Skip to content
ใบลดหนี้ คืออะไร

ใบลดหนี้ คืออะไร

สาเหตุในการออก ใบลดหนี้ ใครมีสิทธิออก ต้องยื่นรายงานภาษีซื้อ ขายอย่างไร บทความนี้มีคำตอบให้คุณ ได้รับ ใบลดหนี้ ต้องทำอย่างไร

ใบลดหนี้ คืออะไร

  ใบลดหนี้ คืออะไร เอกสารที่ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการไปแล้ว แต่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่เนื่องจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนลดลง

 

การขายสินค้าหรือให้บริการโดยทั่วไปแล้วเมื่อได้มีการขายสินค้าหรือให้บริการได้ออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้า แต่ต่อมาอาจเกิดปัญหาขึ้น เช่น สินค้าที่ส่งไปให้ลูกค้าเกิดชำรุด เสียหาย ไม่ต้องตามตัวอย่างที่ได้ตกลงกัน ได้มีการส่งคืนให้กับผู้ขายตามข้อตกลง ผู้ขายก็จะลดหนี้ให้กับลูกค้า โดยผู้ขายจะต้องออกหลักฐานการลดหนี้ให้กับลูกค้า ซึ่งหลักฐานดังกล่าวก็คือ “ใบลดหนี้”

       ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการไปแล้ว แต่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่เนื่องจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนลดลง เพราะเหตุการณ์ตามที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ ออกใบลดหนี้ให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในเดือนภาษีที่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถออกใบลดหนี้ได้ทันในเดือนภาษีที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ก็ให้ออกใบลดหนี้ให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในเดือนภาษีถัดจากเดือนที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น

ใบลดหนี้ คืออะไร
ใบลดหนี้ คืออะไร
สาเหตุในการออก ใบลดหนี้ / ส่งคืนสินค้าจริง?​

สาเหตุในการออกใบลดหนี้ คืออะไรบ้าง

       1. เมื่อมีการลดราคาสินค้า/บริการ เนื่องจากของที่เราส่งไปนั้น “ขาดไป”จากจำนวนที่ตกลงซื้อขายกันไว้ หรือให้บริการ “ขาดไป”หรือบกพร่องหรือผิดไปจากข้อตกลงที่ตกลงกัน

      2.  คำนวณราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการผิดพลาด “สูงกว่า” ที่เป็นจริง

      3.  เราในฐานะผู้ขายได้รับสินค้าที่เราขายไปนั้นกลับคืนมาเนื่องจากสินค้าชำรุดบกพร่องไม่ตรงตามตัวอย่างหรือไม่ตรงคุณสมบัติที่ตกลงไว้ทำให้มีการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลง  (อันนี้ควรต้องมีการแลกเปลี่ยนกันในระยะเวลาที่เหมาะสมทางธุรกิจด้วยนะครับ)

     4.  มีการบอกเลิกสัญญาบริการหรือว่าไม่มีการให้บริการตามสัญญา

        5.มีการจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ซื้อ, มีการจ่ายคืนเงินจ่ายล่วงหน้า/เงินประกัน/เงินมัดจำ ให้กับผู้ซื้อตามข้อตกลงทางการค้า


และสินค้าต้องมีการส่งมอบคืนกับจริง มิใช่แต่เพียงเอกสาร



          การได้รับคืนสินค้านอกจากจะต้องเป็นไปตามเหตุการณ์ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ต้องเป็นการได้รับคืนสินค้าตามความเป็นจริง กล่าวคือ


        ผู้ขายสินค้าต้องรับคืนสินค้าและรับสินค้าที่คืนเข้าคลังสินค้าจริง


ถ้าเป็นการคืนสินค้าแต่ในทางเอกสารซึ่งไม่มีการรับคืนสินค้ากันในทางข้อเท็จจริง 

การคืนสินค้าดังกล่าว

            ไม่อาจถือได้ว่าผู้ขายสินค้าได้รับคืนสินค้าจึงไม่สามารถออกใบลดหนี้ได้   

ระยะเวลาในการออกใบลดหนี้ ผู้ขาย

           เมื่อมีเหตุการณ์อันเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ขายสินค้าต้องออกใบลดหนี้ตามกฎหมายแล้ว

