่ายขายได้ เพื่อเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น เข้าลักษณะเป็นเงินค่าตอบแทน หรือ เงินรางวัลจากการขายสินค้าได้ตามเป้า เงินดังกล่าวมิใช่รายรับที่ได้รับจากการขายสินค้าหรือการ ให้บริการ จึงไม่เป็นมูลค่าของฐานภาษีสำหรับการขายสินค้า ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. กรณีตัวแทนจำหน่ายจ่ายเงินค่าโฆษณารถจักรยานยนต์ให้แก่บริษัทโฆษณาและเรียกเก็บเงิน ดังกล่าวคืนจากบริษัทฯ เนื่องจากบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ภายใต้ชื่อและเครื่องหมายการค้า “H” ตกลงให้ตัวแทนจำหน่ายเป็นผู้ดำเนินการเรื่องโฆษณาสินค้าภายใต้ชื่อและเครื่องหมายการค้า ดังกล่าวเพื่อเพิ่มยอดขายรถจักรยานยนต์ยี่ห้อ “H” โดยบริษัทฯ จะจ่ายเงินค่าโฆษณาคืนให้แก่ตัวแทน จำหน่ายแต่ละรายไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์และวิธีการที่บริษัทฯ กำหนด
เงินที่บริษัทฯ จ่ายคืนให้แก่ ตัวแทนจำหน่ายเข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนจากการที่ตัวแทนจำหน่ายให้บริการด้านโฆษณาต่อแก่บริษัทฯ ตัวแทนจำหน่ายซึ่งเป็นผู้ให้บริการจึงมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้รับบริการตาม มาตรา 77/2 และมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร
โดยภาษี มูลค่าเพิ่มที่บริษัทฯ ถูกเรียกเก็บถือ เป็นภาษีซื้อของบริษัทฯ เพื่อนำไปหักกับภาษีขายในการคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีรถจักรยานยนต์ (มอเตอร์ไซค์) ของบริษัทฯ หายไป ได้แจ้งความแล้ว กรมสรรพากรได้วางแนวทางไว้ตามคำตอยข้อหารือของกรมสรรพากรที่ กค 0706/พ./1308 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2547 ว่า “กรณีทรัพย์สินสูญหาย หากไม่มีการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใด ๆ มูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินนั้น ถือเป็นผลเสียหายจากการประกอบการ บริษัทฯ มีสิทธิตัดเป็นรายจ่ายได้ทั้งจำนวน แต่บริษัทฯ จะต้องมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าทรัพย์สินนั้นได้สูญหายจริง และทรัพย์สินที่สูญหายดังกล่าว ถือเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ในกิจการ เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า ตามมาตรา 77/1 (8) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของทรัพย์สินตามราคาตลาดของทรัพย์สินที่สูญหายไปดังกล่าว ตามมาตรา 79 และมาตรา 79/3 (1) แห่งประมวลรัษฎากร” ซึ่งได้แนบมาท้ายนี้
บริษัท ร. ประกอบกิจการจำหน่ายเครื่องบันทึกการเก็บเงิน เครื่องกดน้ำ ตู้นึ่งซาลาเปา เตาไมโครเวฟ ซึ่งอยู่ในร้านสะดวกซื้อ ในการประกอบกิจการบริษัทฯ ได้มีการให้บริการบำรุงรักษาสินค้าที่บริษัทฯ ได้จำหน่ายให้แก่ลูกค้าด้วย ในการให้บริการดังกล่าวพนักงานช่างของบริษัทฯ จะทำการเบิกอะไหล่และอุปกรณ์เครื่องมือจากบริษัทฯ เพื่อใช้ในการให้บริการ ในการให้บริการในบางครั้งรถของช่างที่ให้บริการได้เกิดอุบัติเหตุทำให้อะไหล่และอุปกรณ์เครื่องมือเสียหายหรือสูญหาย
บริษัทฯ ได้มีการทำประกันภัยทรัพย์สินไว้กับบริษัทประกันภัยโดยกำหนดเงื่อนไขความรับผิดชอบในส่วนแรกของผู้เอาประกันภัย
ไว้ที่ USD 5,000 ต่อการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง ความเสียหายส่วนที่ไม่เกินหรือต่ำกว่า USD 5,000 บริษัทฯ ต้องรับผิดชอบเอง จึงขอหารือดังนี้
1. บริษัทฯ สามารถตัดจ่ายทรัพย์สินหรืออะไหล่ในคลังสินค้าเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ และต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ หากต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มฐานภาษีที่ใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของทรัพย์สินหรืออะไหล่จะใช้มูลค่าสุทธิของทรัพย์สิน มูลค่าต้นทุนของอะไหล่หรือจะต้องใช้ราคาตลาดของทรัพย์สินและอะไหล่นั้น
2. ในบางกรณีบริษัทฯ จะเรียกเก็บค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากพนักงานที่รับผิดชอบหากพบว่า ความเสียหายเกิดจากความผิดของพนักงานนั้น ในกรณีเช่นนี้บริษัทฯ ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากพนักงานผู้นั้นและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมออกใบกำกับภาษีใช่หรือไม่ โดยฐานภาษีมูลค่าเพิ่มใช้ฐานใดตามข้อ 1.
