Skip to content

ผู้ทำบัญชี CPD ของกิจการ หน้าที่ความรับผิดชอบ

ผู้ทำบัญชี
ผู้ทำบัญชี - เหตุผลและประโยชน์ในการจัดทำบัญชีเพื่อกิจการ/บุคคลธรรมดา

ผูุ้ทำบัญชี ของกิจการเหตุผลและประโยชน์ในการจัดทำบัญชีเพื่อกิจการ/บุคคลธรรมดา  ที่จดทะเบียนนิติบุคคล รวมไปถึงบุคคลธรรมดา ที่ประกอบกิจการ ร้านค้าออนไลน์ ฟรีแลนซ์ ให้บริการรับปรึกษา สอนพิเศษ  พูดง่ายๆ ก็คือกิจการหรือบุคคลที่มีรายได้และต้องยื่นเสียภาษีต่อกรมสรรพากรทุกสิ้นปี  เพราเหตุผลอะไรและประโยชน์ที่ได้ในการจัดทำบัญชี เพื่อกิจการ และเพื่อส่วนตัวคืออะไร

วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชีตามหลักการทางกฎหมายและข้อบังคับ

  1. เนื่องจาก พ.ร.บ. การบัญชีปี 2543 กำหนดให้กิจการต้องมีการทำบัญชี และจัดทำงบการเงินส่งต่อกรมพัฒฯ ภายในระยะเวลา 5เดือน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

    “ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้

    “ผู้ทำบัญชี” หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ว่าจะได้กระทำในฐานะเป็นลูกจ้าง ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม  (ข้อมูลเพิ่มเติม กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

  2. เนื่องจากประมวลรัษฎากรโดยกรมสรรพากรกำหนดให้ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในระยะเวลา 150วัน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชีตามหลักการทั่วไป

 1.เพื่อเป็นการบันทึกเหตุการณ์ทางการค้า
2.เพื่อให้เจ้าของกิจการได้ทราบว่าช่วงเวลานั้น ๆ มีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ อยู่เป็นจำนวนเท่าใดและอย่างไร
3.เพื่อเป็นปัจจัยหนึ่งประกอบการตัดสินใจในการลงทุนของนักธุรกิจและประกอบการตัดสินใจในการบริหารของกิจการ
4.เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริตและการสูญหายของสินทรัพย์
5.เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับของกฎหมาย
6.เพื่อเป็นเครื่องมือนำมาใช้ในการคำนวณภาษีที่จะต้องจ่ายแก่รัฐ

ผู้ทำบัญชี -ความสำคัญของระบบบัญชีในการจัดทำบัญชี ของกิจการ และบุคคลธรรมดา

1. เก็บบันทึกข้อมูลทั้งหมดของธุรกิจและธุรกรรมทางการเงินอย่างเป็นระบบ ติดตามธุรกรรมทางธุรกิจได้ดีและสามารถวิเคราะห์ได้ใน  อนาคตสำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาษีการรายงานทางการเงิน

2. ระบบบัญชีและการจัดทำบัญชี ที่มีประสิทธิภาพสะท้อนถึงฐานะทางการเงินของธุรกิจ มีรายละเอียดให้กิจการตรวจสอบถึงฐานะทางการเงินที่แท้จริงของตนเองได้จากการจัดทำบัญชีให้ถูกต้องทันเวลา และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และกฎหมายของหน่วยงาน เช่นกรมสรรพากร

3. เพื่อให้กิจการปรับตัว ปรับปรุงคุณภาพ ตรวจสอบความถูกต้องของธุรกิจได้ทันเวลาจากการจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง ทันต่อเวลา ทันต่อการใช้งานข้อมูลต่างๆ ที่มี

ผู้ทำบัญชี ต้องปฎิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายดังนี้

ผู้ทำบัญชี ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายของบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

(ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมจากเอกสารประชาสัมพันธ์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

ผู้ทำบัญชีขึ้นทะเบียนต่อสภาวิชาชีพ

จัดทำและรวบรวมเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี เพื่อเป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชีและส่งมอบให้ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน

เริ่มทำบัญชีเมื่อไหร่

ทำบัญชีนับแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย

ปิดบัญชีเมื่อไหร่

ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี

ต้องจัดทำงบการเงินเมื่อไหร่

จัดทำงบการเงิน ละจัดให้มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบ และแสดงความเห็นต่องบการเงิน

งบการเงินต้องส่งให้ใคร

นำส่งงบการเงินภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัท

เอกสารต้องเก็บกี่ปี

รักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้เกิน5 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี

สารวัตรใหญ่บัญชี??

