Skip to content

ค่าใช้จ่ายทางภาษีคือ

ค่าใช้จ่ายทางภาษีคือ อะไร ข้อผิดพลาดและวิธีแก้ไขก่อนยื่นแบบภงด 50

ค่าใช้จ่ายทางภาษี คือรายจ่ายที่ไม่เข้าเงื่อนไขรายจ่ายต้องห้าม

 

ค่าใช้จ่ายทางภาษี VS รายจ่ายต้องห้าม                                                   

ค่าใช้จ่ายทางภาษี  หมายถือ ค่าใช้จ่ายที่นำมาใช้ในการคำนวนกำไรสุทธิทางภาษี  VS  รายจ่ายต้องห้าม  หมายถึง รายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการของนิติบุคคลและได้มีการบันทึกบัญชีเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายการ แต่ในทางภาษีไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย หรือไม่ถือเป็น ค่าใช้จ่ายทางภาษี ในการคำนวณกำไรสุทธิ ขอบเขตรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร
                                                                                                        เอกสารเงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)

ค่าใช้จ่ายทางภาษีคือ ??
ค่าใช้จ่ายทางภาษีคือ ??

ในบทความนี้เราจะกล่าวถึง ค่าใช้จ่ายทางภาษี 3 ประเภทยอดฮิตดังนี้

กรุณา  Click อ่านหัวข้อที่สนใจ

ค่าใช้จ่าย หรือ รายจ่าย ที่ทางผู้รับไม่มีเอกสารหลักฐานให้ หรือ มีแต่ไม่ชัดเจน​

ค่าใช้จ่ายทางภาษี ที่นำมาหักจากรายได้เพื่อประหยัดภาษีได้

อันดับแรก ค่าใช้จ่าย หรือ รายจ่าย ที่ทางผู้รับไม่มีเอกสารหลักฐานให้ หรือ มีแต่ไม่ชัดเจน

รายจ่ายที่ไม่มีบิล

รายจ่ายที่ไม่มีบิล หากพิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายจริง
เกี่ยวข้องกับกิจการ ก็ย่อมสามารถนำมาหักเป็นรายจ่าย
ไม่ว่ารายจ่ายดังกล่าวจะผิดหลักเกณฑ์ของกฎหมายอื่นหรือไม่ก็ตาม
เช่น เงินใต้โต๊ะ เป็นต้น

ค่าใช้จ่ายไม่มีใบเสร็จ

มีธุรกิจหลายประเภทที่มักซื้อขายกันโดยไม่ออกใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน เช่น กิจการร้านขายอาหาร/ภัตตาคาร กิจการค้าวัสดุก่อสร้าง กิจการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ กิจการค้าอะไหล่ยนต์ เป็นต้น   กรณีนี้จึงทำให้ ทั้ง 3 ฝ่ายมีประเด็นปัญหาตามมา กล่าวคือ

girl(1)

ผู้ขาย ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือร้านค้าย่อย

ขาย
ทำเอกสารไม่ถูกต้อง การรับเงิน / รับค่าบริการไม่มีการออกใบเสร็จ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเสียแบบเหมาซึ่งไม่ถูกต้อง.
boy(1)

ผู้ซื้อ ร้านค้าย่อยกับบริษัทขนาดใหญ่

ผู้ซื้อ
ร้านค้าย่อย - ปกติไม่ออกบิลให้ถูกต้อง บริษัท - จัดทำบัญชีชุดเดียวเอกสารมักจะถูกต้อง
girl

กรมสรรพากร

กรมสรรพากร
แก้ปัญหาโดย การออกตรวจปฏิบัติการ/การออกหนังสือเชิญพบการออกหมายเรียก และออกระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อป้องกัน อุดช่องโหว่ของการหลีกเลี่ยงภาษี ฯลฯ กรณีนี้จึงก่อ Compliance Costs (ต้นทุนปฏิบัติตามกฎหมายภาษี) ที่สูงต่อผู้ประกอบการทุกระดับ
Icons made by Freepik from www.flaticon.com is licensed by CC 3.0 BY