ผู้ขาย

   1.  ผู้ขายสินค้าจะต้องออกใบลดหนี้ในเดือนที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น (เดือนที่ได้รับคืนสินค้า)

   2.  กรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถออกได้ ก็ให้ออกในเดือนถัดจากเดือนที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร และ
ผู้ขายสินค้าก็มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบลดหนี้ไปหักออกจากภาษีขายของตนเองในเดือนที่ออกใบลดหนี้

          ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ลดลงตามใบลดหนี้ไปลงรายงานภาษีขาย โดยนำไปหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ออกใบลดหนี้

       ผู้ซื้อ

สำหรับ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าต้องนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏในใบลดหนี้ไปหักออกจากภาษีซื้อของตนเองในเดือนที่ได้รับใบลดหนี้ ทั้งนี้ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้ไปลงรายงานภาษีซื้อโดยนำไปหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้

สรุป ผู้ออกต้องใช้ในเดือนที่ออก / ผู้รับในเดือนที่ได้รับ ไม่มีกำหนดอายุการใช้งาน 6 เดือนเหมือนใบกำกับภาษีเต็มรูป

ระยะเวลาในการออกใบลดหนี้ ผู้ซื้อ

           เมื่อมีเหตุการณ์อันเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ขายสินค้าต้องออกใบลดหนี้ตามกฎหมายแล้ว

       ผู้ซื้อที่ได้รับใบลดหนี้

        สำหรับ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าต้องนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏในใบลดหนี้ไปหักออกจากภาษีซื้อของตนเองในเดือนที่ได้รับใบลดหนี้ ทั้งนี้ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร

        ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้ไปลงรายงานภาษีซื้อโดยนำไปหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้

สรุป ผู้ออกต้องใช้ในเดือนที่ออก / ผู้รับในเดือนที่ได้รับ ไม่มีกำหนดอายุการใช้งาน 6 เดือนเหมือนใบกำกับภาษีเต็มรูป

รายการที่ต้องปรากฎให้มี - ใบลดหนี้​

ใบลดหนี้ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้

1. คำว่า “ใบลดหนี้” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบลดหนี้ และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบลดหนี้ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย

3. ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

4. วัน เดือน ปีที่ออกใบลดหนี้

5. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม รวมทั้งหมายเลขลำดับของเล่มถ้ามี มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้าหรือบริการ ผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสองและจำนวนภาษีที่ใช้คืนสำหรับส่วนต่างนั้น

6. คำอธิบายสั้น ๆ ถึงสาเหตุในการออกใบลดหนี้

7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

ใบลดหนี้ = ใบกำกับภาษีเมื่อใด​

ให้ถือว่าใบลดหนี้ตามมาตรานี้เป็นใบกำกับภาษี ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบลดหนี้จะต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(1) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

(2) มีการขายสินค้าหรือให้บริการโดยได้ออกใบกำกับภาษีซึ่งมีรายการตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

(3) ภายหลังได้ออกใบกำกับภาษีแล้วได้มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนลดลงไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

(ก) มีการลดราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากสินค้าผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน สินค้าชำรุดเสียหาย หรือขาดจำนวน คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริงหรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

(ข) มีการลดราคาค่าบริการเนื่องจากให้บริการผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน บริการขาดจำนวน คำนวณราคาค่าบริการผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริง

(ค) ได้รับสินค้าที่ขายกลับคืนมาเนื่องจากสินค้าชำรุดบกพร่อง ไม่ตรงตามตัวอย่าง ไม่ตรงตามคำพรรณนา หรือเนื่องจากเหตุการให้บริการบกพร่อง หรือให้บริการผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน ตามข้อ 2 (5) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 82)

(ง) มีการบอกเลิกสัญญาบริการเนื่องจากผู้ประกอบการจดทะเบียนได้มีการคืนเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ เงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทำนองเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามข้อตกลงทางการค้า หรือไม่มีการให้บริการตามสัญญา ตามข้อ 2 (2) และ (6) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 82)


ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับใบลดหนี้นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้ดังกล่าว มาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น