1 การขออนุญาตเปลี่ยนรอบบัญชี 2. การขออนุญาตก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น 3. แจ้งเอกสารหาย

รายละเอียดในแต่ละหัวข้อของผู้ทำบัญชีกิจการ ตามกฎหมายเป็นดังนี้

 

     1.หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำบัญชี งบการเงิน และการนำส่งงบการเงินตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้

     – จัดให้มีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศ กล่าวคือผู้ทำบัญชีของบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนยบัตรวิชาชีพชั้นสูง ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษา แต่ถ้าบริษัทมีทุนจดทะเบียนหรือสินทรัพย์รวมหรือรายได้รวมรายการใดรายการหนึ่งเกินกว่าที่กำหนดข้างต้น ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี

     – จัดทำและรวบรวมเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี เพื่อเป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชีและส่งมอบให้ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน

     –  ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริงและถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงิน ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี

     2. เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยจะต้องจัดทำบัญชีตามที่กำหนดในประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่องชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544

     3. ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือนับตั้งแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียนนิติบุคคลตามกฎหมายและปิดบัญชีครั้งต่อไป ทุกรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน

     4. จัดทำงบการเงิน โดยมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 2 ตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่องกำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2544 และจัดให้มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบ และแสดงความเห็นต่องบการเงิน

     5. นำส่งงบการเงินภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัท

     6. เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานประจำ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันปิดบัญชี กรณีที่จำเป็นในการตรวจสอบบัญชีของกิจการประเภทใดประเภทหนึ่งอธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี อาจกำหนดให้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้เกิน5 ปี แต่ไม่เกิน 7  ปี ก็ได้

     7. การดำเนินการเกี่ยวกับบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี ที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจัดทำบัญชีจะต้องขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชี หรือสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
     – การขออนุญาตเปลี่ยนรอบบัญชี จะต้องยื่นคำขอตามแบบ ส.บช.4  พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่ได้ระบุไว้ในแบบดังกล่าว เมื่อได้รับอนุญาตแลวจึงเปลี่ยนรอบปีบัญชีได้
     – การขออนุญาตก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น จะต้องยื่นคำขอตามแบบ ส.บช.1 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่ได้ระบุไว้ในแบบดังกล่าว โดยในระหว่างรอการอนุญาตให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ที่ยื่นอนุญาตไปพลางก่อนได้ หากต่อมาได้นำบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีนั้นทั้งหมด หรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ตามข้อ 6 ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง 
      – การแจ้งบัญชีหรือเอกสารประกอบการลงบัญชีสุญหายหรือเสียหาย จะต้องยื่นแบบ ส.บช.2 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่ได้ระบุไว้ในแบบดังกล่าวภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบหรือควรทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายนั้น

 

หลักประกันของนิติบุคคลที่ประกอบวิชาชีพ ผู้ทำบัญชี


ผู้ทำบัญชีในฐานะนิติบุคคล  -สำนักงานงานบัญชี BEE-Accountant ได้จดทะเบียนนิติบุคคลชื่อ บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
ทางบริษัทต้องดำเนินการยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชีนิติบุคคลต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามประเภทหนึ่งประเภทใดรวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสามของทุน ณ วันที่ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี และแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกันมาพร้อมกับการยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี และทางบริษัทฯ ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องดำรงหลักประกันเพื่อประกันความรับผิด ต่อบุคคลที่สามตลอดระยะเวลาที่ประกอบกิจการ

 ประเภทของหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม ได้แก่
           (1) เงินฝากสถาบันการเงินในประเทศประเภทฝากประจำตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป
           (2) บัตรเงินฝากซึ่งสถาบันการเงินในประเทศออกให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเพื่อเป็นหลักฐานการฝากเงินของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีนั้น
           (3) พันธบัตรรัฐบาลไทยที่จำหน่ายในราชอาณาจักร
           (4) พันธบัตรองค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลซึ่งมีพระราชบัญญัติหรือ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
           (5) กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
                                                                            หลักประกันตามทุกประเภทต้องปราศจากภาระผูกพัน

 

 

ผู้ทำบัญชี - ในกรณีที่กิจการไม่มีการจัดทำบัญชี
จะมีบทลงโทษดังนี้

การดำเนินการ จะต้องจัดให้มีการทำบัญชีและการทำบัญชีจะต้องครบถ้วนถูกต้อง ตามที่อธิบดีประกาศกำหนดเกี่ยวกับชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่มีต้องมีในการลงบัญชี ระยะเวลาที่ต้องมีในบัญชี เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี หากไม่ปฏิบัติตาม

บทลงโทษ 
     *  โทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
     *  ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

