Skip to content

รับจดทะเบียนเลิกบริษัท ห้างหุ้นส่วน ชำระบัญชี กิจการ ราคาถูก

รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขายรับจดทะเบียนเลิกบริษัท ห้างหุ้นส่วน ชำระบัญชี กิจการ ราคาถูก เพื่อให้ทาง กิจการ บริษัท ห้างหุ้นส่วน ชำระบัญชีให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันค่าใช้จ่ายในการบริการจัดทำบัญชี งบการเงิน การจัดส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร ให้จบสิ้นลงอย่างเรียบร้อยถูกต้อง

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant

รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียบ เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า  รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express  ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click

อัตรค่าบริการรับทำบัญชี

งบเปล่า ไม่จด VAT

24,999 บาท*
  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จดเลิก / จดชำระบัญชี
  • งบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ
  • ประกาศลงหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น / รายงานการประชุม
  • กรมสรรพากร นำส่ง ภงด 50 และ งบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

งบเปล่า จด VAT

29,999 บาท*
  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จดเลิก / จดชำระบัญชี
  • งบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ
  • ประกาศลงหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น / รายงานการประชุม
  • กรมสรรพากร นำส่ง ภงด 50 และ งบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

งบเปล่า คือ งบที่ยังไม่ได้ทำเนินธุรกิจ หรือไม่มีกิจกรรมการดำเนินงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรายการบัญชีที่เกี่ยวกับการรักษาสภาพธุรกิจ
ไม่มีการดำเนินการทางธุรกิจใดๆ เช่น ไม่มีซื้อ ไม่มีรายการขาย ไม่มีรายได้ใดๆ

*ค่าบริการข้างต้นไม่รวมเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ค่าภาษีอากรค้างชำระ     และค่าภาษีอื่นๆ ที่กิจการเป็นผู้รับผิดชอบต้องชำระ

รับจดทะเบียนเลิกบริษัท ห้างหุ้นส่วน ชำระบัญชี กิจการ ราคาถูก
รับจดทะเบียนเลิกบริษัท ห้างหุ้นส่วน ชำระบัญชี กิจการ ราคาถูก

ขั้นตอนการจดทะเบียนเลิกกิจการ / บริษัท / ห้างหุ้นส่วน

รับจดทะเบียนเลิกบริษัท ห้างหุ้นส่วน ชำระบัญชี (ปิดบริษัท เลิกกิจการ อย่างเป็นทางการ ถูกต้องตามขั้นตอนกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร) ในส่วนของขั้นตอนการจดทะเบียนเลิกกิจการ มีขั้นตอน ดังนี้

การเลิก/ชำระบัญชีบริษัท/ห้างหุ้นส่วน

การจดเลิกบริษัทหรือการจดทะเบียนเลิกและชำระบัญชีบริษัท
ในกรณีที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เลิกบริษัท มีทั้งหมด 8 ขั้นตอน ที่ทางสำนักงานบัญชีต้องดำเนินการให้ท่านดังนี้

การเลิกบริษัท โดยความประสงค์ของผู้ถือหุ้น ให้ลงมติเลิกบริษัท

1. นัดประชุม ผู้ถือหุ้น + จัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น เพื่อลงมติพิเศษให้เลิกบริษัท

วันที่ 1 ออกหนังสือ นัดประชุม

โดยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 คราวและส่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น

เว้นระยะเวลา 14 วันเป็นอย่างน้อย


วันที่ 15 นัดการประชุมครั้งแรก

– มีวาระพิจารณาเรื่องเลิกบริษัท
– ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะต้องลงมติให้เลิกบริษัทด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
– จัดทำรายงานการประชุมเลิกบริษัทปิดกิจการ


การประชุมครั้งที่สอง

– มีวาระพิจารณา 3 วาระ คือ ยืนยันมติให้เลิกบริษัทของที่ประชุมครั้งแรก แต่งตั้งผู้ชำระบัญชีและกำหนดค่าตอบแทนและแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดค่าตอบแทน

– ที่ประชุมจะต้องลงมติยืนยันให้เลิกบริษัทไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ส่วนมติแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีและผู้สอบบัญชีรวมทั้งกำหนดค่าตอบแทนใช้มติธรรมโดยเสียงข้างมาก

– การประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่สองจะต้องห่างจากการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งแรกไม่น้อยกว่า 14 วัน และไม่เกินกว่า 6 สัปดาห์

2. จัดทำเอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเลิกบริษัท เพื่อไปจดทะเบียนเลิกที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

วันที่ 16-30 (ภายใน 14 วันรับแต่วันที่มีมติเลิกบริษัท เลิกกิจการ)

เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเลิกบริษัท

– คำขอจดทะเบียน (แบบ ลช.1)
– รายการจดทะเบียน (แบบ ลช 2)
– คำสั่งศาลให้เลิกบริษัท (กรณีศาลสั่งให้เลิก)
– สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นทั้ง 2 ครั้งซึ่งลงมติให้เลิกบริษัท โดยกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อรับรองความถูกต้อง
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ชำระบัญชีที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
– หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
– สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)

 

คําขอจดทะเบียนเลิกและอํานาจของผู้ชําระบัญชีของบริษัท จะต้องลงลายมือชื่อโดยผู้ชําระบัญชี ซึ่ง ได้แก่กรรมการที่ลงชื่อผูกพันบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก

กรรมการทุกคนของบริษัทต้องเป็นผู้ชําระบัญชีโดยผลของกฎหมาย ถ้าผู้ชําระบัญชีมีหลายคน ผู้ชําระบัญชีทุกคนต้องกระทําการรวมกัน

บางกรณีบริษัทประสงค์จะตั้งกรรมการบางคน หรือ กรรมการคนใดคนหนึ่ง หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กรรมการของบริษัทเป็นผู้ชําระบัญชีจะต้องให้

ที่ประชุมใหญผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติตั้งผู้ชําระบัญชีหรือกําหนดอํานาจของผู้ชําระบัญชี

3. ผู้ชำระบัญชีต้องลงประกาศเลิกบริษัทในหนังสือพิมพ์ท้องที่ + ส่งหนังสือแจ้งเจ้าหนี้

วันที่ 16-30 (ภายใน 14 วันรับแต่วันที่มีมติเลิกบริษัท เลิกกิจการ)

ต้องแจ้งการเลิกบริษัทให้เจ้าหนี้ทราบโดยส่งหนังสือลงทะเบียนไปรษณีย์และต้องจดทะเบียนเลิกบริษัทต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทภายใน 14 วันนับแต่วันเลิกบริษัท

 

4. จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัทและส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบ

วันที่ 16-30 กรณีงบไม่ได้ประกอบกิจการ งบการเงิน ณ วันเลิกสามารถจัดทำให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตลงนาม

จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัทและส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบ

5. ผู้ชำระบัญชีเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณา อนุมัติงบการเงิน

เมื่อผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบงบการเงินแล้วเห็นว่าถูกต้องให้ผู้ชำระบัญชีเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติงบการเงินและพิจารณากว่าจะให้กรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือจะแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีขึ้นใหม่

6. ผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการชำระบัญชี

 ผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการชำระบัญชีโดยรวบรวมทรัพย์สินเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระเงินค่าหุ้นขายทรัพย์สิน เรียกลูกหนี้ให้ชำระหนี้ ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่กรรมการบริษัทได้ออกไปในการดำเนินกิจการค้าแทนบริษัท หากมีทรัพย์สินเหลือให้คืนทุนผู้ถือหุ้น


(กรณีการชำระบัญชีปรากฏว่าทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้สินให้ผู้ชำระบัญชีร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้บริษัทจำกัด
ล้มละลาย)

7.จัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้พิจารณาอนุมัติรายงานผลการชำระบัญชี

เมื่อชำระบัญชีดำเนินการชำระบัญชีเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ชำระบัญชีต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้พิจารณาอนุมัติรายงานผลการชำระบัญชี

8.ผู้ชำระบัญชีต้องจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชีต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุมอนุมัติเสร็จการชำระบัญชี

เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติแล้ว ผู้ชำระบัญชีต้องจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชีต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุมอนุมัติเสร็จการชำระบัญชี

อัตราค่าบริการ ของสำนักงานในการจดเลิกกิจการ และ ชำระบัญชี

สำหรับ งบเปล่า / ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม อัตราค่าบริการ  ในการ รับจดทะเบียนเลิกบริษัท ห้างหุ้นส่วน ชำระบัญชี  ราคา 24,999 บาท รวมงบผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ณ วันเลิกกิจการ