การจัดทำ ใบลดหนี้ ต้องอ้างอิงข้อมูลใดบ้าง

ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 1 และข้อ 2

สามารถออกใบเพิ่มหนี้ 1 ฉบับ หรือใบลดหนี้ 1 ฉบับ โดยอ้างถึงใบกำกับภาษีเดิมมากกว่า 1 ฉบับก็ได้ และรายการตามข้อ 3(5) หรือ (6)

ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถใช้เอกสารแนบใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้อ้างถึงใบกำกับภาษีเป็นรายใบกำกับภาษีก็ได้

การออกใบลดหนี้ นอกเหนือจากสาเหตุที่กำหนดไว้

การได้รับคืนสินค้าที่เป็นเหตุอันจะทำให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ขายสินค้าต้องออกใบลดหนี้ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากเป็นการคืนสินค้าด้วยเหตุอื่น ผู้ขายสินค้าก็ไม่มีสิทธิออกใบลดหนี้ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้แต่อย่างใด

ถ้าออกใบลดหนี้โดยไม่มีเหตุการณ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ถือเป็นการออกใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิ
ซึ่งมีความรับผิดทั้งทางอาญาและต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับ 2 เท่า

สำนักงานบัญชี BEE-Accountant

รับทำบัญชีกิจการซื้อมาขายไป ปิดงบ ยื่นภาษี รับตรวจสอบบัญชี คุณภาพดีตรงต่อเวลา มีขั้นตอนการทำงานเป็นระบบระเบียบ เอกสารประกอบการรับทำบัญชี ชัดเจนกับผู้ปฎิบัติงาน และกิจการการที่เป็นลูกค้า  รับสอบการทำบัญชี โดยโปรแกรม express  ตัวอย่างหัวข้อการสอน Click

อัตรค่าบริการรับทำบัญชี 2564 2565

ข้อหารือปัญหาภาษี (อ้างอิงเท่านั้น)

ระยะเวลาการใช้ใบลดหนี้

Inbox: อังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เวลา 10:05 น.
ชงโค แซ่ซำ
กราบเรียนอาจารย์สุเทพ
ขอสอบถามเรื่อง ใบลดหนี้คะ
ทางบริษัทฯ ได้รับใบลดหนี้เมื่อปลายเดือนกันยายน 2561 คะแต่วันที่ในเอกสารใบลดหนี้ระบุเดือนสิงหาคม2561คะ ไม่ทราบว่าสามารถนำหักในรายงานภาษีซื้อเดือนกันยายน 2561 ได้หรือไม่คะ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
ตามมาตรา 82/10 วรรคท้าย แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับใบลดหนี้นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้ดังกล่าว มาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น
ดังนั้น กรณีบริษัทฯ ได้รับใบลดหนี้เมื่อปลายเดือนกันยายน 2561 คะแต่วันที่ในเอกสารใบลดหนี้ระบุเดือนสิงหาคม 2561 ให้บริษัทฯ นำไปหักในรายงานภาษีซื้อสำหรับเดือนกันยายน 2561

การออกใบลดหนี้ โดยไม่มีการคืนสินค้าจริง

เลขที่หนังสือ : กค 0811/พ.ก.702
วันที่ : 20 กันยายน 2543
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบลดหนี้
ข้อกฎหมาย : มาตรา 82/10, มาตรา 86/10
ข้อหารือ :


….บริษัท พ. จำกัด ซึ่งได้ขายส่งรองเท้าให้ห้างสรรพสินค้าต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร โดยในเดือนสิงหาคม 2540 ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7.0 เป็นอัตราร้อยละ 10.0 บริษัทฯ ได้ออกใบลดหนี้ให้แก่ห้างสรรพสินค้าเสมือนมีการรับคืนสินค้า สำหรับสินค้า ที่เหลืออยู่ ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2540 ว่า กรณีดังกล่าวไม่เป็นเหตุที่จะออกใบลดหนี้ได้ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 82) เรื่อง กำหนดเหตุอื่นตามมาตรา 82/10 (1)(2)(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2542