การดำเนินการ

จัดให้มีเอกสารประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือหรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการบัญชี
ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบสำคัญจ่าย ฯลฯ ให้ครบถ้วน เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นสามารถแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี

บทลงโทษ :

  • มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
  • ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
  • ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่เริ่มต้นบัญชีและปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน
  • จัดทำงบการเงินโดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีกำหนด
  • จัดทำงบการเงินโดยตรวจสอบและได้รับความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในกรณีบริษัท หรือถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีภาษีอากร

    ค่าปรับ
  • มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
  • ปรับไม่เกินห้าพันบาท
  • ปรับไม่เกินสองเหมื่นบาท

          การดำเนินการ

  • ยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด และภายในระยะเวลาที่กำหนด
  • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ยื่นงบการเกินภายใน 5 เดือนนับแต่ปิดบัญชี

    บทลงโทษ : มีโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

  •  เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ
  • เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า5 ปี นับแต่วันปิดบัญชี
  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ บุคคลธรรมดาตามประเภทที่กำหนดให้ทำบัญชี เมื่อเลิกประกอบธุรกิจต้องส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีภายใน 90 วัน นับแต่วันเลิกประกอบธุรกิจ
    บทลงโทษ : ปรับไม่เกินห้าพันบาท 

บทลงโทษ  ปรับไม่เกิน ห้าพันบาท

 

                              ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : วารสาร CPD & Account ฉบับเดือนกันยายน 2558 (คอลัมน์ MR.CPD:CPD NEWS: บัญชี)

  1.  

ข้อมูลจาก : วารสาร CPD & Account ฉบับเดือนกรกฎาคม 2558

จำนวนชั่วโมง CPD ที่ผู้ทำบัญชี นักบัญชีต้องการอบรม

ผู้ทำบัญชี

ผู้ทำบัญชีต้องเก็บชั่วโมง CPD 12 ชั่วโมงต่อปี เป็นวิชาเกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่าครึ่งและต้องยื่นหลักฐานจำนวนชั่วโมง CPD ภายในวันที่ 30 มกราคม ของทุกปี

หลักปฏิบัติเกี่ยวกับ CPD ของผู้ทำบัญชี

  1. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ผู้ทำบัญชีต้องมีจำนวนชั่วโมง CPD ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปีปฏิทิน เว้นแต่ผู้ทำบัญชีที่แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีสำหรับปีแรกและมีระยะเวลาที่เหลือหลังการแจ้งในปีนั้นน้อยกว่าหกเดือนให้เริ่มพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพในปีถัดไป โดยจำนวนชั่วโมง CPD ต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบัญชี ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งและเนื้อหาด้านอื่น
  2. ผู้ทำบัญชีสามารถแจ้งจำนวนชั่วโมง CPD ได้ที่ระบบออนไลน์ของสภาวิชาชีพบัญชี www.fap.or.th โดยแจ้งได้จนถึงวันที่ 30 มกราคมของปีถัดไป

คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ทำบัญชี

คุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี หากเจ้าของกิจการมีคุณสมบัติตามนี้สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการตนเองได้

 

คุณสมบัติของผู้ทำบัญชี

1.มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร
2.มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอ
3.ไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมาย
4.ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุก เนื่องจากความผิดตามฐานความผิดหรือกฎหมายที่กำหนดในมาตรา 39 (3)
5.มีคุณวุฒิการศึกษา ดังต่อไปนี้

ก.วุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือ ปวส.ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการดังนี้ได้ :
– ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
– บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท

ข.วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการดังนี้ได้ :
– ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท
– บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
– นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
– กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร

ค.กรณีที่เป็นการเริ่มทำบัญชีรอบปีบัญชีแรกของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี วุฒิการศึกษาของผู้ทำบัญชีให้พิจารณาโดยใช้เกณฑ์ทุนจดทะเบียนตามข้อ (ก.) และ (ข.) แล้วแต่กรณี

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant

รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียบ เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า  รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express  ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click

ข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อสมมุติฐานในการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชีกิจการ

             ในการประกอบธุรกิจอาจจะแบ่งประเภทของธุรกิจได้หลายประเภทไม่ว่าจะแบ่งตามลักษณะใด ธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันก็มิได้หมายความว่าปัจจัยต่างๆ จะเหมือนกันตัวเลขทางการเงินทั้งหลายที่นำมาประกอบกันเป็นงบการเงิน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของกิจการนั้นๆ