3. กรณีตามข้อ 1. ไม่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และปรากฏว่าบริษัทฯ สามารถเรียกเก็บจากพนักงานได้บางส่วน บริษัทฯ จะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเพียงบางส่วนที่เรียกเก็บได้จากพนักงานใช่หรือไม่
1. กรณีที่ทรัพย์สินหรืออะไหล่ชำรุดหรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ บริษัทฯ จะนำต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินหรืออะไหล่นั้น ตัดเป็นรายจ่ายทั้งจำนวนไม่ได้ แต่หากได้ทำลายหรือขายไปซึ่งทรัพย์สินหรืออะไหล่นั้น ก็สามารถตัดต้นทุนที่เหลืออยู่ได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร และกรณีที่มีการขายซากทรัพย์สินหรืออะไหล่ของสินค้าดังกล่าว บริษัทฯ จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าในราคาตามสภาพของสินค้าและนำมารวมคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
2. กรณีทรัพย์สินหรืออะไหล่สูญหาย หากไม่มีการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใด ๆ มูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินนั้น ถือเป็นผลเสียหายจากการประกอบการ บริษัทฯ มีสิทธิตัดเป็นรายจ่ายได้ทั้งจำนวน แต่บริษัทฯ จะต้องมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าทรัพย์สินนั้นได้สูญหายจริง และทรัพย์สินหรืออะไหล่ที่สูญหายดังกล่าว ถือเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ในกิจการ เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า ตามมาตรา 77/1 (8) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของทรัพย์สินตามราคาตลาดของทรัพย์สินหรืออะไหล่ที่สูญหายไปดังกล่าว ตามมาตรา 79 และมาตรา 79/3 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
3. กรณีที่บริษัทฯ จะเรียกเก็บค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากพนักงานที่รับผิดชอบหากพบว่าความเสียหายเกิดจากความผิดของพนักงานนั้น ค่าเสียหายดังกล่าวมิใช่มูลค่าที่บริษัทฯ ได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ ตามมาตรา 77/1 (8) และ (10) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อ และให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง สินค้าประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้า อุปโภคอื่นๆ ในการประกอบกิจการดังกล่าวผู้ขายหรือผู้ผลิตสินค้าได้ให้ส่วนลด เงินช่วยเหลือ เงินสนับสนุน แก่บริษัทฯ โดยมีข้อเท็จจริง ดังนี้
1. ผู้ขายหรือผู้ผลิตสินค้าที่เข้าร่วมกับบริษัทฯ ในการส่งเสริมการขายส่วนตัวของตน ด้วยการให้ลูกค้าเช่าซื้อทรัพย์สินโดยไม่คิดดอกเบี้ย หรือคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่าอัตรา ตลาดทั่วไป โดยภาระดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อทรัพย์สินนั้น ผู้ขายหรือผู้ผลิตสินค้าจะเป็นผู้รับภาระ แทนลูกค้าทั้งจำนวน หรือบางส่วน ตามข้อตกลงการจัดแคมเปญส่งเสริมการขายระหว่างบริษัทฯ กับผู้ขายหรือผู้ผลิตสินค้า
2. ในการประกอบกิจการบริษัทฯ จะได้รับเงินช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในด้านการตลาด ค่าโฆษณา หรือส่งเสริมการขายจากผู้ขาย หรือผู้ผลิตสินค้าเพื่อนำมาสนับสนุนค่าใช้จ่าย ในด้านการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ โบว์ชัวร์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มยอดขาย โดยบริษัทฯ จะ เป็นผู้ดำเนินการเอง และเรียกเก็บจากผู้ขาย หรือผู้ผลิตสินค้าเป็นรายเดือนจำนวนไม่เท่ากัน แต่ละราย และไม่ต้องมีเอกสารหลักฐานการชำระเงิน หรือรายละเอียดการจัดกิจกรรม ประกอบการเบิกเงิน และไม่มีการทำสัญญาระหว่างกันแต่อย่างใด
3. บริษัทฯ จ่ายค่าส่งเสริมการขายให้แก่ผู้แทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพื่อให้ประสานงานกับผู้เช่าซื้อ และดำเนินการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ต่อกรมการขนส่งทางบก พร้อมทั้งส่งมอบเล่มทะเบียนรถจักรยานยนต์แก่บริษัทฯ
4. บริษัทฯ ขอทราบว่า
4.1 เงินที่บริษัทฯ ได้รับถือเป็นดอกเบี้ยที่บริษัทฯ ได้รับจากการให้เช่าซื้อ ซึ่งจะรับรู้เป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามงวดชำระค่าเช่าซื้อของลูกค้าแต่ละราย หรือถือเป็นเงินประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ซึ่งจะรับรู้เป็นรายได้เพื่อเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลทั้งจำนวน เมื่อบริษัทฯ ได้รับเงิน และผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่ และเงินที่บริษัทฯ ได้รับดังกล่าวถือเป็นประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ซึ่งผู้รับเงินไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ใช่หรือไม่ และความรับผิดของ ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเงินสนับสนุนการขายเกิดขึ้นเมื่อใด