วิธีแก้ไขค่าใช้จ่ายไม่มีบิลให้เป็น ค่าใช้จ่ายทางภาษี

กรมสรรพากรได้วางระเบียบปฏิบัติ กรณีกิจการต่างๆ ไม่มีเอกสาร/ใบสำคัญคู่จ่ายที่ไม่สมบูรณ์ โดยสามารถปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 วิธี ต่อไปนี้คือ

** บิล ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษีที่ดี ควรจะต้องเป็นบิลที่สามารถใช้ประโยชน์ทางบัญชี และภาษี เกี่ยวข้องกับกิจการ พิสูจน์ผู้รับได้**

 

ให้ผู้ซื้อจัดทำใบสำคัญจ่าย (Payment Voucher) ให้ผู้ขายลงนามพร้อมระบุชื่อที่อยู่/รายการสินค้า (บริการ) ที่ซื้อขาย และถ่ายสำเนาบัตรประชาชนของผู้ขายไว้เป็นสำคัญ

ให้ผู้ซื้อชำระราคาด้วยการ สั่งจ่ายเป็นเช็คขีดคร่อม (A/C PAYEE ONLY) ระบุชื่อผู้รับเงิน (ผู้ขาย) ไว้เป็นหลักฐานประกอบการลงบัญชี

 ให้ผู้ซื้อจ่ายเงินผ่านระบบตัดบัญชีเงินฝากธนาคาร (Bank Statement) ของผู้ขาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการลงบัญชีได้ เช่นกัน

รายจ่ายไม่มีบิล
ที่มา เพจ ภาษีรู้ไว้ได้เปรียบ

ค่าใช้จ่ายที่เป็นรายจ่ายทางภาษีได้ - เอกสารที่ต้องมีในกรณีไม่ได้รับใบเสร็จ / ใบกำกับภาษี

ค่าใช้จ่ายไม่มีบิล
กรณีไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงิน จากผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ จำเป็นต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินนั้น ก็สามารถใช้เอกสาร “ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน”
ค่าใช้จ่ายไม่มีบิล - ใบรับ
กรณีผู้รับเงินยินยอมออกใบรับเงิน (ตามมาตรา 105 ทวิ) ในใบรับเงินและสำเนาใบรับเงิน ต้องมีรายละเอียดตัวเลขไทยหรือเลขอารบิค และอักษรภาษาไทย หากทำเป็นภาษาต่างประเทศก็ให้มีภาษาไทยกำกับด้วย และต้องมีรายละเอียดตามภาพ
กรณีที่ผู้รับเงินไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้ แต่ยินยอมที่จะลงลายมือชื่อในช่องผู้รับเงิน และยินยอมให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สามารถใช้เอกสาร “ใบสำคัญรับเงิน”

อันดับที่ 2 - ค่าส่งเสริมการขาย

กรณีการส่งเสริมการขาย (ลด แลก แจก แถม) จะมีภาระภาษีหลัก ๆ มาเกี่ยวข้อง 3 กรณี ดังนี้

 

1.  ภาษีเงินได้นิติบุคคล อำนาจในการประเมินรายรับกรณีมีการจำหน่ายจ่ายโอนสินค้าฯ โดยไม่มีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด ม. 65 ทวิ (4)

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม   VAT
         – อำนาจในการประเมินรายรับเพิ่มกรณีผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงมูลค่าฐานภาษีต่ำกว่าความเป็นจริง ม. 88/2 (3) , (4)
         – การให้ส่วนลดที่จะลดฐานภาษีต้องเป็นกรณีส่วนลดการค้า (Trade Discount) ม. 79 (1)
         – การยกเว้นภาษีขายต้องเป็นการแถมพร้อมขายและมูลค่าของแถมไม่เกินมูลค่าสินค้าที่ขาย และการแจกของขวัญของชำร่วยสินค้า      ตัวอย่าง ประกาศ Vat#40 และ #55

3. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
         – การประกวดแข่งขันชิงโชคต้องหัก ณ ที่จ่าย 5% ทป.4/2528 (ข้อ 9 (1))
         – การจ่ายเงินรางวัลเพื่อการส่งเสริมการขาย ต้องหัก ณ ที่จ่าย 3% ทป.4/2528 (ข้อ 12/2)