          เพื่อให้การจัดทำงบการเงินของนักบัญชีสามารถปฏิบัติได้ในแนวทางเดียวกันและผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชีได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนตามความเหมาะสม ข้อสรุปในข้อมูลต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีข้อสมมุติฐานทางการบัญชี คือ สิ่งที่นักบัญชีทั้งหลายต้องทำความเข้าใจเพื่อที่จะนำมาใช้ปฏิบัติงานของตน มีดังนี้

        1.การใช้หน่วยเงินตราเป็นเครื่องวัด (Monetary Unit Assumption) การบัญชีใช้หน่วยเงินตราเป็นหน่วยวัดราคา เพื่อที่จะรายงานข้อมูลทางการบัญชี ข้อมูลใดที่ไม่สามารถวัดได้เป็นหน่วยเงินตราจะไม่นำมาใช้เป็นข้อมูลทางบัญชี ทั้งนี้เพราะการแสดงข้อมูลทางการบัญชีในลักษณะที่เป็นตัวเลขจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจมากกว่าการแสดงข้อมูลในลักษณะของการบรรยาย การใช้หน่วยเงินตราเป็นเครื่องวัดหมายความว่าหน่วยเงินตรามีค่าคงที่ในเชิงข้อมูลทางการบัญชี เช่น ซื้อที่ดิน 50,000 บาท เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในปัจจุบันก็จะแสดงข้อมูลทางการบัญชีเป็นจำนวน 50,000 บาท

        2.ความเป็นหน่วยงาน (Business Entity Assumption) ข้อมูลทางบัญชีจะประมวลผลและรายงานเพื่อกิจการหนึ่งกิจการใดโดยเฉพาะแยกต่างหากจากเจ้าของกิจการกล่าวคือ ถือว่ากิจการเป็นหน่วยงานหสึ่งซึ่งสามารถจะมีสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของเป็นของตนเอง ทั้งนี้เพื่อให้การประเมินผลการดำเนินงานของกิจการสามารถทราบได้ว่าประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวอย่างไร

        3.การใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม (Objective Evidence Assumption) การบันทึกข้อมูลทางบัญชีและการจัดทำงบการเงินต้องกำหนดมูลค่าโดยเที่ยงธรรมเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น เพื่อให้ความมั่นใจแก่ผู้ที่ใช้งบการเงินนั้นๆ ว่าข้อมูลต่างๆ ในงบการเงินถูกต้องเชื่อถือได้หลักฐานอันเที่ยงธรรม ได้แก่ ผลการตรวจนับเงินสดในมือ เช็คที่จ่ายเงินแล้ว เป็นต้น

        4. หลักรอบเวลา (Periodicity Assumption) กิจการทุกแห่งมีวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตลอดไปแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องในกิจการนั้นๆ เช่น เจ้าของ เจ้าหนี้ นักลงทุนต้องการที่จะทราบข้อมูลทางบัญชีเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจทำให้ต้องจัดทำงบการเงินสำหรับแต่ละรอบระยะเวลาขึ้นโดยปกติรอบระยะเวลาจะเป็นหนึ่งปี เพื่อวัดผลการดำเนินงานและแสดงการเปลี่ยนฐานะการเงินสำหรับรอบเวลานั้น อีกทั้งแสดงฐานะการเงินเมื่อสิ้นรอบเวลานั้นด้วย

       5.การดำรงอยู่กิจการ (Going-concern Assumption) กิจการที่ตั้งขึ้นมาย่อมมีวัตถุประสงค์ที่จะดำรงอยู่โดยไม่มีกำหนด ข้อสมมุติฐานนี้ถือว่าทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่เช่น เครื่องจักรอุปกรณ์จะถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ของกิจการในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตลอดไปจึงยึดถือการบันทึกสินทรัพย์ตามหลักราคาทุน เช่น การซื้อสินทรัพย์ที่เป็นเครื่องจักรอุปกรณ์ก็จะบันทึกราคาต้นทุนของเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ซื้อมาแต่ถ้าจะเลิกกิจการในเวลาอันใกล้การบันทึกราคาก็จะใช้ราคาสุทธิที่จะขายได้

       6.หลักราคาทุน (Cost Assumption) การบัญชีถือเอาราคาทุนเป็นหลักในการบันทึกบัญชีสินทรัพย์ หนี้สิน เช่น ซื้อเครื่องใช้สำนักงาน 50,000 บาท ทั้งผู้ซื้อผู้ขายจะถือราคา 50,000 บาท เป็นราคาที่จะนำไปบันทึกบัญชี แม้ว่าเมื่อเวลาผ่านไปราคาตลาดของเครื่องใช้สำนักงานเปลี่ยนไปจากเดิม แต่ข้อมูลทางบัญชียังคงยึดถือราคาทุนอยู่ เพราะการใช้ราคาทุนให้ความแน่นอนในการวัดฐานะการเงินและผลการดำเนินงานมากกว่าการใช้ราคาตลาดหรือราคาอื่นทำให้ผู้ใช้งบการเงินมีความเชื่อถือในข้อมูลและไม่เกิดการเข้าใจผิด