แนววินิจฉัย :
….บริษัทฯ ไม่มีสิทธิที่จะออกใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากอัตราร้อยละ 7.0 เป็นอัตราร้อยละ 10.0 โดยมิได้รับคืนสินค้าดังกล่าวนั้นไม่ใช่เหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 82)ฯ ดังนั้น กรณีมีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม และบริษัทฯ ออกใบลดหนี้ตามข้อเท็จจริงข้างต้น อันไม่ถือเป็นเหตุการณ์ที่จะออกใบลดหนี้ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากรได้ ใบลดหนี้นั้นจึงไม่ใช่เป็นใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ลูกค้าของบริษัทฯ ไม่มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบลดหนี้ไปหักออกจากภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้

เลขตู้ : 63/29834

การออกใบลดหนี้จากการรับคืนสินค้าจากตัวแทนจำหน่าย

เลขที่หนังสือ : กค 0706/พ./10877
วันที่ : 18 ธันวาคม 2545
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบลดหนี้จากการรับคืนสินค้าจากตัวแทนจำหน่าย

ข้อกฎหมาย : มาตรา 82/10 (3) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 82)ฯ

ข้อหารือ :
….บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ บริษัทฯ ได้ทำสัญญาขายรถยนต์โดยมีเงื่อนไขกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์บรรทุกฮีโน่ ในจังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2540 กำหนดชำระราคาในวันที่ 1 ธันวาคม 2540 โดยบริษัทฯ ได้ออกใบกำกับภาษีและส่งมอบรถยนต์ให้แก่ห้างฯ แล้ว ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2540

     ต่อมาห้างฯ ไม่สามารถชำระราคาค่ารถยนต์ตามกำหนดเวลาได้ บริษัทฯ จึงบอกเลิกสัญญา และห้างฯ ได้ส่งมอบรถยนต์คันดังกล่าวคืนให้แก่บริษัทฯ ตามเงื่อนไขข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 ของหนังสือสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขระหว่างบริษัทฯ กับห้างฯ ซึ่งบริษัทฯ ได้หารือว่ากรณีดังกล่าวจะถือเป็นเหตุการณ์ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(2)ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 18) เรื่อง กำหนดเหตุอื่นตามมาตรา 82/10 (1)(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 อันเป็นเหตุให้บริษัทฯ สามารถออกใบลดหนี้ได้หรือไม่


แนววินิจฉัย :
….บริษัทฯ ตกลงทำสัญญาซื้อขายรถยนต์กับห้างฯ ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขกล่าวคือ

กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายจะยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าผู้ซื้อจะได้ชำระราคาถูกต้องครบถ้วนแล้ว โดยมีกำหนดชำระราคาทั้งหมดในวันที่ 1 ธันวาคม 2540 และสัญญาดังกล่าวได้ระบุให้ผู้ขายมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาได้ หากผู้ซื้อมิได้ชำระราคาภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา และผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่ซื้อคืนให้แก่ผู้ขายในสภาพอย่างเดียวกันกับที่ผู้ซื้อได้รับมอบข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวถือเป็นข้อตกลงที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงยินยอมทั้งสองฝ่าย

      ดังนั้น การที่บริษัทฯ ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเนื่องจากห้างฯ ไม่สามารถชำระหนี้ค่ารถยนต์ได้ และห้างฯ ได้ส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่บริษัทฯ เป็นกรณีคู่สัญญาได้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ระบุไว้ในสัญญา จึงเป็นเหตุเนื่องจากมีการคืนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วยกัน ตามมาตรา 82/10 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (3) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 82) เรื่อง กำหนดเหตุอื่นตามมาตรา 82/10 (1) (2) (3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2542


        บริษัทฯ จึงมีสิทธิออกใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ห้างฯ ได้

เลขตู้ : 65/32132

ใบลดหนี้ตาม มาตรา 82/10 และ 86/10 กรณีบริษัทได้ขายสินค้าและได้รับชำระเงินเรียบร้อยแล้ว

คุณ Boonruk Ngamkiatikul (25 มิถุนายน 2558 เวลา 9:41 น.)
ปุจฉา: เรียน ท่านอาจารย์ครับ