4.2 บริษัทฯ จะต้องนำเงินที่ได้รับตาม 2. ถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ ของบริษัทฯ ในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายค่าใช้จ่าย หรือในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับ เงินคืนจากผู้ขายหรือผู้ผลิตสินค้า และผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ และเงินที่ บริษัทฯ ได้รับดังกล่าว ถือเป็นเงินรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริม การขาย ไม่เข้าลักษณะเป็นรายรับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ต้องนำมาเป็นฐาน ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มใช่หรือไม่ และภาษีซื้อที่เกิดจากค่าใช้จ่ายด้านการตลาด ค่าโฆษณา หรือส่งเสริมการขาย เป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร ใช่หรือไม่
4.3 เงินที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่ผู้แทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์ตาม 3. ถือว่า ผู้แทนจำหน่ายเป็นผู้ให้บริการที่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้รับบริการ และบริษัทฯ มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ใช่หรือไม่
แนววินิจฉัย
1. หากผู้ขายหรือผู้ผลิตสินค้าจ่ายเงินค่าดอกเบี้ยซึ่งผู้ขายหรือผู้ผลิตรับภาระแทน ลูกค้าให้แก่บริษัทฯ เพื่อสนับสนุนการขาย นั้น เงินที่บริษัทฯ ได้รับดังกล่าวไม่ว่าจะปฏิบัติ ตามวิธีที่ 1 หรือวิธีที่ 2 เข้าลักษณะเป็นรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับจาก การส่งเสริมการขายบริษัทฯ ต้องนำเงินสนับสนุนดังกล่าวไปรวมเป็นรายได้เพื่อเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยผู้ขายหรือผู้ผลิตสินค้า ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 12/2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 และเงินสนับสนุนที่บริษัทฯ ได้รับดังกล่าวไม่ถือเป็น มูลค่าของฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. หากผู้ขายหรือผู้ผลิตสินค้าจ่ายเงินให้แก่บริษัทฯ เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายใน ด้านการตลาด ค่าโฆษณา หรือส่งเสริมการขายโดยใช้เป็นค่าใช้จ่ายในด้านการจัดทำสื่อ สิ่งพิมพ์ โบว์ชัวร์ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าของผู้ขายหรือผู้ผลิตสินค้า นั้น เงิน สนับสนุนที่บริษัทฯ ได้รับดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนการโฆษณา บริษัทฯ จึงต้อง นำไปรวมเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยผู้ขายหรือผู้ผลิตสินค้าที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้มี หน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งในอัตราร้อยละ 2.0 ตามข้อ 10 ของคำสั่ง กรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 และเนื่องจากค่าตอบแทน ที่บริษัทฯ ได้รับ นั้น เข้าลักษณะเป็นรายรับจากการให้บริการ บริษัทฯ จึงต้องนำรายรับ ดังกล่าวมารวมเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/1(10) และ มาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โดยภาษีซื้อที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในการให้บริการนั้น ถือเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อดังกล่าวได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร
3. หากบริษัทฯ จ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่ผู้แทนจำหน่ายเพื่อให้ผู้แทนจำหน่าย ประสานงานกับผู้เช่าซื้อ และดำเนินการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ต่อกรมการขนส่งทางบก เข้าลักษณะเป็นการจ่ายค่าตอบแทนเนื่องจากการรับจ้างทำของ บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้ จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 3/1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 และเงินค่าตอบแทนที่ผู้แทนจำหน่ายได้รับ เข้าลักษณะเป็นรายรับจากการให้บริการ จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ ตาม มาตรา 77/1(10) และมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร
TAG รับทำบัญชี ปิดงบ ยื่นภาษี ธุรกิจขายรถจักรยานยนต์ ดีลเลอร์ ร้านซับ Dealer เช่น ยามาฮ่า ฮอนด้า ซูซุกิ และการซ่อมรถจักรยานยนต์ ธุรกิจขายรถยนต์ใหม่และศูนย์บริการซ่อมรถ ธุรกิจซื้อมาขายไป **ธุรกิจขายส่งและขายปลีก **ธุรกิจบริการต่างๆ ภาษีร้านอะไหล่ กิจการร้านขายรถจักรยานยนต์ รถจักรยานยนต์มือสอง ธุรกิจ เปิดอู่ซ่อมรถ ขายอะไหล่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้