       7. หลักการเกิดขึ้นของรายได้ (Revenue Realization Assumption) การบันทึกรายได้ของกิจการในรอบเวลาใดเวลาหนึ่งจะบันทึกต่อเมื่อรายได้นั้นได้เกิดขึ้น ถ้าเป็นการขายสินค้าจะบันทึกเมื่อมีการส่งมอบสินค้าที่ขายถ้าเป็นธุรกิจบริการจะบันทึกเมื่อได้เสนอบริการให้แก่ลูกค้าแล้ว

       8. หลักการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับรายได้ (Matching Assumption) การบันทึกบัญชีได้ยึดหลักการเกิดขึ้นของรายได้ในงวดบัญชีใดก็ให้บันทึกในงวดบัญชีนั้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เนื่องจากการหารายได้นั้นเป็นค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีที่ก่อให้เกิดรายได้ด้วย ค่าใช้จ่ายบางประเภทมีความสัมพันธ์โดยตรงกับรายได้ที่เกิดขึ้น เช่น ซื้อสินค้ามา 80 บาท ขายไปในราคา 100 บาท แต่ค่าใช้จ่ายบางประเภทจะถือเป็นค่าใช้จ่ายของรอบเวลาที่เกิดขึ้นของค่าใช้จ่ายนั้น

        9. หลักเงินค้าง (Accrual Assumption) การบันทึกข้อมูลทางบัญชีจะกระทำในการรอบระยะเวลาที่เกิดของข้อมูลนั้นขึ้น โดยไม่สนใจว่าการกระทำนั้นจะมีการรับหรือจ่ายเงินสดหรือไม่ เช่น ขายสินค้าให้ นาย ก 100,000 บาท ในวันที่ 5 พ.ค. 2555 จะบันทึกบัญชีเป็นรายได้ในเดือน พ.ค. 2555 100,000 บาท โดยไม่สนใจว่าจะได้รับเงินสดจาก นาย ก หรือยัง

        10.หลักความระมัดระวัง (Conservatism Assumption) การบันทึกข้อมูลทางบัญชีสามารถที่จะปฏิบัติได้มากกว่าหนึ่งวิธี ถ้าแต่ละวิธีให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน นักบัญชีควรเลือกวิธีที่จะแสดงผลลัพธ์ในทางต่ำมากกว่าวิธีที่แสดงทางสูง เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการแสดงสินทรัพย์และกำไรที่มากกว่าความเป็นจริง

        11.หลักความสม่ำเสมอ (Consistensy Assumption) การบันทึกข้อมูลทางการบัญชีและการจัดทำรายงานทางการเงินของกิจการแห่งหนึ่งแห่งใดสามารถที่จะเลือกวิธีการบัญชีที่มีอยู่หลายๆ วิธีมาปฏิบัติได้ เช่น วิธีการตีราคาสินค้าราคาทุน หรือ ตามราคาตลาด แต่ถ้าได้เลือกวิธีการใดแล้วก็ควรจะใช้วิธีการนั้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบงบการเงินที่ต่างปีกันของกิจการเดียวกัน มิให้เกิดการเข้าใจผิด งบการเงินที่แตกต่างกันในแต่ละปีจะต้องเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพในการบริหาร อย่างไรก็ตามการเลือกใช้วิธีการบัญชีมิได้หมายความว่าเมื่อเลือกแล้วไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ ในกรณีจำเป็นกิจการอาจจะเปลี่ยนแปลงวิธีการบัญชีได้โดยเปิดเผยให้ทราบและบอกถึงผลกระทบที่มีต่องบการเงิน

        12.การเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ (Disclosure Assumption) การจัดงบการเงินยึดหลักการที่จะเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินอย่างเพียงพอ เพื่อให้บุคคลภายนอกทราบความเป็นไปของการดำเนินงานที่แท้จริงซึ่งหมายถึงการแสดงรายการคำศัพท์ที่ใช้ หมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นต้น

        13.หลักการมีนัยสำคัญ (Martality) การบันทึกข้อมูลทางการบัญชี มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องมากมาย นักบัญชีจะเลือกเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจ เพื่อมิให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด เหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญ หมายถึง เหตุการณ์ซึ่งหากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับทราบแล้วอาจทำให้การตัดสินใจผิดไปจากกรณีที่ได้รับทราบ

ที่มา : หนังสือเรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง AC101 หลักการบัญชี 1 (Principles of Accoutning)

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่นกรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ


บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 12,830

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า