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

การจำหน่ายจ่ายโอนสินค้าฯ โดยไม่มีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด ม. 65 ทวิ (4)

ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT

ยื่นแบบแสดงมูลค่าฐานภาษีต่ำกว่าความเป็นจริง กรณีส่วนลดการค้า (Trade Discount) การยกเว้นภาษีขายต้องเป็นการแถมพร้อมขายและมูลค่าของแถมไม่เกินมูลค่าสินค้าที่ขาย และการแจกของขวัญของชำร่วยสินค้า

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ทป.4/2528 การจ่ายเงินรางวัลเพื่อการส่งเสริมการขาย ต้องหัก ณ ที่จ่าย 3% การประกวดแข่งขันชิงโชคต้องหัก ณ ที่จ่าย 5% การจ่ายเงินรางวัลเพื่อการส่งเสริมการขาย ต้องหัก ณ ที่จ่าย 3%

ปัญหากรณีค่าส่งเสริมการขาย

กฎหมายภาษีวางหลักเกณฑ์ และเงื่อนทางภาษีในหลายกรณีแตกต่างจากประเพณีธุรกิจ และยังมีหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ในแต่ละประเภทภาษี กรณีนี้จึงทำให้ผู้เสียภาษีปฏิบัติผิดพลาดและต้องเสียเบี้ยปรับเงินเพิ่มอยู่บ่อยๆ ทั้งๆ ที่ภาระภาษีจากการส่งเสริมการขาย มิได้มีเม็ดเงินอย่างเป็นสาระสำคัญแต่อย่างใด

วิธีแก้ปัญหากรณีค่าส่งเสริมการขาย ให้เป็นที่ยอมรับของกรมสรรพากร

(1) บริษัทต้องมีแคมเปญส่งเสริมการขาย (Promotion Campaign) เป็น Supporting Documents อย่างชัดเจน เพื่อพิสูจน์ คำว่า “เหตุผลอันสมควร” ตามนัยมาตรา 65 ทวิ (4)

(2) การให้ส่วนลด จะต้องเป็น Trade Discount และหากเป็นการออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ผู้ขายจะต้องแสดงทั้งราคาขาย ส่วนลดและราคาขายสุทธิ จึงจะเข้าเงื่อนไข ที่สามารถนำส่วนลดดังกล่าวมาลดยอดฐานภาษีลงมาได้ (ม.79(1))

(3) การแถมสินค้า จะต้องมีแคมเปญรองรับ และต้องเป็นการแถมพร้อมขาย โดยมูลค่าของแถมต้องไม่เกินมูลค่าสินค้าที่ขาย (Vat#40)

(4) การแจกสินค้าตัวอย่าง จะต้องเป็นกรณีของ Sample ที่ให้ทดลองใช้เป็นการทั่วไปโดยไม่เลือกปฏิบัติ กรณีนี้จึงไม่ต้องเสียภาษีขาย (Vat#55)

(5) ของขวัญ ของชำร่วย กระเช้าปีใหม่ ฯลฯ นั้น เคยมีคำพิพากษาฎีกาที่ 2761/2524 วินิจฉัยให้เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (รายจ่ายส่วนตัว) แต่กรมสรรพากรได้ออกคำวินิจฉัย อนุโลมให้ถือเป็นค่าโฆษณาได้

ส่วนในแง่ Vat#55 ได้วางหลักเกณฑ์ว่าต้องเป็นการแจกเนื่องในเทศกาล โดยมีชื่อบริษัทติดอยู่ เป็นสิ่งของที่พึงให้กันตามประเพณี และมีมูลค่าไม่เกินสมควร จึงจะไม่เสียภาษีขาย (Vat#55)

ที่มาเรื่อง : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ amornsak@tax-thai.com

ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)  เรื่อง    กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร

ค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการดังต่อไปนี้ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี

มูลค่าของสินค้าที่แถมพร้อมกับการขายสินค้า หรือการให้บริการไม่ว่าสินค้าที่แถมนั้นจะเป็นสินค้าประเภท และชนิดเดียวกับสินค้าที่ขายหรือบริการที่กระทำหรือไม่ แต่มูลค่าของสินค้าที่แถมจะต้องไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขายหรือมูลค่าของการให้บริการ

 มูลค่าของสินค้าที่แจกหรือให้เป็นรางวัลกับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการในแต่ละวัน โดยมีมูลค่ารวมกันตามที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนกำหนด แต่มูลค่าของสินค้าที่แจกหรือให้เป็นรางวัลต้องมีมูลค่าไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขายหรือมูลค่าของการให้บริการ

มูลค่าของสินค้าที่แจกหรือให้เป็นของขวัญ เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ การเปิดแนะนำสินค้าใหม่ทั้งนี้ เฉพาะสินค้าที่เป็นปฏิทิน สมุดบันทึกประจำวัน (Diary) หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกันของขวัญหรือของชำร่วยที่มีชื่อผู้ประกอบการ ชื่อการค้า หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการปรากฏอยู่ โดยของขวัญหรือของชำร่วยดังกล่าว ต้องเป็นสิ่งของที่พึงให้แก่กันตามประเพณีทางธุรกิจทั่วไป และต้องมีราคาหรือมูลค่าไม่เกินสมควร

มูลค่าของอาหารและเครื่องดื่มที่นายจ้างจัดหาให้กับพนักงานหรือลูกจ้างในระหว่างเวลาปฏิบัติงาน ตามระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานหรือลูกจ้าง โดยมูลค่าของอาหารและเครื่องดื่มดังกล่าวต้องมีราคาไม่เกินสมควร

ต้องการมีการให้กับพนักงานทุกคนไม่เลือกปฎิบัติ เช่น กาแฟ น้ำ ครีมเทียม น้ำแดง อาหารกลางวัน เย็น งานปีใหม่  นอกเหนือจากนี้ อาจจะมีปัญหาการชี้แจงกับทางกรมสรรพากร

มูลค่าของเครื่องแบบที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นนายจ้างได้มอบให้แก่ลูกจ้างในจำนวนคนละไม่เกินสองชุดต่อปี และเสื้อนอกในจำนวนคนละไม่เกินหนึ่งตัวต่อปี

                                    “เครื่องแบบ” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า เครื่องแต่งกายรวมทั้งสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่กำหนดให้แต่งเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน แต่ไม่รวมถึงรองเท้าที่อาจใช้งานได้ทั่วไป ชุดชั้นใน หรือสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยโลหะหรืออัญมณีมีค่า เช่น เงิน ทองคำ ทับทิม หยก

                                    “เสื้อนอก” ตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึงชุดไทยพระราชทาน และเสื้อที่นิยมใช้ในการแต่งกายไปในงานสำคัญต่าง ๆ

มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจำนวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ ทั้งนี้ เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า

                                    ทองรูปพรรณตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ทองคำที่ทำสำเร็จเป็นเครื่องประดับกาย เครื่องแต่งกาย ของชำร่วย หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่มีไว้เพื่อโชว์ ทั้งนี้ ต้องไม่มีอัญมณีประกอบอยู่ด้วย

                                    ทองรูปพรรณตามวรรคสอง หมายความรวมถึงนากที่สามารถคำนวณราคารับซื้อคืนได้ตามส่วนของราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืน”

ข้อหารือภาษีอากร - กรณีค่าส่งเสริมการขาย สินค้าแจก แถม ตัวอย่าง

ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการแจกสินค้าทดลอง คูปองส่วนลด และการส่งเสริมการขาย

ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการแจกสินค้าทดลอง คูปองส่วนลด และการส่งเสริมการขาย

ตามหนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/พ./2334 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2549

ข้อหารือ


บริษัทฯ ประกอบกิจการนำเข้าและจำหน่ายเครื่องสำอาง บริษัทฯ มีนโยบายส่งเสริมการขายหลายกรณี จึงขอทราบว่า