ชำระในวันที่ตกลงส่งข้อมูลเพื่อประกอบการจัดทำเอกสาร 12,499 บาท

ชำระวันที่ที่สำนักงาน นำส่งเอกสารให้ท่านเพื่อลงนาม จำนวน 12,500 บาท

(กรณีมีงบเลิกมากกว่า 2 งบขึ้นไป ส่วนลดค่าบริการ 10 % )

เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ทางกิจการผู้ชำระบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่รวมอยู่ในราคาบริการว่าจ้างดำเนินการ

* กรณีที่ชำระบัญชีไม่แล้วเสร็จ ผู้ชำระบัญชีต้องจัดทำรายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช 3) ยื่นต่อนายทะเบียน ทุกระยะ 3 เดือน

ในกรณีที่ชำระบัญชีไม่แล้วเสร็จ ผู้ชำระบัญชีต้องจัดทำรายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช 3) ยื่นต่อนายทะเบียน ทุกระยะ 3 เดือน

สรุปการประกาศลงหนังสิอพิมพ์

เลิกบริษัท (ต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์ 4 ครั้ง โดยครั้งที่3,4สามารถประกาศลงหนังสือพิมพ์ในคราวเดียวกัน)

  • ประชุมเลิกบริษัท ต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 1 ครั้ง ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วันหรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
  • ประกาศเลิกบริษัท หลังจากจดทะเบียนเลิกแล้ว ต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 1 ครั้ง ภายใน 14 วันนับจากวันที่ประชุมเลิก หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
  • ประชุมอนุมัติงบ ณ วันเลิก ต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 1 ครั้ง ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันหรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
  • ประชุมอนุมัติการชำระบัญชี ต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 1 ครั้ง ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันหรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ

เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี


เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี

  1. แบบคำขอจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.1)
  2. รายการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี (แบบ ลช.5)
  3. รายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช.3)
  4. งบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท (หรือ งบการเงิน ณ วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิกบริษัทก็ได้)
  5. รายละเอียดสมุดบัญชีและสรรพเอกสารทั้งหลาย (แบบ ลช.6)
  6. แบบรับรองการตรวจสอบบัญชีของกรมสรรพากร
  7. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
  8. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
  9. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและปิดอากรแสตมป์ด้วย)

     กรณีที่บริษัทไม่สามารถชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับจากวันเลิก ก็ให้ผู้ชำระบัญชียื่นรายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช.3) ทุก 3 เดือน

     ถ้าชำระบัญชียังไม่แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี ผู้ชำระบัญชีต้องเรียกประชุมใหญ่ในเวลาสิ้นปีทุกปีนับแต่วันเริ่มทำการชำระบัญชี (วันเลิก) และต้องทำรายงานยื่นที่ประชุมว่าได้จัดการไปอย่างไรบ้าง และแจ้งให้ทราบความเป็นไปของการชำระบัญชีโดยละเอียด

     สำเนาเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนทุกฉบับ ต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนรับรองความถูกต้อง ยกเว้นสำเนาบัตรประจำตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน ให้ผู้เป็นเจ้าของบัตรหรือผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง

อัตราค่าปรับการส่งงบการเงินล่าช้า :
กรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน

อัตราค่าปรับการส่งงบการเงินล่าช้า : กรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน

อัตราค่าปรับการส่งงบการเงินล่าช้า :
กรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือน

อัตราค่าปรับการส่งงบการเงินล่าช้า : กรณียื่นงบการเงินล่าช้า

อัตราค่าปรับการส่งงบการเงินล่าช้า :
กรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 4 เดือนขึ้นไปหรือไม่ยื่นงบการเงิน

อัตราค่าปรับการส่งงบการเงินล่าช้า : กรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 4 เดือนขึ้นไปหรือไม่ยื่นงบการเงิน

การประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่ออนุมัติงบการเงิน สำหรับ บริษัท จำกัด

กรณีที่เป็นบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นรอบบัญชี และจะต้องนำไปยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 1 เดือนนับจากวันประชุม

 

กรณีที่ 1 ถ้าประชุมทันตามกำหนดภายใน 4 เดือน แต่นำส่งงบการเงินไม่ทันภายใน 1 เดือน จะถูกเรียกเก็บค่าปรับทั้งในส่วนของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และกรรมการผู้จัดการ (ตามตารางข้างต้น) ( บริษัท อัตราขั้นต่ำ 2,000 สูงสุด 12,000)