ผมขอสอบถามเรื่องใบลดหนี้ตาม มาตรา 82/10 และ 86/10
กรณีบริษัทได้ขายสินค้าและได้รับชำระเงินเรียบร้อยแล้ว แต่ผู้ซื้อพบว่า สินค้ามีข้อชำรุดบกพร่อง ขอส่งคืน หรือขอให้ลดราคาให้ โดยให้ออกใบลดหนี้ ซึ่งผมมีความสงสัยในข้อปฏิบัติตามกฎหมายว่า เมื่อได้ชำระราคาเสร็จสิ้นแล้ว หากมีปัญหาเรื่องสินค้าภายหลัง หากให้ออกใบลดหนี้ จะมีผลอย่างไร เนื่องจากในระบบบัญชีก็ไม่มีลูกหนี้คงเหลืออยู่แล้ว อีกทั้งหากออกใบลดหนี้ไม่ตรงกับภายในเดือนที่มีการขายเกิดขึ้น ตามมาตรา 86/10 ก็ต้องมีเหตุจำเป็นมาแสดงเพื่ออ้างอิงได้ คำว่า เหตุจำเป็น ตามที่กำหนดนี้ ต้องทำอย่างไร
ขอขอบคุณมากครับ

สุเทพ พงษ์พิทักษ์


กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับชำระราคาค่าสินค้าเสร็จสิ้นแล้ว หากมีปัญหาเรื่องสินค้าภายหลัง และได้ออกใบลดหนี้ ก็ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนคืนเงินให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือนำไปลดยอดลูกหนี้สำหรับค่าซื้อสินค้าที่ยังไม่ได้ชำระ

สาเหตุในการออกใบลดหนี้ - สินค้าฝากขาย

บริษัทรับฝากขายสินค้า จากผู้ผลิต https://www.facebook.com/…/%E0%B8%84%E0%B…/1382810795103226/

ขอความกรุณาอาจารย์แนะนะสาเหตุในการออกใบลดหนี้ ให้เป็นไปตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป 80/2542 เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการออกใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 และใบลดหนี้ ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร

สุเทพ พงษ์พิทักษ์

วิสัชนา:

เกี่ยวกับออกใบลดหนี้ กรณีฝากขายสินค้าโดยถือเป็นการขายสินค้าทันทีที่ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับฝากขาย (Consignee) โดยถือตามเงื่อนไข “มีการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วยกัน” ตามข้อ 2 (3)(ฉ) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 80/2542

สำนักงานบัญชี BEE - Accountant @beeaccountant
บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด ติดต่อ TEL 091-830-3543 ให้บริการ รับทำบัญชี รายเดือน รับทำรายปี จัดทำภาษี รายเดือน จัดทำภาษีรายปี และตรวจสอบบัญชี สำหรับกิจการนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาทุกประเภทกิจการ
Click Here
ประเภทกิจการรับ ทำบัญชี
กิจการซื้อมาขายไป กิจการบริการ กิจการผลิต
ร้านทอง ร้านยา จำหน่าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อัญมณี นำเข้า ส่งออก Agency ทัวร์ อสังหาริมทรัพย์ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักร ขนส่ง จัดหาพนักงาน นายหน้า ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย คลินิก ความงาม ทันตกรรม ผลไม้ พื้นที่เช่า Co working space อาหาร รับเหมา เครื่องจักร ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
Click Here
ข้อดีของบริการ รับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี
ผู้ประกอบการได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ​ ควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ประมาณการวางแผนงบประมาณได้ดี
สำนักงาน update ความรู้และ เทคโนโลยีให้ทันกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร
ธุรกิจการต่างๆ เช่น ร้านค้าออนไลน์ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย (ตามกฎ OIC)​
Designed by pch.vector / Freepik
รับทำบัญชี
Click Here
Previous
Next

Bee-Accountant service

Our mission

Bee Accountant ยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส ตรงเวลา งานได้คุณภาพ ตรวจสอบได้จากทุกหน่วยงาน เช่นกรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  คปภ และหน่วยงานอื่นๆ

สำนักงานบัญชี  BEE-Accountant

บริษัท บี.อี. แอคเคาน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด
สำนักงานใหญ่ TAX ID 0105561120432

Contact us

Post Views: 9,250

BeE Accountant

we'd love to have your feedback on your experience so far

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า