1. กรณีแจกสินค้าตัวอย่างให้กับลูกค้าเพื่อส่งเสริมการขาย บริษัทฯ ต้องนำมูลค่าของสินค้าตัวอย่างที่แจกให้กับลูกค้ามารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

2. กรณีแจกคูปองให้กับลูกค้าที่ซื้อสินค้าในแต่ละครั้งครบตามจำนวนที่บริษัทฯกำหนด ลูกค้ามีสิทธินำคูปองมาใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าในครั้งต่อไป บริษัทฯ จะออกใบกำกับภาษีตามราคาสินค้าหักด้วยมูลค่าคูปองทั้งจำนวนได้หรือไม่

3. กรณีจัดรายการส่งเสริมการขาย โดยแจกคูปองให้ลูกค้าฟรีจากการที่ลูกค้าสะสมแต้มจากการซื้อสินค้าครบจำนวน จากการชิงโชค และจากการเล่นเกม โดยลูกค้ามีสิทธินำคูปองมาใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าครั้งต่อไป บริษัทฯ จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีใด

4. กรณีแจกสินค้าที่มีไว้เพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้า เพื่อเป็นการทดลองใช้สินค้า มูลค่าของสินค้าที่แจกดังกล่าว บริษัทฯ จะต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

 

แนววินิจฉัย




1. กรณีตาม 1. การแจกสินค้าตัวอย่างเพื่อส่งเสริมการขาย บริษัทฯ ไม่ต้องนำมูลค่าสินค้าตัวอย่างที่แจกเนื่องจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ ตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (7) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535

2. กรณีตาม 2. การแจกคูปองให้กับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้านำคูปองมาใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าในครั้งต่อไป ซึ่งบริษัทฯ ให้ส่วนลดตามนั้น ถือเป็นส่วนลดที่ผู้ขายลดให้แก่ผู้ซื้อในขณะขายสินค้า ดังนั้น ในการออกใบกำกับภาษีให้ใช้ราคาสินค้าหักด้วยส่วนลดเป็นมูลค่าของฐานภาษี โดยแสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งว่า ได้มีการหักส่วนลดไว้แล้ว ทั้งนี้ ตามมาตรา 79 (1) แห่ง
ประมวลรัษฎากร

3. กรณีตาม 3. การให้ส่วนลดในขณะขายสินค้าหรือให้บริการ บริษัทฯ ไม่ต้องนำส่วนลดดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด ส่วนการให้ส่วนลดหลังจากที่ขายสินค้าหรือให้บริการ หากการให้ส่วนลดดังกล่าวได้ให้กับบุคคลโดยทั่ว ๆ ไป เพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมการขายหรือการให้บริการ

ส่วนลดนั้นถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ รายจ่ายในกรณีนี้ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร

4. กรณีตาม 4. การแจกสินค้าที่มีไว้เพื่อจำหน่าย ให้ลูกค้าทดลองใช้สินค้าเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ต้องนำมูลค่าของสินค้าดังกล่าว
ารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 69/44000

ค่าธรรมเนียมสินค้าแรกเข้า (Entrance Fee) หักภาษี ณ ที่จ่าย / ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม

 กค 0811/821

ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีค่าสิทธิประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้าในร้านค้าสะดวกซื้อ ค่าธรรมเนียมสินค้าแรกเข้า และค่าตั้งโชว์สินค้า

ข้อหารือ

บริษัท ซี จำกัด ประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยบริษัทฯ จะจำหน่ายสินค้าให้ กับบริษัท A ซึ่งประกอบกิจการร้านค้าสะดวกซื้อ (Convenience Store) ให้แก่ ผู้บริโภคโดยตรง  บริษัทฯ จะมีการตกลงกับบริษัท A ดังนี้ 

 

เนื่องจากเนื้อหาในส่วนค่าส่งเสริมการขายมีค่อนข้างมากทางผู้จัดทำขอนำเสนอบทความเพิ่มเติม  ตาม link ด้านล่าง

