เจ้าหนี้กรรมการ ลูกหนี้กรรมการ มีครบ
ดอกเบี้ยรับ ดอกเบี้ยจ่าย ค่าใช้จ่ายทางภาษี
เจ้าหนี้กรรมการ ลูกหนี้กรรมการ มีครบ ดอกเบี้ยรับ ดอกเบี้ยจ่าย ค่าใช้จ่ายทางภาษี
สำหรับบริการรับ ทำบัญชี รายเดือน หรือ รายปี ของสำนักงาน ทางเราจะมีการยื่น ภธ 40 ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีเงินยืมกรรมการ (ลูกหนี้) ซึ่ง เจ้าของกิจการที่อ่านงานเงินต้องทราบ สาเหตุ ที่มา ที่ไป ของ เจ้าหนี้กรรมการ ลูกหนี้กรรมการ — อ่านต่อ
แต่ในขณะเดียวกับ งบการเงินของบางกิจการ ก็มี เจ้าหนี้กรรมการ ลูกหนี้กรรมการ โดยใน รายการเจ้าหนี้เงินยืมกรรมการ เพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในการใช้จ่าย ลงทุนของกิจการ เพื่อให้ดำเนินการสร้างผลประกอบการ รายได้ เงินทุนสำรอง เงินสำหรับการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ
คำถามที่มักพบได้ เช่น จ่ายค่าตอบแทนให้กรรมการจากเงินยืม และ ในทางบัญชีภาษี ต้องเรียกดอกเบี้ยจ่ายจากเงินที่กิจการให้กรรมการกู้ยืมเงิน คำถามคือ ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจ่ายที่จ่ายจากการยืมเงินกรรมการ เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ ต้องห้ามหรือไม่ ถ้าเป็นเงินที่กู้ยืมมาเพื่อใช้ในกิจการจริง มีหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายครบ เกี่ยวข้องกับกิจการ ไม่ต้องห้าตามในเรื่องรายจ่ายต้องห้าม เช่น จ่ายโดยไม่สามารถพิสูจน์ผู้รับได้

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant
รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียบ เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click
อัตรค่าบริการรับทำบัญชี 2564 2565ข้อหารือ กค 0706/7680 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีดอกเบี้ยที่เข้าลักษณะเป็นรายจ่าย
สำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้เข้าตรวจสภาพกิจการของบริษัท ท. จำกัด ซึ่งประกอบกิจการผลิตตู้คอนเทนเนอร์สำหรับอุปกรณ์โทรศัพท์ พบว่า
งบการเงินรอบระยะเวลาบัญชีปี 2543 บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท
โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญ 500,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท และได้เรียกชำระค่าหุ้นแล้วเต็มมูลค่าหุ้น
แต่บริษัทฯ ยังมีลูกหนี้ค้างชำระค่าหุ้นอยู่จำนวน 26,250,000 บาท ซึ่งรวมแล้วมีทุนที่ชำระจริง 23,750,000 บาท และ
งบการเงินรอบระยะเวลาบัญชีปี 2544 ยังคงมีหนี้ค่าหุ้นค้างชำระเท่ากับงบการเงินรอบระยะเวลาบัญชีปี 2543
โดยระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี 2543 – 2544 นั้น บริษัทฯ ได้
1. กู้ยืมจากผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นลูกหนี้ค้างชำระค่าหุ้นแก่บริษัทฯ และ
2. บริษัทฯ ได้จ่ายเงินค่าดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นลูกหนี้ค้างชำระค่าหุ้น
สำนักงานสรรพากรพื้นที่เห็นว่ารายจ่ายดอกเบี้ยที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นลูกหนี้ค้างชำระค่าหุ้นเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะว่าบริษัทฯ สามารถเรียกค่าหุ้นค้างชำระจากผู้ถือหุ้นซึ่งจะทำให้บริษัทฯ มีเงินทุนหมุนเวียนในกิจการโดยไม่มีต้นทุน
จึงหารือว่า
1. บริษัทฯ มีสิทธินำดอกเบี้ยที่จ่ายให้แก่กรรมการซึ่งเป็นทั้งผู้ให้บริษัทฯ กู้ยืมเงินและเป็นผู้ที่ชำระค่าหุ้นให้แก่บริษัทฯ ยังไม่ครบ มาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ และ
2. แจ้งข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสภาพกิจการและกำกับดูแลการเสียภาษีของบริษัทฯ ว่าขณะนี้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ก ยังมิได้ออกหมายเรียกตรวจสอบและ
3. บริษัทฯ ไม่ได้มีการคิดดอกเบี้ยจากมูลค่าหุ้นที่ค้างชำระแต่อย่างใด และ
4. ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2545 บริษัทฯ ได้เรียกชำระค่าหุ้นครบแล้ว
แนววินิจฉัย การถูกเวนคืน นิติบุคคล
- รายจ่ายทางภาษี
- รายได้ดอกเบี้ยเงินยืม - ภาษีธุรกิจเฉพาะ
1. การที่บริษัทฯ ขาดทุนหมุนเวียน และได้กู้ยืมเงินจากกรรมการหรือผู้ถือหุ้นที่ค้างชำระค่าหุ้นเพื่อนำเงินมาใช้ดำเนินกิจการของบริษัทฯ
หากบริษัทฯ พิสูจน์ได้ว่าบริษัทฯ ได้นำเงินที่กู้ยืมดังกล่าวมาใช้ดำเนินกิจการของบริษัทฯ ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในกรณีนี้ บริษัทฯ ย่อมนำมาถือเป็นรายจ่ายได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีที่บริษัทฯ ระบุในบัญชีผู้ถือหุ้นว่าได้เรียกชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าแล้ว
แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ถือหุ้นยังมิได้ชำระค่าหุ้นครบตามจำนวนที่ระบุไว้ในงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2543 และปี 2544 ซึ่งเป็นเหตุให้เงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯ ย่อมขาดหายไป
กรณีจึงถือได้ว่าบริษัทฯ ได้ให้ผู้ถือหุ้นกู้ยืมเงินโดยไม่มีดอกเบี้ยโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ
บทความ
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)
Designed by pch.vector / Freepik
ทำบัญชี รับทำบัญชี pantip รับทำบัญชี กรุงเทพ ค่า จ้าง ทำ บัญชี pantip เจ้าหนี้กรรมการ ลูกหนี้กรรมการ สอบ Cpa ข้อสอบ กฎหมาย