กรณีที่ 2 ถ้าประชุมเกินกำหนดเวลา ก็จะเป็นกรณี “ไม่นํางบดุลเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือน นับแต่
วันที่ลงในงบดุล” จะถูกเรียกเก็บค่าปรับทั้งในส่วนของบริษัท 6,000 บาท และกรรมการผู้มีอํานาจ โดยคำนวณตามจำนวนกรรมการที่ลงชื่อผูกพันบริษัทคนละ 6,000 บาท   ( บริษัท อัตราค่าปรับ 6,000 + 6,000(จำนวนกรรมการ) ขั้นต่ำ 12,000)

กรณีไม่นำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ซึ่งตามกฎหมายต้องส่งภายใน 14 วันนับจากวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี ซึ่งหากมิได้นำส่งตามกำหนดดังกล่าวมีโทษเปรียบเทียบปรับกรรมการคนละ 2,000 บาท

ค่าปรับกรมสรรพากร

กรมสรรพากรยื่นแบบ ภ.ง.ด.50/52/55 และยื่นบัญชีงบการเงิน

         บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50/52

  1. กรณียื่นแบบฯ และยื่นบัญชีเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับกระทงละ 1,000 บาท

  2. กรณียื่นแบบฯ และยื่นบัญชีเกินกำหนดเวลา และเกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับกระทงละ 2,000 บาท

    หมายเหตุ กรณีมีภาษีต้องชำระต้องเสียเงินเพิ่มอีกอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบฯ จนถึงวันที่ยื่นแบบฯ ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร

ไม่นำส่งงบการเงิน : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อยื่นงบการเงินล่าช้า

1.เสีย “ค่าปรับ” ส่งงบการเงินล่าช้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ( ส่งงบการเงินล่าช้า / จัดประชุมล่าช้าเกินกว่า 4 เดือน / ผู้สอบรับรองงบการเงินภายหลังวันที่ประชุมผู้ถือหุ้น / ส่งรายชื่อผู้อหุ้นล่าช้า )

2.เสีย “ค่าปรับ” “เงินเพิ่ม” ที่กรมสรรพากร – ภงด 50

สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อไม่ยื่นงบการเงิน

1. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีอำนาจเรียกค่าปรับตามกฎกระทรวง (อายุความ 1 ปี)
2. กรมพัฒนาธุรกิจการค้าส่งเรื่องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการ  ตามกฎหมายก่อนหมดอายุความ
3. ตำรวจท้องที่ออกหมายเรียก 2 – 3 ครั้ง
4. ตำรวจท้องที่ออกหมายจับกรณีไม่มาตามหมายเรียก  (หมายจับมีอายุความ 5 ปี)
5. ตำรวจท้องที่จับดำเนินคดีและส่งฟ้องศาลแขวง

แต่หากโดนหมายเรียกแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือ

1. ไปพบตำรวจ
2. ดำเนินการจ่ายค่าปรับที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
3. ส่งสำเนาใบเสร็จให้ตำรวจเพื่อปิดคดี (ไม่ส่งฟ้อง)
4. รีบดำเนินการปิดงบและยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้เรียบร้อย
5. ยื่นงบและแบบ ภ.ง.ด. 50 กับกรมสรรพากร  พร้อมชำระเบี้ยปรับเงินเพิ่ม

 

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

คำค้นหา การ ปิด บริษัท ต้อง ทํา อย่างไร pantip , ค่า ใช้ จ่าย การ จดทะเบียน เลิก บริษัท, ขั้นตอนการปิดบริษัท กรมสรรพากร,ปิดบริษัทชั่วคราว,ปิดหจก pantip,ตัวอย่างงบเลิกกิจการ,ภาษีเลิกกิจการ,การปิดบัญชีบริษัท,หนังสือชี้แจงเลิกกิจการ,ตัวอย่าง รายงานการประชุม จด เลิก บริษัท,รับ จดทะเบียน บริษัท,การ ปิดบัญชี บริษัท,การ ปิด บริษัท ต้อง ทํา อย่างไร pantip,ตัวอย่างงบเลิกกิจการ,ค่า ใช้ จ่าย ปิด บริษัท,เลิกบริษัท สรรพากร,ปิดบริษัท pantip,ปิด บริษัท ต้อง ทำ อย่างไร,เลิกบริษัท,จดทะเบียนเลิกกิจการ พร้อมปิดงบการเงินชำระบัญชี

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า