อันดับที่ 3 -ค่ารับรอง ที่สรรพากรยอมรับให้เป็น ค่าใช้จ่ายทางภาษี

การจ่ายค่ารับรองหรือบริการ  ทุกครั้งต้องมีการอนุมัติค่ารับรอง  โดยกรรมการ (กรณีจดทะเบียนเป็นบริษัท) หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ  (จดทะเบียนเป็น หจก. หสน.) หรือผู้ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว  และควรระบุผู้ได้รับการรับรองไว้ในเอกสารขออนุมัติค่ารับรองและที่สำคัญการรับรองจะต้องเป็นไปตามหลักฐานที่กฏหมายกำหนดดังนี้

ค่ารับรองสามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้าม หากเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 143 ดังต่อไปนี้

  1. เป็นค่ารับรองตามธรรมเนียมประเพณีทาง ธุรกิจทั่วไป และบุคคลที่ได้รับการรับรองไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด(หจก.) เว้นแต่ลูกจ้างมีหน้าที่เข้าร่วมการรับรองนั้น – กิจการจ่ายเงินรับรองคนของตัวเองไม่ได้

                ผู้ที่รับการรับรองจะเป็นลูกค้าบริษัทก็ได้ หรือเป็นบุคคลอื่นที่เช่น เจ้าหน้าที่ตรวจ ISO เจ้าหน้าที่จัดส่งเอกสารไปรษณีย์ / Kerry เจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นๆ ซึ่งจะแบ่งค่าใช้จ่ายเป็นดังนี้

     

                    ค่ารับรอง ลูกค้า  – ค่าใช้จ่ายในการขาย
                    ค่ารับรอง เจ้าหน้าที่ / บุคคลอื่นๆ ที่เพื่อประโยชน์ของกิจการ – ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

  2. เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง โดยตรงกับค่ารับรอง เช่น อาหารเครื่องดื่ม ที่พัก ฯลฯ  – มูลค่าตามสมควร เหมาะสม ชี้แจงได้
             ถ้าให้เป็นสิ่งของ ต้องไม่เกินคนละ 2,000 บาทในแต่ละคราวที่มีการรับรอง

             เป็นสิ่งของจะต้องไม่เกิน 2,000 แต่ถ้าเป็นอาหารไม่จำกัดราคาแต่ต้องไม่เกินสมควร   ในกรณีที่เกินจะต้องเป็นการบวกกลับรายการทั้งก้อน

            ค่ากระเช้างานปีใหม่ – เป็นค่ารับรองไม่ควรเกิน 2,000 บาท เพราะถ้าเกินอาจเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามทั้งก้อน

            ถ้าลูกค้าขอความอนุเคราะห์ของเพื่อจัดฉลากปีใหม่ ซื้อของให้ลูกค้าต้องนำส่ง VAT หรือไม่ ตามความหมายของกรมสรรพากร ยกเว้นแต่ สิ่งของที่ให้ตามขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งได้แก่ สมุดไดอารี ปฎิทิน ซึ่งต้องมีตรายี่ห้อเราประทับไปด้วย 

           ถ้าเราแจกไมโครเวฟลูกค้า 10 เครื่อง  เราต้องนำส่ง VAT ขาย ตามราคาตลาด เช่น เราซื้อมา 107 บาท เพื่อเคลม VAT ซื้อ และเมื่อนำไปแจกลูกค้าเราควร นำส่งภาษีขาย เกินกว่า 107 เช่น ฐานภาษีนำส่ง VAT 115 บาท เป็นราคาที่รวมกำไรไว้ด้วย เพราะเรามีค่าใช้จ่าย  

          กรณีถ้าลูกค้าจ่าย เงินสำหรับ VAT เราต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า แต่ถ้าเราเป็นผู้จ่าย ภาษีซื้อเองเพราะเรียกเก็บไม่ได้ เราไม่ต้องออกใบกำกับภาษีขาย แต่ให้บันทึกยอดในรายงานภาษีขายเพื่อนำส่งภาษีขาย

           วิธีแก้ปัญหา คือ  แจกเงินในซองเขียนว่าเงินสำหรับซื้อไมโครเวฟ

    นอกจานี้  ภาษีขายที่ บริษัทฯ จ่ายไปแทนลูกค้านี้ในทางปฏิบัติ กรมสรรพากรตีความว่า เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) แห่งประมวลรัษฎากร โดยถือเป็น “ภาษีมูลค่าเพิ่มที่พึงต้องชำระ” บริษัทฯ จึงไม่สามารถนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เนื่องจากภาษีขายเป็นภาษีที่ลูกค้าต้องเป็นผู้จ่าย หากกิจการจ่ายแทน อาจถูกมองว่าเป็นการให้โดยเสน่หา เลือกปฏิบัติเฉพาะบุคคลดังนั้น จึงเข้าข่ายค่าใช้จ่ายต้องห้าม

  3. เป็นการจ่ายเพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่กิจการ – จ่ายเพื่อประโยชน์กิจการ เพื่องานรายได้ของกิจการ

     

  4. จำนวนเงินค่ารับรองและค่าบริการให้นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่ต้องจ่าย แต่รวมกันต้องไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใด ในรอบระยะเวลาบัญชีหรือของจำนวนเงินทุนที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้รายจ่ายที่จะนำมาหักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท

      เทียบมูลค่าค่ารับรอง 0.3% * รายได้ก่อนหักรายจ่าย กับ
                                      0.3% ของทุนที่ได้รับชำระแล้ว(กิจการได้เงินจริง)
                                      อันไหนมากกว่าเอายอดนั้น แต่ต้องไม่เกิน 10 ล้านบาท ส่วนเกินเป็นรายจ่ายต้องห้าม

     

     

  5. ค่ารับรองนั้นต้องมีกรรมการ หรือผู้ที่เป็นหุ้นส่วน ผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้อนุมัติสั่งจ่ายค่ารับรอง และมีหลักฐานการจ่ายประกอบ และต้องมีใบรับหรือหลักฐานของผู้รับสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่ารับรองหรือเป็นค่าบริการเว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับเงินไม่มีหน้าที่ต้องออกใบรับตามประมวลรัษฎากร

ขั้นตอนการวางแผนค่ารับรอง มีดังต่อไปนี้

    อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการวางแผนค่ารับรอง มีดังต่อไปนี้

  1. ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
  2. ต้องระบุได้ว่ามีการพาบุคคลภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยประโยชน์ต่อกิจการไปรับรองด้วย ยกตัวอย่างเช่น ระบุชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อไว้ในใบเบิกเงิน หรือใบสำคัญจ่ายด้วย
  3. ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับกิจการ หรือเอื้อประโยชน์ต่อกิจการอย่างไร??

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง - ค่ารับรอง

เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)

http://www.rd.go.th/publish/827.0.html

กฎกระทรวง ฉบับที่ 143 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้

http://www.rd.go.th/publish/2495.0.html

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 56/2538 เรื่อง การกำหนดรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

http://www.rd.go.th/publish/3591.0.html

ภาษีที่เกี่ยวข้อง - ค่ารับรอง

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการรับรอง

เป็นภาษีซื้อต้องห้าม ในการขอเครดิตภาษี (ไม่สามารถนำมาหักจากภาษีขาย) แต่สามารถนำมารวมเป็นค่าใช้จ่าย ดังนั้นค่ารับรองหรือค่าบริการที่หักเป็นค่าใช้จ่ายให้รวมภาษีซื้อของค่ารับรองด้วย

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ค่ารับรองที่ไม่ต้องห้าม สามารถนำบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

เป็นไปตามที่กำหนดไว้คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ค่าใช้จ่ายทางภาษี
ผังค่ารับรอง

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

ค่ารับรอง บิลค่ารับรอง หมวดค่ารับรอง ค่า รับรอง หัก ได้ เป็น จำนวน เงิน เท่าไร ส่งเสริม การ ขาย vs ค่า รับรอง ค่า รับรอง กระเช้า กระดาษทำการ ค่ารับรอง ค่า รับรอง หรือ ค่า บริการ หมาย ถึง ค่าใช้จ่ายบวกกลับ กรมสรรพากร

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่นกรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 43,520

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า